ปากเป็นแผลกินข้าวร่วมกับคนเป็นเอดส์ เสี่ยงไหม โรคเอดส์ (AIDS) จะเป็นภาวะการป่วย ในขั้นสุดท้าย ของการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่เชื้อได้ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายให้มีความบกพร่อง จนไม่สามารถต่อสู้ กับเชื้อ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ จนทำให้ร่างกาย เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย จนนำไปสู่กรเสียชีวิต ซึ่งในปัจจุบัน ก็ยังไม่มีวิธีที่จะรักษาโรคเอดส์ ให้หายขาดได้ มีเพียงยาที่ช่วยชะลอการพัฒนาของโรค และลดอัตราการเสียชีวิตลงด้วยโรคนี้ หากว่าผู้ป่วยรู้ตัว และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจจะช่วยลดความเสี่ยง ไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวี สามารถลุกลาม ไปสู่ภาวะของโรคเอดส์ได้
อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในชีวิตประจำของมนุษย์ เพราะอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการ และยังเป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี เพราะอาหารจะมีบทบาท ในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้แข็งแรงเพื่อไปต่อสู้กับเชื้อโรค ที่อยู่ภายในร่างกาย ซึ่งในสังคมสมัยนี้ จะมีหลายคนที่เข้าใจผิด ๆ ว่าการใช้ชีวิต ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะส่งผลให้ตนเอง มีการติดเชื้อไปด้วย อย่างไรก็ตาม เชื้อเอชไอวี นั้นไม่ได้ติดกันง่าย ๆ เพราะการดูและ และรักษาในปัจจุบันนี้ มีความก้าวหน้า จึงทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และใช้ชีวิตได้ตามปกติ เหมือนกับคนทั่วไปได้
เชื้อเอดส์อยู่ด้านนอกได้หรือไม่ อยู่ได้นานแค่ไหน
ถึงแม้ว่า เชื้อไวรัสเอดส์นี้ จะรุนแรงเมื่ออยู่ในร่างกาย แต่หากอยู่ด้านนอกนั้นก็เหมือนกับว่า เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่มีอายุสั้น ไม่สามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ ซึ่งจะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ถ้าหากสิ่งเเวดล้อมนั้น มีความร้อน มีความเป็นกรด เป็นด่าง ก็จะตายไปทันที แต่ถ้าได้ที่เหมาะสมๆ มีความชื้นดีๆ หรือห้องที่มีอุณหภูมิราวๆ 20 องศาเซลเซียส ก็จะอยู่ได้ หลายวันแต่ไม่ถึงสัปดาห์
3 สาเหตุหลัก ๆ ของการติดเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ คือ
1. การมีเพศสัมพันธ์ โดยที่ไม่ได้ป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางช่องคลอด หรือทวารหนัก โดยที่ไม่ได้มีการป้องกันใด ๆ ล้วนแต่มีความเสี่ยง ในการติดเชื้อได้ ทั้งนี้รวมถึง การมีเพศสัมพันธ์โดยการใช้ปาก (Oral sex) หากผู้ที่เป็นฝ่ายกระทำ แล้วเกิดมีบาดแผลภายในช่องปาก โอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อนั้นสูงมาก ๆ
2. การรับเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือเครื่องมือ ที่ไม่ได้ทำความสะอาด มีคราบเลือดปนเปื้อน และหากว่ามีบาดแผลที่มือ แล้วไปสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ก็มีโอกาสติดเชื้อได้
3. จากแม่สู่ลูก ส่วนใหญ่ จะติดระหว่างการตั้งครรภ์ ส่วนน้อยจะได้ในระหว่างการทำคลอด และระหว่างให้นมลูก
นอกจาก 3 สาเหตุนี้แล้ว ก็ยังสามารถ ใช้ชีวิตร่วมกันได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำร่วมกัน แต่ก็ควรทำความสะอาดทุกครั้ง ก่อนใช้งานเสมอ อย่างไรก็ตาม การที่รับประทานอาหา ร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อ จะไม่ได้ทำให้ติดเชื้อได้ เพราะถึงแม้ว่า ในน้ำลายจะปริมาณของเชื้ออยู่ แต่ก็มีน้อยมาก ๆ โอกาสที่จะติด คือ ต้องได้รับน้ำลายในปริมาณเป็นลิตร ๆ แต่ถ้าหากว่ามีบาดแผลภายในปาก โอกาสที่จะติดเชื้ออาจมีได้ แต่น้อยมาก
ปากเป็นแผลกินข้าวร่วมกับคนเป็นเอดส์ เสี่ยงไหม ทั้งนี้ต้องพิจารณา ถึงปัจจัย และวิธีในการทานด้วย เช่น ทานช้อนเดียวกัน ทานจานเดียวกัน ทานอาหารแบบมีกับอยู่ส่วนกลาง จานข้าว และช้อนส้อมของใครของมัน เป็นต้น การรับประทานช้อนเดียวกัน หากคุณมีบาดแผลในปาก โอกาสที่จะสิ่งมีบ้าง แต่ยังคงเป็นความเสี่ยงที่น้อย
จากข้างต้นที่กล่าวมา เชื้อไวรัสเอชไอวี หรือเอดส์นั้นไม่ได้ติดกันง่าย ๆ ดังนั้นหากผู้ที่กังวล ว่าตนเองนั้นอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ แนะนำให้หา ชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้น ที่มีความแม่นยำ ปลอดภัย มีมาตรฐาน มาลองตรวจดูก่อนเพื่อความสบายใจ และคลายความกังวล เพราะหากว่ารู้ผลก่อนจะได้รับมือ และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก ทั้งนี้ก็ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินร้อน ช้อนกลาง เพื่อสุขอนามัยที่ดีต่อสุขภาพ
ทำไมจึงจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชไอวี
ในปัจจุบันมีสถิติผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวมีจำนวนหากคุณกังวลเพียงเล็กน้อยว่าคุณอาจติดเชื้อเอชไอวี คุณควรทำการตรวจเลือด เป็นวิธีการที่รวดเร็วและง่ายดายและบริการฟรีในหลายๆ แห่ง
วิธีการเดียวที่จะรู้ว่าคุณติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่คือการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี การตรวจเลือดแต่เนิ่นๆ ช่วยลดความกังวลใจและทำให้คุณได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
หากคุณติดเชื้อเอชไอวี การได้รับการวินิจฉัยแต่เริ่มแรกทำให้คุณสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองและคู่ครองรวมถึงคนอื่นที่คุณห่วงใย ถึงแม้ผลเลือดจะบ่งชี้ว่าคุณมีการติดเชื้อ การได้รู้ว่าตัวเองมีการติดเชื้อจะทำให้คุณสามารถดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองและใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม