ข้อควรรู้ก่อนการตรวจเอดส์ ควรรู้อะไรบ้าง

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจเอดส์ เมื่อเราพูดถึงเลือดบวก หลายคนคงนึกถึงโรคเอดส์ (AIDS) เพราะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีความร้ายแรงเป็นอย่างมาก ซึ่งโรคเอดส์นั้นเป็นภาวะขั้นสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หลายคนอาจคิดว่าทั้งสองโรคนี้คือโรคเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น ทั้งสองโรคจะมีความแตกต่างกันตรงที่โรคเอชไอวีเป็นเชื้อไวรัส และโรคเอดส์นั้นเป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ถูกเชื้อไวรัสทำลายลงจนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถทำการต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้

 

การเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เพราะผู้ป่วยบางรายก็อาจต้องการความเป็นส่วนตัวในการตรวจ ไม่อยากเปิดเผยตัวตนต่อสังคม เพราะอาจจะเกรงว่าสังคมจะไม่ยอมรับ เนื่องจากตนเองเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีวิธีการไหนที่จะสามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ มีเพียงแต่ยาที่สามารถช่วยในการชะลอการพัฒนาโรคและลดอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลงด้วยภาวะโรคเอดส์เท่านั้น

 

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจเอดส์ หลายคนมีความกังวลเกี่ยวกับการเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ เพราะเนื่องจากไม่รู้ว่าขั้นตอนในการตรวจนั้นเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ค่าใช้จ่ายในการตรวจกี่บาท และต้องไปตรวจที่ไหน เป็นคำถามที่หลายคนมีความกังวลใจกันเป็นอย่างมาก

 

ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้ใครหลายคนเกิดความเครียดได้ตลอดเวลา ไม่เป็นอันทำงาน หรือบางคนถึงขั้นนอนไม่หลับเลยก็มี ดังนั้น ก่อนที่เราจะเข้ารับการตรวจหาเชื้อนั้น เราจำเป็นที่จะต้องรู้ถึง ข้อควรรู้ ก่อนการตรวจเอดส์ ว่าก่อนที่เราจะทำการตรวจต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้อย่างไรบ้าง

      1. เรามีโอกาสติดเอดส์หรือไม่ สังเกตพฤติกรรมเสี่ยงของตน เราเคยมีเพศสัมพันธ์กับใครโดยไม่สวมถุงยางอนามัยหรือไม่ แม้แต่คู่นอนของตนเองก็ตาม เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าเขาไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีมาก่อนหรือไม่

      2. รับรู้ประโยชน์ของการตรวจ

    • หากเข้ารับ การตรวจแล้วไม่พบเชื้อ ควรเริ่มต้น ป้องกันตนเอง อย่างจริงจัง
    • ถ้าหากตรวจเจอ ก็ถือว่าโชคดี ที่ตรวจเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่จะได้ ป้องกันตนเอง ไม่ให้แพร่เชื้อ ไปสู่บุคคลอื่นได้ สามารถ เข้าสู่การรักษา ได้ทันที รักษาสม่ำเสมอ ไม่ขาด สามารถใช้ชีวิต ได้ตามปกติ อายุขัยยืนยาวดังเดิม วางแผน การมีเพศสัมพันธ์ แบบไม่ให้แพร่เชื้อ สู่คู่นอน ชวนคู่นอนมาตรวจหาเชื้อ และวางแผน  ป้องกันไม่ให้เชื้อ แพร่ไปสู่ลูก

      3. โรคเอดส์รักษาได้ แม้ไม่หายขาด ปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าโรคเอดส์ จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ยังมี ยาที่ช่วย ในชะลอการพัฒนาโรค และลดอัตราเสี่ยง ต่อการเสียชีวิต ด้วยโรคเอดส์ เพื่อให้ผู้ป่วย มีอายุที่ยืนยาวขึ้น และไม่แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

      4. มีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องโรคเอชไอวี/เอดส์

      5. สิทธิของการเข้ารับการตรวจเอชไอวี

    • ตรวจได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง เพียงแสดงบัตรประชาชนไทย (เฉพาะสถานพยาบาลรัฐ)
    • อายุไม่ถึง 18 ก็สามารถ เข้ารับการตรวจได้ฟรี (เฉพาะสถานพยาบาลรัฐ)
    • ข้อมูล และผลการตรวจ ของผู้เข้ารับการตรวจ จะต้องเป็นความลับ เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง และแพทย์ ไม่มีสิทธิ์ นำไปเผยแพร่ หรือบอกต่อ

 

      6. ไม่ต้องงดข้าว งดน้ำ เพื่อไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี/เอดส์

      7. ไม่มั่นใจสามารถโทรติดต่อสอบถามสถานพยาบาลที่จะไปเข้ารับการตรวจก่อนได้

      8. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองในอนาคต หากผลตรวจเป็นลบ ในวันข้างหน้า เราต้อง มีความรับผิดชอบ มากขึ้น รู้จักป้องกันตนเอง จะได้ไม่ต้อง มีความเสี่ยง ในการติดเชื้อเอชไอวีอีก เช่น การสวมใส่ ถุงยางอนามัย เลิกเสพยา หรือไม่ใช้เข็มฉีดยา ร่วมกับผู้อื่น

 

อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่ กำลังมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อHIV/AIDs ปัจจุบันก็ได้มีชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง วางจำหน่าย เพื่อเป็นทางออก ให้แก่ประชาชน ที่ไปได้รับ ความเสี่ยงมา แต่ไม่กล้า เดินทาง ไปตรวจ ที่โรงพยาบาล เพราะต้องการ ความเป็นส่วนตัว เลือกซื้อที่มีเลขอย. ไทย โดยชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง สามารถ ทำการตรวจ คัดกรอง ได้เองที่บ้านง่าย ๆ มีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน สามารถ รู้ผล ได้ภายในเวลาเพียง 15-20 นาที ซึ่งสามารถ ทำการตรวจ คัดกรอง เพื่อความสบายใจ

ทั้งนี้ ไม่ว่าผลตรวจที่ได้ จะออกมาเป็นอย่างไร ก็ให้ทำการตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อรีเช็คผลตรวจ ที่แน่ชัด เพราะการใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง เป็นเพียงการตรวจ เพื่อคัดกรองเบื้องต้น เท่านั้น เมื่อผลเป็นบวก ให้ตรวจยืนยัน ที่โรงพยาบาลโดยเร็ว หากผลเป็นลบ ให้ทำการตรวจซ้ำ ที่ระยะเวลาเสี่ยงนานขึ้น หรือระยะเวลาเสี่ยงที่ 90 วัน

 

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจเอดส์

 

 

 

การรักษาซิฟิลิส ในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง

การรักษาซิฟิลิส (ชุดตรวจเอชไอวี)

ซิฟิลิส ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด หากติดเชื้อแล้ว สามารถรักษาให้หายขาดได้ ยิ่งตรวจพบไวเท่าไหร่ ยิ่งดีต่อ การรักษาซิฟิลิส หากตรวจพบ ในระยะแรก การรักษาจะง่าย ๆ ไม่นานก็หายขาด

แต่ถ้าตรวจพบ ในระยะที่เชื้อเข้าทำลาย ระบบบางอย่างของร่างกายแล้ว จะใช้เวลานาน หลายขั้นตอน และเมื่อรักษาหายแล้ว อวัยวะที่ถูกลุกลามนั้นอาจกลับมาทำงานไม่ปกติดังเดิม

แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยไม่สามารถหาซื้อยามาทานเองได้ ต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกต้อง

ซิฟิลิส คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบได้บ่อย ๆ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Treponema pallidum เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือก เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องปาก เยื่อบุตา หรือ เข้าผ่านทางรอยถลอก หรือบาดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ผ่านทางเลือด เช่น ใช้เข็มฉีดยา ร่วมกับผู้ติดเชื้อ และยังสามารถติดต่อ จากแม่สู่ลูกได้ด้วย

 

โรคซิฟิลิสมี 3 ระยะ

  • ระยะที่ 1 ระยะของการเกิดแผล โดยเริ่มจากการเป็นตุ่มเล็ก ๆ บริเวณที่สัมผัสเชื้อ เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก ริมฝีปาก ช่องปาก ขาหนีบ เป็นต้น จากตุ่มจะเริ่มใหญ่ขึ้น และแตกออก กลายเป็น แผลริมแข็ง ที่ไม่เจ็บ และสามารถหายได้เอง นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
  • ระยะที่ 2 ระยะออกดอก ผื่นขึ้นตามตัว ฝ่ามือฝ่าเท้า แต่ไม่คัน สามารถหายไปได้เองแม้ไม่ได้รักษา นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
  • ระยะแฝงและระยะที่ 3 ก่อนเข้าสู่ระยะที่สาม อาการต่าง ๆ อาจจะสงบลง ทำให้เราหลงลืมไป ว่าก่อนหน้านี้มีอาการใด ๆ เกิดขึ้นบ้าง เมื่อผ่านไปหลายปีจะเข้าสู่ระยะที่สาม ระยะทำลาย เชื้อลุกลามถึงสมอง ไขสันหลัง อาจสูญเสียการทรงตัว หูหนวก ตาบอด อัมพาต เสียสติ และอาจจะเสียชีวิตได้

 

การรักษาโรคซิฟิลิสในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง

การรักษาซิฟิลิส จะเน้นไปที่การฉีดยา โดยจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค ย้ำว่าการรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

  • ระยะที่ 1-2 แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) เข้าที่กล้ามเนื้อ 1 ครั้ง ติดตามผลการรักษา หากเป็นในระยะที่สองอาจจะนัดฉีดยาตัวเดิมซ้ำอีกครั้งในสัปดาห์ต่อมา หากผู้ป่วยแพ้ยาตัวนี้ แพทย์จะเลือกยาอื่นในกการรักษาแทน
  • ระยะแฝง หรือติดเชื้อมานานมากกว่า 2 ปี แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลินเข้าที่กล้ามเนื้อสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ติดตามผลการรักษา หากผู้ป่วยแพ้ยาตัวนี้ แพทย์จะเลือกยาอื่นในกการรักษาแทน
  • ระยะที่ 3 ระยะทำลายระบบประสาท แพทย์จะฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) เข้าหลอดเลือดดำทุกวัน โดยฉีดทุก ๆ 4 ชั่วโมง ติดต่อกันถึง 2 สัปดาห์ ติดตามผลการรักษา หากผู้ป่วยแพ้ยาตัวนี้ แพทย์จะเลือกยาอื่นในกการรักษาแทน

 

จะสังเกตได้ว่ายิ่งตรวจพบเร็ว และอาการอยู่ในระยะแรก ๆ การรักษาจะง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน ก็สามารถรักษา ให้หายขาดได้ กลับกันกับผู้ที่ติดเชื้อซิฟิลิส เป็นเวลานาน การรักษา จะเข้มข้นขึ้น ยุ่งยาก ใช้เวลานานกว่า จะรักษาให้หายขาดได้

การตรวจซิฟิลิส ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หากไม่สะดวกที่จะเข้ารับการตรวจ ที่สถานพยาบาล เราขอแนะนำอีกทางเลือกหนึ่ง คือการ ตรวจคัดกรองซิฟิลิสด้วยตนเอง โดยชุดตรวจคัดกรองซิฟิลิส อย่างง่าย ขั้นตอน การตรวจไม่ยุ่งยาก รู้ผลภายในไม่กี่นาที ตรวจจากเลือดปลายนิ้วเพียง 2-3 หยด หากผลออกมาเป็นลบ (ไม่พบเชื้อ) แนะนำ ให้ตรวจติดตาม ผลอีกครั้ง ที่ระยะเวลาเสี่ยง 3 เดือน หากผลออกมาเป็นบวก (พบเชื้อ) ให้เดินทางไปตรวจยืนยัน ที่โรงพยาบาลทันที

เมื่อคุณได้รับ ความเสี่ยงมาก ทางออกที่ดีที่สุด คือ ตรวจ เนื่องจาก จะทำให้คุณ ทราบผล และคลายความกังวลใจ ในทันที อีกทั้ง เพื่อให้ตนเอง ได้ก้าวต่อไป วางแผน การใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้อง

 

 

ชุดตรวจเอดส์ ร้านขายยามี หรือเปล่า?

ชุดตรวจเอดส์ ร้านขายยามี

 

ชุดตรวจเอดส์ ร้านขายยามี หรือเปล่า? หาซื้อได้ที่ไหน ปัจจุบันการเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชวี (HIV) หรือเอดส์ (AIDS) เป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อมนุษย์ เพราะส่วนใหญ่วัยรุ่นในสมัยนี้มักจะมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ป้องกัน หรือไม่สวมถุงยางอยามัย จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคหนองในแท้ หนองในเทียม โรคซิฟิลิส เริม รวมไปถึงเอชไอวี ซึ่งแต่ละโรคที่เกิดขึ้นนั้นถือว่ามีความร้ายแรงเป็นอย่างมาก

 

การเข้ารับการตรวจ อาจเป็นทางเดียว ที่จะทำให้คุณนั้น รู้ทราบถึงสถานะร่างกายของตนเอง ว่าติดเชื้อหรือไม่ ดังนั้น ทางกระทรวงสาธารณะสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เห็นถึง ความสำคัญ จึงได้ทำการปลดล็อก ให้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง วางจำหน่าย ตามร้านขายยา เพื่อให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึง ได้ง่าย และได้ตรวจ คัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเองเบื้องต้น เพื่อเป็นทางเลือก ในการตรวจหาเชื้อแทนการเดินทาง ไปตรวจตามสถานพยาบาล หรือคลินิก เท่านั้น ทำให้ประชาชนนั้น สามารถทราบถึงสถานะเอชไอวีของตนเองได้ตั้งแต่เริ่มแรก และมีโอกาสในการป้องกันเชื้อเอชไอวีไม่ให้แพร่ไปสู่ผู้อื่นได้

 

ชุดตรวจเอดส์ ร้านขายยามี หรือเปล่า?  ถึงแม้ทาง อย. จะได้ทำการ ปลดล็อก ให้ประชาชนทั่วไป สามารถหาซื้อ ชุดตรวจ ได้ตามร้านขายยา เพื่อเป็น อีกทางเลือกหนึ่ง ให้กับผู้ ที่มีความเสี่ย งต่อการติดเชื้อ แต่การหาซื้อชุดตรวจเอชไอวี ตามร้านขายยานั้น ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก

 

“อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถหาซื้อได้ตามเว็บไซต์ออนไลน์ แต่ควรเลือกซื้อกับร้านที่น่าเชื่อถือ ชุดตรวจคัดกรองเอชไอวี มีเลขอย.ไทย สามารถนำไปไปตรวจเช็คได้จริง เพื่อให้มั่นใจว่าชุดตรวจของร้านนั้นมีการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ความแม่นยำจริง และเหมาะสมกับคนไทย โปรดพิจารณาก่อนการสั่งซื้อ อย่าหลงเชื่อชุดตรวจราคาถูก

 

ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในเลือดนั้นเป็นที่นิยม เพราะมีประสิทธิภาพสูงและสามารถตรวจได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ ในปัจจุบันก็สามารถทำได้ 3 วิธีหลัก ๆ คือ

  • Anti-HIV เป็นการตรวจ หาภูมิต้านทาน หรือที่เรียกว่า Antibody ต่อเชื้อเอชไอวี จากการ ตรวจเลือด ซึ่งจะวินิจฉัย จากการทำงาน ของระบบภูมิต้านทาน ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ มีการต้านทาน ต่อเชื้อเอชไอวี

โดยวิธีนี้ สามารถตรวจพบเชื้อ ได้ประมาณ 3 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน ของการติดเชื้อ

  • NAT (Nucleic Acid Testing) เป็นการตรวจ หาสาร พันธุกรรม ของเชื้อเอชไอวี โดยวิธีนี้ แพทย์มักจะ ใช้ในกรณี ผู้ป่วยมี ความเสี่ยงสูง เท่านั้น เพราะ เนื่องจาก เป็นวิธี ที่ถือว่า มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว

สามารถตรวจพบเชื้อ ได้ภายใน 1-4 สัปดาห์ ของการติดเชื้อ เท่านั้น และวิธีนี้ ค่อนข้างมี ค่าใช้จ่าย ที่สูง พอสมควร และหาตรวจได้ยาก

  • PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นการตรวจ หาสารพันธุกรรม ในระดับ อณูชีวโมเลกุล ซึ่งสามารถ ตรวจได้ ในเด็กทารก ที่อาจได้รับ ความเสี่ยง มาจากแม่ หลังคลอดตั้งแต่ 1 เดือน และใช้ตรวจ กับผู้ใหญ่

หลังไปได้รับ ความเสี่ยงมา ประมาณ 14 วันขึ้นไป

 

นอกจากนี้ หากใคร ที่ยังมี ความกังวลใจ หรือผู้ที่ ไปได้รับ ความเสี่ยงมา แต่ไม่กล้า เดินทางไป ตรวจตาม สถานพยาบาล ก็สามารถ หาซื้อ ชุดตรวจเอดส์ด้วยตนเอง มาตรวจคัดกรองก่อนได้ ซึ่งหาก หาซื้อตามร้านขายยา มันยาก ก็สามารถ หาซื้อได้ ตามร้าน ในอินเตอร์เน็ต ที่มีความน่าเชื่อถือได้ และชุดตรวจ จะต้องมี ความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้ผล ที่แม่นยำจริง หากเลือกตรวจ กับชุดตรวจ ที่ไม่มี มาตรฐานเลขอย.ไทย ผลที่ได้ก็ไม่น่าเชื่อถือ

ชุดตรวจ hiv ฟรี มีหรือเปล่า ? สามารถไปรับได้จากที่ไหน

ชุดตรวจ hiv ฟรี

 

ชุดตรวจ hiv ฟรีมีหรือเปล่า ? สามารถไปรับได้จากที่ไหน

ชุดตรวจ hiv ฟรี การที่ประชาชนสามารถ เข้าถึงการตรวจเอชไอวี (HIV) ได้โดยง่าย เป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างมากในประเทศ เพราะจะช่วยทำให้ผู้ป่วยที่ยังไม่ทราบ ว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวีหรือมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ สามารถตรวจและทราบผลได้ไวขึ้น เข้าสู่การรักษาตามระบบ ช่วยลดโอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ส่งผลให้อัตราการติดเชื้อในประเทศน้อยลง

 

ปัจจุบันประเทศไทย จึงได้ให้สิทธิ์ ในการเข้ารับการตรวจเอชไอวี แก่ประชาชนทุกท่าน ฟรี ปีละ 2 ครั้ง เพียงมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย ก็สามารถเข้ารับการตรวจ กับสถานพยาบาลในไทยได้ ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรี โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตผู้ปกครอง (หากเป็นโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิก ควรติดต่อสอบถามก่อน)

 

แต่อย่างไรก็ตาม การเดินทาง มาตรวจเอชไอวี ที่สถานพยาบาลโดยตรง อาจเป็นเรื่องที่บางคนยังคงรู้สึกไม่สะดวกใจ ไม่กล้า และรู้สึกไม่เป็นส่วนตัว เพราะหากผลตรวจออกมา เป็นลบ ไม่พบการติดเชื้อ อาจจะทำให้รู้สึกเสียดายเวลา หรืออึดอัดใจหากพบคนรู้จัก และบุคคลนั้นทราบว่าเรามาทำอะไร

 

ถึงแม้ จะมีบริการตรวจ ให้ฟรี ที่สถานพยาบาล เพื่อส่งเสริมให้มาเข้ารับการตรวจกันมากขึ้น แต่ประชาชนก็ยังคงมองเป็นเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่อยากที่จะทำ ซึ่งสรุปได้ว่าการตรวจเอชไอวี ก็ยังคงเป็นสิ่งที่เข้าถึง ได้ยากอยู่ ไม่ตอบโจทย์ ความต้องการของประชาชนได้ทั้งหมด

 

“ทางอย.ไทย จึงได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ ดังนั้น จึงได้ออกประกาศปลดล็อกให้ประชาชน สามารถซื้อชุดตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเอง มาตรวจคัดกรองเองได้ โดยจะต้องเป็นชุดตรวจที่ผ่านการรับรองจากอย.ไทย เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่ประชาชน”

 

ชุดตรวจHIV ฟรี มีหรือเปล่า ?

ชุดตรวจ HIV ฟรี ที่เป็นแบบ สามารถตรวจคัดกรองได้ ด้วยตนเองที่บ้าน ในประเทศไทย ยังไม่มีการแจกฟรี มีเพียงสิทธิ์ในการเข้ารับการตรวจฟรี ปีละ 2 ครั้งเท่านั้น หากใครประสงค์ ที่จะตรวจฟรี ก็สามารถ เดินทางไปที่สถานพยาบาล ที่เข้าร่วมได้เลย แต่หากใครที่ ประสงค์จะตรวจคัดกรอง ด้วยตนเองก่อน ก็จะต้องจ่ายเงินหาซื้อมาตรวจเอง

 

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง เป็นการตรวจ เพื่อคัดกรองเท่านั้น เป็นชุดตรวจที่ ออกแบบมา ให้ใช้งานง่าย รู้ผลรวดเร็ว โดยหากตรวจ คัดกรองด้วยตนเอง แล้ว พบว่าผลเป็นบวก หมายถึง คุณมีโอกาส เสี่ยงได้รับการติด เชื้อเอชไอวีจริง สิ่งที่จะต้องทำต่อ คือ เดินทางไปตรวจยืนยันผล ที่สถานพยาบาล เพื่อเข้าสู่การรักษา

แต่หากพบว่า ผลเป็นลบ หมายถึง คุณไม่มีความเสี่ยง ในการติดเชื้อ เอชไอวี ซึ่งสามารถ สบายใจได้แล้ว และถ้าจะให้ดี คุณควรตรวจ เช็คอีกครั้ง หลังได้รับ ความเสี่ยงมาเกิน 3 เดือน เพื่อเป็น การเช็คผล อีกครั้งว่าตรงกันหรือไม่

                  อย่างไรก็ตาม ควรเลือกซื้อชุดตรวจคัดกรองเอชไอวีที่ผ่านมาตรฐานอย.ไทย เพื่อประสิทธิภาพ และคุณภาพชุดตรวจที่ดี ที่จะส่งผลให้ผลตรวจของคุณมีความแม่นยำจริง”

 

การเลือกชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

ควรเลือกให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่ได้รับความเสี่ยง โดยมีให้เลือกอยู่ 2 แบบ ก็คือ ชุดตรวจ Gen ­3 และ Gen 4 โดยชุดตรวจ Gen 3 สามารถตรวจพบการติดเชื้อได้ หากมีระยะเวลาเสี่ยงมาอย่างน้อย 21-30 วัน ชุดตรวจ Gen 4 สามารถตรวจพบการติดเชื้อได้ หากมีระยะเวลาเสี่ยงมาอย่างน้อย 14 วันขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรที่จะรีบร้อนตรวจเร็วเกินไป เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดผลลบปลอมได้ ผลปลอม คือ การที่ผลออกมาแล้วพบว่าไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ แต่ที่จริงแล้วคุณมีความเสี่ยงได้รับการติดเชื้อ หากเป็นเช่นนี้ อาจจะทำให้คุณไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อให้กับคนที่คุณรัก และเมื่อไม่มีการรักษาอาจจะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น

โรคเอชไอวีในปัจจุบันนี้ไ ม่จำเป็นต้องเสียชีวิตเสมอไป ถึงแม้ในตอนนี้ จะยังไม่สามารถ รักษาให้หายขาดได้ แต่หากเข้าสู่กระบวนการรักษา ทานยาสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามตนตามคำแนะนำ ของแพทย์อย่างเคร่งครัด ท่านก็ สามารถมีชีวิตดังคนปกติได้ มีอายุขัยที่ยาวนานดังเดิม และไม่เกิดผลที่เลวร้าย

 

ดังนั้น หากพบว่ามีความเสี่ยง หรือสงสัย ท่านควรจะตรวจให้ทราบผล หากไม่กล้าไปโรงพยาบาล ก็สามารถเลือกตรวจคัดกรองด้วยตนเอง ที่มีมาตรฐานได้ ตรวจไว รู้สถานะเลือดไว และเข้าสู่ระบบการรักษาได้ทันที

ตรวจซิฟิลิส ที่ไหนได้บ้าง

 

ตรวจซิฟิลิส ที่ไหน การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ พฤติกรรมเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) การติดเชื้อซิฟิลิส (Syphilis) หรือแม้แต่โรคหนองในแท้และหนองในเทียม เป็นต้น

โดยปกติแล้ว คนที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ควรที่จะต้องเข้ารับการตรวจ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุก ๆ 3 เดือน หากผลออกมาพบว่าไม่ติดเชื้อใด ๆ ก็จะสามารถสบายใจ และใช้ชีวิตได้อย่างไม่กังวล แต่หากผลออกมาเป็นบวก ก็จะสามารถเข้าสู่การรักษาได้ทันเวลา

ทั้งนี้ รวมถึงใครก็ตามที่กำลังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรเข้ารับการตรวจหา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง

เพราะ หากตรวจพบเชื้อเร็ว ก็จะได้เข้ารับ การรักษา ได้อย่าง ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อลดการ แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นด้วย

ตรวจซิฟิลิส ที่ไหน

อยากตรวจซิฟิลิส ต้องไปตรวจที่ไหน

ในปัจจุบันโรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคที่พบ ได้บ่อย รองมาจาก โรคหนองในแท้ (Gonorrhea) หนองในเทียม (Non-Gonococcal Urethritis) โดยเป็นโรค ที่สามารถ เกิดขึ้นได้ ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง

หากได้รับเชื้อเข้าไป ในช่วงแรกอาจพบ แผลบริเวณอวัยวะเพศ หรืออาจมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และหลังจากนั้นแผลก็จะหายไปเอง

 

นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่ติดเชื้อ บางราย อาจไม่มีการแสดง อาการ แต่เชื้อ ก็จะยังอยู่ภายใน ร่างกายหากไม่ได้เข้ารับ การรักษา และเมื่อเวลาผ่านไป  เชื้อที่อยู่ในร่างกาย อาจส่งผลเสีย ต่อระบบต่าง  ๆ ภายในร่างกายได้

อาทิเช่น ความผิดปกติของสอง ระบบหัวใจ และหลอดเลือด เพราะเนื่องจากโรค ไม่มีการแสดงอาการ ออกมา จึงทำให้ผู้ป่วยนั้น ไม่เข้ารับ การตรวจ และรักษา

 

ดังนั้น หากใครที่กำลังคิดว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซิฟิลิส ก็ควรที่จะเข้ารับการตรวจโดยเร็วตามสถานพยาบาล หรือคลินิกที่มีบริการตรวจโรค

 

ตรวจซิฟิลิส ที่ไหน การขอรับบริการ ตรวจซิฟิลิสนั้นง่ายมาก สามารถเข้ารับ การตรวจ ได้ตาม โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลรัฐ หรือคลินิก สำหรับตรวจ โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ โดยหากจะเข้ารับ การตรวจ ก็สามารถโทรติดต่อ สอบถาม ทางสถานพยาบาลก่อนได้ เพื่อสอบถาม ถึงการบริการ ตารางเวลาแพทย์ หรือบางสถานพยาบาล ก็มีบริการจองคิว เข้ารับการตรวจได้ ทั้งนี้ค่าบริการก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานพยาบาล  และวิธีตรวจที่เลือก

 

นอกจากนี้แล้ว ทางที่ดี ที่สุด ในการป้องกันโรคซิฟิลิส คือ หลีกเลี่ยงการ มีเพศสัมพันธ์ แบบไม่ป้องกัน ควรสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ในส่วน ของคู่รัก ที่มีแพลนจะแต่งงาน ควรตรวจร่างกาย อย่างละเอียดก่อน วางแผนตั้งครรภ์ เพราะหากตรวจเจอเชื้อ ก็จะได้วางแผน การรักษาให้หายขาด ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อผลดีต่อ คุณพ่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ ซึ่งหากไม่ได้เข้ารับ การรักษาเชื้ออาจแพร่ ไปสู่ทารกที่อยู่ในครรภ์ และอาจส่งผลให้ เด็กทารกพิการ และเสียชีวิตลงได้

 

อย่างไรก็ตาม หากใครที่มีความกังวลใจว่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อซิฟิลิส และไม่กล้าเดินทางไปตรวจตามสถานพยาบาล ก็สามารถตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจซิฟิลิสด้วยตนเอง ซึ่งมีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน สามารถรู้ผลได้ภายใน 15-20 นาที

 

การตรวจคัดกรองเบื้องต้น นอกจาก ทำให้คุณนั้น รู้ทราบ ถึงสถานะ ร่างกายตนเอง ได้เร็วแล้ว หากตรวจเจอเชื้อก็ จะได้เข้ารับ การตรวจซ้ำ และเข้ารับ การรักษา ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ทั้งนี้ การใช้ชุดตรวจซิฟิลิสด้วยตนเอง เป็นเพียง การตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้น เท่านั้น ไม่ว่าผลตรวจ จะออกมา เป็นอย่างไร ก็ให้ ทำการตรวจซ้ำ อีกครั้ง เพื่อยืนยัน ผลตรวจ ที่แน่ชัด  และหากผล เป็นบวก ก็ควรที่จะรีบ เข้ารับการตรวจ กับโรงพยาบาล ให้เร็วที่สุด เพื่อดำเนิน การตรวจ และรักษาต่อไป

 

 

ชุดตรวจ hiv ราคา เท่าไหร่ เลือกยังไงดี

ชุดตรวจ HIV ราคา

ชุดตรวจ hiv ราคา เท่าไหร่ เลือกยังไงดี

ชุดตรวจ HIV ราคา เท่าไหร่ เลือกยังไงดี โรคเอชไอวี (HIV) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ที่หากได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว เชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เกิดความบกพร่อง

ซึ่งปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกัน ก็เปรียบเสมือนเกราะในการป้องกันของร่างกาย แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกัน เกิดความอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลทำให้ร่างกายของเรานั้นไม่สามารถต่อต้านกับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้

และอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่อาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้เช่น โรคมะเร็ง วัณโรค หรืออาจเสียชีวิตลงได้  หากไม่ได้เข้ารับการรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีอาจพัฒนาไปสู่ระยะเอดส์ได้

“ดังนั้นหากทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะได้รับการติดเชื้อ การเข้ารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี เป็นช่องทางเดียวที่จะทำให้คุณรู้ว่าร่างกายเกิดการติดเชื้อหรือไม่”

ซึ่งนอกจากจะต้องสังเกตอาการเบื้องต้นแล้ว การตรวจเลือดหาเชื้อยังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน และยังมีบริการตรวจทุกโรงพยาบาลอีกด้วย

ส่วนใหญ่แล้วการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี จะตรวจหาแอนติบอดี (antibody) ที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมาเพื่อต้านทานต่อเชื้อเอชไอวี ซึ่งปกติแล้วร่างกายของคนหลังได้รับเชื้อมา จะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน ในการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา

“ดังนั้น หากเข้ารับการตรวจครั้งแรกหลัง 3 สัปดาห์ที่ได้รับความเสี่ยง แล้วไม่พบเชื้อ ก็จะแนะนำให้เข้ารับการตรวจอีกครั้งหลังจาก 3 เดือนไปแล้ว”

 

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 วิธีหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

– การตรวจแบบ NAT (Nucleic Acid Technology) วิธีการตรวจนี้จะแตกต่างไปจากวิธีอื่นตรงที่ สามารถวัดผลจากร่างกายย้อนหลังไปประมาณ 5-7 วันหลังเสี่ยง การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่คลินิกนิรนาม

– การตรวจแบบ Anti HIV (ตรวจหาแอนติบอดีที่มีต่อเชื้อเอชไอวี) วิธีการนี้สามารถทราบผลตรวจ ได้ภายในเวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงหลังตรวจ ซึ่งผลที่ได้จะเป็นผลย้อนหลังไปประมาณ 1 เดือน การตรวจด้วยวิธีนี้ สามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรีที่โรงพยาบาลรัฐ เพียงมีบัตรประชาชน แต่หากเป็นโรงพยาบาลเอกชน จะมีค่าใช้จ่าย จะราคาเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล

– การตรวจแบบ Rapid HIV Test หรือชุดตรวจอย่างง่าย สามารถรู้ผลได้รวดเร็วใช้เวลาอ่านผลเพียง 15-20 นาทีเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในการตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น และมีการนำไปใช้สำหรับตรวจคัดกรองด้วยตนเอง

ชุดตรวจHIV ราคาเท่าไหร่

ชุดตรวจ HIV ราคา การตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเอง ด้วยชุดตรวจHIV นั้น ราคาจะอยู่ที่ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป หากท่านใดที่กำลังลังเลกับชุดตรวจที่มีราคาถูกกว่านี้ ขอให้พิจารณาถึงการผ่านมาตรฐาน อย.ไทย มีชุดตรวจเอชไอวีจำนวนมาก ที่นำมาขายในราคาถูก แต่เมื่อขอดูเลขอย.ไทย ปรากฎว่า ไม่มี!! ดังนั้นจึงแนะนำให้ขอดูเลขอย.ไทย และเช็คว่ามีจริงหรือไม่ ถูกต้องหรือไม่ โปรดระวังการแอบอ้าง

 

อย่างไรก็ตาม นอกจาก วิธีการตรวจข้างต้นแล้ว หากใคร ที่สนใจ ที่จะเดินทางไปตรวจ ที่สถานพยาบาลเอง วันนี้ เรามีค่าใช้จ่ายที่ ทำการสำรวจมาแล้ว มาฝากทุกท่านกัน

– คลินิกนิรนาม ตรวจแบบรู้ผลทันทีราคาจะเริ่มต้นที่ 200 บาท หากตรวจแบบ PCR รู้ผล 1 สัปดาห์ ราคาเริ่มต้นที่ 1,500 บาท

– โรงพยาบาลเอกชน ราคาจะเริ่มต้นประมาณ 600-1,000 บาท แล้วแต่โรงพยาบาล

– โรงพยาบาลรัฐ บางโรงพยาบาลของรัฐเข้าร่วมโครงการ และสามารถตรวจเอชไอวีฟรีปีละ 2 ครั้ง เพียงมีบัตรประชาชน

อย่างไรก็ตาม แต่ละโรงพยาบาล ก็อาจมีค่าใช้จ่าย ที่แตกต่าง กันออกไป หากผู้ที่สนใจ สามารถโทรไปสอบถามก่อนได้

 

ทั้งนี้ หากผู้ที่คิดว่า ตนเองมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี และไม่กล้า เดินทางไปตรวจ ตามสถานพยาบาล ปัจจุบัน ก็ได้มีชุดตรวจคัดกรองเอชไอวีวางจำหน่าย มีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน รู้ผลได้ในเวลา 15-20 นาที สามารถ ทำการตรวจ ได้เองที่บ้านง่าย ๆ เพราะหากตรวจ เจอเชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะได้เข้ารับการรักษา และรับยาต้านได้ทันเวลา

 “แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการตรวจนี้เป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองเท่านั้น ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไรก็ให้เข้ารับการตรวจซ้ำอีกครั้ง ที่หลัง 3 เดือน เพื่อเป็นการเช็คผลที่แน่ชัด”

 

อาการซิฟิลิส เบื้องต้นที่สังเกตได้จะมีลักษณะอย่างไรบ้าง

อาการซิฟิลิส

อาการซิฟิลิส เบื้องต้นที่สังเกตได้จะมีลักษณะอย่างไรบ้าง

อาการซิฟิลิส มีลักษณะการดำเนินของโรคไปเป็นระยะ เริ่มตั้งแต่ระยะที่หนึ่ง ระยะที่สอง ระยะแฝง และระยะสุดท้าย ความรุนแรงของโรคก็จะรุนแรงขึ้นตามระยะด้วย

แต่ทั้งนี้ระยะของโรคก็อาจจะเกิดขึ้นสลับกันได้ หรือเกิดขึ้นพร้อมกัน ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่ทราบว่าตนติดเชื้อตั้งแต่เมื่อไหร่ คือ ไม่รู้ตัวเลยว่าติดเชื้อก็มีโอกาสเป็นได้ ก่อนจะไปดูอาการของซิฟิลิสกันแบบละเอียดขึ้น เราไปทำความรู้จักโรคซิฟิลิสกันก่อนดีกว่า

ซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

แบคทีเรียอันเป็นสาเหตุขอโรคซิฟิลิส มีชื่อว่า ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponeme pallidum) โดยทั่วไปจะติดต่อในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากสัมผัสเชื้อโดยตรงจากแผลของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังคงติดต่อผ่านทางเลือด (การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การรับเลือดจากผู้อื่นในโอกาสต่าง ๆ) และยังติดต่อจาก แม่ตั้งครรภ์ผู้มีชื้อซิฟิลิส สู่ลูกน้อยในครรภ์ได้ด้วย

อาการของโรคซิฟิลิส ในแต่ละระยะ

ระยะที่ 1 (Early/Primary Syphilis) จะเริ่มมีอาการประมาณสัปดาห์ที่ 3 หลังรับเชื้อ

  • จะพบ “แผลริมแข็ง” (Chancre) ขึ้นบริเวณที่ลับ เช่น อวัยวะเพศ ทวาร ช่องคลอด หรือแม้กระทั่งในช่องปาก และแผลริมแข็งนี้จะไม่มีอาการปวด และแผลสามารถหายไปเองได้แม้ว่าจะไม่มีการรักษา ทำให้ผู้ป่วยไม่ทันสังเกตว่าเป็นแผลซิฟิลิสหรือไม่

  ระยะที่ 2 (Secondary Syphilis) เริ่มเกิดขึ้นหลังแผลหาย

  • ผื่นขึ้นตามร่างกาย ตามฝ่ามือฝ่าเท้า เป็นผื่นที่ไม่คัน อาจมีแผลร่วมด้วย
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ไข้
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • เจ็บคอ

อาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เอง แม้ไม่ได้รับการรักษา และสามารถกลับมามีอาการเหล่านี้ได้อีก

อย่างไรก็ตาม อาการผื่น หรืออาการที่กล่าวมา ในระยะที่สองนี้ ถือเป็น อาการเบื้องต้นของโรคต่าง ๆ ดังนั้น อาจจะเกิดจากโรคอื่นก็เป็นได้ การตรวจนั้นเป็นสิ่งที่ชี้ชัดที่สุด

ระยะแฝง (Latent Syphilis) จะไม่พบอาการใด ๆ เป็นเวลานานหลายปี

ระยะที่ 3 (Tertiary Syphilis) จะมีความผิดปกติ เกิดขึ้น เกี่ยวกับ สมอง ระบบประสาท ระบบหัวใจ ส่งผลให้อาจเป็น โรคหัวใจ อัมพาต สมองเสื่อม หูหนวก ตาบอด เสียสติ  เสี่ยงต่อการเสียชีวิต

ช่องทางการติดต่อที่พบได้บ่อย ๆ

ลักษณะเด่น ของอาการซิฟิลิส คือ การมีแผลริมแข็ง ซึ่งมักพบ บริเวณอวัยวะเพศ ปาก บริเวณทวาร ดังนั้น การสัมผัสแผล จะทำให้ มีโอกาสเสี่ยง ช่องทาง การติดต่อที่พบบ่อย ๆ เช่น

  • ติดต่อผ่านทางบาดแผลเล็ก ๆ
  • ติดต่อผ่านทางเยื่อบุต่าง ๆ
  • การมีเพศสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังติดต่อผ่านทาง

  • รับเลือด
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • จากแม่สู่ลูก ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ หรือระหว่างคลอด

การตรวจหาเชื้อซิฟิลิส

ในการ ตรวจจะสามารถ ตรวจได้จาก 2 วิธี  คือ

  1. ตรวจจากเลือด เพราะเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิสนี้จะอยู่ในกระแสเลือด เริ่มจากการตรวจคัดกรอง และหากผลออกมาพบว่ามีการติดเชื้อ ก็จะดำเนินการตรวจซ้ำอีก เพื่อช่วยยืนยัน
  2. ตรวจจากตัวอย่างเชื้อ โดยเก็บตัวอย่างเชื้อบนผิวหนัง น้ำเหลืองจากแผล ไปตรวจหาเชื้อ ทรีโพนีมา แพลลิดัม ที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิส

อย่างไรก็ตาม อาการที่ เกิดขึ้น อาจจะ ไม่ได้ บ่งบอก ว่าป่วย เป็นโรคอะไร ได้ชัดเจน การตรวจ เพื่อวินิจฉัยโรค เป็นสิ่งที่ ตัดสิน ได้ชัดเจน ที่สุด ผู้ที่ ได้รับ ความเสี่ยง มีโอกาสที่ จะติดเชื้อ แบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุ ของการ เกิดโรคซิฟิลิส สามารถ ตรวจคัดกรอง ได้ด้วยตัวเอง โดย ชุดตรวจซิฟิลิส ซึ่งสามารถ ตรวจจาก เลือดปลายนิ้ว 1-2 หยด และรู้ผล ได้ภายในไม่กี่นาที ใช้งานไม่ยาก แบรนด์มาตรฐาน แม่นยำสูง  สามารถ เริ่มตรวจ ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 ของการ ได้รับความสี่ยงมา

“ผู้ป่วยซิฟิลิสนั้นมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวีได้ง่ายๆ จากการที่ผู้ป่วยซิฟิลิสมีแผล เชื้อจึงสามารถเข้าสู่ทางแผลได้ง่ายกว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นซิฟิลิส”

 

 

 

ชุดตรวจโควิด -19 ซื้อมาตรวจเองได้ไหม ?

ชุดตรวจโควิด

ชุดตรวจโควิด ในปัจจุบันนี้การตรวจโควิดนั้น ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเมื่อเทียบกับในช่วงแรกของการระบาดของโรค COVID-19 แต่อย่างไรก็ตามการ ตรวจหาเชื้อโควิด ไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้ ควรเข้ารับการตรวจกับสถานพยาบาลเท่านั้น

Coronavirus ถูกค้นพบมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 และถูกค้นพบมาเรื่อย ๆ กว่า 6 สายพันธุ์ กระทั่งในปี ค.ศ. 2019 ที่ระบาดไปทั่วโลก เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่พึ่งถูกค้นพบ คือ สายพันธุ์ที่ 7 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า โควิด-19

โคโรนาไวรัส 19 สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ไม่ว่าจะคนสู่คน คนสู่สัตว์ หรือแม้กระทั่งสัตว์สู่คน ก็สามารถที่จะแพร่กระจายเชื้อและติดเชื้อต่อ ๆ กันได้ ดังนั้น จึงควรต้องระมัดระวังให้ดีทั้งตัวคุณเองและสัตว์เลี้ยง

อาการเมื่อติดเชื้อจะคล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้สูง เจ็บคอ ไอแห้งๆ น้ำมูกไหล หายใจหอบเหนื่อย ท้องเสีย แต่อาการที่เด่นชัด คือ ลิ้นไม่รับรส ดมไม่ได้กลิ่น หากพบอาการสองอย่างนี้ แนะนำว่าควรไปตรวจหาเชื้อในทันที

COVID-19 ติดได้จากทางไหนบ้าง

เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทาง
– ผ่านการสูดดม การหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
– ผ่านเยื่อบุตา
– ผ่านทางปาก

โดยเชื้อจะอยู่ในละออง เสมหะ น้ำลาย หรือสารคัดหลั่ง จากการไอ จาม พูดคุย จึงเป็นสาเหตุที่ในการป้องกันโรคจะต้องแนะนำให้ล้างมือบ่อย ๆ เนื่องจากมือของเรามีโอกาสที่จะสัมผัสเชื้อ และมาจับตามจมูก ปาก ตา ทำให้สามารถติดเชื้อได้ ดังนั้นการล้างมือบ่อย ๆ ก็จะสามารถช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อได้นั่นเอง

วิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากการติดเชื้อ

1. สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกไปข้างนอกหรืออยู่ในพื้นที่สาธารณะ

2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่ ๆ แออัด หรือเป็นพื้นที่ ๆ เสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมถึงเว้นระยะห่างทางสังคม

3. หลีกเลี่ยงการไปพบ หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการป่วยไข้ไม่สบาย

4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้สัตว์

5. หลีกเลี่ยง การสัมผัสกับพื้นผิวสาธารณะ เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู ราวจับในรถขนส่งสาธรณะ ปุ่มกดตู้เอทีเอ็ม ฯลฯ หากจำเป็นต้องสัมผัส ให้รีบทำความสะอาดมือ หลังสัมผัสทันที ไม่ว่าจะเป็น การล้างมือด้วยสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอลล์ (ผลิตภัณฑ์ alcohol ควรเข้มข้นไม่น้อยกว่า 70%) แม้กระทั่งการหยิบใช้ของส่วนตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าสตางค์ ธนบัตร เหรียญ เป็นต้น เมื่อสัมผัสสิ่งเหล่านี้ก็ควรที่จะทำความสะอาดมือเช่นกัน

6. งดพฤติกรรมการจับตา หู จมูก

7. ทำความสะอาดมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อน-หลังรับประทานอาหารไม่ว่าจะเป็นการล้างมือด้วยสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอลล์ (ผลิตภัณฑ์ alcohol ควรเข้มข้นไม่น้อยกว่า 70%)

8. รับประทานอาหารสุก สะอาด ถูกสุขลักษณะ

นอกจากนี้ หากรู้สึกไม่สบาย หรือมีอาการผิดปกติ ก็ควรจะพักผ่อนอยู่บ้าน สังเกตอาการ ดูแลตัวเองจนกว่าจะหายดี และให้หมั่นสังเกตอาการของตนเองเสมอ

แต่หากท่าน กำลังสงสัย ว่าตนเอง ได้รับความเสี่ยง หรือมีความประสงค์ ที่จะตรวจ ก็สามารถ เข้ารับ การตรวจ ได้ตาม โรงพยาบาล คลินิกเทคนิคทางการแพทย์ คลิกนิกเอกชนบางแห่ง

ชุดตรวจโควิด ที่ใช้ในการตรวจก็มีหลากหลายประเภท เช่น ประเภท RT-PCR ประเภท Automation และประเภท Rapid test แต่ละสถานพยาบาลก็จะเลือกใช้ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานพยาบาลนั้น ๆ ซึ่งไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะดีเหมือนกันหรือไม่

เพราะ ชุดตรวจ ที่สถานพยาบาลเลือกใช้นั้น จะต้องเป็นชุดตรวจของแบรนด์ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และผ่านการทบทวนอนุมัติให้จำหน่ายได้ โดย อย.ไทย ก่อน จึงจะสามารถสั่งซื้อ และนำมาใช้ ในการตรวจหาเชื้อได้

อย่างไรก็ตามชุดตรวจโควิด ยังคงมีข้อจำกัด ในการจำหน่าย ให้เฉพาะสถานพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ เท่านั้น ไม่สามารถจำหน่าย ให้กับร้านค้าทั่วไปได้

ประชาชน ไม่ควรหาซื้อชุดตรวจโควิดมาตรวจด้วยตนเอง เพราะชุดตรวจ ที่ท่านซื้อมานั้นไม่ผ่านอย.ไทยแน่นอน เท่ากับว่าไม่มีการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน และการใช้งาน อาจไม่ถูกต้อง รวมถึงวิธี การอ่านผล ซึ่งไม่ได้อ่านโดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ผลตรวจนั้น ไม่มีความถูกต้องแม่นยำ ไม่มีความน่าเชื่อถือนั่นเอง

ตรวจเอดส์ด้วยตัวเอง โรคเอดส์ (AIDS)

ตรวจเอดส์ด้วยตัวเอง โรคเอดส์ (AIDS) เป็นการป่วยระยะสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเชื้อจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีการทำงานที่บกพร่องจนไม่สามารถป้องกันหรือกำจัดเชื้อที่เข้าไปสู่ร่างกายได้

จึงทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย จนนำไปสู่ การเสียชีวิตลงในที่สุด โรคเอดส์จะมีอาการ ที่สามารถสังเกตได้ คือ เป็นไข้เรื้อรัง น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาการ ท้องร่วงเรื้อรัง มีเหงื่อออกในช่วงกลางคืน หรืออาจมีแผลตรงบริเวณปากและลิ้น

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการไหนที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ มีเพียงแต่ยาที่ช่วยในการชะลอการพัฒนาของโรค และลดอัตราความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลงด้วยโรคเอดส์

ดังนั้น ผู้ป่วยเอชไอวี จึงมีความ จำเป็น ที่จะต้อง เข้ารับ การรักษา เพื่อไม่ให้ ภูมิคุ้มกัน ถูกทำลาย ลงอย่างหนัก จนลุกลาม ไปสู่ ระยะเอดส์ได้

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธีการตรวจหลัก ๆ คือ

– Anti-HIV antibody เป็นการตรวจหาภูมิต้านทาน Antibody ต่อเชื้อเอชไอวีจากการตรวจเลือด โดยวินิจฉัยจากการทำงานของระบบภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัส
วิธีการนี้ สามารถ ตรวจพบเชื้อ ได้ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือนหลังการติดเชื้อ

– NAT (Nucleic Acid Testing) เป็นการ ตรวจหา สารพันธุกรรม ของเชื้อเอชไอวี ด้วยการ ตรวจปริมาณ ของเชื้อ และการ ทำงาน ของระบบภูมิคุ้มกัน ภายร่างกาย ซึ่งวิธีการนี้ แพทย์มักใช้ ในกรณี ที่ผู้ป่วย มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อสูง
เพราะเนื่องจาก วิธีการนี้ ค่อนข้าง มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว โดยสามารถ ตรวจพเชื้อ ได้ภายใน 1-4 สัปดาห์ หลังการติดเชื้อ

– PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นการตรวจหา สารพันธุกรรม ในระดับอณูชีวโมเลกุล สามารถ ตรวจได้ ในเด็กทารก ที่อาจได้รับ ความเสี่ยง หลังคลอด ช่วงอายุ 1 เดือน และใช้ตรวจ ในผู้ใหญ่ หลังได้รับ ความเสี่ยง 14 วันขึ้นไป
ซึ่งเป็น วิธีการตรวจ หาเชื้อ ที่ทำการ วินิจฉัย โรคเพื่อ ทำการรักษา เป็นไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ พบได้ ทั่วไป ตามโรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม นอกจากการตรวจข้างต้นแล้ว ปัจจุบันก็ได้มีชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถตรวจหาเชื้อได้อย่างรวดเร็ว ไม่ปล่อยให้ตนเองมีอาการ และพบการติดเชื้อในระยะที่ทำการรักษาลำบาก

การ ตรวจหาเชื้อ เอชไอวี ด้วยตนเอง ผู้ป่วย จำเป็น ที่จะต้อง ทำความ เข้าใจ วิธีการใช้งาน วิธีการ อ่านค่า อย่างละเอียด เพื่อให้ ผลตรวจ ที่ได้ มีความน่าเชื่อถือจริง

ตรวจเอดส์ด้วยตัวเอง การมีชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง วางจำหน่าย ตามร้านขายยา ถือว่า เรื่องที่ดี เพราะเป็นทางออก ให้สำหรับ ผู้ที่ไม่กล้า เดินทางไป ตรวจตาม โรงพยาบาล หรือคลินิก เนื่องจาก ไม่อยากเปิดเผยตัว ให้แก่สังคม ได้รับรู้ ว่าตนเองนั้น เป็นผู้ที่มี ความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ

ดังนั้นแล้ว การมี ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง วางจำหน่าย ให้ประชาชน ทั่วไป สามารถ เข้าถึง ได้ง่าย จึงถือ ว่าเป็นโอกาส ที่ดี ที่จะ ทำให้ ผู้ที่มี ความเสี่ยง สามารถ ทำการตรวจ หาเชื้อเอชไอวีได้ด้วยตนเอง ที่บ้านง่าย ๆ และรวดเร็ว

ทั้งนี้ ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง จะต้องมีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน เพื่อให้ผลการตรวจเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพราะหากตรวจเจอเชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตลงด้วยโรคเอดส์ และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

ตรวจเอดส์ด้วยตัวเอง

 

 

อาการเอดส์ และโรคเอชไอวี โรคร้ายที่ยังรักษาไม่หาย

อาการเอดส์

 

อาการเอดส์ และโรคเอชไอวี โรคร้ายที่ยังรักษาไม่หาย และยังเป็นหนึ่งในโรคที่คุกคามชีวิตมนุษย์ที่สุดอีกโรคหนึ่ง

ปัจจุบันสามารถรักษาโรคเอชไอวีให้ไม่พัฒนาไปสู่โรคเอดส์ โดยไวรัสเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยจะน้อยลง จนถึงขั้นที่ตรวจไม่เจอเชื้อ

แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีเชื้อในร่างกาย ยังคงต้องทานยาและรักษาต่อไปภายใต้การดูแลของแพทย์

แต่ข้อดีของการรักษาจนไวรัสลดน้อยลงก็คือ ช่วยให้ผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคปรากฏ ไม่เข้าสู่ภาวะเอดส์ ไม่มีโรคแทรกซ้อน มีอายุขัยที่ยืนยาวดังเดิม สามารถใช้ชีวิตได้ราวกับว่าไม่ได้ป่วย

เอดส์และเอชไอวีไม่เหมือนกัน เอชไอวี เป็นไวรัสอันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ หรือภาวะเอดส์ โดยที่เริ่มต้นนั้นผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวี เบื้องต้นจะเริ่มมีอาการป่วยคล้ายกับเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือไม่สบาย ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อเชื้อไวรัสเอชไอวี อาการต่าง ๆ หายไปได้เอง

อาการเอดส์ ตัวอย่างอาการที่อาจจะเกิดขึ้น หลังได้รับเชื้อเอชไอวี

– เป็นไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ วิงเวียนบ่อย คลื่นไส้อาเจียน
– ไอเรื้อรัง
– รู้สึกไม่มีแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย
– มีผื่นขึ้นตามร่างกาย หรือผิวหนังอักเสบ
– ต่อมน้ำเหลืองบวม
– ท้องเสียเรื้อรัง
– น้ำหนักลด

อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้ก็เป็นอาการทั่วไป ๆ ที่เมื่อร่างกายได้รับเชื้ออะไรก็ตามจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง ซึ่งอาจจะไม่ใช่เชื้อไวรัสเอชไอวีเสมอไป การเข้ารับการตรวจจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

เนื่องจากอาการติดเชื้อเอชไอวี ไม่สม่ำเสมอเป็นแล้วหายไปได้เอง ทำให้ผู้ป่วยบางท่านไม่ได้เข้ารับการรักษา เนื่องจากไม่ทราบว่าได้รับเชื้อ หรือทราบแล้วแต่ไม่รักษา ทำให้เข้าสู่สภาวะเอดส์ในเวลาต่อมา

ตัวอย่างอาการที่อาจจะเกิดขึ้น เมื่อกำลังเข้าสู่ภาวะเอดส์ หรือโรคเอดส์

– ปอดอักเสบ
– มีอาการซึมเศร้า หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท
– มีไข้เรื้อรัง
– ท้องเสียเรื้อรัง
– อาจะมีอาการความจำเสื่อม หรือสูญเสียความทรงจำ
– ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ แบบไม่มีสาเหตุ

เท่าที่กล่าวมา อาการเอดส์ ก็เหมือนกับอาการป่วยของโรคอื่น ๆ ดังนั้นหากต้องการทราบจริง ๆ ว่าได้รับเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจ

การรักษาโรคเอชไอวี

ยาที่ใช้ในการรักษาปัจจุบัน คือ ยาต้านรีโทรไวรัส (ARV) เป็นกลุ่มยาต้านไวรัสหลาย ๆ ชนิด โดยยานี้จะมีฤทธิ์ควบคุมไม่ให้ไวรัสขยายพันธุ์ ช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

สำหรับผู้ที่คาดว่าตัวเองน่าจะได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวีมา สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อได้โดยให้ทานยา ARV ภายใน72 ชม. หลังได้รับความเสี่ยงหรือหลังสัมผัสโรค จำไว้ว่าต้องได้รับยาเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

หากท่านใดที่ไม่ได้มีเชื้อเอชไอวีแต่มีความเสี่ยงสูงที่คาดว่าจะได้รับเชื้อเอชไอวี และต้องการป้องกันก็สามารถทานยา ARV เป็นประจำทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงนั้นได้

อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีทานยา ARV ไม่ว่าจะทานก่อนหรือหลังสัมผัสเชื้อ และสิ่งสำคัญคือ ควรสวมใส่ถุงยางอนามัยเสมอ

สิ่งสำคัญ คือ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี

หากสงสัยว่าตนเองได้รับความเสี่ยงมาหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นความสงสัยที่เล็กน้อย การตรวจเพื่อหาเชื้อเอชไอวี ก็เป็นทางออก ที่ดีที่สุด

เพื่อช่วย ให้เกิด ความคลายกังวลใจ และหากตรวจพบตั้งแต่แรก จะช่วยให้คุณวางแผนในการใช้ชีวิต ดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง และคนในครอบครัวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเข้าสู่การรักษาได้ไวขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการรักษามาก ๆ

หากท่าน ไม่ต้องการตรวจ ที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่าง ๆ ในทันที ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ปัจจุบันสามารถ ตรวจคัดกรองการเอชไอวีด้วยตนเอง ได้แล้ว โดยชุดตรวจคัดกรองเอชไอวี ด้วยตนเองนี้ จะใช้วิธีการตรวจที่ง่าย ๆ และรู้ผลรวดเร็วภายใน 15 นาที และส่วนใหญ่แม่นยำกว่า 99%

ไม่ต้องกังวล ว่าเป็นการตรวจคัดกรองแล้ว จะเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะว่าในคลินิก หรือโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล ต่าง ๆ จะทำการตรวจคัดกรอง ก่อนอยู่แล้ว หากพบว่า มีความเสี่ยงจริง ก็จะดำเนิน การตรวจยืนยัน ด้วยวิธีอื่น เพื่อยืนยันผลการตรวจอีกรอบหนึ่ง

ดังนั้น การตรวจคัดกรองด้วยตนเอง จึงเป็นเรื่องที่ ท่านสามารถทำได้ เพียงเลือกซื้อ ชุดตรวจที่มีมาตรฐาน มีเลขอย. และตรวจตามเวลา ที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะทำให้ผลตรวจนั้น มีความน่าเชื่อถือจริง ๆ

อีกทั้งการตรวจเอชไอวีไม่ได้ถูกจำกัดว่าตรวจได้แค่ครั้งเดียว ดังนั้นหากไม่มั่นใจ ท่านจะตรวจซ้ำ หรือตรวจบ่อยแค่ไหนก็ได้

การติดเชื้อ เอชไอวีไม่ใช่สิ่งที่แย่ที่สุด ลองคิดกลับกันว่า หากไม่ลองตรวจ หรือตัดสินใจ ตรวจสักครั้ง และปล่อยให้เชื้อไวรัส ทำลายลุกลาม ไปนานหลาย ๆ ปี ท่านจะเข้าสู่ ภาวะเอดส์ และเสียชีวิต ในที่สุด แต่ตลอดเวลา ที่ผ่านมา ท่านได้แพร่เชื้อ ให้กับผู้อื่น ไปแล้วกี่คน แพร่เชื้อให้กับคน ที่เรารักหรือไม่ นี่คือสิ่งที่แย่ และเลวร้ายมาก ๆ

“ดังนั้น ตรวจดูสักครั้ง เมื่อสงสัยว่าได้รับความเสี่ยงหรือไม่ เพื่อตนเอง เพื่อคนที่คุณรัก และเพื่อผู้อื่น”