ซิฟิลิส เลือดบวก หมายความว่าอะไร ติดต่อได้จากทางใดบ้าง

ซิฟิลิส เลือดบวก

ซิฟิลิส เลือดบวก หมายความว่าอะไร โรคซิฟิลิส (Syphilis) นับเป็นโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ที่มีความร้ายแรง ไม่น้อยไปกว่า โรคเอดส์ เพราะเป็นโรคหนึ่ง ที่มีสาเหตุมาจากการ ติดเชื้อแบคทีเรีย โรคซิฟิลิสสามารถ รักษาให้หายได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้  ไม่เข้ารับการรักษา เป็นเวลานาน หรือในระยะยาว ซิฟิลิส อาจจะแสดงอาการหลากหลาย ภายในระบบร่างกาย ซึ่งถือว่าร้ายแรงมากกว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ชนิดอื่น ๆ

โดยโรคซิฟิลิสนี้ จะมีระยะ ที่สามารถแฝงตัว ของโรคที่ยาวนาน และ สามารถแพร่เชื้อ ไปสู่ผู้อื่นได้อีกด้วย ในปัจจุบัน โรคซิฟิลิสเป็น โรคที่สามารถ พบได้บ่อย รองมากจากโรคหนองในแท้ และหนองในเทียม ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งกับผู้ชาย และผู้หญิง

ซิฟิลิส เลือดบวก หมายความถึง การแปลผลตรวจซิฟิลิส โดยผลเลือดบวก สามารถแปลได้ว่า มีการติดเชื้อซิฟิลิส ต้องเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด

โรคซิฟิลิสนั้น สามารถติดต่อได้อย่างไร หากผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นซิฟิลิสนั้น เชื้อจะเข้าไปสู่ร่างกาย ซึ่งจะเข้าไปได้ผ่านทางการสัมผัสกับแผล หรือเชื้อโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น การจูบ อม เลีย หรือแม้แต่ การไปสัมผัสกับบริเวณแผล โดยตรงในตำแหน่งของ ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องคลอด ช่องปาก เยื่อบุต่าง ๆ หรือแม้แต่การไปสัมผัส กับแผลถลอกเล็กน้อย บนผิวหนังของผู้ติดเชื้อ และเมื่อเชื้อได้เข้าสู่กระแสเลือดแล้ว เชื้อซิฟิลิสจะเข้าไป จับตามอวัยวะต่าง ๆ แล้วทำให้สามารถ เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ในระยะยาว หากผู้ที่กำลังมีความเสี่ยงนั้น โรคซิฟิลิส จะสามารถสังเกตให้เห็นได้ ตามระยะการติดเชื้อ คือ

– ระยะแรก ในระยะแรก ของซิฟิลิสนี้ จะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับเชื้อมาประมาณ 3 สัปดาห์ โดยมักจะมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ลูกอัณฑะ ทางทวารหนัก บริเวณช่องคลอด และริมฝีปาก หากได้รับเชื้อมาจะเรียกว่า แผลริมแข็ง จะไม่รู้สึกเจ็บ แผลจะเรียบ หลังจากนั้นประมาณ 3 – 6 สัปดาห์ แผลนั้นจะหายไปเอง

– ระยะสอง หลังจากระยะแรก ผ่านไประยะที่สองจะเกิดขึ้น ประมาณ 2 สัปดาห์ – 2 เดือน จะเรียกว่า “ระยะออกดอก หรือระยะผื่น” โดยในระยะนี้ จะมีผื่นขึ้นตามร่างกาย เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะ เกิดขึ้นภายในปากได้ อาจมีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต หรืออาจจะมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้

– ระยะแอบแฝง ในระยะนี้ เชื้อที่อยู่ภายในร่างกาย จะไม่มีการปรากฏให้เห็น แต่หากทำการตรวจเลือด ก็อาจตรวจพบเชื้อได้

– ระยะสาม ในระยะที่สามนี้ จะเป็นระยะสุดท้าย ของการติดเชื้อ โดยทั่วไป อาการจะปรากฏ ได้ในสมอง ซึ่งเรียกง่าย ๆ ว่า “ซิฟิลิสขึ้นสมอง” โดยมีอาการคือ

1. เชื้อจะไปทำลาย ไขสันหลัง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เสียการทรงตัว เดินไม่ถนัด รู้สึกขาลาก จะไม่สามารถอั้นปัสสาวะได้

2. อาจมีพฤติกรรม ที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น การรับรู้จะเสียไป ตาผิดปกติ สัมผัสทั้งห้าจะเปลี่ยนไป การพูดการจาจะช้าลง เป็นต้น

3. ม่านตาจะเล็กลง ตาจะไม่ตองสนองต่อแสง

 

อย่างไรก็ตาม หากใครที่ตรวจแล้ว เลือดเป็นบวก ปัจจุบันมีวิธีการรักษา ที่สามารถรักษาโรคซิฟิลิสให้หายได้ ถึงแม้ว่าจะรักษาให้หายแล้วก็จริง แต่หากทำการตรวจอีกครั้ง ผลตรวจก็จะยังตรวจพบเชื้อได้ เพราะชุดตรวจแต่ละรูปแบบ จะมีวิธีการตรวจ ที่แตกต่างกันออกไป บางชุดตรวจ อาจมีการจดจำแอนติบอดี ของร่างกาย ไม่ว่าตรวจกี่ครั้ง ก็จะตรวจเจอเชื้อซิฟิลิส

ทั้งนี้ หากผู้ที่กำลัง มีความเสี่ยงก็ให้ทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อเป็นการวินิจฉัย ซึ่งปัจจุบันได้มี ชุดตรวจซิฟิลิสด้วยตนเอง ที่สามารถทำการตรวจได้ที่บ้านโดยที่ไม่ต้อง เดินทางตรวจตามสถานพยาบาล มีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน โดยชุดตรวจ จะเป็นการตรวจ เพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากไม่แน่ใจ ก็ควรเดินทาง ไปตรวจตาม สถานพยาบาล

ชุดตรวจโรค เอชไอวีและซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยอดฮิตของคนไทย

ชุดตรวจโรค

ชุดตรวจโรค เอชไอวี และซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยอดฮิตของคนไทย มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น จำนวนมาก จากประวัติเข้ารับ การรักษา และผู้ป่วย อีกจำนวนมาก ที่ไม่ยอมไปตรวจ โดยติดเชื้อ อยู่แบบไม่รู้ตัว และปัจจุบัน ก็มีผู้คนจำนวนมาก ไม่สวมใส่ ถุงยางอนามัย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ติดโรคเอชไอวีและ ซิฟิลิสได้ง่ายขึ้น

ชุดตรวจโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีการพัฒนา ขึ้นมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน มีหลายประเภท แบ่งเป็นการตรวจคัดกรอง และการตรวจยืนยัน แตกต่างกัน คือ

ผู้ที่ เข้ารับการตรวจ จะได้ตรวจคัดกรองก่อน เพื่อดูผลว่า มีโอกาสเสี่ยง หรือไม่ เนื่องจาก การตรวจคัดกรอง สามารถทำได้รวดเร็ว ซึ่งช่วยทำให้ ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายถูกกว่า หากตรวจพบว่า มีโอกาสได้รับการติดเชื้อ ก็ต้องรอตรวจยืนยันผล ในขั้นตอนต่อไป

หากพบว่า ไม่มีโอกาสติดเชื้อ ก็สามารถเดินทาง กลับบ้านได้เลย (ทางการแพทย์ จะสอบถามผู้ป่วย ก่อนว่า เสี่ยงมานานแค่ไหน เพื่อเลือกวิธีตรวจ และแนะนำการตรวจ) การตรวจยืนยัน จะเป็นการส่งตัวอย่างเข้า ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ ตรวจวิเคราะห์ ด้วยวิธีที่แม่นยำ และละเอียดขึ้น เพื่อสรุปผลว่า ผู้ป่วยติดเชื้อหรือไม่

ตัวอย่างที่ใช้ ในการตรวจมีทั้ง ตรวจจากเลือด หรือ ตรวจจากน้ำในช่องปาก แต่ที่นิยมตรวจ จะเป็นการตรวจจาก เลือดมากกว่า เนื่องจากเลือดนั้น ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย และสิ่งที่พบได้ ในเลือดก็จะเป็น ไวรัส แบคทีเรีย ปรสิต

ชุดตรวจ โรคเอชไอวี ในปัจจุบัน ที่เป็นการตรวจคัดกรอง มีทั้งหมด 3 ประเภท ที่พบเห็น ได้บ่อย ในปัจจุบันนี้ คือ
1. ตรวจ NAT สามารถ ตรวจได้ตั้งแต่ 1 สัปดาห์หลังเสี่ยง
2. ตรวจหาแอนติบอดี และแอนติเจนในชุดตรวจเดียวกัน สามารถ ตรวจได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังเสี่ยง
3. ตรวจหาแอนติบอดี ต่อเชื้อเอชไอวี สามารถตรวจได้ ตั้งแต่ 3 สัปดาห์หลังเสี่ยง
ทั้งหมด มีควาแม่นยำสูง แตกต่างกันที่ ระยะเวลา ที่สามารถตรวจได้

ชุดตรวจโรคซิฟิลิส จริง ๆ แล้ว การวินิจฉัยซิฟิลิส สามารถตรวจวิเคราะห์ ได้จากแผลซิฟิลิส ในระยะที่หนึ่ง ตรวจจากเลือด และ ตรวจน้ำไขสันหลัง ส่วนใหญ่จะใช้ตรวจ ในผู้ป่วย ที่มีอาการเข้าขั้น ที่สามแล้ว การตรวจซิฟิลิส มักจะนิยมตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ ที่เป็นชุดตรวจโรค ที่พบเห็น ในปัจจุบัน จะเป็นแบบ Rapid test โดยตรวจ จากตัวอย่าง เลือดที่ปลายนิ้ว

การตรวจโรค ในปัจจุบันสามารถ ตรวจได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะรู้ผล ภายในไม่กี่นาที ซึ่ง มีความแม่นยำสูง แต่จะแม่นยำจริง หรือ ไม่ขึ้นอยู่กับระยะเสี่ยงจริง ๆ ที่ผู้ตรวจไปเสี่ยงมา เป็นการ ตรวจคัดกรองเท่านั้น หากผลออกมา พบว่า มีความโอกาส ได้รับการติดเชื้อ ผู้ตรวจก็ควรไปตรวจยืนยัน ที่โรงพยาบาล อีกครั้งหนึ่ง แต่ หากผลตรวจ พบว่า ไม่มีการติดเชื้อ ก็สามารถสบายใจได้

ช่องทาง ที่สามารถติดเชื้อ ได้มากที่สุด คือ การรับเลือด ผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อ หรือ มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ  ไม่สามารถ บริจาคเลือดได้ เนื่องจาก สามารถส่งต่อโรค ไปทางเลือดได้ ยกตัวอย่างโรคเอชไอวี เครื่องตรวจ ที่ดีที่สุด สามารถตรวจหา เชื้อเอชไอวี จากเลือดได้ต่ำสุด คือ 20 ตัว/CCเลือด

ดังนั้น หากมีความเสี่ยงมา หรือทานยาต้านไวรัส หรือเชื้ออยู่ ในระยะฟักตัว ปริมาณของเชื้อ อาจต่ำกว่าที่เครื่อง สามารถตรวจได้

ตรวจ NAT ที่ไหน เอชไอวี

ตรวจ NAT ที่ไหน

ตรวจ NAT ที่ไหน เอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV) เป็นโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ที่สามารถติดต่อกันได้ จากอีกคน ไปยังอีกคน ได้ผ่านทางเลือด ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่จากแม่ไปยังลูก

โดยเชื้อ จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่มีหน้าที่ปกป้อง ร่างกายจากการติดเชื้อ และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว และระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ได้ถูกเชื้อเอชไอวี ทำลาย จะทำใหร่างกายอ่อนแอ และสามารถเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย จึงทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อมีอาการป่วยบ่อยกว่าผู้ป่วยทั่วไป เพราะระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ได้ถูกทำลายลง ให้มีการทำงานที่บกพร่อง

ในปัจจุบันการ ตรวจหาเชื้อเอชไอวี นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งวิธีการตรวจหาเชื้อ ถ้าจะให้เห็นผล ได้ชัดที่สุด คือ การตรวจด้วยเลือด ดังนั้น การตรวจหาเชื้อเอชไอวี จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธีหลัก ๆ คือ

– แอนติบอดี (Antibody) การตรวจ ด้วยวิธีการนี้ เป็นการตรวจหา “ภูมิคุ้นเคย” หรือเรียกอีกอย่างว่า “ภูมิคุ้มกัน” ซึ่งร่างกาย ได้สร้างขึ้นมาเพื่อทำการตอบสนอง ต่อเชื้อเอชไอวี ที่เข้าไปสู่ร่างกาย

– แอนติเจน (p24 antigen) วิธีการนี้ เป็นวิธีการตรวจหา ชิ้นส่วนของ เชื้อไวรัส ซึ่งวิธีการนี้ สามารถทำการ ตรวจพบเชื้อได้ หลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้ว 2 – 3 สัปดาห์

– แนท (NAT หรือ Nucleic Acid Testing) การตรวจด้วยวิธีการนี้ เป็นการตรวจหา สารพันธุกรรม ของเชื้อเอชไอวี วิธีการนี้ สามารถตรวจเจอเชื้อ ได้หลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้ว 1-2 สัปดาห์ ยกตัวอย่างเช่น

หากเรา ไปมีเพศสัมพันธ์ แบบไม่ได้มีการป้องกัน มาแล้วเมื่อ 1 สัปดาห์ที่แล้ว แล้วมีความกังวลใจ ว่าจะได้รับความเสี่ยง ในการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่ง วิธีการตรวจแบบ NAT เป็นวิธี ที่จะทำให้คุณ สามารถรู้ผลตรวจ ว่าเป็นบวก หรือ ลบ ได้แน่ชัดกว่า วิธีการอื่น

ตรวจ NAT ที่ไหน ปัจจุบัน ได้มีคลินิกนิรนาม ที่ให้คำปรึกษา ด้านโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ มีบริการตรวจหาเอเอชไอวี ด้วยวิธีการตรวจแบบ NAT ฟรี ปีละ 2 ครั้ง เพียงผู้ที่ต้องการตรวจยื่นบัตรประชาชนเพื่อรับสิทธิเพียงนี้ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม NAT เป็นการตรวจสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อมา หรือสำหรับผู้ที่มีความกังวลหลังจากมีความเสี่ยง โดยวิธีการตรวจด้วย NAT เป็นวิธีการตรวจ ที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีความแม่นยำ จึงไม่จำเป็น ที่จะต้องรอ ให้ถึงระยะเวลาถึง 1 เดือน เหมือนอย่างที่ผ่านมา

คนส่วนใหญ่ทั่วไป หากติดเชื้อเอชไอวี จะตรวจพบโดยวิธีการตรวจแบบ NAT อยู่ที่ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจาก ไปมีความเสี่ยงมา เพราะวิธีการตรวจเลือด แบบแนท ถือว่า มีความไว ในการตรวจกว่า วิธีการเดิม คือ Anti-HIV ที่จำเป็น จะต้องรอ ให้ร่างกาย ได้สร้างภูมิคุ้นเคยเพื่อต่อต้าน กับเชื้อ จึงจะสามารถตรวจพบเชื้อได้

ซึ่ง การตรวจด้วยแนท จะทำงาน ด้วยการตรวจ เพื่อหาเชื้อเอชไอวีโดยตรง ดังนั้น เราจึง ไม่จำเป็น ที่จะต้องรอ ให้ร่างกาย สร้างภูมิคุ้นเคยหลังจาก ที่ได้รับความเสี่ยงมา

ทั้งนี้แล้ว หากผู้ที่มีความกังวลใจ ว่าจะติดเชื้อหรือไม่ ปัจจุบันได้มีชุดตรวจ ที่สามารถทำการตรวจได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นทางออก สำหรับผู้ที่ไม่กล้าเดินทางไปตรวจตามโรงพยาบาล

ชุดตรวจHIVด้วยตนเอง จะมีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นการตรวจ เพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากตรวจแล้วพบว่าผลเป็นบวก คือ มีโอกาสได้รับการติดเชื้อ ก็ให้เดินทาง ไปตรวจตามโรงพยาบาล เพราะตรวจเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะได้เข้ารับ การรักษาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม

ซิฟิลิส รักษาหาย ไหม

ซิฟิลิส รักษาหาย ไหม โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็น โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ชนิดหนึ่ง ที่มีความร้ายแรง และ ติดต่อได้ง่าย ๆ ไม่น้อยไปกว่า โรคเอดส์

ซึ่ง สามารถพบเห็น ได้บ่อยรองลงมา จากโรค หนองในแท้ และ หนองในเทียม โรคซิฟิลิสนั้น ได้กลับมาระบาด อีกครั้งเนื่องจากสาเหตุที่ วัยรุ่นสมัยใหม่ ได้ไปมีเพศสัมพันธ์กัน โดยที่ไม่สวมถุงยางอนามัย

หรือ วัยรุ่นบางกลุ่มอาจ เปลี่ยนคู่นอนบ่อยเกินไป โดยทั่วไป โรคซิฟิลิสถูกจัดว่า เป็นโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์

ดังนั้น วัยรุ่นส่วนใหญ่ ก็อาจจะเข้าใจว่า ต้องมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น จึงจะ สามารถติดซิฟิลิสได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว การ จะติดโรคซิฟิลิสได้นั้น ไม่จำเป็นที่ จะต้องสอดใส่ เสมอไป เพราะโรคซิฟิลิสนั้น สามารถติดต่อกันได้ ผ่านการสัมผัส โดยตรงเช่นกัน

ไม่ว่าจะเป็น การจูบ การทำออรัลซ์เซ็กส์ การเลีย เยื่อบุตา โดยการกระทำนั้น ไปสัมผัสเข้ากับบาดแผล ของผู้ป่วยซิฟิลิส แม้เพียงแค่เล็กน้อย ก็สามารถ ติดเชื้อซิฟิลิสได้

ซิฟิลิส รักษาหาย ไหม

ซิฟิลิส รักษาหาย ไหม โรคซิฟิลิส ในปัจจุบันนี้ สามารถรักษา ให้หายขาดได้ หากมี การตรวจพบเชื้อซิฟิลิส ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น จะสามารถรักษา ให้หายได้ โดยการฉีดยาปฏิชีวนะ ประเภทเพนิซิลลิน เข้าไปในกล้ามเนื้อ ร่วมไปกับ การรับประทานยาต้าน หากผู้ป่วยบางราย ได้มีการติดเชื้อ มาเป็นเวลานาน ทางแพทย์ จะมีการเพิ่มขนาด ของยาเพื่อให้ การรักษามีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น และระยะเวลา ในการรักษานั้น ก็ขึ้นอยู่กับระยะโรค ที่เป็นด้วย โดยผู้ป่วย ก็ต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งรัด และ รับยาอย่างสม่ำเสมอ ในระยะเวลาที่กำหนด

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า โรคซิฟิลิสนั้น จะสามารถรักษา ให้หายได้ แต่ก็ต้องทำการตรวจ หาเชื้อซ้ำอีกครั้ง 3 เดือน เป็นระยะเวลา ประมาณ 3 – 5 ปี หลังจากที่ได้เข้ารับ การรักษา เพราะเนื่องจาก ร่างกายอาจจะยังมีเชื้อ ในระยะที่แอบแฝง อยู่ภายในร่างกาย

ดังนั้น หากผู้ที่ติดเชื้อ ได้เข้ารับการรักษา และหายแล้ว ควรลด การมีเพศสัมพันธ์ ไปสักระยะก่อน เพื่อลดความเสี่ยง ของการติดโรค รวมถึงแพร่เชื้อ หรือเป็นการป้องกัน การแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น จนกว่า จะแน่ใจว่า เชื้อซิฟิลิส ได้หายขาดแล้ว

นอกจากนี้แล้ว การติดเชื้อซิฟิลิส ก็ยังสามารถมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น มาอีกระดับ คือ อาจมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งก่อให้เกิด โรคเอดส์ได้ด้วย

โดยทั่วไป พบว่า ผู้ป่วยติดเชื้อซิฟิลิส มีโอกาสเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้มากถึง 2 – 5 เท่า ของคนปกติทั่วไป เพราะการติดเชื้อซิฟิลิสนั้น จะทำให้ภูมิคุ้มกัน ภายในร่างกาย เกิดการอ่อนแอ และบกพร่องลง จึงเป็นสาเหตุ ที่อาจทำให้ผู้ป่วย ซิฟิลิสสามารถเกิดโรคแทรกซ้อน ที่เป็นการติดเชื้อเอชไอวี ได้อีกด้วย อีกทั้งด้วยคนเป็นซิฟิลิส จะมีบาดแผลริมแข็ง ซึ่งเป็นอาการของโรค ทำให้เสี่ยง ได้รับเชื้อเอชไอวี ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ได้ง่ายขึ้นจากทางบาดแผล

อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่มีความกังวลใจ ก็ควรทำการตรวจ เพื่อวินิจฉัย หาการติดเชื้อ ซึ่งในปัจจุบัน ก็ได้มีชุดตรวจ ที่สามารถทำการ ตรวจได้ด้วยตนเองที่บ้าน ที่มีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นทางออก สำหรับผู้ที่ไม่กล้าเดินทาง ไปตรวจตามสถานพยาบาล หรือคลินิก ได้ทำการตรวจ เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อคลายความกังวลใจ เพราะหากตรวจพบ เชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะได้เข้ารับการรักษา และรับยาต้าน ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม

ทั้งนี้ ชุดตรวจที่สามารถทำการตรวจได้ด้วยตนเอง เป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากผลตรวจออกมาแล้วไม่ว่าจะเป็นบวกหรือเป็นลบก็ตาม ก็ควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผลตรวจที่แน่ชัด

Anti TP คือ อะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับซิฟิลิส

Anti TP คือ

Anti TP คือ อะไร เกี่ยวข้อง อย่างไร กับซิฟิลิส โรคซิฟิลิส (syphilis) นับเป็นอีกหนึ่งโรค ที่มีการติดต่อ ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ ที่สามารถ พบได้มาก ในหมู่คนไทย โรคซิฟิลิสนั้น หากเป็นแล้ว จะสามารถรักษา ให้หายขาดได้ ซึ่งนอกจากผู้ที่เป็น โรคเอดส์ โรคหนองในแท้ หนองในเทียม โรคซิฟิลิส ยังเป็นโรค ที่สามารถติดต่อ ได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งถือว่า เป็นโรคที่น่ากลัว โรคหนึ่งเลย

โรคซิฟิลิส จะมีสาเหตุที่เกิดจากการ ติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อว่า Treponema Pallidum หากกล่าวว่า ทำไมซิฟิลิส ถึงได้น่ากลัว ก็อาจจะ เป็นเพราะเมื่อเชื้อ เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เห็นได้ชัด
แต่ซิฟิลิส ก็ยังสามารถ ติดต่อกันได้ แม้ไม่มีการแสดงอาการ และเมื่อรับเชื้อมาแล้ว ไม่ได้รับการตรวจ ก็อาจจะเป็นโรคเรื้อรัง นานกว่า 2 ปี และหากทำการรักษา ให้หายแล้ว แต่ได้รับเชื้อ มาใหม่ก็ยังสามารถกลับมาเป็นใหม่ ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ โรคซิฟิลิสอาจพบได้ 10-15 % ของโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ทั้งหมด และหากใคร ที่กำลังคิดว่า ตนเองนั้นอยู่ ในกลุ่มเสี่ยง ที่อาจก่อให้เกิด โรคซิฟิลิสนั้น ก็ควรศึกษา เกี่ยวกับโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็นอาการ สาเหตุ การติดต่อ วิธีการรักษา หรือแม้แต่ วิธีการตรวจ เพื่อเป็นแนวทาง ในการรับมือ

โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ที่มีสาเหตุมาจาก เชื้อ Treponema Pallidum ซึ่งในการตรวจหาเชื้อ ชนิดนี้ ด้วยวิธีการ Nucleic Acid Testing ยังคงไม่สามารถ นำมาใช้ตรวจได้ ในห้องปฏิบัติการทั่วไป

การตรวจทางซีโรโลยี (Serology) จะถูกนำมาใช้ ในการวินิจฉัย และถูกนำมาติดตาม วิธีการรักษา โรคซิฟิลิส ซึ่งในการทดสอบ จะแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

– การตรวจแบบ ใช้แอนติเจนไม่จำเพาะ (Non-Treponemal Test) วิธีการตรวจนี้ จะเป็นวิธี ที่ไม่ได้ตรวจหา เชื้อแอนติบอดีต่อเชื้อโดยตรง แต่วิธีการนี้ เป็นเพียงวิธีการตรวจ ที่ตรวจหาแอนติบอดี

ที่ร่างกายนั้นได้สร้างขึ้นมา โดยแอนติบอดี ชนิดนี้ จะเรียกว่า Reagin โดยทั่วไป จะสามารถพบได้ ในโรคชนิดอื่น ๆ ที่เนื้อเยื่อ ได้มีการทำลาย

– การตรวจแบบ ใช้แอนติเจนจำเพาะจากเชื้อ (Treponemal Test) ซึ่งจะเป็นการตรวจ หาเชื้อแอนติบอดีที่มีต่อเชื้อ Treponema Pallidum โดยตรง เป็นแอนติบอดีที่ร่างกายได้สร้างขึ้นมาหลังจากมีการติดเชื้อแล้ว ซึ่งชุดตรวจที่ใช้ตรวจด้วยวิธีการแบบจำเพาะจะมีหลักในการตรวจมากมายที่แตกต่างออกไป

ในปัจจุบัน วิธีการตรวจหาเชื้อ ในรูปแบบชุดตรวจ หาการติดเชื้อ Treponema Pallidum ได้มีการพัฒนาน้ำยา ที่ใช้ในการตรวจให้มีความไว และมีความจำเพาะสูงมากขึ้น คือ วิธีการตรวจแบบ Rapid Test ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมา คือ Immuno Chromatographic Strip (ICS) โดยแอนติบอดีต่อเชื้อ Treponema pallidum ซึ่งจะทำปฏิกิริยา หรือจับกัน เรียกการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อนี้ว่า Anti TP คือ Anti: Antibody, TP: Treponema Pallidum

อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่กำลังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการก่อให้เกิดโรคซิฟิลิส ก็ควรทำการตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้น ด้วยชุดตรวจคัดกรองด้วยตนเอง ที่มีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน

โดยสามารถทำการตรวจได้ด้วยตนเองที่บ้าน ซึ่งชุดตรวจซิฟิลิสด้วยตนเองเป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น เพื่อเป็นทางออกให้กับผู้ที่ไม่กล้าเดินทางไปตรวจตามโรงพยาบาล หรือคลินิกต่าง ๆ
ดังนั้นหากผลตรวจที่ได้จะเป็นบวก หรือเป็นลบ ก็ควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้ง และหากยังไม่แน่ใจในผลตรวจ ก็ควรเดินทางไปตรวจตามโรงพยาบาลเพื่อยืนยันผลตรวจที่แน่ชัด

ใบ ผลตรวจเอดส์ ระบุอะไรไว้บ้าง

ใบ ผลตรวจเอดส์

ใบ ผลตรวจเอดส์ การตรวจ หาเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ ในปัจจุบัน จะเป็นการตรวจ เพื่อวินิจฉัย หาภูมิต้านทาน ที่มีต่อเชื้อ ซึ่งวิธีการนี้ จะสามารถ ทำการตรวจ ได้หลายวิธีเช่นกัน เพราะการตรวจหาเชื้อ หากจะให้ได้ผลที่เร็ว ก็สามารถ ทำการตรวจ ได้จากเลือด น้ำลาย หรือปัสสาวะ เป็นต้น

ดังนั้น ก่อนจะมีการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อ ผู้ที่เข้ารับการตรวจ จะต้องได้รับการปรึกษา ถึงผลดี และผลเสีย ของการตรวจ และผลตรวจ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ความหวาดกลัว ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ปัญหาการใช้ชีวิต ที่ไม่เหมือนเดิม ปัญหาการจ้างงาน หรือ แม้แต่ปัญหา ที่อาจเกิดขึ้น จากครอบครัว เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การที่ได้เข้ารับ การตรวจเลือด หาเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ ทางโรงพยาบาล ก็มักจะมีนโยบาย การปิดรายชื่อ ผู้ที่เข้ารับการตรวจ เพื่อลดสาเหตุ และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

การตรวจเลือด หาเชื้อเอชไอวี สามารถทำการตรวจได้ 3 วิธี คือ
– การตรวจหาภูมิคุ้มกัน ที่เรียกว่า antibody หรือ Anti-HIV โดยปกติแล้ว หากร่างกาย ของเรา ได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ก็ต้องรอระยะเวลา ในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ โดยจะเริ่มตรวจพบ ได้หลังจากการ ติดเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ และสามารถ ตรวจพบได้เกือบ 100% อยู่ที่ประมาณ 12 สัปดาห์ ดังนั้น หากรู้ตัวว่า ร่างกาย เริ่มจะมีการติดเชื้อ ผลตรวจที่เป็น Anti-HIV อาจจะออกมาเป็น Negative (Non-Reactive) ก็เป็นได้ ฉะนั้นเ ราจึงจำเป็น ที่จะต้องรอไปอีกประมาณ 12 สัปดาห์ และตรวจซ้ำ อีกครั้ง หากผลตรวจ ในรอบนี้ออกมาเป็น Negative นั่นก็หมายความว่า ไม่มีการติดเชื้อ

– การตรวจแบบหาส่วนประกอบของเชื้อเอชไอวี เช่น

1. การตรวจแบบสารพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี (Nucleic acid test หรือ NAT ) โดยการตรวจด้วยวิธีนี้จะสามารถตรวจพบเชื้อได้ภายใน 7-28 วันหลังจากรับเชื้อมา

2. การตรวจแบบหาโปรตีนของเชื้อเอชไอวี (p24 antigen testing) วิธีการนี้จะสามารถตรวจพบเชื้อได้ภายใน 5 วันหลังจากที่ได้รับเชื้อมา ซึ่งจะมีความไวในการตรวจเจอต่ำกว่าวิธีการตรวจแบบ NAT

– วิธีสุดท้ายคือ การตรวจหาภูมิคุ้มกัน และการตรวจหา ส่วนประกอบของเชื้อร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่เข้ารับ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ โดยทั่วไป ในใบผลตรวจ จะมีการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ ผลตรวจหาเชื้อ โดยผู้ป่วย บางราย ก็อาจจะไม่เข้าใจใน ใบ ผลตรวจเอดส์ ว่าหมายความ ว่าอย่างไร ซึ่งในใบผลตรวจเอชไอวี ก็จะแสดงผลตรวจต่าง ๆ ที่อาจ ทำให้ ผู้ตรวจนั้นไม่เข้าใจบ้าง แต่โดยหลัก ๆ ที่จะแสดง ในใบผลตรวจเลย คือ ผลตรวจแบบ HIV Negative (ผลลบ) และ HIV Positive (ผลบวก) นั่นหมายความว่า
– HIV Negative (ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี)
– HIV Positive (ติดเชื้อเอชไอวี)

นอกจากนี้ในใบผลตรวจ ก็ยังคง มีการแสดงข้อมูลแบบอื่น ๆ ออกมา ให้เห็น แต่ก็ขึ้น อยู่กับทางโรงพยาบาล หรือ คลินิก ที่ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจ

ดังนั้น หากรู้ตัวว่า มีความเสี่ยง ก็รีบทำการตรวจ ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากไม่กล้า เดินทาง ไปตรวจตามโรงพยาบาล ปัจจุบันก็มี ชุดตรวจเอชไอวีด้วนตนเอง เพื่อเป็นทางออกแก่ผู้ที่เกรงกลัวต่อสายตาบุคคลในสาธารณะ โดยชุดตรวจด้วยตนเองจะเป็นแบบตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้น ที่มีความแม่นยำ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และหากผลตรวจออกมาบวกหรือลบ

อย่างไรก็ตามควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผลตรวจที่แน่ชัด

ชุดตรวจน้ำลาย ตรวจเอชไอวี

ชุดตรวจน้ำลาย

ชุดตรวจน้ำลาย ปัจจุบัน การตรวจโรค ได้พัฒนามากขึ้น มาจากแต่ก่อน ที่ตรวจโรค จากเลือดเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น การตรวจเอชไอวี ซิฟิลิส หรือโควิด เพราะในอดีต การใช้น้ำลาย ในการตรวจหาโรค ยังคงมีความแปรปรวน หรือทำให้เกิดผลปลอม ได้ง่าย อีกทั้งปริมาณเชื้อ ที่อยู่ในน้ำลาย นั้น มีปริมาณน้อย การตรวจน้ำลาย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ สำหรับวงการ ทางการแพทย์ แต่ที่แปลกใหม่ สำหรับบุคคลทั่วไป เพราะทุกวันนี้ ชุดตรวจน้ำลาย มีการพัฒนา ให้สามารถตรวจบางโรค ได้อย่างแม่นยำแล้ว และประสิทธิภาพ ในการตรวจนั้น ก็สามารถทำได้ดีขึ้นเช่นกัน

ลักษณะของน้ำลาย
น้ำลาย เป็นของเหลว ที่มีความหนืด เล็กน้อย เพราะน้ำลาย มีน้ำอยู่ถึง 99% ส่วนที่เหลืออีก 1% คือ เมือก เอนไซม์ต่างๆ สาร แร่ธาตุ อิเล็กโทรไลต์ ซึ่งมีความสำคัญ ต่อสุขภาพปาก และฟัน การย่อยอาหาร และการกำจัด เชื้อโรค องค์ประกอบ ในน้ำลาย เหล่านี้ มีส่วนช่วย ให้ระบบภูมิคุ้มกัน และการย่อย อาหาร มีประสิทธิภาพ มากขึ้น

หน้าที่ของน้ำลาย
1. การหล่อลื่น น้ำลายช่วย ให้ภายในปาก เราไม่แห้ง ช่วยในการ กลืนอาหาร คลุกเคล้าอาหาร

2. การละลาย อาหาร เพื่อให้เรา ได้รับรู้ รสชาติ อาหารจะอร่อย หรือไม่อยู่ที่ว่าเรา ได้รับรส หรือไม่ ซึ่งน้ำลาย จะช่วยในการละลาย อาหารต่างๆ ที่เข้าสู่ปาก ทำให้รสชาติ ในอาหารนั้นละลายออกมา และรับรสด้วยลิ้น

3. มีประโยชน์ ต่อสุขภาพช่องปาก น้ำลายช่วย เคลียร์สิ่งต่างๆ ในช่องปาก ให้สะอาด เพราะสารและเอนไซม์ ในช่องปาก มีส่วนช่วยทั้ง ในเรื่องของการกำจัด เชื้อโรคต่างๆ ลดการก่อตัว  นอกจากนี้ น้ำลายยังช่วย เคลือบฟัน ป้องกันฟันผุ โรคเหงือก

4. การย่อยอาหาร น้ำลายเป็นด่านแรก ของการย่อยอาหาร โดยจะช่วย ย่อยพวกแป้ง ให้เป็นมอลโทส (maltose) และเดกซ์ทริน (dextrin) ซึ่งเป็นโมเลกุล ที่มีขนาดเล็กลง นอกจากนี้ น้ำลายยังช่วย ลดความเป็นกรด ในกะเพราะอาหารอีกด้วย

ถึงแม้ว่า น้ำลายจะมีประโยชน์ แต่ก็ยังคง เป็นแหล่งของเชื้อโรค ที่ถึงแม้ จะมีน้อย แต่ก็อาจส่งต่อ ไปสู่ผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะผ่านการจูบ การใช้ช้อนเดียวกัน หรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน โรคติดต่อ ที่สามารถติดต่อ ผ่านน้ำลาย ได้อย่างเช่น ไข้หวัดต่างๆ โรคเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ เริม ไวรัสตับอักเสบชนิดต่างๆ

ชุดตรวจโรค ด้วยน้ำลาย อย่างเช่น โรคเอชไอวี ถูกพัฒนา เพียงเพื่อ ต้องการ ให้การตรวจโรค ง่ายขึ้น และดูไม่น่ากลัว โดยการตรวจนั้น ง่ายมากแทนที่คุณ จะต้องโดนเจาะเลือด แต่กลับว่าเพียงแค่เก็บตัวอย่างน้ำ ในช่องปากของคุณ มาเท่านั้น ก็สามารถตรวจได้แล้ว

คุณหมอ หรือพยาบาล จะเก็บตัวอย่าง โดยใช้ไม้เก็บตัวอย่าง สว็อบในช่องปาก ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น ตามเนื้อเยื่อ กระพุ้งแก้ม ตามซอกเหงือก และนำเก็บ ลงในหลอดเก็บตัวอย่าง และหลังจากนั้น ก็นำไปตรวจ ด้วยน้ำยา สำหรับการตรวจ โรคเอชไอวี และสามารถ รู้ผลได้ ภายในไม่กี่นาที เพราะการตรวจโรค จากน้ำลาย นั้นมักจะ เป็นชุดตรวจแบบ Rapid test คือ ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม การตรวจโรค ในปัจจุบัน ก็ยังคงเน้น ไปที่การตรวจ จากเลือดมากว่า เนื่องจากค่า ความแม่นยำและ ความไว นั้นยังคงสูง กว่าการตรวจ ด้วยน้ำลายเล็กน้อย ทำให้การตรวจโรค ด้วยน้ำลาย ยังคงจำกัด อยู่ในเฉพาะบางโรค และกับบางหน่วยงาน เท่านั้น

การตรวจคัดกรองเอชไอวี อีกหนึ่งทางเลือก ที่นอกเหนือ จากการตรวจ ตามโรงพยาบาล และคลินิก คือ การตรวจคัดกรอง เอชไอวีด้วยตนเอง โดยตรวจ จากเลือด ที่ปลายนิ้ว เพียงไม่กี่หยด ก็สามารถรู้ ผลได้เลย ภายในไม่กี่นาที

ตรวจเลือดธรรมดา จะเจอเอดส์ไหม

ตรวจเลือดธรรมดา จะเจอเอดส์ไหม

ตรวจเลือดธรรมดา จะเจอเอดส์ไหม การตรวจเลือด นับว่า มีความจำเป็น อย่างมาก สำหรับ การวินิจฉัย เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ของทางแพทย์ เพราะเลือด ถือเป็นตัวกลางสำคัญ ในการนำพาสารอาหาร น้ำ เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกาย

เลือดยังมีหน้าที่ในการรับ และนำพาสารต่าง ๆ ที่ร่างกาย ได้ปล่อยออกมาไว้ ซึ่งสารเหล่านี้ อาจเข้าสู่ร่างกาย ได้จากการกิน หายใจ หรือแม้กระทั่ง การซึมเข้าผ่าน ทางบาดแผล และเข้าสู่กระแสเลือด ในที่สุด ดังนั้น การตรวจเลือด จึงเป็นวิธีการ ที่สำคัญ ในการตรวจหา สารปนเปื้อน หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกาย ได้อย่างแม่นยำ มากที่สุด

โดยทั่วไปแล้ว หากเรารู้สึกว่าร่างกาย ของเรามีความผิดปกติ หรืออาจมีไข้ ก็อาจจะมา ปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ ที่เกิดขึ้นของอาการป่วยนั้น ๆ โดยแพทย์ ก็จะมีการซักถาม เกี่ยวกับประวัติ และอาจ มีการตรวจร่างกาย เจาะเลือด เพื่อตรวจหาสาเหตุ การตรวจเลือด เป็นการตรวจ ในรูปแบบใดบ้าง

การตรวจเลือด เพื่อวินิจฉัยหาโรคต่าง ๆ อาจจะดู เป็นวิธีการ ที่ธรรมดา แต่การเจาะเลือด เพื่อวินิจฉัย จะช่วยให้เรารู้ ถึงสาเหตุ ที่อาจเกิดขึ้น เกี่ยวกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ อาหารเป็นพิษ เป็นต้น

โดยข้อมูล ที่ได้หลังจากตรวจเลือดแล้วนั้น จะสามารถนำมาใช้ ในด้านการรักษาอาการต่าง ๆ ของโรคได้ ดังนั้น ผู้ป่วยบางราย ที่ไม่มีการแสดงอาการ หรือไม่มีการแสดงความผิดปกติ ของโรค หากมีการตรวจเลือด

เพื่อวินิจฉัยหาโรคต่าง ๆ อาจจะทำให้รู้ หรือทราบถึงโรคร้าย ที่แอบแฝงอยู่ ภายในร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็น โรคเอดส์ระยะแรก หรือแม้แต่โรคอื่น ๆ ที่ไม่มีการ แสดงอาการในระยะแรก

อย่างไรก็ตาม โรคเอดส์ (AIDS) ไม่สามารถติดต่อกันได้ง่าย ๆ อย่างที่ใครหลายคนคิด ขึ้นชื่อว่าเอดส์ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องติดเสมอไป ซึ่งก็อาจมีปัจจัย มากมายหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง กับปริมาณของเชื้อไวรัส หากสิ่งที่เราไปสัมผัสนั้น มีปริมาณของเชื้อไวรัสอยู่มาก โอกาสในการติดเชื้อก็จะยิ่งสูง

แต่ถ้ามีปริมาณของไวรัส น้อยโอกาสในการติดเชื้อ ก็จะลดลงตามปริมาณ เช่น เลือด , น้ำอสุจิ , น้ำจากช่องคลอด , บาดแผล เป็นต้น โดยการตรวจเลือด จะเป็นการนำเลือด ไปตรวจคัดกรอง และวิเคราะห์หาสิ่งต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งภายในเลือด ของเรา จะมีสารประกอบ ที่มากมายผสมผสานกันอยู่

ดังนั้น การตรวจเลือด จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องเลือก วัดค่าใดค่าหนึ่ง โดยปกติแล้ว ร่างกายของเรา หากมีการตรวจเลือด ก็จะตรวจค่า ความเข้มของเลือด ซึ่งปริมาณ ของเม็ดเลือดขาว และปริมาณของเกร็ดเลือด ภายในร่างกาย หรือหากมีโรคประจำตัว ร่วมด้วยแพทย์ ก็จะทำการตรวจเลือดเพิ่ม เป็นต้น ในกรณี ของการตรวจเลือดเอชไอวี HIV ผู้ที่ตรวจ จะต้องแจ้ง กับทางแพทย์ผู้ตรวจ เพื่อขออนุญาต ในการตรวจเลือด หาเชื้อเอชไอวี

ตรวจเลือดธรรมดา จะเจอเอดส์ไหม  ดังนั้นการตรวจเลือด ในรูปแบบธรรมดา จะไม่สามารถตรวจ เจอเอดส์ได้ เพราะในการตรวจหา จะมีการใช้น้ำยาคนละแบบ หากมีการตรวจหาเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะใช้น้ำยาเฉพาะ ในการตรวจหาเชื้อ นอกจากนี้แล้ว หากผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ ก็ให้รีบทำการตรวจ หากไม่กล้าเดินทาง  ไปตรวจที่สถานพยาบาล  ปัจจุบัน ก็ได้มีชุดตรวจเอดส์ ที่สามารถทำการตรวจ ด้วยตนเอง เพื่อคัดกรองเบื้องต้น เพื่อเป็นทางออก สำหรับผู้ที่ไม่กล้า เดินทางไปตรวจ โดยชุดตรวจจะเป็นการตรวจ เพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากผลตรวจ ออกมาเป็นบวก หรือลบ ก็ให้ทำการตรวจซ้ำ อีกครั้งเพื่อยืนยันผลตรวจที่แน่ชัด

ตรวจซิฟิลิส ราคา เท่าไหร่

 

ตรวจซิฟิลิส ราคา
ตรวจซิฟิลิส ราคา เท่าไหร่ โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า Treponema pallidum โดยหลักๆ ในการติดเชื้อชนิดนี้จะติดจากช่องทางการมีเพศสัมพันธ์

อย่างเช่น ปาก อวัยวะเพศ ทวารหนัก ซึ่งมักจะมีบาดแผลของการเป็นโรคซิฟิลิส ทำให้เมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือไม่ระมัดวัง และได้สัมผัสกับแผลซิฟิลิสนั้น ก็จะสามารถติดเชื้อได้

และอีกช่องทางหนึ่งที่สำคัญจะเกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิด ซึ่งมีการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์จากผู้เป็นแม่ที่ติดเชื้อซิฟิลิส โดยสามารถติดได้ทั้งระหว่างตั้งครรภ์หรือระหว่างคลอด โดยวิธีการแก้ปัญหากรณีนี้ คือ ก่อนการตั้งครรภ์ควรจะปรึกษาแพทย์ให้เรียบร้อย เพื่อวางแผนและตรวจสุขภาพเตรียมพร้อมตั้งครรภ์

การตรวจซิฟิลิส โดยหากไปตรวจที่โรงพยาบาล จะได้รับการตรวจคัดกรองก่อน หากพบว่าติดเชื้อ จะได้รับการตรวจยืนยันอีกครั้ง ปัจจุบันจะมีการตรวจใน 2 ลักษณะ คือ

1. วิธี non-treponemal test (Non-TP) เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันที่มีต่อสิ่งที่เชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum สร้างขึ้น ซึ่งเป็นการตรวจภูมิคุ้มกันแบบไม่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อ เช่น การตรวจ VDRL และ PRP

2. วิธี treponemal test (TP) เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum ที่ทำให้เกิดโรค เช่น การตรวจ FTA-ABS, TPPA, TPHA และ ICT

ขั้นตอนการตรวจในโรงพยาบาลตอนนี้ คือ ตรวจคัดกรองด้วยวิธี Non-TP ก่อน และตรวจยืนยันด้วยวิธี TP อีกครั้ง เนื่องจากการตรวจแบบ TP มีราคาค่อนข้างสูง และบางโรงพยาบาล หากตรวจคัดกรองแล้วพบว่าติดเชื้อ อาจให้เข้าสู่ระบบการรักษาได้เลยแบบไม่ต้องตรวจยืนยัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

ตรวจซิฟิลิส ราคา เท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการตรวจ
การตรวจโรคซิฟิลิสนั้นย่อมมีค่าใช้จ่าย แต่ราคาจะสูงหรือต่ำ ขึ้นกับสถานที่ๆ คุณไปตรวจ และวิธีที่ใช้ตรวจ

  •        คลินิกนิรนาม
    – ตรวจซิฟิลิสวิธี RPR มีอัตราค่าบริการ 100 – 200 บาท รอผล 1 ชั่วโมง
    – ตรวจซิฟิลิสวิธี treponemal test มีอัตราค่าบริการ 200 – 300 บาท รอผล 1 ชั่วโมง
  •         คลินิกเอกชน
    – ตรวจแบบรวดเร็ว ตรวจแบบง่าย มีอัตราค่าบริการเริ่มต้น 500 บาท รอผล 15 นาที
    – ตรวจซิฟิลิส VDRL ประมาณ 100 – 300 บาท รอผล 1 ชั่วโมง
    – ตรวจแบบ RPR ประมาณ 100 – 300 บาท รอผล 1 ชั่วโมง
    – ตรวจแบบ TPHA ประมาณ 200-500 บาท รอผล 1 ชั่วโมง
    – FTA-ABS IgG มีอัตราค่าบริการเริ่มต้น ราคา 600 บาท รอผล 3 วัน
    – FTA-ABS IgM มีอัตราค่าบริการเริ่มต้น ราคา 600 บาท รอผล 3 วัน
  •        สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาลนั้น ขึ้นอยู่กับสิทธิประกันสังคม ประกันสุขภาพต่างๆ ที่คุณมี หากมีค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 50 – 500 บาท
  •        โรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายในการตรวจจะแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล ดังนั้น การติดต่อสอบถามล่วงหน้าจะสามารถช่วยได้
    อย่างไรก็ตาม หากไม่มั่นใจว่าต้องเตรียมเงินไปเท่าไหร่จึงจะเพียงพอ การที่ท่านติดต่อสอบถามเรื่องราคา ขั้นตอนการตรวจ จะสามารถช่วยให้คุณเตรียมพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และเงิน ไว้ก่อนได้

อีกทางเลือกหนึ่ง หากคุณต้องการตรวจซิฟิลิส แต่ไม่กล้าจะเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอื่นๆ แต่อยากจะรู้สถานะเลือดของคุณไว้บ้าง ว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ สมควรเดินทางไปตรวจที่สถานพยาบาลหรือไม่ คุณสามารถหาซื้อชุดตรวจซิฟิลิสด้วยตนเอง แบบรู้ผลรวดเร็วมาลองตรวจได้ก่อน โดยที่คุณสามารถรู้ผลได้ภายในไม่กี่นาที

ถ้าสงสัย หรือลังเลว่าจะมีความเสี่ยง ควรทำอย่างไร
จริงๆ แล้ว หากคุณมีอาการที่เกิดขึ้น อย่างเช่นบาดแผลซิฟิลิส แพทย์สามารถวินิจฉัยผ่านทางบาดแผลได้ แต่เพื่อให้ผลแน่ชัด และรู้ได้จริงๆ ก็คือ ตรวจ การตรวจจะช่วยให้คุณทราบผลได้ชัดเจน โดยที่คุณสามารถตรวจได้ตามสถานพยาบาลเพื่อยืนยันผลไปเลย หรือตรวจเพื่อรู้สถานะเลือดเบื้องต้นได้ด้วยการตรวจซิฟิลิสด้วยตนเอง หากพบว่าผลเป็นบวก จึงเดินทางไปตรวจที่สถานพยาบาลอีกครั้งเพื่อยืนยันผล

อย่างไรก็ตาม หากไม่อยากเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ การป้องกันทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ก็ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด และรองลงมา คือ การไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือถี่ ที่สำคัญควรพาตนเองและคู่นอนไปตรวจก็สามารถช่วยได้

เราควร ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน อีกหรือไม่ HIV

ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน

ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน การตรวจเลือด เพื่อ หาเชื้อเอชไอวี ในปัจจุบัน การตรวจแต่ละแบบนั้น จะแตกต่างกันออกไป หากคุณ ติดเชื้อเอชไอวี แล้วระบบภูมิคุ้มกัน ภายในร่างกาย จะสร้างภูมิคุ้มกัน ขึ้นมาเพื่อ ต่อสู้กับเชื้อไวรัส ที่เข้าสู่ร่างกาย โดยการตรวจ เอชไอวี จะใช้หลัก ในการตรวจหาภูมิคุ้มกัน ในเลือด

ซึ่งปกติ หลังจากตรวจ ครั้งแรกแล้ว ก็ควรตรวจอีกครั้ง ประมาณ 3 เดือน หลังจากเสี่ยง ติดเชื้อเอชไอวี จึงจะมั่นใจได้ โดยทั่วไป เราจะเรียก ช่วงระยะเวลา 3 เดือนนี้ว่า “ระยะฟักตัว (window period)” ซึ่งเป็น

ช่วงเวลา ที่มีการติดเชื้อ เอชไอวีแล้ว แต่บางครั้ง อาจจะยังไม่สามารถ ตรวจพบได้ ซึ่งเป็นส่วนน้อย หากผลเลือด ที่ออกมา ทำให้คุณเข้าใจ ผิดว่า ร่างกายไม่ได้ติดเชื้อ

โดยในทางปฏิบัติ หากมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี แล้วก็ควรทำ การตรวจซ้ำอีก 3 เดือน หลังจาก ที่ตรวจครั้งแรกไปแล้ว

การเข้ารับ การตรวจเลือด เพื่อหา เชื้อเอชไอวีนั้น สิ่งที่ต้องคำนึง ถึงในการตรวจ คือ ร่างกาย อาจมีโอกาส ที่จะตรวจ ไม่พบแอนติบอดี ในผู้ที่ติดเชื้อ มาแล้ว เนื่องจากเชื้อเอชไอวี จะอยู่ในช่วงระยะฟักตัว เรียกว่า “window period” จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 1-3 เดือน เพื่อตรวจหา แอนติบอดี ต่อเชื้อ อย่างต่อเนื่อง โดยตรวจครั้งสุดท้าย ที่หลัง 3 เดือน ก็เพียงพอ ที่จะมั่นใจได้แล้ว

ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน HIV ในระยะฟักตัวนี้ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้ว จะสามารถแพร่เชื้อ ไปสู่ผู้อื่นได้ ถ้าหากว่า มีพฤติกรรมเสี่ยง และไม่มีการป้องกันใด ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น เทคโนโลยี ในการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัย หาสาเหตุ ของการติดเชื้อเอชไอวี ได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง

จนทำให้ สามารถลดระยะเวลาของ window period ให้สั้นลง จนสามารถ ทำการวินิจฉัย การติดเชื้อเอชไอวี ได้เร็วที่สุดประมาณ 2 สัปดาห์ หลังการติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม การตรวจเลือด เพื่อหา การติดเชื้อเอชไอวีนั้น ถ้าจะให้ผลตรวจ ที่ชัดเจน และเชื่อถือได้นั้น ต้องเป็นการตรวจ ห่างจากความเสี่ยง จากครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 1 เดือน

และตรวจติดตาม อีกครั้งหลัง 3 เดือน เพราะเป็นการตรวจเลือด หาเชื้อในช่วงเวลา ที่จะสามารถให้ผลตรวจ ที่มีความแม่นยำมากถึง 99.9%

การเข้ารับการตรวจ หลังจากที่ได้รับความเสี่ยง ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 1 เดือน ผลตรวจ ที่น่าเชื่อถือได้ จะอยู่ที่ประมาณ 95% ดังนั้น หากต้องการความแม่นยำ และความน่าเชื่อถือมากขึ้น และเพื่อเพิ่มความสบายใจ คุณสามารถ เข้ารับการตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 3 เดือน หลังจาก ที่ได้รับความเสี่ยง ในครั้งสุดท้ายได้

จากข้างต้น ที่กล่าวมา หากผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี ควรทำ การตรวจคัดกรองเบื้องต้น ด้วยชุดตรวจเอชไอวี ด้วยตนเอง ที่มีความปลอดภัยแม่นยำ มาตรฐานเดียวกัน กับโรงพยาบาล

ตรวจเพื่อคลาย ความกังวลใจ เพราะหากรู้ผลตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้เข้ารับการรักษา และรับยาต้านได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การตรวจ ด้วยชุดตรวจเอชไอวี เป็นเพียง การตรวจ เพื่อ คัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น

หากผลตรวจ ออกมาเป็นบวก หรือลบ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ให้ทำการตรวจซ้ำ อีกครั้ง หลังจากที่ตรวจครั้งแรก เพื่อยืนยัน ผลการตรวจที่แน่ชัด