วันเอดส์โรค (World AIDS Day) 1 ธันวาคม ของทุกปี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ (World AIDS Day)

วันเอดส์โลก (World AIDS Day) วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ ซึ่งได้คร่าชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ไปกว่า 25 ล้านคนแล้วทั่วโลก

     วันเอดส์โลก (World AIDS Day) วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 แต่ในขณะนั้นจะรู้จักเพียงเฉพาะกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ต่อมามีการแพร่ระบาดโรคนี้ไปอย่างรวดเร็วและทั่วโลก จนมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากจนเป็นที่น่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา

      HIV ย่อมาจาก human Immunodeficiency Virus เชื้อไวรัสนี้เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ให้ต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกายเวลาที่เราเจ็บป่วย

      AIDS  ย่อมาจาก Acquired Immunodeficiency Syndrome (โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง) โรคเอดส์จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายถูกเชื้อเอชไอวีบั่นทอนให้อ่อนแอลง จนถึงขั้นที่ร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคต่างๆได้อีก จนเริ่มติดเชื้อ หรือเกิดเป็นโรคต่างๆ

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ที่ยังไม่มียาตัวใดรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบโรคเอดส์มากที่สุด

ดังนั้น จึงได้มีการพยายามหามาตรการเพื่อป้องกัน และหยุดยั้งโรคเอดส์ให้เป็นผลสำเร็จ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันเอดส์โลก” หรือ “World AIDS Day” ซึ่งเริ่มครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2531 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

– เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อของโรคเอดส์ และการเจ็บป่วยจากโรคเอดส์

– เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันโรคเอดส์ให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ

– เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

– เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับ และห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอดส์

– เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

สัญลักษณ์วันเอดส์โลก

สัญลักษณ์ของวันเอดส์โลก คือ โบสีแดง (Red Ribbon) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วโลก เพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี โพซิทีฟ (HIV-positive) กับผู้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเอดส์ทั้งหลาย

โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome) AIDS

A = Acquired หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นภายหลังไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
I   = Immune หมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
D = Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง ความเสื่อม
S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการของโรค ซึ่งมีอาการหลายลักษณะตามระบบต่าง ของร่างกาย
ประวัติวันเอดส์โลก

ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา มีผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ทั้งๆที่เมื่อก่อนโรคเอดส์ ก่อตัวขึ้นในบางส่วนของโลกและเป็นอยู่ในหมู่ชนบางกลุ่มเท่านั้นแต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบโรคนี้ทั่วโลก ซึ่งโรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ.2524

จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เริ่มมีโรคเอดส์เกิดขึ้นในประเทศไทยปี พ.ศ.2527 จนถึงปี พ.ศ.2533 แม้รัฐบาลจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์แต่ก็ยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบและให้มีคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับโรคเอดส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน

ซึ่งย้อนไปเมื่อ ปี พ.ศ.2524 มีการพบโรคเอดส์พบครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยเป็นชายรักร่วมเพศป่วยเป็นปอดบวมจากเชื้อ นิวโมซีสตีส แครินิอาย ทั้งที่เป็นคนแข็งแรงมากมาก่อน และไม่เคยใช้ยากดภูมิต้านทาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ พบว่าเซลล์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง กับภูมิต้านทานไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ และทำให้เสียชีวิตในที่สุด และหากมีโรคแทรกซ้อน ก็จะทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น

สำหรับผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทย มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นชายอายุ 28 ปี เดินทางไปศึกษาต่อที่อเมริกา เริ่มมีอาการในปี พ.ศ.2526ได้รับการตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอเมริกา พบว่าปอดอักเสบ แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคเอดส์ จึงกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทำให้มีการตื่นตัวเรื่องโรคเอดส์ และจากนั้นก็มีการแพร่เชื้อมาอีกหลายต่อหลายคน ด้วยวิธีการต่างๆ  ซึ่งแม้จะมีผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ให้เห็น จนกระทั่งผลร้ายแรง และไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่กระนั้น ก็ยังมีผู้คนยอมเสี่ยงแบบตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ จนกระทั่งได้รับเชื้อนี้
วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

โรคเอดส์ คืออะไร

โรคเอดส์ (AIDS) หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอชไอวี (HIV) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้กันต่ำลงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกไวรัสทำลายและเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาซ้ำเติมในภายหลัง (เรียกว่าโรคฉวยโอกาส) เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ
สายพันธุ์ของโรคเอดส์

เชื้อไวรัสเอดส์มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักดั้งเดิมคือ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกากลาง, เอชไอวี-2 (HIV-2) พบแพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์อื่น ๆ ที่กลายพันธุ์มาอีกมากมาย

ในปัจจุบันทั่วโลก พบสายพันธุ์เชื้อเอชไอวี มากกว่า 10 สายพันธุ์ กระจายอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยพบมากที่สุดที่ทวีปแอฟริกามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ เนื่องจากเป็นแหล่งแรกที่พบเชื้อเอชไอวี และกระจายอยู่เป็นเวลานานกว่า 70 ปี สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือในโลก คือสายพันธุ์ซี มากถึง 40% พบในทวีปแอฟริกา อินเดีย จีน รวมทั้งพม่า ส่วนในประเทศไทยพบเชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์เอ-อี (A/E) หรืออี (E) พบมากกว่า 95% แพร่ระบาดระหว่างคนที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่แพร่ระบาดกันในกลุ่มรักร่วมเพศ และผ่านการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น

ขณะที่สายพันธุ์ซีเดี่ยว ๆ ยังไม่พบในประเทศไทย พบเพียงแต่สายพันธุ์อี-ซี ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์อีในประเทศไทย และสายพันธุ์ซีจากทวีปแอฟริกา แต่ทั้งนี้ช่วงหลายปีก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า ประเทศไทยพบผู้หญิงชาวไทย 2 คนติดโรคเอดส์สายพันธุ์ใหม่ เป็นเชื้อเอชไอวีผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ จี และดี เรียกว่า เอจี-ดี (AG/D) และเป็นเชื้อเอชไอวีผสม 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ อี และจี เรียกว่า เออี-จี (AE/G) ซึ่งคาดว่าจะติดมาจากทวีปแอฟริกา ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวจะมีความเข้มข้นในน้ำเมือกหรือสารคัดหลั่งมาก ทำให้ผู้สัมผัสติดเชื้อได้ง่าย และแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์จากทวีปอื่น
วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

ระยะของโรคเอดส์

เมื่อติดเชื้อเอดส์แล้ว จะแบ่งช่วงอาการออกเป็น 3 ระยะ คือ

1. ระยะไม่ปรากฏอาการ (Asymptomatic stage) หรือระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ออกมา จึงดูเหมือนคนมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนปกติ แต่อาจจะเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ จากระยะแรกเข้าสู่ระยะต่อไปโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 7-8 ปี แต่บางคนอาจไม่มีอาการนานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อต่อไปให้กับบุคคลอื่นได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ

2. ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ (Aids Related Complex หรือ ARC) หรือระยะเริ่มปรากฏอาการ (Symptomatic HIV Infection) ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในเห็น เช่น มีไข้สูงเกิน 37.8 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน, น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 4.5 กิโลกรัม หรือมากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเดิมภายใน 2 เดือน, ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน, มีเชื้อราในปากบริเวณกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก, เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม และมีอาการเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด เป็นต้น ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานเป็นปีก่อนจะกลายเป็นเอดส์ระยะเต็มขั้นต่อไป

3. ระยะเอดส์เต็มขั้น (Full Blown AIDS) หรือ ระยะโรคเอดส์ ในระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก ทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย หรือที่เรียกว่า “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส” ซึ่งมีหลายชนิด แล้วแต่ว่าจะติดเชื้อชนิดใด และเกิดที่ส่วนใดของร่างกาย หากเป็นวัณโรคที่ปอด จะมีอาการไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด ถ้าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้อาเจียน หากเป็นโรคเอดส์ของระบบประสาทก็จะมีอาการความจำเสื่อม ซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น ส่วนใหญ่เมื่อผู้เป็นเอดส์เข้าสู่ระยะสุดท้ายนี้แล้วโดยทั่วไปจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1-2 ปี
วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

ยารักษาโรคเอดส์

ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ มีแต่เพียงยาที่ใช้เพื่อยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบันมี 3 ประเภทคือ

1. Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์

2. Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV

3. Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV

หากรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว อาจมีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน มีผื่นตามผิวหนัง โลหิตจาง ฯลฯ ดังนั้นการรับประทานยาเหล่านี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
การป้องกันตัวเองจากโรคเอดส์

เราสามารถป้องกันโรคเอดส์ได้โดย

1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
2. รักเดียว ใจเดียว รักษาศีล 5
3. ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และขอรับคำปรึกษาเรื่อง โรคเอดส์ จากแพทย์ก่อน
4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด
กิจกรรมวันเอดส์โลก

สถานการณ์ของโรคเอดส์กลับแพร่กระจาย มากขึ้นและกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าโรคนี้เกิดเฉพาะในกลุ่มรักร่วมเพศ หรือกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้นร่วมกัน แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้แพร่กระจายเข้าไปในกลุ่มอื่นๆ ด้วย การจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นการรณรงค์และให้ความรู้ และการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องโรคเอดส์ตามมา

จัดนิทรรศการ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์
การจัดนิทรรศการ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์รวมถึงการจัดบอร์ด การรณรงค์โรคเอดส์ การสัมมนา ในเรื่อวิชาการความรู้ เกี่ยวกับ โทษของโรคเอดส์ และสาเหตุ รวมถึงการป้องกันให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์

จัดกีฬา ต้อต้านโรคเอดส์
การจัดกีฬาต้อต้านโรคเอดส์ เพื่อให้ทุกคน หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ และห่างไกลโรคร้าย และห่างไกลสิ่งที่จะทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ได้

กิจกรรมรณรงค์โรคเอดส์ 
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมบริการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อHIV เกมส์ และถามตอบปัญหาอื่นๆมากมาย กรมอนามัย แจกถุงยางฟรี พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ เผยแพร่ข่าวสาร การให้ความรู้ การป้องกันเกี่ยวกับโรคเอดส์

เผยแพร่ข้อมูลในวันเอดส์โรค
เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อและการเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องปลอดภัย และทำการเสริมสร้างและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันให้มากขึ้นในสังคมทุกระดับ โดยจัดให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่างๆดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ เพื่อให้นักเรียนและประชาชนทั่วไปสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองและทราบถึงวิธีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์

วัยรุ่นและเยาวชนไทยในวัยเรียนสมัยนี้ ขาดการรักนวลสงวนตัว กล้าได้ กล้าเสีย มากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง ดังนั้น ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียน สังคม มีหน้าที่ดูแล สอดส่องพฤติกรรมของนักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้ การปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง และหาทางป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง

รู้ทันเอดส์ (AIDS) ผู้ติดเชื้อเอดส์ควรปฎิบัติตนอย่างไร?

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ social

ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์แต่ยังไม่มีอาการ อาจมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปี ดังนั้น จึงควรที่จะดูแลสุขภาพของตนเอง ให้แข็งแรงอยู่เสมอ และในขณะเดียวกัน ก็ต้องป้องกันมิให้ผู้อื่น หรือคนใกล้ชิดติดเชื้อเอดส์ หากรู้จักระมัดระวัง ในเรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้แล้ว ก็จะไม่เป็นที่รังเกียจของคนที่อยู่ด้วย และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และปลอดภัย

ข้อควรปฏิบัติในชีวิตประจำวันมีดังนี้


1. คบหาสมาคมกับผู้อื่นได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องหลบซ่อน หรือเก็บตัวอยู่คนเดียว การพูดคุยแตะเนื้อต้องตัวกันตามธรรมดา ไม่สามารถทำให้ผู้อื่นติดโรคจากท่านได้ และโรคนี้ไม่ติดต่อทางลมหายใจ ถ้าหากมีความวิตกกังวล ทุกข์ใจ ไม่จำเป็นต้องเก็บความทุกข์ไว้เพียงคนเดียว ควรปรึกษาคนที่เข้าใจ และพร้อมจะรับฟังให้ความช่วยเหลือ อาจเป็นพ่อแม่ พี่น้องที่สนิท คู่สมรส คู่รัก หากยังไม่มีคนที่พร้อมจะรับฟังปัญหาของเรา ขอให้พยายามติดต่อพบปะพูดคุย กับกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ที่อยู่ใกล้บ้าน โดยสอบถามได้จากหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งจะมีข้อมูล เรื่องกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ในพื้นที่
2. ควรระมัดระวังมิให้น้ำหลั่งต่างๆ เช่น น้ำเหลือง น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ และสิ่งขับถ่ายต่างๆ กระเด็นหรือเปรอะเปิ้อนผู้อื่น เพราะอาจมีเชื้อเอดส์ปะปนออกมาได้ การบ้วนน้ำลาย หรือเสมหะ ควรใช้ภาชนะรองรับ ที่สามารถนำไปทิ้ง หรือทำความสะอาดได้สะดวก

3. เมื่อสัมผัส หรือเปรอะเปื้อน เลือด น้ำเหลือง อาเจียน ปัสสาวะ หรือสิ่งขับถ่ายอื่นๆ ให้รีบทำความสะอาด และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใช้แล้วควรนำไปซักให้สะอาด ก่อนนำไปใช้ต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
4. ใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ แต่ควรระมัดระวังอย่าให้สิ่งขับถ่าย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะ อาเจียน เปรอะเปื้อนพื้น โถส้วม อ่างล้างมือ ควรล้างด้วยผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างห้องน้ำ (ที่มีส่วนผสมของคลอรีนอยู่ด้วย) เป็นประจำทุกวัน และล้างมือทุกครั้ง หลังจากที่ใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม
5. ถ้วย ชาม จาน แก้วน้ำ ควรล้างให้สะอาด แล้วทิ้งให้แห้ง ก่อนนำไปใช้
6. ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ
7. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
8. งดการบริจาคโลหิต หรืออวัยวะต่างๆ เช่น ดวงตา ไต น้ำอสุจิ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บริจาคเลือด
9. หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพราะเด็กมีโอกาสรับเชื้อจากแม่ ที่ติดเชื้อเอดส์ได้ประมาณ 30 %
10.ไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ เพราะภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ของผู้ติดเชื้อต่ำกว่าคนอื่น จะทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย
11.ไม่ควรดูแลสัตว์เลี้ยง หรือทำความสะอาดกรงสัตว์ เพราะอาจติดเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านี้ได้
12.ผู้ติดสารเสพติดควรเลิกเสีย ถ้าเลิกไม่ได้ หรืออยู่ในระหว่างการรักษา เพื่อเลิกสารเสพติด ควรเปลี่ยนจากวิธีฉีด เป็นการสูบ หรือกินแทน หากจำเป็นต้องใช้เข็มฉีดยา ไม่ควรใช้เข็ม หรือกระบอกฉีดยา ร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด
13.ควรพบแพทย์โดยใกล้ชิดเป็นระยะๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาช้านาน กล่าวถึงชื่อโรคนี้ใครๆ ก็รู้จัก แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่ายังมีคนไทยหลายคนที่ยังมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ป่วย HIV อย่างไม่ถูกต้องเท่าที่ควร Sanook!  Health  เลยรวบรวมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV มาให้ทุกคนได้ปรับความเข้าใจกันใหม่ค่ะ

 

 

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV
1. โรคเอดส์ กับเชื้อ HIV ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

– HIV เป็นเชื้อไวรัส

– เอดส์ เป็นภาวะที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นหลังจากที่ร่างกายถูกทำร้ายจากไวรัส HIV อีกทีหนึ่ง

 

2. เป็นเอดส์ ยังมีโอกาสรอด

ถึงแม้จะยังไม่มีวิธี และยารักษาโรคเอดส์โดยตรง แต่หากพบในระยะที่ยังเป็นผู้ติดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยสามารถทานยาต้านไวรัส ไม่ให้เชื้อไวรัสทำร้ายภูมิคุ้มกันในร่างกาย จนแสดงอาการผิดปกติออกมาได้ เพราะฉะนั้นยิ่งพบเชื้อเร็ว ยิ่งควบคุมเชื้อไวรัสได้ง่าย โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งมีสูง นอกจากนี้เมืองไทยยังมีสวัสดิการมอบยาต้านไวรัสให้กับผู้ติดเชื้อฟรีอีกด้วย เพียงลงทะเบียนเข้าโครงการรับยาต้านไวรัสกับโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ และคอยติดตามผลกับแพทย์อยู่เสมอ
3. เป็นเอดส์ ติดเชื้อ HIV ต้องตายด้วยอาการมีแผล ตุ้ม หนอง ขึ้นเต็มตัว

นั่นเป็นอาการของโรคฉวยโอกาส อาจจะเป็นโรควัณโรค ซึ่งเข้ามาทำร้ายร่างกายหลังจากที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ไม่ดี ปล่อยให้เชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายจนแสดงอาการได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นโรคที่แสดงอาการทางผิวหนังก็ได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เอดส์

4. ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV ไม่ได้หมายความว่าเป็นคนสำส่อน มักมากในกาม

มีหลายคนที่ติดเชื้อ HIV จากแม่ จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ป่วย และอาจติดจากคู่ครองของตนเอง นั่นหมายความว่า หากมีเพศสัมพันธ์กับแค่คนๆ เดียว แต่หากเป็นผู้ติดเชื้อ ก็มีโอกาสติดเชื้อต่อจากคนนั้นได้เช่นกัน

 

5. เชื้อ HIV ไม่ได้ติดต่อกันง่ายเหมือนไข้หวัด

เชื้อ HIV ไม่สามารถติดกันได้ ผ่านทาง

– กอด จูบ (ยกเว้น จะมีแผลในปาก และเป็นการจูบแลกลิ้น แลกน้ำลายกัน)

– ทานข้าวร่วมกัน จานเดียวกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือแม้แต่ใช้ช้อน ส้อมคันเดียวกัน

– มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย

– ลมหายใจ

– ใช้สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพู ยาสีฟัน ร่วมกัน

เชื้อ HIV ติดต่อกันได้ผ่านทาง

– สารคัดหลั่ง เลือด ผ่านการใช้อุปกรณ์อย่างเข็มฉีดยา

– เลือด และการให้นมบุตรของแม่

– รับสารคัดหลั่ง และเลือด เข้าสู่ร่างกายผ่านแผล (ต้องเป็นแผลสดๆ เท่านั้น)

– โอกาสที่จะติดเชื้อ ไม่ใช่ 100% เสมอไป

6. ผู้ติดเชื้อ HIV อาจไม่ต้องทานยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต

หากทานยาต้านไวรัสตรงเวลา ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ มีโอกาสที่เชื้อไวรัส HIV อาจจะลดลงเรื่อยๆ จะอาจสามารถหยุดการทานยาได้ แต่แพทย์จะยังคงตรวจสุขภาพต่อเป็นระยะๆ

 

7. ผู้ติดเชื้อ HIV อาจมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวเหมือนคนปกติทั่วไป

หากทานยาต้านไวรัสตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ และรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเป็นประจำ ผู้ติดเชื้อสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว อยู่ต่อไปได้อีกหลายสิบปี มีอายุขัยเท่ากับคนปกติเลยทีเดียว ดีไม่ดีอาจอายุยืนกว่าคนปกติที่เป็นโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน หัวใจ อีกด้วย มะเร็ง อีกด้วย

 

8. ผู้ติดเชื้อ HIV สามารถมีครอบครัวได้

ถึงแม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางอนามัย จะทำให้มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้ แต่หากอยากมีครอบครัว ผู้ป่วยสามารถจูงมือคู่รัก เพื่อปรึกษาแพทย์ หาทางออกในการมีครอบครัว มีบุตรโดยที่บุตรไม่ติดเชื้อ HIV ได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เอดส์

โรคเอดส์ และเชื่อไวรัส HIV ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เรา หรือใครหลายๆ คนคิดนะคะ ขอให้เปิดใจ และมองเขาเหมือนเป็นคนปกติธรรมดาทั่วไป อย่าแสดงทีท่ารังเกียจ หรือกลัวอะไรพวกเขา เท่านี้พวกเขาก็มีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปแล้วล่ะค่ะ

เราจะทราบได้อย่างไร ว่าเราติดเชื้อ HIV

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

หลายๆ ท่านที่ใช้ชีวิตสุ่มเสี่ยง เช่น Unsafe sex หรือ สัมผัสน้ำคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ HIV
อาจกำลังสงสัยว่าตัวท่านเอง หรือคนใกล้ตัวท่าน ติดเชื้อ HIV หรือไม่
หากติดแล้วจะมีอาการยังไง… บันทึกนี้มีคำตอบครับ

 

เอดส์ ติดต่อกันได้อย่างไร

  1. การร่วมเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยไม่ว่าชายกับชาย ชายกับหญิง หรือหญิงกับหญิง
    ทั้งช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้มี
    โอกาสติดเชื้อมากขึ้น ได้แก่ การมีแผลเปิด สำนักระบาดวิทยาเปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ
    80 ของผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
  2. การรับเชื้อทางเลือด ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด
    และหากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อก็สามารถถ่ายทอดเชื้อเอดส์ได้
  3. ทารก ติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์ หากตั้งครรภ์
    และไม่ได้รับการดูแลอย่างดี เชื้อ HIV จะแพร่ไปยังลูกได้ในอัตราร้อยละ 30

 

 

เอดส์ มีอาการอย่างไร

ระยะที่ 1: ระยะที่ไม่มีอาการอะไร
ภายใน 2 – 3 อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด
คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง เป็นอยู่ราว 10 – 14 วันก็จะหายไปเอง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกต นึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดาราว 6 – 8 สัปดาห์ภายหลังติดเชื้อ ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้
แต่ส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง 3 เดือนไปแล้ว โดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลย
คนที่มีเลือดเอดส์บวกจะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัวและสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้
น้อยกว่าร้อยละ 5 ของคนที่ติดเชื้ออาจต้องรอถึง 6 เดือน
กว่าจะมีเลือดเอดส์บวกได้ ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น แอบไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน หากตรวจตอน 3 เดือน แล้วไม่พบ ก็ต้องไปตรวจซ้ำอีกตอน 6 เดือน
โดยในระหว่างนั้นก็ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์และห้ามบริจาคโลหิตให้ใคร
ผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตอยู่เป็นระยะเวลานานๆ คือเป็นเดือนๆ ขึ้นไป
โดยต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ ขนาด 1 – 2 เซนติเมตร อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง 2 ข้าง
ข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม่แดง นอกจากนี้ยังอาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง 2 ข้าง
ต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักพิงในช่วงแรกของไวรัสเอดส์

 

ระยะที่ 2: ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์

เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการ แต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง
น้ำหนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก, งูสวัด, เริมในช่องปาก หรืออวัยวะเพศ
ผื่นคันตามแขนขาลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง แต่ไม่ใช่ว่ามีอาการเหล่านี้จะต้องเหมาว่าติดเชื้อเอดส์ไปทุกราย
ถ้าสงสัยควรปรึกษาแพทย์ และตรวจเลือดพิสูจน์

 

ระยะที่ 3: ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น หรือที่ภาษาทางการเรียกว่าโรคเอดส์
เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวย
และมีโอกาสเป็นมะเร็งบางชนิด การติดเชื้อฉกฉวยโอกาส หมายถึง การติดเชื้อที่ปกติมีความรุนแรงต่ำไม่ก่อโรคในคนปกติ
แต่ถ้าคนนั้นมีภูมิต้านทานต่ำลง เช่น จากการเป็นมะเร็ง วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ท้องเสียเรื้อรัง
จอตาติดเชื้อทำให้ตาบอด ติดเชื้อที่ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง ฯ นอกจากนี้คนไข้โรคเอดส์อาจมีอาการทางจิตทางประสาท
อาจมีอาการหลงลืมก่อนวัยอัมพาตครึ่งท่อน ปัสสาวะ อุจจาระไม่ออก เป็นต้น ในแต่ละปีหลังติดเชื้อเอดส์ ร้อยละ 5 – 6 ของผู้ที่ติดเชื้อ
จะก้าวเข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้น ส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นแล้ว จะเสียชีวิตภายใน 2 – 4 ปี
จากโรคติดเชื้อฉกฉวย หรือค่อยๆ ซูบซีดหมดแรงไปในที่สุด

น่ากลัวมากนะครับ ทางที่ดี เมื่อสงสัยควรไปปรึกษาแพทย์และตรวจเลือด จากข้อมูลที่ให้ไว้ คือไปตรวจเลือดหลังจากวันที่คิดว่ารับเชื้อ 3 เดือน และตรวจซ้ำเมื่อครบ 6 เดือน แต่ทางที่ดีที่สุด คือ ใช้ชีวิตไม่ประมาท สิ่งใดที่เสี่ยง ก็อย่าไปทำ
พลาดเป็นเอดส์มาแล้ว ทั้งชีวิตนะครับ และอาจไม่ใช่แค่ชีวิตคุณ … ที่ต้องเสียไป

สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบ เมื่อต้องได้รับเลือด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ให้เลือด

การให้เลือดคืออะไร ?

การให้การรักษาด้วยเลือด และส่วนประกอบของเลือด เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาที่สำคัญมาก ผู้ป่วยที่มีภาวะต่าง ๆ เช่น เสียเลือดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด มีภาวะซีด โลหิตจางเรื้อรัง ธาลัสซีเมีย หรือเป็นมะเร็งที่ได้ยาเคมีบำบัด อาการดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องได้รับเลือด และส่วนประกอบของเลือด เช่น น้ำเหลือ พลาสม่า เกร็ดเลือด เพื่อการรักษาทั้งสิ้น

เลือดที่ท่านได้รับมาจากไหน ?

ผู้บริจาคเลือดเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่มีผู้บริจาคเลือดเต็มใจเดินทางมาบริจาคแล้ว ขบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้เลือดคงไม่เกิดขึ้น เลือดและส่วนประกอบของเลือดที่ผู้ป่วยได้รับ จะต้องมาจากมนุษย์เท่านั้น ไม่สามารถผลิตจากสารอื่นใด หรือผลิตจากโรงงานผลิตยาได้ การส่งเสริมให้มีผู้บริจาคเลือดที่ปลอดภัย พร้อมใจกันบริจาคเลือดให้ผู้ป่วย จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นอาจไม่มีเลือดให้ผู้ป่วย เพื่อการรักษาอย่างเพียงพอ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ให้เลือด

เลือดที่ท่านได้รับปลอดภัยหรือไม่ ?

ดังที่กล่าวแล้วว่า เลือดที่ให้ผู้ป่วยนั้น ต้องมาจากคนเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อที่ไหลเวียนในร่างกายของผู้บริจาค การคัดเลือกผู้บริจาคเลือดให้ได้ผู้บริจาคที่ปลอดภัย และเต็มใจ จึงเป็นงานที่สำคัญมาก ผู้บริจาคเลือดที่คุณสมบัติไม่เหมาะสม ทางธนาคารเลือดจะขอให้งดบริจาคเลือดไว้ก่อน จนกว่าภาวะ หรือเหตุการณ์นั้นหมดไป และทำให้แน่ใจว่า ผู้บริจาคเลือดเป็นบุคคลที่ปลอดภัย และเต็มใจบริจาคเลือดให้ผู้อื่นอย่างแท้จริง

ในขบวนการจะมีการซักประวัติอย่างละเอียด และตรวจความสมบูรณ์ของร่างกาย เมื่อได้รับเลือดที่บริจาคมาแล้วจะมีการตรวจกรองการติดเชื้อ เชื้อต่าง ๆ ที่ตรวจได้แก่ เชื้อไวรัสเอดส์ เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซี และเชื้อซิฟิลิส

ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการตรวจสูงขึ้นมาก เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยที่รับเลือด แต่ถึงกระนั้นก็ตามความเสี่ยงจากการได้รับเลือดยังคงมีอยู่บ้าง ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดเพื่อการรักษา จะต้องเข้าใจ และยอมรับความเสี่ยง ได้แก่

  •           การติดเชื้อโรคอื่นที่ยังไม่มีการตรวจ เช่น เชื้อมาเลเรีย
  •           การติดเชื้อโรคที่แม้จะมีการตรวจ แต่ผู้บริจาคอาจจะอยู่ในระยะแรกจึงตรวจไม่พบ
  •           ปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับเลือด เช่น การมีไข้ ภาวะแพ้ต่าง ๆ

ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับเลือด และส่วนประกอบของเลือดเป็นประจำ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ฮีโมฟีเลีย (Hemophelia) ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องเข้าใจ และยอมรับการรักษาด้วยเลือดนั้นเป็นสิ่งจำเป็น และมีประโยชน์

อีกด้านหนึ่ง ผู้ป่วยต้องเข้าใจว่าการรับเลือดคือ การรับเซลล์ หรือเนื้อเยื่อที่มาจากบุคคลอื่น จึงยังคงมีความเสี่ยงอยู่

แพทย์ผู้สั่งการรักษาได้พิจารณาอย่างเหมาะสมในการให้การรักษาด้วยเลือด และส่วนประกอบของเลือด จึงต้องการให้ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดแม้เพียงครั้งเดียว หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเลือดเป็นประจำ เข้าใจในความตั้งใจดีของผู้บริจาคเลือด และธนาคารเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับเลือดที่ปลอดภัยที่สุด

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ถ้าท่านมีญาติ มีเพื่อน ที่ยินดีจะบริจาคเลือดให้ท่าน หรือให้ผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราช ธนาคารเลือดมีความยินดีอย่างยิ่ง โปรดเชิญชวนญาติของท่านมาบริจาคเลือดทดแทน

เลือดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย เปรียบเสมือนสายธารหล่อเลี้ยงชีวิต ตามปกติแล้ว มนุษย์จะมีเลือดไหลเวียนอยู่ในร่างกายประมาณ 4,000-5,000 ซีซี ดังนั้นการบริจาคเลือดเพียง 350-450 ซีซี หรือประมาณ 9% จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่จะมีผลดีคือ ช่วยให้ร่างกายมีการกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดใหม่ออกมาชดเชย การบริจาคเลือดสามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือนในผู้ชาย และทุก 6 เดือนในผู้หญิง

ทำไม? ต้องตรวจเอดส์อย่างน้อยปีละครั้ง

ทำไม? ต้องตรวจเอดส์อย่างน้อยปีละครั้ง

โดย…ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

มีการคาดประมาณว่ามีคนไทยติดเชื้อเอดส์ตั้งแต่ต้นทั้งสิ้นหนึ่งล้านสองแสนคน เสียชีวิตไปแล้วครึ่งหนึ่ง คาดประมาณว่ามีคนไทยที่ติดเชื้อเอดส์ซึ่งมีชีวิตอยู่ขณะนี้ประมาณ 6 แสนคน มีคนไทยติดเชื้อรายใหม่ ขณะนี้ประมาณปีละ 16,000 คน และเสียชีวิตจากเอดส์ประมาณปีละน้อยกว่า 10,000 คน โดยแนวโน้มการเสียชีวิตจะลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากรัฐจัดบริการดูแลรักษาทั่วถึงมากขึ้น พร้อมทั้งรณรงค์ ให้ประชาชนตรวจเอดส์ฟรีปีละ 2 ครั้ง ก่อนที่จะป่วยขึ้นมา และการที่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อเอดส์หรือไม่ เป็น ก้าวแรกที่สำคัญจะนำไปสู่การป้องกันและดูแลรักษาที่ถูกต้องและจริงจัง

การจะรู้ว่าติดเชื้อหรือไม่ต้อง อาศัยการตรวจเอดส์อย่างเดียว ซึ่งคนไทยจำนวนมากยังเข้าใจว่าถ้าร่างกายแข็งแรงแสดงว่าไม่ได้ติด เอดส์ นอกจากนี้หลายคนไม่คิดว่าตัวเองอาจมีโอกาสติดเอดส์ได้ทั้งๆ ที่มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อ การติดเชื้อเอดส์ เพราะคิดว่าโอกาสน้อยหรือตัวเองไม่น่าจะเสี่ยง การรณรงค์ให้คนไทยเห็นถึงความส าคัญของการตรวจเอดส์ เช่นเดียวกับการตรวจเช็คสุขภาพ ประจำปี กับการตรวจเอดส์ฟรี จึงเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐควรนำขึ้นมาพิจารณาอย่างจริงจังถ้าจะป้องกัน การแพร่ระบาดของเอดส์ให้ได้ผล รวมทั้งการยอมรับว่าการตรวจเอดส์เป็นหน้าที่ มีประโยชน์ และควรทำกันทุกคนเป็นประจำ (Routine voluntary testing)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

คนที่ไปตรวจเอดส์ หรือคนที่เป็นเอดส์น้อยลง เพราะทุกคนต่างก็ตรวจเอดส์กันเป็นปกติวิสัย ซึ่งการที่รู้ว่าตัวเอง และคู่นอนไม่ติดเชื้อแน่นอน จะเป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญที่ทั้งคู่จะ ได้เริ่มต้นป้องกันการติดเอดส์อย่างจริงจัง จะได้ห่างจากเอดส์ไปตลอดชีวิต และถ้าตรวจแล้วเจอว่าติดเชื้อ ก็ควรถือว่าเป็นโชคดีที่รู้ตัวแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะแพร่ไปให้ภรรยา หรือลูก หรือจะได้ป้องกันไม่ให้คน ที่เรารักติดเชื้อตามไปด้วย หรือก่อนที่จะเจ็บป่วยขึ้นมา จะได้ดูแลรักษาทันท่วงที ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 50- 60 ของคู่นอนของสามี หรือภรรยาที่ติดเชื้อจะติดเชื้อด้วย ดังนั้น จึงยังมีโอกาสที่จะป้องกันอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ให้ติดเชื้อตาม และทำให้สามารถดูแลตัวเองไม่ให้รับเชื้อเพิ่ม ภูมิต้านทานจะได้ไม่ทรุดลงเร็ว และจะได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาที่ถูกต้อง จะได้ไม่ป่วยหรือเสียชีวิตจากเอดส์

ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าใน การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอดส์เป็นอย่างมาก ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้ผู้ติดเชื้อจะ สามารถมีอายุยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าๆกับคนที่ไม่ติดเชื้อทั่วไป อีกทั้งผู้ติดเชื้อไทยก็นับว่าโชค ดีที่รัฐจัดบริการดูแลรักษาให้ฟรีทุกคน สำหรับผู้ที่ไม่เคยตรวจก็ไม่มั่นใจว่าตัวเอง และคู่นอนติดเชื้ออยู่ หรือไม่ คนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ หรือกำลังมีเพศสัมพันธ์อยู่ มีโอกาสจะติดเอดส์ได้ทั้งนั้น โดยมีข้อมูล ของศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย บอกว่าคนที่เคยตรวจเอดส์มาก่อน จะมีโอกาสติดเอดส์น้อยกว่าคนที่ไม่เคยตรวจเอดส์เลยถึง 10 เท่า ดังนั้นศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย จึงขอร่วมรณรงค์ให้คน ไทยทุกคนตรวจหาเชื้อเอดส์ ดังคำขวัญ

“ปีนี้คุณตรวจเอดส์แล้วหรือยัง… การตรวจเอดส์ ป้องกันและรักษาชีวิตได้”

ก็ดีเหมือนกันที่ฉัน…เป็นเอดส์

คนส่วนใหญ่มักจะมองแต่ว่า ‘การเป็นเอดส์’ มีแต่ข้อเสีย มีแต่ด้านลบ และถือเป็นความผิดพลาดในชีวิตที่ไม่ควรได้รับการให้อภัย แต่คุณอาจลืมมองไปว่า ภายใต้ ‘ความผิดหวัง’ ยังคงมี ‘ความดีงาม’ บางอย่างซ่อนอยู่ เพียงแค่คุณพร้อมที่จะเปิดใจคุณก็จะพบว่า ยังมีใครอีกหลายๆคนพร้อมจะจับมือคุณเดินต่อไปในเส้นทางชีวิตที่แสนห่อเหี่ยว และทำให้มันกลับมาดูมีชีวิตชีวาอีกครั้ง

อย่ามัวแต่คิดถึงข้อเสียของการเป็นเอดส์เพียงอย่างเดียว เพราะยิ่งคิดก็จะยิ่งทำให้อาการที่คุณเป็นอยู่แย่ลง และไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นมาได้เลย ลองมานึกถึงข้อดีข้อมันบ้างดีกว่า ว่า ‘การเป็นเอดส์’ ตอบแทนอะไรให้แก่คุณได้บ้าง

 

 

1.      ก็ดีเหมือนกัน…ฉันจะได้เข้าใจคนรอบข้างมากขึ้น

บางทีคุณอาจจะไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าคนที่อยู่ข้างๆคุณ รักคุณมากแค่ไหน เพราะบางคนไม่กล้าพอที่จะแสดงความรักที่เขามีออกมาให้คุณได้รับรู้ตลอดเวลา แต่เมื่อใดที่คุณอ่อนแอหรือล้มลง บุคคลที่อยู่ข้างๆเหล่านี้ ก็พร้อมที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือคุณเสมอ คอยพยุงคุณไว้ในวันที่อ่อนล้า และพาคุณก้าวเดินต่อไปในวันข้างหน้า ขอเพียงแค่คุณเริ่มต้นพูดและฟังคนรอบข้างให้มากขึ้น พยายามอธิบายให้เขาเข้าใจ แล้วพวกเขาก็จะเปิดใจและให้อภัยกับความผิดพลาดที่คุณเคยทำมาอย่างแน่นอน เพราะคงไม่มีใครจะรักและเข้าใจเราได้เท่ากับคนในครอบครัวของเราอีกแล้ว

2.      ก็ดีเหมือนกัน…ฉันจะได้ลดน้ำหนักได้สักที

แน่นอนว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไปวีย่อมเป็นบุคคลที่มีร่างกายไม่แข็งแรง เนื่องจากเชื้อไวรัสตัวนี้จะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เจ็บป่วยหรือติดเชื้อบางเชื้อได้ง่าย ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ติดเชื้อไอชไอวีจึงควรพยายามออกกำลังกาย เพื่อบริหารความสมบูรณ์ของร่างกายให้ได้อย่างสม่ำเสมอ เพราะการที่คุณออกกำลังกายอย่างถูกวิธี จะมีผลให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคได้ดีมากขึ้น และผลพลอยได้จากการออกกำลังกายนี้ ก็ย่อมมีส่วนให้คนที่เคยมีน้ำหนักตัวมากๆสามารถมีน้ำหนักที่ลดน้อยลง หรือมีรูปร่างที่สมส่วนมากขึ้นได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ก็ยังจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เพื่อให้สารอาหารเข้าไปช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของร่างกายให้มากขึ้น พร้อมๆไปกับการรับประทานยาต้านเชื้อไวรัสอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากคุณสามารถปฏิบัติตามวิธีการเหล่านี้ได้ คุณก็จะสามารถมีชีวิตที่แข็งแรงได้ไม่แพ้กับคนปกติทั่วไปเลย
          3. ก็ดีเหมือนกัน…ฉันจะได้พักผ่อนให้มากขึ้น

ต้องยอมรับว่า คนบางคนใช้ชีวิตแต่ละวันที่หนักมาก “ตื่นแต่เช้าฝ่ารถติดไปทำงาน” “ตกเย็นสังสรรค์จนมืดค่ำ” “กว่าจะได้นอนก็เกือบสว่าง” ซึ่งการใช้ชีวิตซ้ำๆเช่นนี้ทุกวัน ย่อมมีผลให้ร่างกายเสื่อมถอยลงไปอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อใดที่คุณป่วย คุณก็จะจำเป็นต้องหันมาดูแลตัวเองให้มากขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้ก็จะหายไปโดยปลิดทิ้ง เพราะร่างกายสำคัญไปกว่าการทำงานหรือการสังสรรค์ คุณจึงจำเป็นจะต้องรักษาตัวให้ดีมากที่สุด จากที่เคยเป็นคนพักผ่อนน้อย หรือเคร่งเครียดจากการทำงานมาก ไลฟ์สไตล์ที่เคยเป็นก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งนี่กับเป็นผลดีที่ทำให้คุณหันมาดูแลใส่ใจตัวเองมากยิ่งขึ้น เพราะการใช้ชีวิตอย่างหนักหน่วงแบบที่คุณเคยทำ อาจทำให้ชีวิตสั้นกว่าชีวิตที่คุณดูแลตัวเองเป็นอย่างดีหลังจากได้รับเชื้อเอชไปวีไปแล้วก็ได้

          4. ก็ดีเหมือนกัน…ฉันจะได้เข้าใจในชีวิตมากขึ้น

ถ้าไม่มีทุกข์ ก็คงไม่มาตามหาสาเหตุแห่งทุกข์ แต่เมื่อใดที่เราพบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์แล้ว ก็ควรจะต้องแก้ไขมันให้ได้ ตามหลักความเป็นจริงใน “อริยสัจ 4”  ทุกครั้งที่เราเกิดความทุกข์ ธรรมมะจะช่วยขัดเกลาให้เรามองเห็นความเป็นจริงได้ดีมากยิ่งขึ้น  เพราะอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ชีวิตของเราเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นธรรมดาและเป็นความจริงที่สุด แม้ว่าวันใดที่ร่างกายของเราอ่อนแอเนื่องจากโดนพิษร้ายที่เกิดจากการติดเชื้อเล่นงาน แต่อย่าทำให้จิตใจต้องติดอยู่ในความร้ายกาจนั้นไปด้วย การทำจิตให้แน่วแน่ มีสติและสมาธิ จะช่วยให้คุณสบายใจได้มากขึ้น และเข้าใจในความเป็นไปของโลกได้มากขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งนี้นับเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เพราะจากคนที่ไม่เคยเข้าใจในความเป็นไปของชีวิตเลย กลับสามารถพบทางออก หรือเข้าใจในชีวิตมากยิ่งขึ้นได้ ด้วยตัวแปรที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ “การติดเชื้อเอชไอวี” นั่นเอง

พอจะทราบถึง “ข้อดี” ของการเป็นเอดส์กันไปแล้ว ก็หวังว่าผู้ติดเชื้อทุกท่านจะมีกำลังใจในการมีชีวิตต่อได้มากยิ่งขึ้นนะคะ คนเราเกิดมาแล้วไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการสร้างสิ่งที่งดงามเอาไว้ให้ผู้อื่นได้จดจำ เพราะแม้แต่ต้นไม้มันยังเกิดมาเพื่อให้ออกซิเจนกับสิ่งมีชีวิตเลย หากคุณไม่สามารถทำความดีตอบแทนให้โลกหรือทำผู้คนจดจำในความดีได้เลย ก็คงไม่ต่างอะไรกับวัชพืชที่เกิดมาแล้วก็ต้องตายไปเพียงเท่านั้น

HIV vs เอดส์ แตกต่างกัน ชัดๆ มีเพศสัมพันธ์ สร้างครอบครัวได้ปกติ

วันนี้เราขอนำเสนอประเด็นน่าสนใจที่หลายคนยังเข้าใจผิด เกี่ยวกับ “HIV” และ “เอดส์” แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งคนส่วนใหญยังมีความเข้าใจกันว่า HIV กับเอดส์ไม่แตกต่างกันแตกต่างกัน

ทั้งนี้ ก็ได้แต่หวังว่า เรื่องราวที่เราได้นำเสนอในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์และสร้างความเข้าใจใหม่ๆ ว่าบุคคลเหล่านี้ก็สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ สามารถสร้างครอบครัวที่มีความสุขได้อย่างปกติ

มารู้จักสถานบำบัดโรคเอดส์กันเถอะ

เป็นที่รู้กันดีอยู่ว่า “โรคเอดส์” คือ โรคร้ายที่ไม่มีใครอยากพบเจอ หรือถ้าจะให้ดีขอไม่อยู่ใกล้กับคนเป็นเอดส์น่าจะดีกว่า แต่คุณรู้หรือไม่ว่า คนที่เป็นเอดส์ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการ ตรวจ HIV อย่างถูกต้อง และคือ บุคคลผู้น่าสงสาร บางทีเขาและเธออาจจะไม่ใช่ต้นเหตุแห่งการเกิดโรคร้ายนี้ด้วยซ้ำ แต่จำเป็นต้องมารับกรรมเพราะได้รับการถ่ายทอดเชื้อไวรัสเอชไอวีจากบุคคลอื่นๆที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม แต่เมื่อเรื่องร้ายเกิดขึ้นแล้ว ก็คงปฏิเสธหรือถอยหลังย้อนกลับไปเริ่มต้นใหม่ไม่ได้ มีเพียงทางเดียวที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนพึงกระทำ ก็คือ การพยายามอยู่กับมันให้มีความสุขมากที่สุดเท่าที่จะสามารถมีได้นั่นเอง

โลกของเราไม่ได้ใจแคบกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีมากจนเกินไปหรอกค่ะ เพราะยังมีหน่วยงานต่างๆมากมาย ที่พร้อมจะให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคนี้ ให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างยาวนานมากที่สุด หรือช่วยเติมเต็มชีวิตของพวกเขาให้มีความสุขมากเท่าที่จะสามารถทำได้

ในประเทศไทยของเรา มีองค์กรที่กล่าวถึงนี้อยู่หลายที่ด้วยกัน วันนี้เราจะมายกตัวอย่างสถานบำบัดโรคเอดส์ที่สำคัญในประเทศไทย ว่าใครบ้างที่พร้อมจะให้ความพึงพิงแก่ผู้ป่วยโรคร้ายเหล่านี้

1.      วัดพระบาทน้ำพุ หรือวัดพระพุทธบาทประทานพร

เมื่อกล่าวถึงชื่อ  “วัดพระบาทน้ำพุ” เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะสถานที่แห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงศาสนสถานที่ให้ความสงบทางจิตใจเพียงเท่านั้น แต่วัดพระบาทน้ำพุ ยังเป็นที่ตั้งของ “มูลนิธิธรรมรักษ์” ซึ่งเป็นสถานที่พักฟื้นผู้ติดเชื้อเอชไอวีระยะสุดท้ายอีกด้วย โดยวัดพระบาทน้ำพุ เริ่มต้นรับผู้ป่วยโรคเอดส์ครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2535 โดยได้รับการสนับสนุนและได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขและกรมศาสนา สถานที่แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์จากทั่วประเทศ พร้อมมีกิจกรรมพิเศษที่ช่วยบำบัดจิตใจของผู้ติดเชื้อทุกคน เช่น การสวดมนต์ การเดินจงกรม การเล่นโยคะ รวมถึงการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ อีกทังยังรับอุปการะเด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบโรคเอดส์จากบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อด้วย

 2.       มูลนิธิดวงประทีป

            เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ทำงานเพื่อเด็กและเยาวชนที่ยากจน รวมถึงผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ต้องการความช่วยเหลือมาโดยตลอด ทั้งนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ขององค์กรต้องการที่จะพัฒนาและส่งเสริมประชาชนให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชน รวมถึงเพื่อเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ และยาเสพติด ทำให้ที่นี่มีบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์อยู่หลากหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น การให้คำปรึกษาเรื่องวิธีในการปฏิบัติตนหรือการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ รวมไปถึงการออกเยี่ยมผู้ป่วยตามบ้านเรือนในบริเวณใกล้เคียงด้วย

3.      ศูนย์โฮปไลน์

เป็นศูนย์บริการที่ทำงานเพื่อผู้ป่วยโรคเอดส์อีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปิดให้บริการทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์ ที่ศูนย์บริการแห่งนี้มีอาจารย์อนุกูลเป็นที่ปรึกษา และมีนายแพทย์ประยุกต์ เสรีเสถียร เป็นผู้อบรมกลุ่มนักศึกษาอาสาสมัครที่เรียนมาทางด้านจิตวิทยาโดยตรง เพื่อให้พวกเขาเข้ามาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อทุกท่าน ที่เข้ามาขอคำปรึกษาในเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ ซึ่งกำลังใจจากองค์กรแห่งนี้ ก็ถือเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่ช่วยให้ผู้ติดเชื้อสามารถใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

4.         บ้านธานน้ำใจ

บ้านธานน้ำใจดำเนินงานโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่รับเลี้ยงทารกที่เกิดมาจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี และถูกทอดทิ้งเอาไว้ตามโรงพยาบาลต่างๆ โดยหน้าที่หลักของบ้านธานน้ำใจ ก็คือ การให้ความรักความอบอุ่นแก่เด็กแรกเกิดผู้โชคร้ายเหล่านี้ รวมถึงการจัดหาครอบครัวให้แก่เด็กน้อยที่ไม่ได้รับการติดเชื้อจากแม่ เพื่อให้เด็กน้อยเหล่านั้นสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างเป็นปกติสุขหลังจากที่พวกเขาเริ่มเติบโตขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการเลื้ยงดูทารกของโรงพยาบาลต่างๆ ที่แม่ผู้ติดเชื้อทิ้งลูกน้อยของเธอเอาไว้ด้วย

ส่วนในกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีปัญหาด้านทางกฏหมายหรือการละเมิดสิทธิ์ทางเพศ ก็มีหน่วยงานอีกหลากหลายแห่ง ที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านการแจ้งความตามกฎหมาย หรือการติดต่อประสานงานต่างๆกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยรายชื่อของหน่วยงานเหล่านี้ ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองสิทธิ์ด้านเอดส์, องค์กรเพื่อนหญิง, มูลนิธิผู้หญิง หรือ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก  หน่วยงานเหล่านี้จะคอยยื่นมือมาโอบอุ้มคุณในเวลาที่คุณกำลังอ่อนแอหรือล้มลงโดยไม่มีใครเหลียวแล ทั้งนี้ ก็เพื่อช่วยเหลือให้คุณสามารถกลับมามีจิตใจที่แข็งแรงได้อีกครั้ง และช่วยให้คุณสามารถมีชีวิตอย่างมีความสุขได้อย่างยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้

เห็นหรือยังค่ะว่า คุณไม่ได้ยืนอยู่ตัวคนเดียวบนโลกใบนี้ ในวันที่มืดมนหมดหนทาง ยังคงมีแสงสว่างรอคอยคุณอยู่ที่ทางออกเสมอ ขอเพียงแค่อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ หรือยกธงขาวยอมแพ้ต่อโชคชะตาไปเสียก่อน หากคุณเริ่มท้อใจก็ขอแค่เพียงนั่งพักให้พอมีแรงที่จะเดินต่อไป และเมื่อไรที่คุณสามารถเรียกพลังกลับคืนมาได้แล้ว ก็ขอให้คุณจงใช้พลังที่มีนั้นอย่างถูกทาง เพื่อให้บั่นปลายของทางเดินชีวิตที่เหลืออยู่ เต็มไปด้วยความสุขในทุกวัน และคุณจะไม่รู้สึกเสียใจเลยที่ตัดสินใจต่อสู้กับโรคร้ายชนิดนี้อีกครั้ง

ตามติดชีวิต ‘คนเป็นเอดส์’

เมื่อพูดถึง ‘คนเป็นเอดส์’ หลายๆคนอาจจะนึกถึง ผู้ป่วยที่นอนพะงาบรอความตายอยู่บนเตียง หรือคนป่วยที่มีน้ำหนองไหลเยิ้มไปทั่วร่างกาย แต่นั่นไม่ใช่ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคเอดส์ทุกระยะ  ผู้ป่วยโรคเอดส์บางคนสามารถออกมาเดินชอปปิ้ง ทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆได้ไม่แตกต่างอะไรกับคนปกติเลย เพราะตราบใดที่เชื้อโรคเอดส์ยังถูกควบคุมไว้ด้วยยา และพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ไปแพร่เชื้อโรคร้ายให้แก่ใคร คนเหล่านี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรเลยกับคนปกติอย่างเราๆ

คนที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าไปในร่างกาย อาจจะไม่จำเป็นต้องติดเชื้อเอดส์เสมอไป ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อนั้น ขึ้นอยู่กับหลากหลายตัวแปร เช่น จำนวนครั้งที่สัมผัสกับไวรัส ความร้ายกาจของไวรัสเอดส์ที่เข้าสู่ร่างกาย หรือภูมิต้านทานของร่างกายที่แต่ละคนมี เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่างๆก็ส่งผลอย่างยิ่งต่อการแสดงอาการของโรคเอดส์ อาการที่เกิดขึ้นสามารถเกิดได้หลายรูปแบบตามระยะการดำเนินของโรค ดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1 – ระยะที่ไม่มีอาการ

หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป  2 ถึง 3 สัปดาห์แรก ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการคล้ายๆกับการเป็นไข้หวัด นั่นคือ มีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หรือเป็นผื่นตามตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะปรากฏเพียงแค่ 10-14 วัน และจะหายไปเองเหมือนเวลาที่เราเป็นหวัดทั่วๆไป ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทันสังเกต และคิดว่าเป็นอาการที่เป็นอยู่นี้เป็นอาการของไข้หวัดธรรมดา

ประมาณ 6 ถึง 8 สัปดาห์ภายหลังการติดเชื้อ ผู้ติดเชื้อจะยังไม่แสดงอาการใดๆ เพียงแต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการตรวจเลือด จะเริ่มพบว่ามี ‘ภาวะเลือดบวก’ หรือหมายความว่า มีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือด ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดบวกภายหลังจากการรับเชื้อไปแล้ว 3 เดือน ซึ่งภาวะเช่นนี้ ร่างกายจะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีน “แอนติบอดี (antibody)” ขึ้นมาทำปฏิกิริยากับไวรัสเอดส์ เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่า ได้มีเชื้อเอดส์เข้ามาสู่ร่างกายแล้ว แต่ยังไม่สามารถจะเอาชนะไวรัสเอดส์ได้

จากการศึกษาพบว่า การใช้ชุดตรวจเอชไอวีที่ไม่มีคุณภาพ ผู้ป่วยบางคนอาจจะต้องรอนานถึง 6 เดือน กว่าที่เลือดจะแสดงผลเป็นบวก ดังนั้น หากใครที่คิดว่าตนเองมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ก็จำเป็นต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์  เพื่อป้องกันการเพิ่มโอกาสการแพร่กระจายเชื้อ และต้องหมั่นไปตรวจเลือดบ่อยๆ เพื่อให้แน่ใจจริงๆว่าคุณยังคงปลอดภัยจากไวรัสชนิดนี้อยู่

ในช่วงเวลานี้ ผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตได้ โดยจะปรากฎอยู่เป็นระยะเวลานานมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป ต่อมน้ำเหลืองนี้จะมีลักษณะเป็นเม็ดแข็งกลม ลักษณะคล้ายลูกประคำ ขนาด 1 ถึง 2 เซนติเมตร โดยจะพบอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณข้างลำคอทั้ง 2 ข้าง  หรืออาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง 2 ข้าง ต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่บ่มเพาะของเชื้อไวรัสเอดส์ ซึ่งจะแบ่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะออกมาแพร่ความร้ายกาจไปทั่วร่างกาย

 ภาพจาก : http://hepatitisoutreachsociety.com/tag/travel/

ระยะที่ 2 – ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์

เป็นระยะที่คนไข้เริ่มแสดงอาการ แต่ยังไม่เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นในลักษณะของการเป็นไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ ในขณะที่ผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีเชื้อราในช่องปาก เป็นเริมในช่องปาก มีผื่นขึ้นตามลำตัว แขน และขา  ซึ่งโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าอาการที่เป็นในช่วงนี้ยังไม่จำเพาะสำหรับโรคเอดส์เสมอไป คนที่เป็นโรคอื่นๆก็อาจจะมีอาการเจ็บป่วยเช่นนี้ได้เสมอ  ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังเกิดอาการดังที่กล่าวมานี้ จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดพิสูจน์ว่า คุณนั้นเข้าข่ายผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือเป็นเพียงอาการป่วยธรรมดาๆเท่านั้น

ระยะที่ 3 – โรคเอดส์เต็มขั้น หรือที่ภาษาทางการเรียกว่าโรคเอดส์

โรคเอดส์เต็มขั้น เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายถูกทำลายลงไปอย่างมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยได้บ่อยๆ และเกิดเป็นมะเร็งบางชนิดได้ โดยเชื้อฉกฉวยในที่นี้ หมายถึง การติดเชื้อที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงในคนปกติ แต่หากบุคคลนั้นมีภูมิต้านทานต่ำลง จะทวีความรุนแรงของอาการที่มากขึ้น เช่น การได้รับยาบางชนิดอาจทำให้เกิดเป็นวัณโรคที่ปอด ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือสมองได้

ตัวอย่างของเชื้อฉกฉวยที่จะกล่าวถึง ได้แก่ เชื้อพยาธิที่ชื่อว่า “นิวโมซิส-ตีส-คารินิไอ” ซึ่งทำให้เกิดโรคปอดบวมขึ้นได้ หรือจะเป็นเชื้อราที่ชื่อว่า “คริปโตคอคคัส” ซึ่งทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ส่วนเชื้อ “ซัยโตเมกกะโลไวรัส (CMV)” ก็ส่งผลให้ตาบอดหรือทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย และถ่ายเป็นเลือดได้

นอกจากนี้ยังมีเชื้อราอีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า “แคโปซี่ซาร์โคมา” ซึ่งพบได้ตามเส้นเลือดที่ผิวหนัง โดยจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงแดง คล้ายๆกับจุดห้อเลือดหรือไฝ  จุดดังกล่าวจะขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ  และบางครั้งอาจแตกเป็นแผลและมีเลือดออกได้ เชื้อไวรัสชนิดนี้อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้น ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์ทุกคน จึงควรตรวจมะเร็งปากมดลูกอยู่เสมอทุกๆ 6 เดือน

ส่วนใหญ่ของคนที่ป่วยเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น จะเสียชีวิตภายใน 2 ถึง 4 ปี จากโรคติดเชื้อที่ยังไม่มียาที่สามารถรักษาได้ผล หรือจากการเป็นมะเร็งที่อันตรายมากๆ อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์มีการคิดค้นผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ขึ้นมาได้หลากหลายชนิด ซึ่งยาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สามารถยืดชีวิตของคนไข้ออกไปได้นาน 10 ถึง 20 ปี หรือจนกว่าผู้ป่วยคนนั้นจะสิ้นชีวิตจากความชรา