ซิฟิลิส จูบ จะติดเชื้อไหม

ซิฟิลิส จูบ

ซิฟิลิส จูบ จะติดโรคหรือเปล่า กลับมา ระบาดอีกครั้ง ในหมู่วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยผู้ใหญ่ ซิฟิลิส โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ที่อันตรายมากๆ เพราะอาจไม่มี อาการแสดงออกมาให้เห็น จนกว่า จะถึงระยะสุดท้าย โรคซิฟิลิส อันตรายแค่ไหน และติดต่อ ทางใดบ้าง ไปดูกัน

โรคซิฟิลิส เกิดจาก การติดเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า ทรีโพนีมาพัลลิดุม (Treponema pallidum) มีขนาดเล็กมาก ต้องใช้ เครื่องมือพิเศษ ในการส่องมอง โดยแบคทีเรียนี้ มีลักษณะ เป็นเกลียวสว่าน (Spirochete bacteria) หากอยู่ในร่างกาย สามารถอาศัยอยู่ได้ ทุกที่ ทุกส่วน แต่หาก อยู่ข้างนอก จะอ่อนแอมาก ไม่ทน ต่อสภาพอากาศ ตายได้ง่ายๆ แค่เพียงล้างด้วยสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ

การส่งต่อโรคจากคนสู่คน

สามารถติดต่อ ได้จาก 3 ช่องทางหลักๆ ได้แก่
1. ติดต่อผ่าน ทางการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งทาง ช่องคลอด ทางทวาร ทางช่องปาก
2. จากแม่สู่ลูก ขณะที่ ตั้งครรภ์อยู่ หรือขณะคลอด
3. การใช้เข็มฉีดยา ร่วมกัน
โดยคีย์เวิดหลักๆ ของการติดโรค คือ การมีบาดแผล การสัมผัสแผลซิฟิลิส โดยแผลนั้น มักจะขึ้น ตามที่ลับ ทำให้คู่นอน มักจะสัมผัส กับแผลนั้น แบบไม่รู้ โดยที่ ตัวผู้ป่วยเอง ก็อาจจะไม่รู้เช่นกัน เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางเยื่อเมือก เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องปาก เยื่อบุตา หรือ เข้าผ่านทางรอยถลอก หรือบาดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง
ดังนั้น หากรับเลือด มาจากผู้ป่วย ก็สามารถติดได้ การใช้ของมีคม ร่วมกัน และทำให้เกิดแผล การจูบทั้งๆ ที่มีบาดแผล ในช่องปาก

ทำแบบนี้ไม่ติดซิฟิลิส

เชื้อซิฟิลิสอ่อนแอ และตายง่าย ในสภาพแวดล้อมภายนอก เชื้อ จึงไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่าน
– การสัมผัสมือ
– เสื้อผ้า
– การนั่งโถส้วม
– การจับลูกบิดประตู
– การใช้ช้อนส้อม
– การเล่นในอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำร่วมกัน

ซิฟิลิส จูบ ติดเชื้อไหม

จูบ ใครคิด ว่า ไม่สำคัญ การจูบ สามารถทำให้ติดโรคต่างๆ ได้มาก แน่นอนเลยว่า ซิฟิลิส นั้น เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการจูบ จะติดซิฟิลิส ได้อย่างไร แต่อย่าลืมว่า ซิฟิลิส สามารถติดต่อ ผ่านทางบาดแผล ของผู้ป่วยได้ ดังนั้น การจูบ กรณี
– ผู้ป่วยซิฟิลิสมีบาดแผลในช่องปากปาก และคู่นอนมีแผลที่ปาก = มีโอกาสติดเชื้อสูงมาก
– ผู้ป่วยซิฟิลิสมีบาดแผลในช่องปาก และคู่นอนไม่มีแผลที่ปาก = มีโอกาสติดเชื้อสูง
– ผู้ป่วยซิฟิลิสไม่มีบาดแผลในช่องปาก และคู่นอนมีแผลที่ปาก = มีโอกาสติดเชื้อปานกลาง
– ผู้ป่วยซิฟิลิสไม่มีบาดแผลในช่องปาก และคู่นอนไม่มีแผลที่ปาก = มีโอกาสติดเชื้อน้อย
อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าควรทำการตรวจดู หรือเดินทางไปพบแพทย์เพื่อดูอาการ

หลายคน อาจจะคิดว่า โรคซิฟิลิส ไม่รุนแรง สามารถรักษา ให้หายได้ แต่อย่าลืมว่า โรคนี้ มีหลายระยะ และบางระยะ อาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาเลย อีกทั้ง ผู้ป่วยในระยะที่ 1 และ 2 จะมีปริมาณเชื้อ จำนวนมาก หากมีเพศสัมพันธ์ สามารถติดเชื้อ ได้มากกว่า 60% และส่วนใหญ่ ผู้ป่วยก็มักไม่รู้ตัว ว่าป่วยเป็นโรคซิฟิลิส เพราะอาการที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะต่างๆ มักหายไปได้เองแม้ไม่มีการรักษา

การป้องกันโรคซิฟิลิส

การสวมใส่ถุงยางอนามัยในทุกๆ กิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ แต่หากแผลซิฟิลิสนั้นอยู่นอกขอบเขตของถุงยางที่จะสามารถป้องกันได้ การแพร่เชื้อก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้อยู่ ดังนั้นคุณควรที่จะระมัดระวังให้มาก หากคุณมีคู่นอนมากกว่า 1 คน

การมีคู่นอนเพียงคนเดียวในระยะยาวนั้น อาจเป็นตัวช่วยที่ดี ที่คุณสามารถจะหลีกเลี่ยงโรคซิฟิลิส และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้

โรคซิฟิลิสระบาด การกลับมาของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคซิฟิลิสระบาด

โรคซิฟิลิสระบาด โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ทริปโปนีมา พัลลิดัม (Treponema Pallidum) ซึ่ง เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่ติดต่อ ผ่านทาง การมีเพศสัมพันธ์ และ ผ่านทางแผลได้ หากเรา ได้รับเชื้อ จากแผล ของผู้ป่วย

โดยแผลเหล่านี้ จะเกิดตามอวัยวะเพศ แล้วหากคู่นอน ได้สัมผัส กับเชื้อแบคทีเรีย เช่น อวัยวะเพศช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก ซึ่งจะได้รับเชื้อ ผ่านทาง การทำออรัลเซ็กส์ หรือการมีเพศสัมพันธ์ อื่น ๆ ร่วมด้วย

เมื่อช่วงทศวรรษ 1990 ที่ผ่านมา จำนวนสถิติ ของผู้ป่วยซิฟิลิส ได้มีการลดลง ในระดับที่น่าพอใจ จึงทำให้ ผู้คนไว้วางใจ แล้วว่า โรคซิฟิลิส ที่ร้ายแรงนี้ จะหมดไป จากโลกใบนี้ แต่ปัจจุบัน โรคซิฟิลิส ก็กลับมา ระบาดอีกครั้งและปริมาณ ของผู้ป่วย ยังมีสถิติ ที่เพิ่มขึ้น จนน่าตกใจ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักจะอยู่ในวัย 15-24 ปี ซึ่งก็คือ วัยเจริญพันธุ์นั่นเอง

โรคซิฟิลิสกลับมาระบาดได้อย่างไร

โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ โรคซิฟิลิส กลับมาระบาด อีกครั้งนั้น เกิดจากการที่ วัยรุ่นส่วนใหญ่ ไม่สวมใส่ ถุงยางอนามัย ขณะที่มีเพศสัมพันธ์ การเปลี่ยนคู่นอน หลายคน

รวมไปถึง การได้รับข้อมูล เรื่องเพศสัมพันธ์ ไม่เพียงพอ ต่อการป้องกันตนเอง ซึ่งก่อนหน้านี้ ทางโรงพยาบาลบางรัก ได้มีการออกมาให้ข้อมูล เกี่ยวกับการกลับมา ระบาดของโรคซิฟิลิส ให้ข้อมูล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

โรคซิฟิลิสระบาด แพทย์ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทย มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่กลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งสถิติ ของผู้ที่ติดเชื้อ มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จากการติดเชื้อซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ส่วนใหญ่แล้ว จะพบในหมู่ของวัยรุ่น มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ซิฟิลิสนั้น ยังคงสามารถ พบได้ในทุกเพศทุกวัย รวมไปถึงทารก ที่เกิดจากมารดา ที่ไม่ทราบว่าตนเองนั้น ติดเชื้อซิฟิลิส

อาการของโรคซิฟิลิสเป็นอย่างไร

หลังจากที่ ได้มีการติดเชื้อ ไปแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมี แผลริมแข็ง แต่ไม่เจ็บ โดยจะเกิดขึ้น ตามอวัยวะเพศ หรือตามร่างกาย และหลังจากนั้น แผลที่เกิดขึ้น ก็จะหายไปเอง เวลาผ่านไป เชื้อจะเริ่มขยับขึ้นมา กลายเป็นระยะ ที่สอง

ซึ่ง ในระยะที่ 2 นี้ อาจจะมีผื่นขึ้น ตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า อาจจะทำให้ ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ และมีแผลขึ้น บริเวณอวัยวะเพศ แต่สำหรับ บางคนอาจ ไม่มีการแสดงอาการ ในขณะที่บางคน มีการแสดงอาการ แล้วก็หายไปเอง

แต่หลังจากนั้น เชื้อซิฟิลิส ก็จะยังอยู่ ภายในร่างกาย ของเราไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะที่ 3 โดยใช้ระยะเวลา ประมาณ 10 ปี เชื้อแบคทีเรียนี้ ยังสามารถ ทำให้เป็นซิฟิลิส ที่หลอดเลือดหัวใจ สมอง และยังสามารถ ทำลายเข้าไปถึงกระดูกได้

แต่อย่าพึ่งตกใจไป โรคซิฟิลิส สามารถรักษา ให้หายขาดได้ และวิธีป้องกันตนเอง คือ การไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ สวมถุงยางอนามัย ทุกครั้ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์ หากมีความกังวล หรือมีอาการ ที่ผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจและรักษา

 

 

อย่างไรก็ตามหากคุณไปรับความเสี่ยงมา ก็ควรทำ การตรวจหาเชื้อ โดยใช้วิธีการตรวจด้วย ชุดตรวจซิฟิลิสด้วยตนเอง ที่มีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน มาทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้นก่อน

ซึ่งการใช้ ชุดตรวจด้วยตนเอง จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่กล้าเดินทางไปตรวจตามสถานพยาบาล หรือคลินิกต่าง ๆ เพราะหากตรวจคัดกรองด้วยตนเองแล้วพบว่ามีการติดเชื้อ หรือไม่มีการติดเชื้อ ก็อย่างพึ่งวางใจ แต่ให้ทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผลตรวจที่แน่ชัด

ตรวจเลือดที่บ้าน ดีอย่างไร ตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

ตรวจเลือดที่บ้าน

ตรวจเลือดที่บ้าน การตรวจเลือด นับเป็นอีก หนึ่งวิธี ที่สำคัญ เพราะเป็นการบ่งชี้ การทำงาน ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งจะเป็น การตรวจ เพื่อวิเคราะห์หา ปัจจัยความเสี่ยง ของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจเลือด เพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถยืนยัน ได้ว่าร่างกายของคุณนั้น มีความผิดปกติ หรืออาจพบโรคบางโรคได้

เพราะโรคบางชนิด อาจต้องทำการตรวจ หลายอย่างเพื่อยืนยัน ผลเลือดที่ชัดเจน และอาจมีปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่อาจทำให้ผลเลือดนั้น อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปกติ เช่น ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม การออกกำลังกาย อยู่ในช่วงมีประจำเดือน หรือการใช้ยาบางชนิด

ดังนั้นแล้ว จึงต้องมีการตรวจเลือดในครั้งต่อไป เพื่อหาสาเหตุ ที่แน่ชัด ทั้งนี้ การตรวจเลือด เป็นเพียงวิธีการพื้นฐาน ที่สำคัญ และมีความจำเป็น โดยปัจจุบัน การตรวจเลือด อาจตรวจได้หลายวิธี

ตรวจเลือดที่บ้าน ทว่าสมัยปัจจุบันนี้ การเดินทางไปตรวจเลือด ตามสถานพยาบาล หรือคลินิกต่าง ๆ จะมีความยุ่งยาก และลำบากสำหรับผู้ที่สนใจ และผู้ที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะ ผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี จะมีความเขินอาย ต่อสายตา ที่ถูกมองอย่างน่ารังเกียจ ดังนั้น การที่จะเดินทาง ไปตรวจตามสถานพยาบาล จึงไม่ค่อยนิยม สำหรับบางคน

ฉะนั้น การตรวจเลือดด้วยตนเองที่บ้าน นั้นจะค่อนข้าง ได้รับความนิยม ในหมู่ที่มีความเสี่ยง ชุดตรวจ จึงมีความปลอดภัย และผลข้างเคียง อาจเกิดขึ้นได้น้อยมาก โดยส่วนใหญ่ อาการที่พบ ก็มักจะเป็นอาการ พกช้ำ หรือมีอาการปวด ตามบริเวณ ที่ทำการเจาะเลือด เพราะเนื่องจาก แรงกดที่มาก และนานหลายนาที และหลังจากนั้น อาการก็จะดีขึ้นเอง ตามปกติ

ปัจจุบันทาง อย. ได้ทำการปลดล็อคชุดตรวจ ที่สามารถทำการตรวจ ได้ด้วยตนเองที่บ้าน สามารถหา ซื้อชุดตรวจHIV ได้แล้วตามร้านขายยา หรือหาซื้อได้ตามอินเตอร์เน็ต แทนที่จะเดินทาง ไปตรวจตามสถานพยาบาล หรือคลินิกต่าง ๆ

โดยชุดตรวจ ที่วางขายนั้น จะต้องแสดงรายละเอียด อย่างชัดเจน เช่น วิธีการใช้งาน วิธีการอ่านผล วิธีการเก็บรักษา คำเตือน และข้อควรระวัง เป็นต้น

ตรวจเลือดที่บ้าน โดยชุดตรวจ ที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างดี คือ ชุดตรวจแอนติบอดี ต่อเชื้อเอชไอวี ซึ่งแอนติบอดี เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่อยู่ภายในร่างกายของเรา โดยจะสร้างขึ้น มาเพื่อเจาะจงกับ เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ถ้าหากมีการติดเชื้อเอชไอวี แอนติบอดี ที่จำเพาะ ต่อเชื้อเอชไอวี สร้างขึ้นมา ดังนั้น หากมีการตรวจพบแอนติบอดี ต่อเชื้อเอชไอวี จึงสามารถบอกได้ว่า ร่างกายมีการติดเชื้อ เอชไอวีมาก่อนแล้ว

ชุดตรวจชนิดนี้ ได้มีการผลิตมา ตั้งแต่ค้นพบเชื้อเอชไอวีใหม่ ๆ และได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน จึงได้มีชุดตรวจ ที่สามารถทำการตรวจ ได้ด้วยตนเอง และยังสามารถ ทราบผลเลือด ได้เพียง 15-20 นาที อีกด้วย

โดยชุดตรวจดังกล่าว เป็นชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้น จึงเหมาะ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี และไม่กล้าเดินทาง ไปตรวจตามสถานพยาบาล หรือคลินิก

ชุดตรวจ ถูกออกแบบมา ให้ใช้งานได้ง่าย ไม่มีความยุ่งยาก เพียงแค่เจาะเลือดที่ปลายนิ้ว แล้วหยดเลือด ลงบนอุปกรณ์ หลังจากนั้น รอผลประมาณ 15-20 นาที เพียงแค่นี้ ก็สามารถทราบผลเลือดได้แล้ว ว่าร่างกาย ของคุณมีการติดเชื้อ หรือมีการผิดปกติอะไรบ้าง

ทั้งนี้ หากคุณ มีความเสี่ยง ต่อ การติดเชื้อเอชไอวี ก็ควรทำการตรวจ โดยเร็วที่สุด เพราะหากรู้ผลตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะได้เข้ารับการ รักษาโรคเอชไอวี ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ชุดตรวจคัดกรองด้วยตนเอง เป็นเพียงชุดตรวจ ที่ตรวจเลือด สำหรับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น ไม่ได้ตรวจเพื่อหาสาเหตุของโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย

ชุดตรวจโรคติดต่อทาง เพศ การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD test)

 

ชุดตรวจโรคติดต่อทาง เพศ

ชุดตรวจโรคติดต่อทาง เพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคที่ติดต่อ จากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่มีการป้องกัน ซึ่งจากเดิม จะเรียกว่า กามโรค แทนการเรียก โรคเหล่านี้ คือ หนองใน แผลริมอ่อน ซิฟิลิส เป็นต้น ปัจจุบันก็ยังพบว่า มีโรคติดต่ออีกหลายชนิด ที่สามารถติดต่อได้ผ่านทางวิธีอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถ ติดต่อได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ป่วยอีกด้วย ดังนั้นเราจึงเรียก โรคเหล่านี้ว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสชนิดบี โรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากเชื้อเอดส์ เป็นต้น

ปัจจุบันการรักษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหลากหลายวิธี โดยมีหลักการที่สามารถกำจัดเชื้อทั้งหมดในร่างกาย ลดการทุกข์ทรมาน จากการเจ็บป่วย และป้องกัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตลอดจน การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ และแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นอีกด้วย ทั้งนี้ยา ที่ใช้สำหรับรักษา อาจมีหลายชนิดแตกต่างกันออกไป เช่น ยาฉีด ยารับประทาน หรือยาเหน็บช่องคลอด เป็นต้น

แต่ระยะเวลาในการรักษา ก็ย่อมแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ชนิด และระยะของโรค ซึ่งการรักษาโรคติดต่อทางเพศ ด้วยยา ไม่ว่าจะขนาดเท่าใด หรือนานแค่ไหน ก็ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ หากมีซื้อยามารับประทานเอง อาจจะทำให้ ไม่หายขาดจากโรคนี้ได้ หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อน จากโรคที่เป็นอยู่

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บางชนิดที่ไม่สามารถรักษา ให้หายขนาดได้ คือ โรคภาวะภูมิคุ้มกัน ในร่างกายบกพร่อง จากการติดเชื้อเอดส์ โดยการรักษา จะมุ่งเน้นไปที่ การประคับประคองผู้ป่วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อซ้ำเติม การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม และปลอดภัย เช่น การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางอนามัย การเปลี่ยนคู่นอนหลายคน ซึ่งอาจมีความเสี่ยง ในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ฉะนั้น หากใครที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ก็ควรทำการเข้ารับการตรวจ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือทำการตรวจ STD (Sexually-Transmitted Diseases) เพื่อความปลอดภัย ของตนเอง และหากรู้ว่าติดเชื้อก็จะได้เข้ารับการรักษา ได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

ชุดตรวจโรคติดต่อทาง เพศ  โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ยกเป็นอีกหนึ่ง สาเหตุที่สามารถ ก่อให้เกิดการติดเชื้อ เอชไอวี หรือเอดส์ ซึ่งอาจมีแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยในการชะลอ การระบาดของ เชื้อไวรัสเอชไอวี คือการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยเชื้อเอชไอวี รวมถึง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อีกด้วย

เพราะเนื่องจาก โรคเหล่านี้ จะไม่มีการแสดงอาการ ที่เจาะจง และการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส (Syphilis) หนองในเทียม (Chlamydia) หนองในแท้ (Gonorrhea) เริมที่อวัยวะเพศ (Herpes Simplex Virus Type II) เป็นต้น

ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยง ในการแพร่เชื้อเอชไอวี ไปสู่ผู้อื่นสูงมาก ชุดตรวจเอชไอวีในปัจจุบันนี้ จึงได้มีการพัฒนา ให้ใช้งานได้ง่าย ซึ่งอาจมีความคล้ายคลึงกัน กับเครื่องตรวจนำตาลในเลือด หรือชุดตรวจเบาหวาน ที่สามารถใช้ตรวจได้ด้วยตนเอง โดยไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และอุปกรณ์นั้น ยังมีขนาดเล็กอีกด้วย

ชุดตรวจ ที่นำมาใช้ ในการตรวจหาการติดเชื้อ ได้ผ่านการทดสอบ การใช้งานจริง โดยโรงพยาบาล และคลินิกต่าง ๆ จึงทำให้ผลการทดสอบ ที่มีความแม่นยำ กับความเป็นจริงที่สุด อย่างไรก็ตามทางคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ปลดล็อค ให้ประชาชนสามารถเข้าถึง ชุดตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชวี ด้วยตนเอง เพื่อยุติเกี่ยวกับปัญหา การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคติดต่ออื่น ๆ เพื่อเป็นทางเลือก แทนที่จะ ไปตรวจตามโรงพยาบาล หรือคลินิก

จากที่กล่าวมาข้างต้น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะมีหลากหลายชนิด ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งนั่นก็อาจเป็นปัญหา ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ได้ ดังนั้น หากใครที่ไปมีพฤติกรรมเสี่ยง ในการเกิดโรคติดต่อทางเพศมา ก็ควรทำการตรวจโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าหากปล่อยไว้นาน อาจจะให้เกิดการติดเชื้อเอดส์ได้

หากไม่สะดวก ที่จะเดินทางไปตรวจ ตามสถานพยาบาล ก็มีชุดตรวจ ที่สามารถตรวจหาเชื้อได้ วางขายตามร้านขายยา หรือทางออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทาง สำหรับผู้ที่ไม่กล้าที่จะไปตรวจ ตามสถานพยาบาล

อยาก ตรวจเลือด เอชไอวี ตรวจเลือดบอกอะไร

อยาก ตรวจเลือด

อยาก ตรวจเลือด ปัจจุบันการตรวจเลือด ถือเป็นอีกวิธีการสำคัญเพื่อบอกถึงการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยจะเป็นการตรวจเพื่อวิเคราะห์ หาปัจจัยเสี่ยงของสุขภาพแต่ละบุคคล ซึ่งจะให้ทางแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคหรือสภาวะต่าง ๆ ที่ผิดปกติของร่างกายได้ ใบผลการตรวจเลือดจากแพทย์ มักจะมีความหมายของค่าต่าง ๆ ของผลการตรวจเลือด ที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ อาจไม่เข้าใจ ซึ่งจำเป็นที่แพทย์ อาจจะต้องอธิบายผลตรวจให้เข้าใจ

หลาย ๆ คนมักคิดว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี มักจะมีอาการไข้ขึ้นสูง ลิ้นเป็นฝ้า มีผื่นขึ้นตามตัว เป็นต้น แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถยืนยันได้ว่า บุคคลที่มีอาการเหล่านี้ จะเกิดจากการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น เพราะอาการเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ หรือการที่คุณปล่อยปะละเลย ที่จะดูแลสุขภาพในบางครั้ง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อบางรายอาจมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โดยที่ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ เลยเป็นเวลานานหลายปี

ดังนั้นแล้ว การตรวจเลือด จึงเป็นประเด็นที่สำคัญ และยังคงเป็นวิธีเดียวที่จะสามารถยืนยันได้ว่า คุณติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ โดยปัจจุบันด้วยวิทยาการทางการแพทย์ จึงทำให้การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี สามารถทำการตรวจ ได้อย่างรวดเร็ว ไม่เจ็บตัว และมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก

อยาก ตรวจเลือด โดยหลักการตรวจเอชไอวีนั้น เมื่อร่างกายของเราได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย จะทำการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา เพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส หรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้การตรวจเอชไอวี จึงใช้หลักการตรวจหาภูมิคุ้มกัน ในเลือด ซึ่งสามารถตรวจได้ตั้งแต่ 21 วันหลังจากได้รับเชื้อ และควรตรวจซ้ำที่ประมาณ 3 เดือนหลังจากติดเชื้อเอชไอวีอีกครั้ง จึงจะสามารถเชื่อถือได้

เพราะการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ของแต่ละบุคคลนั้นมีความแตกต่างกัน บางคนใช้เวลาสั้นๆ เพียง 3 สัปดาห์ (มีงานวิจัยรับรอง ว่าสามารถตรวจได้ไวที่สุด 3 สัปดาห์) แต่บางคนกับต้องรอถึง 3 เดือน จึงจะสามารถตรวจพบ ซึ่งเราจะเรียกระยะเวลา 3 เดือนนี้ว่า ระยะฟักตัว (Window period)

อย่างไรก็ตาม หากได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ในช่วงที่เป็นระยะของการฟักตัว ผลที่ได้จะอาจจะออกมาเป็นผลลบปลอม ทั้งที่จริงแล้วคุณอาจติดเชื้อแล้วก็ได้ ซึ่งผลที่ออกมานี้อาจทำให้คุณเข้าใจผิด ว่าตนเองนั้นไม่ได้ติดเชื้อ แต่ก็อย่าพึ่งวางใจไป เพราะหากมีภาวะเสี่ยง ก็ควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 3 เดือนหลังจากที่ได้ตรวจในครั้งแรกไปแล้ว ทั้งนี้แล้วระยะฟักตัวของการตรวจ ในแต่ละวิธีอาจแตกต่างกันออกไป

การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี โดยหลัก ๆ จะมี 3 วิธี ได้แก่

1. การตรวจแบบ Anti-HIV การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถให้ประชาชน ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง ตามโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้ จะให้ผลการตรวจได้ใน 1-2 ชั่วโมงหลังการตรวจ แต่ผลที่ได้จะเป็นผลเลือดย้อนหลังไปประมาณ 1 เดือน

2. การตรวจแบบ NAT (Nucleic Acid Testing) การตรวจด้วยวิธีนี้จะมีข้อแตกต่างจากการตรวจแบบ Anti-HIV คือ จะสามรถชี้วัดจากร่างกายเราย้อนหลังไปประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น หากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกันมาเมื่อ 7 วันก่อน แล้วกังวลว่าจะได้รับเชื้อเอชไอวี ซึ่งการตรวจแบบ NAT จะทำให้เราทราบผลเลือดว่าเป็นบวก หรือลบได้แน่ชัดกว่าการตรวจแบบ Anti-HIV

3. การตรวจแบบ Rapid HIV Test หรือการตรวจแบบชนิดเร็ว โดยการตรวจด้วยวิธีนี้จะสามารถรู้ผลเลือดได้เวลา 20 นาทีเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะให้ผลเลือดที่เร็วกว่าวิธีอื่น แต่ก็เป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากการตรวจแบบ Rapid HIV Test ให้ผลเลือดเป็นบวก ผู้ที่ตรวจต้องทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันว่า มีการติดเชื้อจริงด้วยขั้นตอน Anti-HIV หรือ NAT แล้วแต่ระยะเวลาที่ได้รับเชื้อมา

อย่างไรก็ตาม การตรวจเลือด (Blood Tests) จะเป็นการนำผลเลือดไปตรวจเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ดังนั้นแล้วคุณมีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจตรวจ หรือไม่ตรวจก็ได้ โดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อจะเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล จึงไม่สามรถไปบังคับคนที่ไม่อยากตรวจให้ตรวจได้ไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ก็ตาม ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการตรวจสุขภาพประจำปี การรับพนักงานเข้าทำงาน ก็ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือผิดกฎหมายได้ หากผู้ตรวจไม่ยินยอม

หากคุณมีความคิดที่อยากจะตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี เพราะคุณได้รับความเสี่ยงมาไม่ว่าจะในรูปแบบใด คุณสามารถที่จะไปตรวจได้ที่โรงพยาบาลฟรี ปีละ 2 ครั้ง เพียงมีบัตรประชาชน แต่ถ้าคุณไม่กล้าพอที่จะไปตรวจ คุณมีทางเลือกอีกหนึ่งทาง คือการซื้อชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองมาลองตรวจคัดกรอง เพื่อคัดกรองก่อนว่ามีโอกาสติดเชื้อหรือไม่ หากพบว่าผลเป็นบวก จึงค่อยเดินทางไปตรวจยืนยันและเข้าระบบการรักษาที่โรงพยาบาล

ตรวจเอดส์ รู้ผลทันที ตรวจเอชไอวีแบบไม่ต้องรอนาน

ตรวจเอดส์ รู้ผลทันที

ตรวจเอดส์ รู้ผลทันที ปัจจุบันการตรวจเอชไอวี ( HIV) หรือเอดส์ (AIDS) นั้น จะแตกต่างกันออกไป เพราะเมื่อร่างกายคุณ ได้รับเชื้อเอชไอวีแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย จะทำการสร้างภูมิคุ้มกัน ขึ้นมาเพื่อต่อสู้ และกำจัดเชื้อไวรัส ที่เข้าไปสู่ร่างกาย ซึ่งการตรวจเอชไอวี จะใช้หลักการตรวจ หาภูมิคุ้มกันในเลือด ปกติแล้วจะใช้ ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน หลังจากที่ติดเชื้อไปแล้ว จึงจะสามารถปิดเคส การตรวจวินิจฉัยได้

โดยเรามักจะเรียกระยะเวลา 3 เดือนนี้ว่า ระยะฟักตัว (window period) ซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่มีการติดเชื้อแล้ว แต่ยังไม่สามารถตรวจพบได้ ขึ้นกับร่างกายของแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่แล้วก็สามารถตรวจพบได้ภายใน 3 สัปดาห์หลังจากรับความเสี่ยง

แต่บางรายนั้นต้องใช้เวลานานกว่า 3 เดือน จึงจะตรวจพบ ฉะนั้นแล้วหากเข้ารับการตรวจเอชไอวี แพทย์จะพิจารณาถึงช่วงของระยะฟักตัว (window period) ที่อาจทำให้ผลการตรวจออกมาเป็นลบ โดยจะให้ทำการตรวจซ้ำๆ เป็นระยะๆ

การตรวจหาเชื้อเอชไอวีจะมี 3 วิธีหลัก ๆ คือ

การตรวจแบบ Anti-HIV เป็นการตรวจ ที่สามารถให้บุคคล ที่มีความเสี่ยง เข้ารับการตรวจ ได้ฟรีถึงปีละ 2 ครั้ง ที่โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพียงแค่ยื่นบัตรประชาชนเท่านั้น โดยการตรวจ ด้วยวิธีนี้ จะให้ผลลัพธ์ได้ ภายใน 1-2 ชั่วโมง หลังการตรวจ แต่ผลที่ได้ จะเป็นผลย้อนหลังประมาณ 1 เดือน หลังจากที่คุณไปเสี่ยงมา นอกจากนี้แล้ว โรงพยาบาลเอกชน ก็ยังสามารถตรวจหาเชื้อแบบ Anti-HIV แต่จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 500 – 800 บาท ต่อครั้ง สำหรับ การเจาะเลือดหาเชื้อเอชไอวีแล้ว อาจจะมีค่าแพทย์ ตามแต่ละโรงพยาบาล ที่แตกต่างกันออกไป

การตรวจแบบ NAT หรือ Nucleic Acid Testing การตรวจแบบ NAT จะแตกต่าง จากการตรวจแบบ Anti-HIV คือ จะสามารถ ชี้วัดผล จากร่างกายของเรา โดยย้อนหลัง ไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากที่ไปเสี่ยงมา  ยกตัวอย่างเช่น หากคุณ ไปมีเพศสัมพันธ์ แบบไม่ได้สวมถุงยางอนามัย หรือไม่ได้มีการป้องกันมา เมื่อ 1 สัปดาห์ที่แล้วมา แล้วมีความวิตกกังวลใจ ว่าจะมีความเสี่ยง ที่จะได้รับเชื้อเอชไอวีมา ซึ่งการตรวจแบบ NAT จะสามารถทราบผลเลือด ว่า เป็นบวก หรือเป็นลบ ที่แน่ชัด กว่าการตรวจ ในรูปแบบ Anti-HIV

การตรวจแบบ Rapid HIV หรือ การตรวจเอชไอวี ชนิดเร็ว การตรวจด้วยวิธีการนี้ จะใช้เวลา ในการตรวจหาเชื้อ เพียง 20 นาทีเท่านั้น ถึงแม้ว่า จะให้ผลลัพธ์เร็ว กว่าการตรวจแบบวิธีอื่น แต่ก็เป็นเพียง การตรวจ เพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น

ปัจจุบัน การตรวจแบบนี้ ถูกนำมาผลิต เป็นชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ซึ่งการตรวจด้วยวิธีการนี้ จะสามารถทำการตรวจ ได้เองที่บ้าน จึงเหมาะ กับผู้ที่ไม่สะดวก เดินทางไปตรวจ ตามสถานพยาบาล ตรวจเอดส์ รู้ผลทันที

อย่างไรก็ตาม หากคุณไปรับความเสี่ยง ที่จะติดเชื้อเอชไอวีมา ไม่ว่าจะตรวจ ด้วยวิธีการไหนก็ตาม หากภายในร่างกาย ของคุณมีเชื้อเอชไอวี อยู่แล้ว ทั้ง 3 วิธีนี้ ก็จะสามารถตรวจ พบเชื้อได้ทั้งหมด

แต่ก็ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาของการได้รับเชื้อ หรือขึ้นอยู่กับการตรวจ ในแต่ละวิธี ว่าสามารถรู้ผลช้า หรือเร็วแค่ไหน ทั้งนี้ หากคุณ มีความวิตกกังวลใจ ก็สามารถเลือก ซื้อชุดตรวจที่คัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง มาทำการตรวจ เพื่อคลายความกังวลใจ ก่อนที่จะเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เพราะหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ทั้งตนเอง และครอบครัว ก็จะได้เตรียมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และพร้อมเข้ารับการรักษาเพื่อไม่ให้เชื้อเอชไอวีลุกลามไปถึงขั้นภาวะเอดส์ได้

ติดเชื้อเอชไอวี แต่ปัจจุบัน ตรวจเอดส์ ไม่เจอ

ตรวจเอดส์ ไม่เจอ

ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เอดส์ (AIDS) เกิดจากอาการของ โรคภูมิคุ้มกันที่มีความบกพร่อง โดยสาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ได้เข้าไปสู่ร่างกาย และได้ไปทำลาย เซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาว จะทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย โดยเซลล์เม็ดเลือดขาว จะถูกทำลายมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้ผู้ป่วย มีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง

จนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และหลังจากนั้น ร่างกายของผู้ป่วย จะเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และจะส่งผล ให้เกิดโรคการ ติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมาก ผู้ป่วยโรคเอดส์มักจะเสียชีวิตลงด้วยโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ

การแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวี จากคนที่ติดเชื้อ ไปสู่คนที่ยังไม่ติดเชื้อ สาเหตุการแพร่เชื้อได้นั้น เกิดจากการที่ทั้งสองคน ไปมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่มีการป้องกัน หรืออาจเกิดจากการ ที่ใช้เข็มฉีดยาเสพติด ที่มีเลือดของผู้ที่ติดเชื้อปนเปื้อนอยู่ ก็สามารถแพร่ หรือส่งต่อเชื้อได้ในปริมาณที่มาก ในระดับหนึ่งในเลือด น้ำคัดหลั่งที่อยู่ในช่องคลอด หรือแม้แต่ในทวารหนัก เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว จะใช้เกณฑ์ปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด เป็นตัวเทียบเคียง

หากผู้ที่ติดเชื้อ มากกว่าร้อยละ 90-95 ที่ได้เข้ารับการรักษา และรับยาต้านไวรัสเกิน 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาจะมีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ (undetectable) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ ชุดทดสอบไม่สามารถ ทำการตรวจเจอได้ ซึ่งชุดทดสอบอาจจะ ตรวจเจอได้ต่ำสุดอยู่ที่ 20 , 40 หรือ 50 copies

สาเหตุที่ ตรวจเอดส์ ไม่เจอ อาจเกิดจากการที่ยาต้านไวรัสเอชไอวี ได้ไปกดทับเชื้อไว้ ถ้าหากมีการหยุดกินยาต้าน เชื้อไวรัสก็กลับมามีปริมาณเพิ่มมากขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ฉะนั้นแล้ว หากจะทำการตรวจ ให้ไม่เจอได้จะต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง ตรงต่อเวลาไปเรื่อย ๆ และควรตรวจหาปริมาณของไวรัสในเลือด อย่างน้อยปีละครั้ง หากผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ได้กินยาต้านเชื้อไวรัสเกิน 6 เดือนขึ้นไป และได้ทำการตรวจแล้ว ว่าไม่เจอเชื้อไวรัสในเลือด คนนั้นก็จะไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวี ไปสู่ผู้อื่นได้

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ได้กล่าวไว้ว่า ในทางการแพทย์จะเรียกกระบวนการนี้ว่า U=U คือ Undetectable (ตรวจไม่พบเชื้อ) และ Untransmittable (ไม่ถ่ายทอด) ดังนั้น จึงหมายความว่า หากทำการตรวจไม่เจอเชื้อเอชไอวี ก็จะไม่สามารถถ่ายทอด หรือแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้

ประเด็นหลักของ U=U ไม่ใช่เพื่อให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี และทานยาต้านไวรัส จนเชื้อนั้นเหลือน้อยเกินกว่า ที่จะตรวจพบ ไปมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน อย่างที่เป็นข่าวดัง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แน่นอนว่าคุณอาจจะสามารถทำได้กับคู่รักของคุณ คู่นอนเพียงคนเดียวของคุณ โดยควรให้อีกฝ่ายยินยอมด้วย

แต่หากเป็นกับคนอื่นๆ การไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ดังนั้น คุณจึงควรสวมใส่ถุงยางอนามัยและป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อความปลอดภัยทั้งของตัวคุณเอง และคู่นอน และที่สำคัญ คือ ควรที่จะกล้าตรวจเอชไอวี

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ผู้ป่วยที่ ติดเชื้อเอชไอวี ส่วนใหญ่แล้วจะมีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรงไม่ต่างจากผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัส โดยผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี สามารถเข้ารับการรักษาได้ ตามสิทธิด้านสุขภาพ ที่ตนเองนั้น มีไม่ว่าจะเป็นสิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ อีกทั้งยังรวมไปถึงสิทธิของ ผู้ที่ถือบัตรทอง เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง และเหมาะสม

ทั้งนี้ หากผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี ไม่สะดวกจะเดินทาง ไปตรวจคัดกรองที่โรงพยาบาล ก็สามารถทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง ด้วย ชุดตรวจที่มีความปลอดภัย แม่นยำ มาตรฐานเดียวกันกับโรงพยาบาล เพื่อทำการตรวจ และคลายความกังวลใจ เพราะหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมา การตรวจด้วยชุดตรวจ เป็นเพียงการตรวจ เพื่อคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเองเท่านั้น หากผลตรวจออกมาเป็นบวกหรือลบ ก็อย่างพึ่งวางใจ แต่ให้เดินทางไปตรวจตามสถานพยาบาลต่าง ๆ เพื่อยืนยันผลตรวจที่ชัดเจนอีกครั้ง

ตรวจเอดส์ฟรี ไปตรวจได้ที่ไหนบ้าง

ตรวจเอดส์ฟรี

 

ตรวจเอดส์ฟรี การตรวจหาเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ ในปัจจุบันยังมีบุคคล จำนวนไม่น้อย ที่ให้ความสำคัญ กับผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยทีมแพทย์หลาย ๆ ฝ่าย ต่างก็พยายามคิดค้นหา ตัวยาต่าง ๆ เพื่อนำมารักษาอาการ เหล่านี้ให้หายขาด ซึ่ง การตรวจหาเชื้อเอชไอวี นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก และแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการรักษา และการตรวจหาเชื้อ ปัจจุบันทางการแพทย์ และศูนย์บริการต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งอาจจะ เป็นเรื่องที่ยาก สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง ในการเดินหน้า เข้าโรงพยาบาล เพื่อทำการตรวจหาเชื้อ เพราะในบางครั้ง อาจไม่มั่นใจในสายตา ของผู้คนรอบข้าง หรือบางครั้ง ก็กลัวจะเสียทั้งเวลา และเสียทั้งค่าใช้จ่าย ที่ไม่มีทางรู้ได้เลย ว่าจะสูงขนาดไหน

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV) ไม่ว่าอดีต หรือปัจจุบัน การตรวจหาโรคนี้ จะให้ได้ผลดีที่สุดก็คือ การเจาะเลือด แต่การรักษา ก็จะขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล ว่ามีอุปกรณ์ หรือบุคลากรในการตรวจ หรือรักษามากน้อยเพียงใด แต่ทว่าในอดีตนั้น จะต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ

อีกทั้ง ยังรวมไปถึง ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ปกครอง มาเซ็นยินยอม ซึ่งจะแตกต่าง จากปัจจุบัน เพียงแค่มีบัตรประชาชนใบเดียว ที่ต้องพกมากับ ความสมัครใจ เพียงแค่นี้ ก็สามารถเข้ารับ การตรวจได้แล้ว อีกทั้งยังสามารถ ทำการตรวจได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ถึงปีละ 2 ครั้งอีกด้วย

การตรวจหา เชื้อเอชไอวี มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

การตรวจหา เชื้อเอชไอวี (HIV) ฟรี ตรวจเอดส์ฟรี นั้นไม่ได้มี ขั้นตอนที่ยุ่งยาก อย่างที่หลาย ๆ คนคิด เพราะหากผู้ที่มีความเสี่ยง ต้องการไปตรวจหาเชื้อ ตามโรงพยาบาล เพียงแค่มีบัตรประชาชนใบเดียว ก็สามารถรับสิทธิ ในการ ตรวจหาเชื้อเอชไอวี ฟรีได้ โดยมีขั้นตอน คือ
1. ทำการยื่นบัตรประชาชน แก่เจ้าหน้าที่ พร้องแจ้งว่ามาตรวจเชื้อเอชไอวี (HIV)
2. รับคำปรึกษา และคำแนะนำ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนทำการตรวจเลือด
3. เข้ารับการตรวจเลือด
4. รอฟังผลตรวจเลือด (ภายในวันเดียว หรือขึ้นอยู่กับ แต่ละโรงพยาบาล ได้กำหนดไว้)

ทั้งนี้ หากเด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็สามารถเข้ารับการตรวจ หาเชื้อเอชไอวีได้ฟรี โดยที่ไม่ต้องมี ผู้ปกครองมาเซ็นยินยอม การตรวจ อีกทั้งยังไม่จำเป็น ที่จะต้องมีการอดอาหารใด ๆ ทั้งสิ้น หรือแม้กระทั่ง การกินยาฆ่าเชื้อก็จะไม่มีผล ต่อการตรวจเอชไอวี เพียงแค่กำจัดความกลัว ความเขินอายในตัวคุณ และพกเพียง แค่บัตรประชาชนใบเดียว ก็สามารถรับสิทธิ ในการตรวจเอชไอวี ฟรีได้เลย

อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่มีความเสี่ยง จะเข้ารับ การตรวจหาเชื้อ หรือรักษาได้นั้น จะต้องมีความพร้อม ทางด้านจิตใจ และบุคคลรอบข้าง เป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้ว่า จะเป็นการตรวจฟรี หรือตรวจง่ายแค่ไหนก็ตาม ถ้าหากว่า ทัศนคติ ที่มีต่อบุคคลเหล่านี้ ยังไม่เปลี่ยนไป ยังมองพวกเขา ด้วยสายตา ที่น่ารังเกียจ ก็คงไม่มีใคร อยากเข้ารับการตรวจ และรักษา

เพราะอาจจะมีความเกรงกลัว สายตาจากผู้คนรอบข้าง ดังนั้น เราควรให้กำลังใจ และสร้างความมั่นใจ ให้กับพวกเขาเหล่านั้น เพื่อให้มีความมั่นใจ ในการตรวจหาเชื้อ และเข้ารับการรักษา ได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง

อีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับใคร ที่ยังไม่มีความมั่นใจ ในการไปตรวจ ตามโรงพยาบาล ทางอย.ไทย ได้ปลดล็อค ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ที่ประชาชนสามารถ ทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ด้วยตนเองได้

โดยหาซื้อชุดตรวจ ที่มีความปลอดภัย แม่นยำ มาตรฐานเดียวกัน กับโรงพยาบาล มาทำการตรวจเบื้องต้น ไปก่อนเพื่อความสบายใจ และคลายความกังวล หากผลเป็นบวก ก็สามารถไปตรวจซ้ำอีกครั้ง ที่โรงพยาบาลได้

ชุดตรวจ HIV การตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ทำได้จริง?

ชุดตรวจ HIV

ชุดตรวจ HIV ปัจจุบัน การติดเชื้อเอชไอวี จะแตกต่าง จากการติดเชื้อโรคอื่น ๆ เพราะ การติดเชื้อเอชไอวี มักจะมีแนวทาง ที่นำไปสู่การถูกตีตรา และถูกมองว่าตนนั้น เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และไม่เหมาะสม

ตามที่สังคมได้ กำหนด และยอมรับ หรืออาจเป็นเพราะ บุคคลเหล่านั้น มีความเกรงกลัวว่า ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี จะมี การแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

ซึ่งนั่น ก็เป็นปัญหา ที่นำไปสู่ การเลือกปฏิบัติ ต่อผู้ป่วยติดเชื้อ โดยการที่ อาจจะถูกมองว่า เป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี และการที่อาจจะ ถูกเลือกปฏิบัติต่อตน นั่นจึงอาจเป็นปม ปัญหาสำคัญ ของกำแพงในใจ

ทำให้คนจำนวนมาก ไม่กล้า ที่จะมาตรวจหา การติดเชื้อเอชไอวี เพราะเกรงว่าจะถูกมอง ด้วยสายตาอย่างไร หรือผู้ป่วย ที่ติดเชื้อแล้วนั้น ไม่กล้าที่จะเปิดเผยตนเอง ต่อสังคม

นอกจากนี้แล้ว ปัญหา และอุปสรรคมากมาย จึงทำให้ คนจำนวนมาก ไม่ไป ตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพราะคิดว่าอาจมีความยุ่งยาก ต่อการไปตรวจตาม สถานพยาบาล หรือคลินิกต่าง ๆ รวมไปถึงการที่ จะมีการแสดงตัวตน เมื่อไปตรวจตาม สถานบริการต่าง ๆ ถึงแม้ว่าผลตรวจนั้น จะออกมาเป็นบวก หรือลบก็ตาม

ซึ่งการไปตรวจหา เชื้อเอชไอวีนั้น เปรียบเสมือนว่า ได้ประกาศให้สังคม รับรู้ไปแล้วว่าตนเองนั้น เป็นผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี  จึงทำให้คนในสังคม เลือกที่จะปฏิบัติ กับตนอย่างไม่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ชุดตรวจ HIV การมีชุดตรวจเอชไอวี ด้วยตนเอง จะทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี สามารถตรวจหาเชื้อได้ อย่างรวดเร็ว และจะไม่ปล่อย ให้ตนเองนั้น มีการแสดงอาการ หรือพบการติดเชื้อ ในระยะที่สามารถ ทำการรักษาลำบาก หากตรวจเจอก่อน โอกาสในการรักษา จะยิ่งง่าย และอาจจะมีคุณภาพชีวิต ที่ดียิ่งขึ้น การอยู่ร่วมกัน กับคนในสังคม จะยิ่งใช้ชีวิตได้ง่าย ซึ่งนอกจากนี้แล้ว ยังช่วยลดภาระ ของเจ้าหน้าที่ โดยในกรณี ที่บางคนนั้น ได้ไปบริจาคเลือด เพื่อแฝง ไปกับการตรวจ หาเชื้อเอชไอวี ทางอ้อมไปอีกด้วย

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง นั้นมีความจำเป็น ที่จะต้อง กำหนดคุณภาพ ของชุดตรวจ เช่น การแสดงฉลาก ที่มีข้อบ่งชี้ วิธีการใช้ วิธีการเก็บรักษา คำเตือน ข้อควรระวัง องค์ความรู้ เกี่ยวกับระยะ การตรวจหาเชื้อ และวิธีการอ่านค่า อย่างละเอียด เพื่อให้ได้ผล ที่ชัดเจน และมีความใกล้เคียง มากที่สุด ซึ่งถ้าหาก ในกรณีที่ มีการใช้ชุดตรวจ ไม่ถูกต้อง เช่น มีการอ่านค่า เกี่ยวกับชุดตรวจผิด หรือการตรวจเพียงครั้งเดียว อาจจะไม่สามารถ ยืนยัน ผลที่ชัดเจนได้ จึงทำให้ มีการแบ่งชุดตรวจ เป็นการตรวจกรอง และตรวจยืนยันขึ้น โดย การตรวจกรองนั้น ก็สามารถตรวจได้ ด้วยตนเอง และหากได้ใช้ ชุดตรวจกรองแล้ว พบว่า มีปฏิกิริยา ( reactive ) หรือผลบวก ผู้ตรวจจะต้องมีการตรวจ เพื่อยืนยันผลตรวจ การติดเชื้อเอชไอวีอีกครั้ง กับหน่วยบริการ ที่ให้บริการตรวจวินิจฉัย เพื่อหาเชื้อเอชไอวี และ การใช้ชุดตรวจด้วยตนเอง นั้นไม่ควรตรวจเพียงครั้งเดียว ควรจะต้องตรวจซ้ำอีก ที่ระยะเวลาแตกต่างกัน เพราะชุดตรวจด้วยตนเอง จะเป็น เพียงการตรวจ เพื่อคัดกรอง เบื้องต้นเท่านั้น

ชุดตรวจกรอง เอชไอวี ในปัจจุบัน โดยเฉพาะ ที่ผ่านมาตรฐานอย.ไทย จะมี ความแม่นยำ มากกว่า 99.5%

จากที่กล่าวมาข้างต้น หากใครที่มีความเสี่ยง ว่าจะติดเชื้อเอชไอวี ก็ควรทำการตรวจ เพื่อคัดกรองเบื้องต้นก่อน โดย การเลือกซื้อชุดตรวจ ที่มีความปลอดภัย แม่นยำ มาตรฐานเดียวกัน กับโรงพยาบาล มาทำการตรวจ เพื่อคัดกรอง เบื้องต้นก่อน เพราะหากรู้ผลตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะได้ เข้ารับ การรักษาHIV และรับยาต้าน ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม

 

อินสติชุดตรวจHIV ด้วยตนเอง เจ้าแรกที่ผ่านอย.ไทย เลขที่ได้รับอนุญาต 64-2-1-1-0000679 สามารถนำไปเช็คเว็บไซต์ของอย.ไทย ได้เลย มั่นใจได้ เมื่อตรวจ HIV กับ อินสติ (Insti) ผลิตจากแคนาดา

อินสติชุดตรวจHIV ด้วยตนเอง ได้รับการรับรองจาก

  • Health Canada
  • WHO
  • CE

มีจำหน่ายแล้วที่ร้านขายยาชั้นนำทั่วประเทศ ดูร้านขายยาที่จำหน่าย เพิ่มเติมได้ที่>>> Instiใกล้บ้านฉัน 

และหาซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ส่งตรงถึงบ้านคุณ ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, JD Central, Line My Shop หรือ แอดไลน์โดยตรงที่ @insti หรืออีกช่องทางคือสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ได้โดยตรงที่ www.thailandhivtest.com

อาการติดเชื้อHIV มีลักษณะอย่างไร?

อาการติดเชื้อhiv

อาการติดเชื้อHIV โรคเอชไอวี (HIV) เป็นโรคที่เกิดจาก เชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง จะแพร่เชื้อ ขณะมีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางช่องคลอด หรือ ทางทวารหนัก โดยที่ไม่ได้ป้องกัน เชื้อไวรัสชนิดนี้ จะสามารถ แพร่เชื้อได้ ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ทางปาก โดยไม่ได้ป้องกัน โดยเฉพาะถ้าหากว่า ฝ่ายชายนั้น ต้องหลั่งอสุจิภายในปาก และหากว่าช่องปากนั้น มีบาดแผล นอกจากนี้แล้ว เชื้อไวรัสเอชไอวี ก็ยังสามารถติดต่อได้ ผ่านทางเลือด หากว่าคุณใช้หลอด หรือ เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสชนิดนี้

อาการ ของโรคเอชไอวี

หากเกิด การติดเชื้อเอชไอวี ในช่วงแรก ๆ จะยังไม่รู้สึกถึงอาการใด ๆ หรือบางคน อาจจะมีอาการเจ็บคอ บ้างเล็กน้อย มีไข้ และต่อมน้ำเหลืองโต หรือบางคนอาจเป็นผื่น ขึ้นตามร่างกาย ซึ่งอาการจะปรากฏ ในประมาณ 1-4 สัปดาห์ หลังจากที่ติดเชื้อ โดยจะเรียกว่า อาการติดเชื้อระยะแรก อาจจะมีอาการคล้าย ๆ กับเป็นไข้หวัด และมักจะหายหลังจาก 1 สัปดาห์ แต่เชื้อไวรัส ก็จะยังค่อย ๆ ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ให้อ่อนแอลงเรื่อย ๆ และเชื้อจะแพร่กระจายมากขึ้น ในช่วง 2-3 เดือนแรก หลังจากที่ติดเชื้อ จึงทำให้ปริมาณของเชื้อ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนที่ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย จะมีการตอบโต้ทัน หรือว่าจะมีอาการ หรือไม่มีอาการก็ตาม

ระยะ ของการติดเชื้อเอชไอวี มี 3 ระยะ ( อาการติดเชื้อHIV ) คือ

– ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infections) ซึ่งเป็นระยะแรกของ การติดเชื้อเอชไอวี จะเกิดขึ้นระหว่าง 2-4 สัปดาห์ หลังจากการติดเชื้อ ในระยะแรกนี้ ผู้ติดเชื้อจำนวนมาก จะเริ่มมีอาการ คล้ายกับเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น เจ็บคอ มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหัว และมีผื่นขึ้น ซึ่งจะเรียกอาการเหล่านี้ว่า เฉียบพลัน หรือ acute retroviral syndrome (ARS) จะเกิดขึ้น จากการที่ร่างกาย มีการตอบสนอง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี ในระยะนี้ เชื้อเอชไอวี จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เป็นจำนวนมากในร่างกาย ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว ในร่างกายลดจำนวนลง อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นระยะ ที่มีความเสี่ยงสูงมาก ที่ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการป้องกัน การแพร่กระจาย ของเชื้อเอชไอวี

– ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage) จะเป็นระยะที่เชื้อไวรัสอยู่ภายในร่างกาย โดยที่ไม่แสดงอาการ หรืออย่างมาก ก็มีอาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะเรียกระยะนี้ว่า ระยะติดเชื้อเรื้อรัง (chronic HIV infection) โดยในระยะนี้ เชื้อไวรัสจะมีปริมาณที่เพิ่มากขึ้น ในระดับต่ำ และมักจะใช้ระยะเวลาถึง 10 ปี หรือสำหรับผู้ติดเชื้อบางราย อาจจะใช้เวลาน้อยกว่านั้น

– ระยะ โรคเอดส์ (AIDS) เป็นการติดเชื้อในขั้นสุดท้าย ของการติดเชื้อเอชไอวี โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่แข็งแรงมีปริมาณ ของเซลล์เม็ดเลือดขาว อยู่ระหว่าง 500-1,600 ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเอดส์นั้น จะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 200 เมื่อถึงจุดนี้ ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายได้ถูกทำลายลง อย่างรุนแรง จนทำให้ผู้ป่วย มีการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย

ซึ่งเกิดจากเชื้อโรค ที่ไม่ก่อให้เกิดโรค ในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แต่ทำให้เกิดโรค กับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ไม่ว่าผู้ป่วย จะมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวเท่าใดก็ตาม

จากที่กล่าวมา ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม หากคุณมีความกังวล ว่าคุณอาจติด เชื้อเอชไอวี ก็ควรที่จะทำการตรวจเลือดด้วย ชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้น สามารถตรวจได้เองที่บ้าน ปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็ว และง่ายมาก ๆ

สำหรับ ผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางไป ตรวจตามสถานพยาบาล เพราะหากตรวจพบ การติดเชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความกังวลใจ และทำให้คุณได้รับการรักษา ที่ถูกต้อง และเหมาะสม