แพทย์ชี้ท่าเซ็กซ์อันตราย เสี่ยงพิการได้

3 ท่าเซ็กซ์เสี่ยงอันตรายมากที่สุด

ในบรรดากระบวนท่ารักทั้งหลาย รู้หรือไม่ว่ามีบางท่าไม่เหมาะกับคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้เสี่ยงถึงกับพิการได้เลย ดังนั้น เราจึงรวบรวมมาให้ระมัดระวังกัน

1. ลิงอุ้มแตง 

นพ.สุกมล วิภาวีพลกุล ได้เผยในหนังสือ เพศศึกษา ฮาสุดขีด โดยระบุไว้ว่า เป็นท่วงท่าที่ผู้ชายยืนตรงแล้วอุ้มผู้หญิงเอาไว้ จัดการกระแทกกระทั้นด้วยการโอบอุ้มท่าแนบแน่นต่อกัน  เป็นท่าร่วมรักอันตรายที่ไม่เหมาะกับผู้ชายที่ไม่แข็งแรงหรือกระดูกสันหลังบาง หรือเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะต้องใช้แรงรับน้ำหนักอย่างมาก จึงไม่เหมาะกับผู้ชายที่ไม่เป็นนักกีฬา อาจเสี่ยงต่อระบบกล้ามเนื้อกระดูกสันหลังได้ จึงไม่ควรเลียนแบบ

2. ท่าซิกซ์ตี้ไนน์ หรือ ท่า 69

เป็นท่าที่เร้าอารมณ์แบบเต็มรูปแบบ เสี่ยงต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจ มีโอกาสหัวใจวายกะทันหันได้ ถ้ามีปัญหาโรคนี้ ขอให้ละไว้ เพราะท่านี้ผู้ชายต้องเกร็งกล้ามเนื้อแขนและหน้าท้องอย่างมาก อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลงแล้วเกิดอาการวูบได้

3. ท่า Women On Top

เป็นท่าทางที่ผู้หญิงจะอยู่ด้านบน มีความอันตรายสำหรับฝ่ายชาย เพราะแพทย์ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ ระบุว่า ต้องผ่าตัดศัลยกรรมของรักชายหนุ่มจำนวนมากเนื่องจากอาการ “หักกลางลำ”

4.ออรัลเซ็กซ์ในรถ

ถึงแม้จะดูเหมือนว่า ไม่มีความพิสดารใดๆ แต่กลับที่ความเสี่ยงไม่แพ้กัน หากว่าการออรัลเซ็กซ์นั้น ทำในขณะขับขี่รถอยู่ เพราะในขณะที่ฝ่ายหญิงทำให้ฝ่ายชายขณะขับขี่รถ ในช่วงที่เกร็งตัวสุดๆ ของฝ่ายชาย อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงกับพิการได้

6 โรคที่เกิดจากการจูบอย่างดูดดื่ม ถ้าไม่ระวังคุณอาจจะกลายเป็นแบบนี้ได้

          การแสดงความรักผ่านความใกล้ชิดกันด้วยการจูบ ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับคู่รัก แต่ถ้าถึงขนาดถึงพริกถึงขิงกับอีกฝ่ายที่เรายังไม่รู้จักดีพอคงจะไม่ดีแน่

          เพราะความเสี่ยงที่จะติดโรคผ่านการจูบของอีกฝ่ายนั้นมีสูงจนคุณต้องตกใจ นี้คือตัวอย่างของ 6 โรคที่มาจากความไม่ระวังตัวเองให้ดีพอขณะ

1. อาการไอทั่วไปและมีไข้ขึ้น 

สาเหตุเกิดจากการติดไวรัสของอีกฝ่าย ที่สามารถส่งผ่านกันทางน้ำลาย ดังนั้นก่อนจะจูบกันควรให้แน่ใจก่อนว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นไข้อยู่หรือไม่

2. อาการเจ็บคอและแผลในช่องปาก

คอหอยอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่่ชื่อว่าสเตร็ปโตค็อกคัสที่ติดต่อโดยตรงจากฝ่ายตรงข้าม ส่งผลกระทบต่อต่อมทอนซิล และอาจส่งผลถึงกล่องเสียงด้วย

3. โรคเริม

ไวรัสโรคเริม (HSV) สามารถแพร่เชื้อในคนได้อย่างง่ายดาย โดยติดต่อจากคนใกล้ชิดด้วยการสัมผัสโดยตรง ยิ่งผ่านทางการจูบยิ่งแล้วใหญ่ รักษาได้ยาก ดังนั้นหากคุณเป็นควรหลีกเลี่ยงการจึ๊กกะดึ๋ยกันจนกว่าคุณจะรักษาได้หายขาด

4. ไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis b)

มันติดต่อผ่านทางสายเลือด แต่ในบางกรณีสามารถผ่านทางการจูบได้ด้วย ถ้าหากอีกฝ่ายมีแผลในปากที่มีเลือดซึมอยู่ นอกจากนี้ยังติดต่อผ่านน้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง

5. โรคหูด

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HVP ที่ทำให้มีเนื้องอกขนาดเล็กที่อาจลุกลามเป็นมะเร็งในช่องปากได้

6. โรคมือ เท้า ปาก

เกิดจากการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสจากฝ่ายตรงข้าม  มักติดต่อโดยการได้รับเชื้อจากอุจจาระ ฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วยเข้าสู่ปาก  – ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร

ที่มา http://www.wittyfeed.com/story/9952/these-harmful-diseases-caused-by-kissing-can-kill-you

ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์หารือ สปสช. ชงผู้ติดเชื้อ HIV รับยาต้านไวรัสวันเดียวหลังผลตรวจยืนยัน

“หมอประพันธ์” หารือ สปสช.ชง 3 แนวทาง พัฒนาสิทธิประโยชน์เอดส์ หนุนผู้ป่วยรับยาต้านไวรัสวันเดียวหลังผลตรวจยืนยัน พร้อมเพิ่มเอกซเรย์ปอด/ตรวจค่าการทำงานไตก่อนเริ่มการรักษาที่หน่วยบริการเข้ารับการตรวจได้ การให้ยาป้องกันติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเสี่ยง พร้อมปรับหลักเกณฑ์ขึ้นทะเบียนหน่วยตรวจและให้ศูนย์บริการด้านเอดส์ภาคประชาสังคมเบิกจ่ายค่าตรวจได้

นพ.ประพันธ์ ภานุภาค

นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาได้เข้าพบผู้บริหาร สปสช.เพื่อหารือ 3 แนวทางในการพัฒนาระบบดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามการณรงค์โครงการเอดส์สหประชาชาติ Getting to zero รวมถึงการป้องกันผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นนโยบายสำคัญรัฐบาลในการยุติเอดส์ ไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ (Zero new infection) ไม่มีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ (Zero death) และไม่มีการตีตราแบ่งแยกผู้ติดเชื้ออีกต่อไป (Zero stigma and discrimination)

เรื่องแรกคือการให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีกับผู้ติดเชื้อหลังจากที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันแบบทราบผลในวันเดียว (same day result) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดการเจ็บป่วย เพราะมีหลักฐานวิชาการยืนยันแล้วว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้าถึงยาได้เร็วจะเสียชีวิตช้ากว่าผู้ที่ได้รับยาช้า ขณะเดียวกันยังลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อ สอดคล้องกับนโยบายชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าการให้ยาต้านไวรัสไม่จำกัดค่า CD4 ก่อนหน้านี้

ทั้งนี้การให้ยาต้านไวรัสผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ได้รับการตรวจยืนยัน ควรจะได้รับการเอกซเรย์ปอดและตรวจค่าการทำงานของไตก่อนเพื่อไม่ให้เกิดผลต่อสุขภาพ รวมถึงดูว่าผู้ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่เพื่อให้การรักษาก่อน โดยกรณีผู้ติดเชื้อเข้ารับการตรวจที่ไม่ใช่หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนสิทธิโดยตรง จะไม่ได้รับการเอกซเรย์และตรวจค่าทำงานของไตในวันเดียวกัน เนื่องจากติดการเบิกจ่ายค่าบริการซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในงบกองทุนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ ทำให้ยังไม่สามารถเริ่มให้ยาต้านไวรัสในวันเดียวกันได้ แต่ในกรณีผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการตรวจยังหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนสิทธิโดยตรง จะได้รับการเอกซเรย์และตรวจค่าทำงานของไตพร้อมกับเริ่มให้ยาต้านไวรัสในวันเดียวกันได้ ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ โดยหน่วยบริการจะเบิกจ่ายจากงบเหมาจ่ายรายหัว

ดังนั้นจึงขอให้ สปสช.ปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย เพื่อทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับยาต้านไวรัสในวันเดียวกัน หลังรับผลตรวจยืนยันเชื้อเอชไอวี และขอให้เอกซเรย์ปอดและตรวจค่าการทำงานของไต ณ หน่วยบริการที่ให้บริการได้เลยโดยไม่ต้องกลับหน่วยบริการต้นสังกัด ซึ่งหน่วยบริการส่วนใหญ่มีความพร้อมอยู่แล้ว

“จากการนำร่องโครงการวิจัยที่คลินิกนิรนาม 6 เดือน ตรวจพบผู้ติดเชื้อ 900 คน ได้เอกซเรย์ปอด ตรวจค่าทำงานของไตและให้ยาต้านไวรัสในวันเดียวกัน ซึ่งได้ผลที่ดี ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาทั้งหมดจึงได้เสนอ หาก สปสช.ให้ปลดล็อกเกณฑ์การเบิกจ่ายให้มีความหยืดหยุ่น นอกจากดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยาโดยเร็วแล้ว ยังทำให้ผู้ติดเชื้อไม่หลุดหายออกไปจากระบบ” นพ.ประพันธ์ กล่าวและว่า ทั้งนี้คลินิกนิรนามปัจจุบันไม่ได้เป็นหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายค่าเอกซเรย์และการตรวจค่าการทำงานของไต รวมทั้งจ่ายยาต้านไวรัสให้กับผู้ติดเชื้อ เบิกได้เฉพาะค่าตรวจเอชไอวีเท่านั้น

นพ.ประพันธ์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องที่ 2 เป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์การให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี(PrEP: Pre-Exposure Prophylaxis) กับกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น กลุ่มชายรักชาย กลุ่มผู้ให้บริการ เป็นต้น เป็นมาตรการเสริมจากการป้องกันโดยใช้ถุงยางอนามัยให้มีเกราะป้องกันชั้นที่ 2 ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้เกือบ 100% ขณะนี้ได้มีการนำร่องแล้วภายใต้โครงการการให้ยาต้านไวรัสเอดส์ก่อนการสัมผัสเชื้อ เพื่อความยั่งยืน จึงเสนอให้ สปสช.นำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้หรือไม่ เพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในการลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์

เรื่องที่ 3 การสนับสนุนค่าตรวจเอชไอวีให้กับศูนย์บริการสุขภาพที่มีชุมชนเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนบริการสุขภาพ จากที่สภากาชาดไทยร่วมกับกรมควบคุมโรค จัดอบรมแกนนำชุมชน ให้เป็นที่ปรึกษาและคำแนะนำกับกลุ่มเสี่ยง ทั้งด้านการป้องกันและการเข้าสู่ระบบรักษาหากติดเชื้อเอชไอวี พร้อมการจัดบริการตรวจเชื้อเอชไอวีในศูนย์บริการ ซึ่งจากข้อมูลบริการการตรวจเชื้อเอชไอวีทั่วประเทศ พบว่า 1 ใน 3 เป็นการตรวจโดยศูนย์บริการเหล่านี้ ทั้งมีความแม่นยำเพราะจากการส่งผลการตรวจมายืนยันที่คลินิกนิรนาม มีความถูกต้อง 100% ซึ่งงบที่ใช้ในการตรวจปัจจุบันมาจากกองทุนโลก และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง จึงอยากให้เบิกจ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา

ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า สปสช.ได้รับข้อเสนอทั้ง 3 แนวทาง จากการหารือร่วมกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยไปพิจารณา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเอชไอวีในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้รับการดูแลและเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น เป็นไปตามนโยบายของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ดำเนินอย่างมีประสิทธิผลมาแล้วจนองค์การอนามัยโลกมอบเกียรติบัตรรับรองความสำเร็จของประเทศไทย ยุติเอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกขยายผลไปสู่การดูแลผู้มีสิทธิได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากเสียงสะท้อนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคม กระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์นำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาระบบร่วมกัน

ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจ HIV

กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายด้านเอดส์กำหนดให้วันที่ 1 กรกฎาคมทุกปีเป็นวันรณรงค์ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (Voluntary Counselling and Testing Day : VCT Day) เพื่อให้ประชาชนตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ขณะนี้ ไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 500,000 คน ในจำนวนนี้ มีเพียงครึ่งหนึ่งหรือ 250,000 รายเท่านั้นที่ทราบผลเลือดและเข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ระบบบริการปรึกษา การตรวจวินิจฉัย การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ครอบคลุมในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ จึงเป็นที่น่าเสียดายสำหรับผู้ที่ยังไม่ตรวจเลือดและไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา

ซึ่ง “ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจเอชไอวี” เป็นประเด็นรณรงค์ในปี 2557 นี้ โดยมีความหมายว่า การตรวจเอชไอวีจะทำให้

1.สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ไม่ต้องรอให้แสดงอาการ

2.ได้รับการรักษา จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำงานได้อย่างปกติ

3.สามารถวางแผนป้องกันคู่ของตนเองติดเชื้อ และชวนคู่ไปตรวจเลือดได้

4.สามารถวางแผนป้องกันการติดเชื้อไปสู่ลูกได้

5.สามารถป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีได้

6.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง

กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ประชาชนสามารถไปรับการตรวจเลือดเอชไอวี ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ การทราบผลการตรวจเลือดจะช่วยให้ผู้ที่ไม่ติดเชื้อเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเอง ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ก็จะป้องกันไม่ถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่น ขณะเดียวกันจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดการป่วยจากโรคฉวยโอกาส เช่น วัณโรค และลดการเสียชีวิตลง เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ (Getting to Zero) คือลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากเอดส์ และลดการรังเกียจตีตราเรื่องเอดส์

ขอบคุณภาพจาก สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663

ข้อควรรู้ ก่อน การตรวจเอดส์ (Pre-test counseling / Pre-test information)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ sex

 

  1. เรามีโอกาสจะติดเอดส์ไหม?  เช่นเคยเสพยาโดยการฉีด  หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับใครโดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยหรือไม่  (แม้กระทั่งกับสามีหรือภรรยาของเราเอง เพราะเราไม่รู้ว่าเขาเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อมาก่อนหรือไม่)
  2. รู้ประโยชน์ของการตรวจหรือไม่  เช่น  ถ้าตรวจไม่เจอ  จะได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง  หรือถ้าตรวจเจอ  ต้องถือว่าโชคดีที่รู้ตัวก่อนที่จะป่วยขึ้นมา  จะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่ป่วยหรือเสียชีวิตจากเอดส์  อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อจากเรา
  3. รู้หรือว่าตอนนี้  เอดส์รักษาได้  แม้จะไม่หายขาด  คนไทยทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการรักษาฟรีหมด  และถ้ารักษาแต่เนิ่นก็จะได้ไมป่วย  หรือเสียชีวิตจากโรคเอดส์  สามารถมีอายุยืนยาวได้เท่ากับคนอื่น  และไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น
  4. ต้องรับรู้ว่าการตรวจเอดส์อาจเกิดผลเสีย (โทษ)ก็ได้  เช่น  คนอื่นอาจคิดว่าเราเป็นคนไม่ดี  จึงต้องไปตรวจ  ทั้งๆ ที่คนที่ไปตรวจน่าจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  ต่อครอบครัว  และต่อสังคม  หรือถ้าตรวจเจออาจเป็นทุกข์ใจแสนสาหัสในช่วงต้น  แต่ถ้าได้รับการปรึกษาและเข้าใจกระบวนการดูแลสุขภาพ จะทำให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปได้
  5. ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ  (ไม่ติดเชื้อ)  หรือถ้าออกมาเป็นบวก  (ติดเชื้อ)  เราจะทำอะไรต่อ  รวมทั้งจะบอกหรือไม่บอกผลเลือด (ทั้งบวกและลบ) กับใคร  ด้วยเหตุผลอย่างไร
  6. ต้องชั่งดูว่าประโยชน์ของการตรวจเอดส์ ซึ่งล้วนแต่เป็นความจริง  และมีประโยชน์สำหรับทุกคนเพื่อวางแผนในการดูแลสุขภาพ  จะมีมากกว่าผลเสียที่ล้วนเป็นเพียงการคาดเดาหรือไม่  ถ้าประโยชน์มีมากกว่า  เราสมัครใจจะตรวจจริง ๆ นะ  ไม่มีใครบังคับหรือหลอกเรานะ
  7. ต้องเข้าใจเรื่องของWindow  period  กล่าวคือ  ระยะเวลาที่ยังอาจตรวจไม่เจอ  เพราะเพิ่งได้รับเชื้อเข้ามาไม่ถึง  14  วัน  เป็นต้น  ดังนั้น  ในระหว่างที่รอไปอีก 1-2สัปดาห์เพื่อไปตรวจใหม่  จึงยังต้องใส่ถุงยางอนามัยกับคู่นอนไปก่อน  แม้ว่าจะตรวจครั้งแรกไม่เจอแล้วก็ตาม
  8. ต้องเข้าใจความสำคัญของการพาคู่นอนมาตรวจพร้อมกัน  จะได้บอกผลให้กันและกันง่ายขึ้น  และจะได้ปลอดภัยจริง ๆ แม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัย
  9. ในกรณีที่ตรวจแล้วผลเป็นลบ  จะต้องมีความเข้าใจว่าจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในอนาคตอย่างไร  หรือป้องกันตนเองอย่างไร  จะได้ไม่ติดเอดส์ไปตลอดชีวิต  เช่น  การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับใครที่ไม่เคยรู้ผลเลือดเอดส์ของตัวเองเลย  หรือการเลิกเสพยา  หรือใช้เข็มสะอาดทุกครั้งที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้นเลือด
  10. และถ้าพลาดพลั้งไป  มีพฤติกรรมที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีอีก  ต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาป้องกัน และควรตรวจเอดส์ซ้ำ  โดยที่ในระหว่างรอไปตรวจเลือดซ้ำ  จะต้องใส่ถุงยางอนามัยกับคู่นอนของตัว ซึ่งเคยไปตรวจเอดส์แล้วไม่พบไปก่อน

 

WHO ยกย่องไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิคที่สามารถกำจัดการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกได้

องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประกาศว่าไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิคที่สามารถกำจัดการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกได้

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลกยกย่องว่า ไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่มีการระบาดในวงกว้างของเชื้อ HIV และสามารถหาทางป้องกันการแพร่ของโรค เพื่อทำให้เกิด “AIDS-free generation” หรือประชากรรุ่นที่ไม่มีการติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์

ความสำเร็จครั้งนี้มีปัจจัยเอื้ออำนวยจากบริการด้านสุขภาพที่ทั่วถึง การตรวจโรคก่อนคลอด และการให้ความรู้จากหน่วยงานต่างๆ และนอกจาก HIV แล้ว ไทยยังประสบความสำเร็จในการหยุดการระบาดของโรคซิฟิลลิสจากมารดาสู่ทารกด้วย

Mukta Sherma โฆษกขององค์การอนามัยโลกให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว Ron Corben ของวีโอเอว่า เมื่อมองย้อนกลับไป ไทยเป็นประเทศแรกๆ ในโลก ที่สนใจทดลองยาต้านไวรัส HIV และเป็นประเทศแรกๆ ที่ใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้าแก้ไขปัญหา ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา

ระหว่างปี ค.ศ. 2000 และ 2014 จำนวนสตรีที่ติดเชื้อ HIV รายใหม่ลดลงเกือบร้อยละ 90 จาก 15,000 รายมาอยู่ที่ 1,900 ราย และเมื่อปีที่แล้ว มีเด็กเกิดใหม่ในประเทศไทย 86 คนติดเชื้อ HIV เทียบกับ 1,000 รายเมื่อสิบปีก่อน

หากว่าสตรีมีครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV ไม่ได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่เหมาะสม โอกาสของการแพร่เชื้อสู่ลูกมีสูงถึงกว่าร้อยละ 30 ความเสี่ยงต่อการถ่ายทอดเชื้ออาจเกิดขึ้นระหว่าง ตอนคลอดและการให้นมทารกหลังคลอด

แต่ความเสี่ยงนี้จะลดลงเหลือ 1% กว่าๆ เท่านั้น ถ้ามารดาได้รับยาต้านไวรัสขณะตั้งครรภ์

กระทรวงสาธารณสุขไทยกล่าวว่า ร้อยละ 98 ของสตรีมีครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV สามารถเข้าถึงยาต้านไวรัสและการบำบัดต่างๆ และนั่นทำให้อัตราการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกเหลือเพียงไม่ถึง 2%

นอกจากนั้น การตรวจเชื้อ HIV สำหรับประชากรกลุ่มนี้ยังอยู่ในระดับสูงสุดของเอเชียแปซิฟิกด้วย และในกลุ่มเด็กแรกคลอด ทารกยังได้รับการดูแลทางการแพทย์อย่างทั่วถึงด้วย

Mukta Sherma โฆษกของ WHO บอกว่า ไทยมีระบบสาธารณสุขที่แข็งแกร่งมาก และประชาชนได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ซึ่งร่วมถึงบริการทางการแพทย์ต่อสตรีก่อนการคลอดด้วย

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จจากการต่อสู้กับการแพร่ของ HIV จากมารดาสู่ทารกของไทยในระดับมหภาค ไม่ได้หมายความว่าความสูญเสียระดับบุคคลจะหมดไป

หน่วยงานด้านเอดส์ของสหประชาชาติประเมินว่า ในประเทศไทยยังมีสตรี 2 แสนคนที่อายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีเชื้อ HIV และเด็กอีก 7,000 คนที่ติดไวรัสนี้อยู่

กระทรวงสาธารณสุขไทยหวังว่า จะสามารถใช้ประสบการณ์การต่อสู้กับการระบาดของ HIV ช่วงที่ผ่านมา ในการกำจัดโรคเอดส์ให้หมดไปภายในปี ค.ศ. 2030 หรืออีก 14 ปีจากนี้

5 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบมากไม่แพ้เอดส์

5 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบมากไม่แพ้เอดส์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ได้มีเพียงโรคเอดส์เท่านั้น แถมยังพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปีอีกด้วย จากสรุปรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำปี 2557 จากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข พบว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สำคัญทั้ง 5 โรค ได้แก่
1. ซิฟิลิส

อาการ : มีตุ่มแดงแตกออกเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ตรงบริเวณที่เชื้อเข้า หรืออาจพบที่อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด หรือริมฝีปาก แผลอาจไม่เจ็บ และหายเองภายใน 1-5 สัปดาห์ แต่เชื้อยังอยู่ในกระแสเลือด หากปล่อยต่อไปอาจมีผื่นสีน้ำตาลขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ไม่คัน หูดขึ้นบริเวณอับชื้น เช่น รักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ หรืออาจผมร่วงเป็นหย่อมๆ หากร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ เชื้ออาจทำลายอวัยวะภายใน เช่น หัวใจและหลอดเลือด สมอง ตาบอด หรือกระดูกหักง่าย

 

2. หนองใน

อาการ : มีอาการระคายเคืองที่ท่อปัสสาวะ ปวดแสบเมื่อปัสสาวะ มีหนองสีเหลืองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ หากเป็นผู้หญิงอาจมีตกขาว หรือเลือดผิดปกติ

 

3. หนองในเทียม

อาการ : เป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคที่ไม่ใช่หนองในแท้ อาการที่พบคล้ายโรคหนองใน คือหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ และปวดแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ ผู้ชายอาจรู้สึกปวดหน่วงที่อวัยวะเพศ และอัณฑะอักเสบ ผู้หญิงอาจปัสสาวะขัด ตกขาว ปวดท้องน้อย และเลือดออกเมื่อมีเพศสัมพันธ์

 

4. แผลริมอ่อน

อาการ : พบตุ่มนูน และเจ็บบริเวณเส้นสองสลึง หลังจากนี้จะมีแผลเล็กๆ ก้นแผลมีหนอง ขอบแผลนูนไม่เรียบ นุ่ม ไม่แข็ง ผู้ชายจะเจ็บมาก แต่ผู้หญิงอาจไม่เจ็บ จึงทำให้เกิดการติดต่อสู่ผู้อื่นได้ง่าย ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต กดเจ็บ หากแตกเป็นหนองจะเรียกว่าฝีมะม่วง

 

5. ฝีมะม่วง

อาการ : มีแผลที่อวัยวะเพศ ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต มีหนองไหลออกมา นอกจากนี้ยังมีอาการท่อปัสสาวะอักเสบ และอาจมีหนองและเลือดออกมาจากรูทวาร เมื่อปวดเบ่งอุจจาระ

 

ที่น่าตกใจคือ พบว่าผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ในช่วงอายุ 10-24 ปีเท่านั้น และอยู่ในอัตราสูงอีกด้วย ดังนั้นนอกจากตัวผู้อ่านเองแล้ว ควรหมั่นตรวจพฤติกรรมลูกหลานของท่าน ให้รู้จักการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรค และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรด้วยนะคะ

วันเอดส์โรค (World AIDS Day) 1 ธันวาคม ของทุกปี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ (World AIDS Day)

วันเอดส์โลก (World AIDS Day) วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ ซึ่งได้คร่าชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ไปกว่า 25 ล้านคนแล้วทั่วโลก

     วันเอดส์โลก (World AIDS Day) วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 แต่ในขณะนั้นจะรู้จักเพียงเฉพาะกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ต่อมามีการแพร่ระบาดโรคนี้ไปอย่างรวดเร็วและทั่วโลก จนมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากจนเป็นที่น่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา

      HIV ย่อมาจาก human Immunodeficiency Virus เชื้อไวรัสนี้เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ให้ต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกายเวลาที่เราเจ็บป่วย

      AIDS  ย่อมาจาก Acquired Immunodeficiency Syndrome (โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง) โรคเอดส์จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายถูกเชื้อเอชไอวีบั่นทอนให้อ่อนแอลง จนถึงขั้นที่ร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคต่างๆได้อีก จนเริ่มติดเชื้อ หรือเกิดเป็นโรคต่างๆ

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ที่ยังไม่มียาตัวใดรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบโรคเอดส์มากที่สุด

ดังนั้น จึงได้มีการพยายามหามาตรการเพื่อป้องกัน และหยุดยั้งโรคเอดส์ให้เป็นผลสำเร็จ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันเอดส์โลก” หรือ “World AIDS Day” ซึ่งเริ่มครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2531 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

– เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อของโรคเอดส์ และการเจ็บป่วยจากโรคเอดส์

– เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันโรคเอดส์ให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ

– เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

– เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับ และห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอดส์

– เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

สัญลักษณ์วันเอดส์โลก

สัญลักษณ์ของวันเอดส์โลก คือ โบสีแดง (Red Ribbon) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วโลก เพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี โพซิทีฟ (HIV-positive) กับผู้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเอดส์ทั้งหลาย

โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome) AIDS

A = Acquired หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นภายหลังไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
I   = Immune หมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
D = Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง ความเสื่อม
S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการของโรค ซึ่งมีอาการหลายลักษณะตามระบบต่าง ของร่างกาย
ประวัติวันเอดส์โลก

ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา มีผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ทั้งๆที่เมื่อก่อนโรคเอดส์ ก่อตัวขึ้นในบางส่วนของโลกและเป็นอยู่ในหมู่ชนบางกลุ่มเท่านั้นแต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบโรคนี้ทั่วโลก ซึ่งโรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ.2524

จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เริ่มมีโรคเอดส์เกิดขึ้นในประเทศไทยปี พ.ศ.2527 จนถึงปี พ.ศ.2533 แม้รัฐบาลจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์แต่ก็ยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบและให้มีคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับโรคเอดส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน

ซึ่งย้อนไปเมื่อ ปี พ.ศ.2524 มีการพบโรคเอดส์พบครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยเป็นชายรักร่วมเพศป่วยเป็นปอดบวมจากเชื้อ นิวโมซีสตีส แครินิอาย ทั้งที่เป็นคนแข็งแรงมากมาก่อน และไม่เคยใช้ยากดภูมิต้านทาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ พบว่าเซลล์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง กับภูมิต้านทานไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ และทำให้เสียชีวิตในที่สุด และหากมีโรคแทรกซ้อน ก็จะทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น

สำหรับผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทย มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นชายอายุ 28 ปี เดินทางไปศึกษาต่อที่อเมริกา เริ่มมีอาการในปี พ.ศ.2526ได้รับการตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอเมริกา พบว่าปอดอักเสบ แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคเอดส์ จึงกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทำให้มีการตื่นตัวเรื่องโรคเอดส์ และจากนั้นก็มีการแพร่เชื้อมาอีกหลายต่อหลายคน ด้วยวิธีการต่างๆ  ซึ่งแม้จะมีผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ให้เห็น จนกระทั่งผลร้ายแรง และไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่กระนั้น ก็ยังมีผู้คนยอมเสี่ยงแบบตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ จนกระทั่งได้รับเชื้อนี้
วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

โรคเอดส์ คืออะไร

โรคเอดส์ (AIDS) หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอชไอวี (HIV) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้กันต่ำลงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกไวรัสทำลายและเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาซ้ำเติมในภายหลัง (เรียกว่าโรคฉวยโอกาส) เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ
สายพันธุ์ของโรคเอดส์

เชื้อไวรัสเอดส์มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักดั้งเดิมคือ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกากลาง, เอชไอวี-2 (HIV-2) พบแพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์อื่น ๆ ที่กลายพันธุ์มาอีกมากมาย

ในปัจจุบันทั่วโลก พบสายพันธุ์เชื้อเอชไอวี มากกว่า 10 สายพันธุ์ กระจายอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยพบมากที่สุดที่ทวีปแอฟริกามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ เนื่องจากเป็นแหล่งแรกที่พบเชื้อเอชไอวี และกระจายอยู่เป็นเวลานานกว่า 70 ปี สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือในโลก คือสายพันธุ์ซี มากถึง 40% พบในทวีปแอฟริกา อินเดีย จีน รวมทั้งพม่า ส่วนในประเทศไทยพบเชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์เอ-อี (A/E) หรืออี (E) พบมากกว่า 95% แพร่ระบาดระหว่างคนที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่แพร่ระบาดกันในกลุ่มรักร่วมเพศ และผ่านการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น

ขณะที่สายพันธุ์ซีเดี่ยว ๆ ยังไม่พบในประเทศไทย พบเพียงแต่สายพันธุ์อี-ซี ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์อีในประเทศไทย และสายพันธุ์ซีจากทวีปแอฟริกา แต่ทั้งนี้ช่วงหลายปีก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า ประเทศไทยพบผู้หญิงชาวไทย 2 คนติดโรคเอดส์สายพันธุ์ใหม่ เป็นเชื้อเอชไอวีผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ จี และดี เรียกว่า เอจี-ดี (AG/D) และเป็นเชื้อเอชไอวีผสม 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ อี และจี เรียกว่า เออี-จี (AE/G) ซึ่งคาดว่าจะติดมาจากทวีปแอฟริกา ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวจะมีความเข้มข้นในน้ำเมือกหรือสารคัดหลั่งมาก ทำให้ผู้สัมผัสติดเชื้อได้ง่าย และแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์จากทวีปอื่น
วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

ระยะของโรคเอดส์

เมื่อติดเชื้อเอดส์แล้ว จะแบ่งช่วงอาการออกเป็น 3 ระยะ คือ

1. ระยะไม่ปรากฏอาการ (Asymptomatic stage) หรือระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ออกมา จึงดูเหมือนคนมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนปกติ แต่อาจจะเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ จากระยะแรกเข้าสู่ระยะต่อไปโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 7-8 ปี แต่บางคนอาจไม่มีอาการนานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อต่อไปให้กับบุคคลอื่นได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ

2. ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ (Aids Related Complex หรือ ARC) หรือระยะเริ่มปรากฏอาการ (Symptomatic HIV Infection) ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในเห็น เช่น มีไข้สูงเกิน 37.8 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน, น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 4.5 กิโลกรัม หรือมากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเดิมภายใน 2 เดือน, ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน, มีเชื้อราในปากบริเวณกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก, เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม และมีอาการเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด เป็นต้น ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานเป็นปีก่อนจะกลายเป็นเอดส์ระยะเต็มขั้นต่อไป

3. ระยะเอดส์เต็มขั้น (Full Blown AIDS) หรือ ระยะโรคเอดส์ ในระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก ทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย หรือที่เรียกว่า “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส” ซึ่งมีหลายชนิด แล้วแต่ว่าจะติดเชื้อชนิดใด และเกิดที่ส่วนใดของร่างกาย หากเป็นวัณโรคที่ปอด จะมีอาการไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด ถ้าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้อาเจียน หากเป็นโรคเอดส์ของระบบประสาทก็จะมีอาการความจำเสื่อม ซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น ส่วนใหญ่เมื่อผู้เป็นเอดส์เข้าสู่ระยะสุดท้ายนี้แล้วโดยทั่วไปจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1-2 ปี
วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

ยารักษาโรคเอดส์

ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ มีแต่เพียงยาที่ใช้เพื่อยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบันมี 3 ประเภทคือ

1. Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์

2. Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV

3. Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV

หากรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว อาจมีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน มีผื่นตามผิวหนัง โลหิตจาง ฯลฯ ดังนั้นการรับประทานยาเหล่านี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
การป้องกันตัวเองจากโรคเอดส์

เราสามารถป้องกันโรคเอดส์ได้โดย

1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
2. รักเดียว ใจเดียว รักษาศีล 5
3. ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และขอรับคำปรึกษาเรื่อง โรคเอดส์ จากแพทย์ก่อน
4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด
กิจกรรมวันเอดส์โลก

สถานการณ์ของโรคเอดส์กลับแพร่กระจาย มากขึ้นและกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าโรคนี้เกิดเฉพาะในกลุ่มรักร่วมเพศ หรือกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้นร่วมกัน แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้แพร่กระจายเข้าไปในกลุ่มอื่นๆ ด้วย การจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นการรณรงค์และให้ความรู้ และการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องโรคเอดส์ตามมา

จัดนิทรรศการ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์
การจัดนิทรรศการ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์รวมถึงการจัดบอร์ด การรณรงค์โรคเอดส์ การสัมมนา ในเรื่อวิชาการความรู้ เกี่ยวกับ โทษของโรคเอดส์ และสาเหตุ รวมถึงการป้องกันให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์

จัดกีฬา ต้อต้านโรคเอดส์
การจัดกีฬาต้อต้านโรคเอดส์ เพื่อให้ทุกคน หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ และห่างไกลโรคร้าย และห่างไกลสิ่งที่จะทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ได้

กิจกรรมรณรงค์โรคเอดส์ 
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมบริการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อHIV เกมส์ และถามตอบปัญหาอื่นๆมากมาย กรมอนามัย แจกถุงยางฟรี พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ เผยแพร่ข่าวสาร การให้ความรู้ การป้องกันเกี่ยวกับโรคเอดส์

เผยแพร่ข้อมูลในวันเอดส์โรค
เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อและการเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องปลอดภัย และทำการเสริมสร้างและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันให้มากขึ้นในสังคมทุกระดับ โดยจัดให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่างๆดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ เพื่อให้นักเรียนและประชาชนทั่วไปสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองและทราบถึงวิธีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์

วัยรุ่นและเยาวชนไทยในวัยเรียนสมัยนี้ ขาดการรักนวลสงวนตัว กล้าได้ กล้าเสีย มากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง ดังนั้น ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียน สังคม มีหน้าที่ดูแล สอดส่องพฤติกรรมของนักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้ การปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง และหาทางป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง

รู้ทันเอดส์ (AIDS) ผู้ติดเชื้อเอดส์ควรปฎิบัติตนอย่างไร?

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ social

ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์แต่ยังไม่มีอาการ อาจมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปี ดังนั้น จึงควรที่จะดูแลสุขภาพของตนเอง ให้แข็งแรงอยู่เสมอ และในขณะเดียวกัน ก็ต้องป้องกันมิให้ผู้อื่น หรือคนใกล้ชิดติดเชื้อเอดส์ หากรู้จักระมัดระวัง ในเรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้แล้ว ก็จะไม่เป็นที่รังเกียจของคนที่อยู่ด้วย และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และปลอดภัย

ข้อควรปฏิบัติในชีวิตประจำวันมีดังนี้


1. คบหาสมาคมกับผู้อื่นได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องหลบซ่อน หรือเก็บตัวอยู่คนเดียว การพูดคุยแตะเนื้อต้องตัวกันตามธรรมดา ไม่สามารถทำให้ผู้อื่นติดโรคจากท่านได้ และโรคนี้ไม่ติดต่อทางลมหายใจ ถ้าหากมีความวิตกกังวล ทุกข์ใจ ไม่จำเป็นต้องเก็บความทุกข์ไว้เพียงคนเดียว ควรปรึกษาคนที่เข้าใจ และพร้อมจะรับฟังให้ความช่วยเหลือ อาจเป็นพ่อแม่ พี่น้องที่สนิท คู่สมรส คู่รัก หากยังไม่มีคนที่พร้อมจะรับฟังปัญหาของเรา ขอให้พยายามติดต่อพบปะพูดคุย กับกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ที่อยู่ใกล้บ้าน โดยสอบถามได้จากหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งจะมีข้อมูล เรื่องกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ในพื้นที่
2. ควรระมัดระวังมิให้น้ำหลั่งต่างๆ เช่น น้ำเหลือง น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ และสิ่งขับถ่ายต่างๆ กระเด็นหรือเปรอะเปิ้อนผู้อื่น เพราะอาจมีเชื้อเอดส์ปะปนออกมาได้ การบ้วนน้ำลาย หรือเสมหะ ควรใช้ภาชนะรองรับ ที่สามารถนำไปทิ้ง หรือทำความสะอาดได้สะดวก

3. เมื่อสัมผัส หรือเปรอะเปื้อน เลือด น้ำเหลือง อาเจียน ปัสสาวะ หรือสิ่งขับถ่ายอื่นๆ ให้รีบทำความสะอาด และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใช้แล้วควรนำไปซักให้สะอาด ก่อนนำไปใช้ต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
4. ใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ แต่ควรระมัดระวังอย่าให้สิ่งขับถ่าย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะ อาเจียน เปรอะเปื้อนพื้น โถส้วม อ่างล้างมือ ควรล้างด้วยผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างห้องน้ำ (ที่มีส่วนผสมของคลอรีนอยู่ด้วย) เป็นประจำทุกวัน และล้างมือทุกครั้ง หลังจากที่ใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม
5. ถ้วย ชาม จาน แก้วน้ำ ควรล้างให้สะอาด แล้วทิ้งให้แห้ง ก่อนนำไปใช้
6. ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ
7. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
8. งดการบริจาคโลหิต หรืออวัยวะต่างๆ เช่น ดวงตา ไต น้ำอสุจิ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บริจาคเลือด
9. หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพราะเด็กมีโอกาสรับเชื้อจากแม่ ที่ติดเชื้อเอดส์ได้ประมาณ 30 %
10.ไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ เพราะภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ของผู้ติดเชื้อต่ำกว่าคนอื่น จะทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย
11.ไม่ควรดูแลสัตว์เลี้ยง หรือทำความสะอาดกรงสัตว์ เพราะอาจติดเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านี้ได้
12.ผู้ติดสารเสพติดควรเลิกเสีย ถ้าเลิกไม่ได้ หรืออยู่ในระหว่างการรักษา เพื่อเลิกสารเสพติด ควรเปลี่ยนจากวิธีฉีด เป็นการสูบ หรือกินแทน หากจำเป็นต้องใช้เข็มฉีดยา ไม่ควรใช้เข็ม หรือกระบอกฉีดยา ร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด
13.ควรพบแพทย์โดยใกล้ชิดเป็นระยะๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาช้านาน กล่าวถึงชื่อโรคนี้ใครๆ ก็รู้จัก แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่ายังมีคนไทยหลายคนที่ยังมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ป่วย HIV อย่างไม่ถูกต้องเท่าที่ควร Sanook!  Health  เลยรวบรวมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV มาให้ทุกคนได้ปรับความเข้าใจกันใหม่ค่ะ

 

 

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV
1. โรคเอดส์ กับเชื้อ HIV ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

– HIV เป็นเชื้อไวรัส

– เอดส์ เป็นภาวะที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นหลังจากที่ร่างกายถูกทำร้ายจากไวรัส HIV อีกทีหนึ่ง

 

2. เป็นเอดส์ ยังมีโอกาสรอด

ถึงแม้จะยังไม่มีวิธี และยารักษาโรคเอดส์โดยตรง แต่หากพบในระยะที่ยังเป็นผู้ติดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยสามารถทานยาต้านไวรัส ไม่ให้เชื้อไวรัสทำร้ายภูมิคุ้มกันในร่างกาย จนแสดงอาการผิดปกติออกมาได้ เพราะฉะนั้นยิ่งพบเชื้อเร็ว ยิ่งควบคุมเชื้อไวรัสได้ง่าย โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งมีสูง นอกจากนี้เมืองไทยยังมีสวัสดิการมอบยาต้านไวรัสให้กับผู้ติดเชื้อฟรีอีกด้วย เพียงลงทะเบียนเข้าโครงการรับยาต้านไวรัสกับโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ และคอยติดตามผลกับแพทย์อยู่เสมอ
3. เป็นเอดส์ ติดเชื้อ HIV ต้องตายด้วยอาการมีแผล ตุ้ม หนอง ขึ้นเต็มตัว

นั่นเป็นอาการของโรคฉวยโอกาส อาจจะเป็นโรควัณโรค ซึ่งเข้ามาทำร้ายร่างกายหลังจากที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ไม่ดี ปล่อยให้เชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายจนแสดงอาการได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นโรคที่แสดงอาการทางผิวหนังก็ได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เอดส์

4. ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV ไม่ได้หมายความว่าเป็นคนสำส่อน มักมากในกาม

มีหลายคนที่ติดเชื้อ HIV จากแม่ จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ป่วย และอาจติดจากคู่ครองของตนเอง นั่นหมายความว่า หากมีเพศสัมพันธ์กับแค่คนๆ เดียว แต่หากเป็นผู้ติดเชื้อ ก็มีโอกาสติดเชื้อต่อจากคนนั้นได้เช่นกัน

 

5. เชื้อ HIV ไม่ได้ติดต่อกันง่ายเหมือนไข้หวัด

เชื้อ HIV ไม่สามารถติดกันได้ ผ่านทาง

– กอด จูบ (ยกเว้น จะมีแผลในปาก และเป็นการจูบแลกลิ้น แลกน้ำลายกัน)

– ทานข้าวร่วมกัน จานเดียวกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือแม้แต่ใช้ช้อน ส้อมคันเดียวกัน

– มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย

– ลมหายใจ

– ใช้สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพู ยาสีฟัน ร่วมกัน

เชื้อ HIV ติดต่อกันได้ผ่านทาง

– สารคัดหลั่ง เลือด ผ่านการใช้อุปกรณ์อย่างเข็มฉีดยา

– เลือด และการให้นมบุตรของแม่

– รับสารคัดหลั่ง และเลือด เข้าสู่ร่างกายผ่านแผล (ต้องเป็นแผลสดๆ เท่านั้น)

– โอกาสที่จะติดเชื้อ ไม่ใช่ 100% เสมอไป

6. ผู้ติดเชื้อ HIV อาจไม่ต้องทานยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต

หากทานยาต้านไวรัสตรงเวลา ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ มีโอกาสที่เชื้อไวรัส HIV อาจจะลดลงเรื่อยๆ จะอาจสามารถหยุดการทานยาได้ แต่แพทย์จะยังคงตรวจสุขภาพต่อเป็นระยะๆ

 

7. ผู้ติดเชื้อ HIV อาจมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวเหมือนคนปกติทั่วไป

หากทานยาต้านไวรัสตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ และรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเป็นประจำ ผู้ติดเชื้อสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว อยู่ต่อไปได้อีกหลายสิบปี มีอายุขัยเท่ากับคนปกติเลยทีเดียว ดีไม่ดีอาจอายุยืนกว่าคนปกติที่เป็นโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน หัวใจ อีกด้วย มะเร็ง อีกด้วย

 

8. ผู้ติดเชื้อ HIV สามารถมีครอบครัวได้

ถึงแม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางอนามัย จะทำให้มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้ แต่หากอยากมีครอบครัว ผู้ป่วยสามารถจูงมือคู่รัก เพื่อปรึกษาแพทย์ หาทางออกในการมีครอบครัว มีบุตรโดยที่บุตรไม่ติดเชื้อ HIV ได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เอดส์

โรคเอดส์ และเชื่อไวรัส HIV ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เรา หรือใครหลายๆ คนคิดนะคะ ขอให้เปิดใจ และมองเขาเหมือนเป็นคนปกติธรรมดาทั่วไป อย่าแสดงทีท่ารังเกียจ หรือกลัวอะไรพวกเขา เท่านี้พวกเขาก็มีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปแล้วล่ะค่ะ