ซิฟิลิส รักษาหาย ไหม โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็น โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ชนิดหนึ่ง ที่มีความร้ายแรง และ ติดต่อได้ง่าย ๆ ไม่น้อยไปกว่า โรคเอดส์
ซึ่ง สามารถพบเห็น ได้บ่อยรองลงมา จากโรค หนองในแท้ และ หนองในเทียม โรคซิฟิลิสนั้น ได้กลับมาระบาด อีกครั้งเนื่องจากสาเหตุที่ วัยรุ่นสมัยใหม่ ได้ไปมีเพศสัมพันธ์กัน โดยที่ไม่สวมถุงยางอนามัย
หรือ วัยรุ่นบางกลุ่มอาจ เปลี่ยนคู่นอนบ่อยเกินไป โดยทั่วไป โรคซิฟิลิสถูกจัดว่า เป็นโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์
ดังนั้น วัยรุ่นส่วนใหญ่ ก็อาจจะเข้าใจว่า ต้องมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น จึงจะ สามารถติดซิฟิลิสได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว การ จะติดโรคซิฟิลิสได้นั้น ไม่จำเป็นที่ จะต้องสอดใส่ เสมอไป เพราะโรคซิฟิลิสนั้น สามารถติดต่อกันได้ ผ่านการสัมผัส โดยตรงเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็น การจูบ การทำออรัลซ์เซ็กส์ การเลีย เยื่อบุตา โดยการกระทำนั้น ไปสัมผัสเข้ากับบาดแผล ของผู้ป่วยซิฟิลิส แม้เพียงแค่เล็กน้อย ก็สามารถ ติดเชื้อซิฟิลิสได้
ซิฟิลิส รักษาหาย ไหม โรคซิฟิลิส ในปัจจุบันนี้ สามารถรักษา ให้หายขาดได้ หากมี การตรวจพบเชื้อซิฟิลิส ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น จะสามารถรักษา ให้หายได้ โดยการฉีดยาปฏิชีวนะ ประเภทเพนิซิลลิน เข้าไปในกล้ามเนื้อ ร่วมไปกับ การรับประทานยาต้าน หากผู้ป่วยบางราย ได้มีการติดเชื้อ มาเป็นเวลานาน ทางแพทย์ จะมีการเพิ่มขนาด ของยาเพื่อให้ การรักษามีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น และระยะเวลา ในการรักษานั้น ก็ขึ้นอยู่กับระยะโรค ที่เป็นด้วย โดยผู้ป่วย ก็ต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งรัด และ รับยาอย่างสม่ำเสมอ ในระยะเวลาที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า โรคซิฟิลิสนั้น จะสามารถรักษา ให้หายได้ แต่ก็ต้องทำการตรวจ หาเชื้อซ้ำอีกครั้ง 3 เดือน เป็นระยะเวลา ประมาณ 3 – 5 ปี หลังจากที่ได้เข้ารับ การรักษา เพราะเนื่องจาก ร่างกายอาจจะยังมีเชื้อ ในระยะที่แอบแฝง อยู่ภายในร่างกาย
ดังนั้น หากผู้ที่ติดเชื้อ ได้เข้ารับการรักษา และหายแล้ว ควรลด การมีเพศสัมพันธ์ ไปสักระยะก่อน เพื่อลดความเสี่ยง ของการติดโรค รวมถึงแพร่เชื้อ หรือเป็นการป้องกัน การแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น จนกว่า จะแน่ใจว่า เชื้อซิฟิลิส ได้หายขาดแล้ว
นอกจากนี้แล้ว การติดเชื้อซิฟิลิส ก็ยังสามารถมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น มาอีกระดับ คือ อาจมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งก่อให้เกิด โรคเอดส์ได้ด้วย
โดยทั่วไป พบว่า ผู้ป่วยติดเชื้อซิฟิลิส มีโอกาสเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้มากถึง 2 – 5 เท่า ของคนปกติทั่วไป เพราะการติดเชื้อซิฟิลิสนั้น จะทำให้ภูมิคุ้มกัน ภายในร่างกาย เกิดการอ่อนแอ และบกพร่องลง จึงเป็นสาเหตุ ที่อาจทำให้ผู้ป่วย ซิฟิลิสสามารถเกิดโรคแทรกซ้อน ที่เป็นการติดเชื้อเอชไอวี ได้อีกด้วย อีกทั้งด้วยคนเป็นซิฟิลิส จะมีบาดแผลริมแข็ง ซึ่งเป็นอาการของโรค ทำให้เสี่ยง ได้รับเชื้อเอชไอวี ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ได้ง่ายขึ้นจากทางบาดแผล
อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่มีความกังวลใจ ก็ควรทำการตรวจ เพื่อวินิจฉัย หาการติดเชื้อ ซึ่งในปัจจุบัน ก็ได้มีชุดตรวจ ที่สามารถทำการ ตรวจได้ด้วยตนเองที่บ้าน ที่มีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นทางออก สำหรับผู้ที่ไม่กล้าเดินทาง ไปตรวจตามสถานพยาบาล หรือคลินิก ได้ทำการตรวจ เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อคลายความกังวลใจ เพราะหากตรวจพบ เชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะได้เข้ารับการรักษา และรับยาต้าน ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
ทั้งนี้ ชุดตรวจที่สามารถทำการตรวจได้ด้วยตนเอง เป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากผลตรวจออกมาแล้วไม่ว่าจะเป็นบวกหรือเป็นลบก็ตาม ก็ควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผลตรวจที่แน่ชัด