ชุดตรวจโรค เอชไอวีและซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยอดฮิตของคนไทย

By | สิงหาคม 25, 2020

ชุดตรวจโรค

ชุดตรวจโรค เอชไอวี และซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยอดฮิตของคนไทย มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น จำนวนมาก จากประวัติเข้ารับ การรักษา และผู้ป่วย อีกจำนวนมาก ที่ไม่ยอมไปตรวจ โดยติดเชื้อ อยู่แบบไม่รู้ตัว และปัจจุบัน ก็มีผู้คนจำนวนมาก ไม่สวมใส่ ถุงยางอนามัย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ติดโรคเอชไอวีและ ซิฟิลิสได้ง่ายขึ้น

ชุดตรวจโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีการพัฒนา ขึ้นมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน มีหลายประเภท แบ่งเป็นการตรวจคัดกรอง และการตรวจยืนยัน แตกต่างกัน คือ

ผู้ที่ เข้ารับการตรวจ จะได้ตรวจคัดกรองก่อน เพื่อดูผลว่า มีโอกาสเสี่ยง หรือไม่ เนื่องจาก การตรวจคัดกรอง สามารถทำได้รวดเร็ว ซึ่งช่วยทำให้ ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายถูกกว่า หากตรวจพบว่า มีโอกาสได้รับการติดเชื้อ ก็ต้องรอตรวจยืนยันผล ในขั้นตอนต่อไป

หากพบว่า ไม่มีโอกาสติดเชื้อ ก็สามารถเดินทาง กลับบ้านได้เลย (ทางการแพทย์ จะสอบถามผู้ป่วย ก่อนว่า เสี่ยงมานานแค่ไหน เพื่อเลือกวิธีตรวจ และแนะนำการตรวจ) การตรวจยืนยัน จะเป็นการส่งตัวอย่างเข้า ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ ตรวจวิเคราะห์ ด้วยวิธีที่แม่นยำ และละเอียดขึ้น เพื่อสรุปผลว่า ผู้ป่วยติดเชื้อหรือไม่

ตัวอย่างที่ใช้ ในการตรวจมีทั้ง ตรวจจากเลือด หรือ ตรวจจากน้ำในช่องปาก แต่ที่นิยมตรวจ จะเป็นการตรวจจาก เลือดมากกว่า เนื่องจากเลือดนั้น ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย และสิ่งที่พบได้ ในเลือดก็จะเป็น ไวรัส แบคทีเรีย ปรสิต

ชุดตรวจ โรคเอชไอวี ในปัจจุบัน ที่เป็นการตรวจคัดกรอง มีทั้งหมด 3 ประเภท ที่พบเห็น ได้บ่อย ในปัจจุบันนี้ คือ
1. ตรวจ NAT สามารถ ตรวจได้ตั้งแต่ 1 สัปดาห์หลังเสี่ยง
2. ตรวจหาแอนติบอดี และแอนติเจนในชุดตรวจเดียวกัน สามารถ ตรวจได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังเสี่ยง
3. ตรวจหาแอนติบอดี ต่อเชื้อเอชไอวี สามารถตรวจได้ ตั้งแต่ 3 สัปดาห์หลังเสี่ยง
ทั้งหมด มีควาแม่นยำสูง แตกต่างกันที่ ระยะเวลา ที่สามารถตรวจได้

ชุดตรวจโรคซิฟิลิส จริง ๆ แล้ว การวินิจฉัยซิฟิลิส สามารถตรวจวิเคราะห์ ได้จากแผลซิฟิลิส ในระยะที่หนึ่ง ตรวจจากเลือด และ ตรวจน้ำไขสันหลัง ส่วนใหญ่จะใช้ตรวจ ในผู้ป่วย ที่มีอาการเข้าขั้น ที่สามแล้ว การตรวจซิฟิลิส มักจะนิยมตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ ที่เป็นชุดตรวจโรค ที่พบเห็น ในปัจจุบัน จะเป็นแบบ Rapid test โดยตรวจ จากตัวอย่าง เลือดที่ปลายนิ้ว

การตรวจโรค ในปัจจุบันสามารถ ตรวจได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะรู้ผล ภายในไม่กี่นาที ซึ่ง มีความแม่นยำสูง แต่จะแม่นยำจริง หรือ ไม่ขึ้นอยู่กับระยะเสี่ยงจริง ๆ ที่ผู้ตรวจไปเสี่ยงมา เป็นการ ตรวจคัดกรองเท่านั้น หากผลออกมา พบว่า มีความโอกาส ได้รับการติดเชื้อ ผู้ตรวจก็ควรไปตรวจยืนยัน ที่โรงพยาบาล อีกครั้งหนึ่ง แต่ หากผลตรวจ พบว่า ไม่มีการติดเชื้อ ก็สามารถสบายใจได้

ช่องทาง ที่สามารถติดเชื้อ ได้มากที่สุด คือ การรับเลือด ผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อ หรือ มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ  ไม่สามารถ บริจาคเลือดได้ เนื่องจาก สามารถส่งต่อโรค ไปทางเลือดได้ ยกตัวอย่างโรคเอชไอวี เครื่องตรวจ ที่ดีที่สุด สามารถตรวจหา เชื้อเอชไอวี จากเลือดได้ต่ำสุด คือ 20 ตัว/CCเลือด

ดังนั้น หากมีความเสี่ยงมา หรือทานยาต้านไวรัส หรือเชื้ออยู่ ในระยะฟักตัว ปริมาณของเชื้อ อาจต่ำกว่าที่เครื่อง สามารถตรวจได้