‘ยูเอ็นเอดส์’ ชี้งานหยุดยั้งเอดส์ก้าวหน้าแต่ยังไม่ทั่วถึง

UNAIDS เร่งเร้าประชาคมโลกให้ทำงานต่อไปอย่างเเข็งขันเพื่อหยุดยั้งการระบาดของเอดส์ให้ได้ในปี 2030

นายมิเชล ซิดิเบ้ (Michel Sidibé) ผู้อำนวยการโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ประชาคมโลกมาถึงจุดกึ่งกลางของการทำงานต่อต้านโรคเอดส์ ซึ่งมีความสำคัญ และทุกฝ่ายควรทบทวนดูว่ามาตรการใดใช้ไม่ได้ผล

โดยเขาย้ำว่า ในกลางปีนี้ถือเป็นการเดินทางมาครึ่งทางที่จะทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายในระดับทั่วโลกตามที่ตั้งใจเอาไว้ เป้าหมายดังกล่าวคือการรับมือกับชุมชนหรือสังคมที่มีความบอบบางที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคเอดส์

ตามข้อมูลในปี ค.ศ. 2016 มีคนราว 36 ล้าน 7 เเสนคนทั่วโลกที่เป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ และมีคนติดเชื้อรายใหม่เกือบ 2 ล้านคน เเละมีคนเสียชีวิตจากโรคเอดส์ 1 ล้านคน

แต่ก็มีข่าวดีเช่นกัน เพราะมีความสำเร็จในด้านการเพิ่มจำนวนคนที่ติดเชื้อให้ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ โดยเพิ่มไปอยู่ที่เกือบ 21 ล้านคนในปี 2016 ทำให้จำนวนคนเสียชีวิตลดลงไปอีกราว 1 ใน 3 ของจำนวนคนเสียชีวิตจากโรคเอดส์ทั้งหมดทั่วโลก

ผู้อำนวยการบริหารโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ คือการส่งเสริมให้คนเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพื่อให้รู้สถานภาพของตนเองซึ่งจะต้องมีการรณรงค์ให้คนเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางสังคม เเละส่งเสริมให้มีการบริการด้านการตรวจหาโรคเอสด์เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง

ซิดิเบ้ กล่าวว่า จำเป็นต้องหาทางลดราคาของอุปกรณ์ตรวจหาโรคเอดส์ด้วยต้วเองให้ถูกลง เเละต้องให้บริการอย่างทั่วถึงแก่คนทั้งในระดับชุมชน ครอบครัว เเละคนในทุกพื้นที่ เพื่อให้คนอีกหลายล้านคนรู้ว่าตัวเองติดเชื้อหรือไม่

รายงานชิ้นล่าสุดของสหประชาชาติเกี่ยวกับการต่อต้านโรคเอดส์ พบว่า ในปลายปี 2016 คนที่ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 70 จะรู้ตัวว่าตนเองติดเชื้อเเละอย่างน้อยร้อยละ 77 ของคนเหล่านี้จะได้รับการบำบัดด้วยยาต้านไวรัสเอดส์

และเมื่อได้รับการบำบัดนี้เเล้ว อย่างน้อยร้อยละ 82 จะมีปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดต่ำมากจนตรวจไม่พบ ซึ่งถึงเเม้ว่าจะไม่ใช่การรักษาให้หายขาดเพราะยังมีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย เเต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่น่าจะแพร่เชื้อเเก่ผู้อื่นได้

ในขณะที่มีความคืบหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ความคืบหน้ายังไม่เกิดขึ้นอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงเเละเด็ก นี่เป็นปัญหาที่พบในแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าที่มีผู้หญิงอายุ 15 ถึง 24 ปี ถึงร้อยละ 23 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในปี 2016 เมื่อเทียบกับร้อยละ 11 ของผู้ชายในวัยเดียวกัน

และเพื่อหยุดยั้งการติดเชื้อเอดส์รายใหม่ จำเป็นต้องมีการเพิ่มการบริการแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ผู้ให้บริการทางเพศเเละชายรักเพศเดียวกัน เพื่อเผยเเพร่ความตื่นตัวถึงความสำคัญของการใช้ถุงยางอนามัย เเละการใช้เข็มฉีดยาครั้งเดียวเเล้วทิ้ง

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

มหัศจรรย์เซลล์พิฆาต (killer T-cell) กระตุ้นภูมิคุ้นกัน…สร้าง CD4

มหัศจรรย์เซลล์พิฆาต (killer T-cell) กระตุ้นภูมิคุ้นกัน...สร้าง CD4

องค์การอนามัยโลก (WHO) และผู้เชี่ยวชาญด้าน HIV เอดส์ สรุปตรงกันว่า การเพิ่มขึ้นของ CD4 หรือเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ควบคุมและต่อสู้กับเชื้อโรค และมีบทบาทในการสร้างสารภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วยเอดส์มากกว่าการลดลงของจำนวนไวรัส HIV

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คณะนักวิจัยคนไทยที่นำโดย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา อดีตผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเจ้าของผลงานสารสกัดจากเปลือกมังคุด สูตร GM-1 และ ศ.ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ APCO Chair Professor และ นพ.นพพร พรพัฒนพรพันธุ์ ร่วมกันวิจัย APCO ซึ่งเป็นสารเสริมประสิทธิภาพจากมังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก และพบว่ามีส่วนช่วยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพิ่มความสมดุลของเม็ดเลือดขาว ซึ่งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบรางวัลให้กับงานวิจัยชิ้นนี้ ว่าเป็นนวัตกรรมของชาติไทยในการดูแลผู้มีปัญหาการติดเชื้อ

ศ.ดร.พิเชษฐ์เล่าให้ฟังว่า คนไทยจำนวนมากเข้าใจว่าโรคเอดส์ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต แต่ในความเป็นจริงผู้ป่วยเอดส์ที่เสียชีวิตเกิดจากการเป็นโรคฉวยโอกาสหลายชนิด ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากไวรัส HIV เข้าไปทำลายเม็ดเลือดภูมิคุ้มกัน ที่เรียกว่า CD4 ให้ลดลงอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ ส่งผลให้ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน อ่อนแอ และรับเชื้อต่างๆเข้ามาได้ง่าย จนเสียชีวิตในที่สุด

“คณะนักวิจัย APCO พบว่า สารเสริมประสิทธิภาพจากผลไม้ไทยๆโดยเฉพาะราชินีผลไม้อย่างมังคุด มีส่วนช่วยให้ CD4 ในผู้ติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกัน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ” ศ.ดร.พิเชษฐ์บอก

ทั้งนี้ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ AIDS เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ผู้ที่ป่วยจะมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ติดเชื้อได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ ทางเลือด เช่น การถ่ายเลือด การใช้เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน การสัก การเจาะหู ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อหรือการติดต่อจากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารก ตั้งแต่ระยะอยู่ในครรภ์ ระยะคลอด และระยะเลี้ยงดูหลังคลอด โดยทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อ HIV ประมาณ 40 ล้านคน เด็กประมาณ 3 ล้านคน ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อ HIV เป็นผู้ใหญ่ประมาณ 5 ล้านคน เป็นเด็ก 200,000 คน ถือว่าเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV ต่อประชากรที่สูงที่สุดในเอเชีย คือประมาณ 1 ใน 100 คน และพบผู้ติดเชื้อใหม่อายุน้อยลงทุกปี

อดีตผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกว่า เมื่อเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย จะไปฝังตัวในเม็ดเลือดขาวชนิด CD4+ (Th-Cell) เพื่อแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ และทำลาย CD4+ (Th-Cell) จนมีจำนวนลดลงต่ำกว่า 350 เซลล์/ลบ.มม. ขณะที่ในคนปกติจะมี CD4+ 600-1,000 เซลล์/เลือด 1 ลบ.มม. ถือเป็นระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำมากในร่างกาย และผู้ติดเชื้อนี้ยังมีค่า Th1, Th2, Th17 และ Treg ในปริมาณที่ต่ำเช่นกัน โดยมี TH17 ต่ำที่สุด ส่งผลให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อวัณโรค และเป็นมะเร็งได้ง่ายกว่าคนปกติ

“แนวทางการรักษาคือการหยุดยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส HIV โดยการใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งก็อาจจะมีผลข้างเคียงจากยากลุ่มนี้ได้ เช่น เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ท้องเสีย ฝันร้ายใน 1-2 สัปดาห์แรก และเมื่อใช้ยาต้านไวรัสไปสักระยะหนึ่งก็อาจก่อให้เกิดการดื้อยาขึ้นได้ เนื่องจากในกระบวนการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส HIV มีโอกาสที่เชื้อตัวใหม่มีลักษณะที่ผิดเพี้ยนไปจากเชื้อตัวเดิม ยาต้านไวรัสเดิมที่เคยใช้อยู่จึงไม่ได้ผล มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นยาต้านไวรัสชนิดใหม่ไปเรื่อยๆ” ศ.ดร.พิเชษฐ์อธิบายและว่าจากข้อมูลทางภูมิคุ้มกันวิทยาพบว่า ภูมิคุ้มกันที่สมดุลขึ้นอยู่กับการทำหน้าที่อย่างสมดุลของเม็ดเลือดขาวทั้ง 4 ชนิด คือ 1.Th1 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับสารก่อภูมิแพ้และหนอนพยาธิได้ดีขึ้น 2. Th2 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับสารก่อภูมิแพ้และหนอนพยาธิได้ดีขึ้น 3.Th17 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับสิ่งแปลกปลอมทั้ง หลายที่เหลือจากการจัดการของ Th1 และ Th12 4.Treag ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ Th1, Th2 และ Th17 ให้อยู่ในระดับสมดุล จึงลดอาการแพ้ภูมิตัวเองและข้อมูล โดยเฉพาะ Treg มีผลทำให้เชื้อไวรัส HIV แบ่งตัวช้าลง

สำหรับงานวิจัย Operation BIM (APCO) ซึ่งวิจัยและพัฒนา สารเสริมประสิทธิภาพจากสารมังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก จนได้แคปซูลเสริมอาหาร ที่พิสูจน์โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์แล้วว่าสามารถกระตุ้นการทำงานของ Th1 เพิ่มขึ้น 2 เท่า กระตุ้น Th17 เพิ่มขึ้น 5 เท่า และ Treg เพิ่มขึ้น 2 เท่า ล่าสุดยังพบว่า IL-9 ที่เพิ่มมากขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์สามารถเพิ่มความสามารถในการจัดการกับสิ่งแปลกปลอมโดยไม่มีผลข้างเคียง และข้อมูลเบื้องต้นของการทดสอบในผู้ที่ติดเชื้อเอดส์พบว่า ภายใน 1 เดือน ไม่พบการติดเชื้อราในช่องปาก และภายใน 2 เดือน ผู้ที่มี CD4+ ต่ำกว่า 100 เซลล์/ลบ.มม. เพิ่มเป็น 300 เซลล์/ลบ.มม.

“สิ่งที่วิจัยได้ครั้งนี้ ได้พิสูจน์ในผู้ป่วยหลายราย ที่พบว่าผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นเนื้อร้ายรุนแรงสามารถกลับมามีชีวิตปกติได้ จากการเพิ่มอานุภาพของเม็ดเลือดขาว เซลล์ทีพิฆาต (killer T-cell) ให้กำจัดเซลล์เนื้อร้ายจนควบคุมอาการเนื้อร้ายได้และพร้อมๆ กับกำจัดเชื้อ HIV จนคุณภาพชีวิตเหมือนคนปกติ ผลการตรวจเนื้อร้ายที่ตับทุก 3 เดือน เป็นเวลา 4 ปี พบว่า เซลล์เนื้อร้ายคงที่ ไม่ลุกลามไปมากกว่าเดิม รวมทั้งมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีกรายเป็นผู้ติดเชื้อ HIV ที่ตรวจพบว่าเป็นเนื้อร้ายร่วมด้วยหลายตำแหน่ง คือ สมอง ช่องท้อง และกระดูกสันหลัง ส่งผลให้ผู้ป่วยรายนี้ไม่สามารถลุกนั่ง ยืน หรือเดินได้ด้วยตัวเอง ต้องนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแพทย์ได้แจ้งกับญาติว่าผู้ป่วยน่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน เพราะเนื้อร้ายอยู่ในระยะลุกลามมากแล้ว แต่หลังจากได้รับสารสกัดจากงานวิจัยครั้งนี้ จำนวน 12 แคปซูลต่อวัน เป็นเวลา 8 เดือน พบว่า ค่า CD4 เพิ่มขึ้น จำนวนไวรัสลดลง เซลล์เนื้อร้ายในทุกๆตำแหน่งที่เป็นอยู่ไม่ลุกลาม “สร้างความประหลาดใจให้แก่แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นอย่าง มาก” เนื่องจากผู้ป่วยปฏิเสธการใช้รังสีรักษาและการทำเคมีบำบัดมาโดยตลอด

ล่าสุด ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สรุปการทดสอบประสิทธิภาพงานวิจัย Operation BIM ว่า สามารถเพิ่ม CD4 ได้ ขณะที่ยาต้านไวรัสสามารถลดปริมาณไวรัส HIV ในผู้ติดเชื้อลงได้ แต่มีผลข้างเคียงมาก และไม่สามารถเพิ่ม CD4 ได้รวดเร็ว หรือไม่เพิ่มเลยในบางราย

นอกจากนี้ งานวิจัยของ ศ.ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ APCO Chair Professor และ นพ.นพพร พรพัฒนพรพันธุ์ พบว่า สารสกัดที่วิจัยได้สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 Lymphocytes ในผู้ติดเชื้อ HIV หลังจากกิน APCO ติดต่อกัน 6-9 เดือน APCO-Liv capsule จึงให้ผู้ติดเชื้อที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 27 ราย ได้รับงานวิจัย APCO ฟรี เพื่อดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องต่อโอกาสสำหรับผู้ติดเชื้อ

ปัจจุบันยาที่สามารถเพิ่ม CD4 Lymphocytes ในระดับเดียวกันกับงานวิจัย APCO คือ Interleukin2 ซึ่งเป็นยาฉีดที่มีราคาสูงหากใช้อย่างต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ จะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะยาราว 700,000 บาท เทียบกับราคางานวิจัย APCO ปีละ 25,000-50,000 บาท (4-9 แคปซูล/วัน) ที่นอกจากจะเพิ่ม CD4 Lymphocytes แล้วยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากจากภูมิคุ้มกันที่สมดุลอีกด้วย ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างชัดเจน.

โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

โรคเอดส์การติดต่อและการป้องกัน เป็นโรคที่เกิดจาก การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเสียส่วนใหญ่ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีทางรักษา ให้หายขาดได้ ทำได้เพียงแค่ ควบคุมอาการ และรักษาแบบประคองอาการเท่านั้น และเนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงมากก่อให้เกิด ปัญหาทางสุขภาพ หลายอย่างตามมา  แถมตัวผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ยังเป็นที่รังเกียจของสังคมก่อให้เกิดความทุกข์ใจ แก่ผู้ป่วยไม่น้อย วันนี้เราจึงหยิบเอาความรู้ เกี่ยวกับโรคเอดส์มาฝาก เพื่อที่เราจะได้ ทำความรู้จักโรคนี้อย่างลึกซึ้งเข้าใจ และรับมือป้องกันโรคได้อย่างถูกต้องพร้อมกัน

โรคเอดส์ คืออะไร?

โรคเอดส์ คือ อาการของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) โดยเกิดจาก เชื้อไวรัส ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus : HIV) หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า เชื้อเอชไอวี (HIV) เชื้อเอชไอวีเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วมันจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเม็ดเลือดขาวในร่างกายทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย แล้วนำไปทำลายเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลายจึงทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเอชไอวี มีภูมิคุ้มกันต่ำลงจนในที่สุดร่างกาย ไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอ ในการป้องกันร่างกาย จากเชื้อโรคภายนอก จึงทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้น สามารถติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติส่งผลให้เป็นโรคอื่น ๆ ตามมา อาทิ วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในกระแสโลหิต เชื้อราและอีกมากมายหลายโรค ที่เป็นเช่นนี้ เพราะระบบภูมิคุ้มกัน ถูกทำลาย จึงไม่สามารถกำจัดเชื้อโรค ออกจากร่างกายได้นั้นเอง

โรคเอดส์มีกี่สายพันธุ์

เชื้อไวรัสเอดส์นั้น มีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ดั้งเดิมคือ เอชไอวี 1 (HIV-1) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม ที่แพร่ระบาดอยู่ใน ยุโรป แอฟริกากลาง และสหรัฐอเมริกา ส่วนเอชไอวี 2 (HIV-2) แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก

เนื่องจากเชื้อเอชไอวีนั้น มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ ในปัจจุบันได้ค้นพบ ว่ามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก โดยแหล่ง ที่พบมากที่สุด คือ แอฟริกา ซึ่งมีมากกว่า 10 สายพันธุ์ เพราะถือว่า เป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อเอชไอวี เป็นระยะเวลานานกว่า 70 ปี สายพันธุ์ ที่พบมากที่สุดในโลกคือ สายพันธุ์ซี โดยมีมากถึง 40% สำหรับพื้นที่ที่พบคือ ทวีปแอฟริกา อินเดีย จีน และพม่า ส่วนในประเทศไทยนั้นพบบ่อยคือ เชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์ เออี (A/E) หรือ (E) พบได้มากถึง 95% โดยการแพร่ระบาดนั้นเกิดจากการ มีความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่เกิดการ แพร่ระบาดในกลุ่มรักร่วมเพศ หรือการใช้เข็มฉีดยา ร่วมกัน เพื่อใช้เสพยาเสพติด

สำหรับสายพันธุ์ ที่ไม่เคยพบเลย ในประเทศไทยเลย คือ สายพันธุ์ซี แต่มีการพบสายพันธุ์ระหว่าง อี-ซี ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์อี ในประเทศไทยกับสายพันธุ์ซี ซึ่งมีถิ่นกำเนิด ในทวีปแอฟริกา และเมื่อไม่นานมานี้ ได้ค้นพบเชื้อเอชไอวี สายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่เคยตรวจพบที่ใดในโลกมาก่อน เป็นการผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ คือ เอ อี และจี เรียกว่า เอ อี จี (AE/G)

การติดต่อของโรคเอดส์มี 3 ทางดังนี้

1. การร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย

ซึ่งรวมไปถึง การร่วมเพศระหว่างชาย กับชาย หญิงกับหญิง หรือแม้จะเป็นชาย กับหญิง ซึ่งเป็นช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการติดต่อโรคเอดส์ได้ ทั้งนี้ จากข้อมูลของทางกองระบาดวิทยา ระบุว่า 83% ของผู้ติดเชื้อเอดส์นั้น ล้วนได้รับเชื้อ มาจากการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งสิ้น

2. การรับเชื้อทางเลือด

การติดเชื้อเอดส์ พบได้ใน 2 กรณี คือ

2.1 ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือแม้แต่ การใช้กระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มของผู้ที่เสพสารเสพติด หรือฉีดยาเข้าเส้น

2.2 รับเลือดมาจากการผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยว่าเลือด ที่รับบริจาคมามาจากแหล่งไหน แต่ในปัจจุบันนั้น ได้มีการตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัย โดยจะนำเลือดที่รับบริจาคมาไปหาตรวจ หาเชื้อเอดส์ ก่อนเสมอ ดังนั้น จึงมีความปลอดภัย 100%

3. การติดต่อผ่านแม่สู่ลูก

ซึ่งเกิดจากแม่ ที่มีเชื้อเอดส์อยู่แล้ว แล้วเกิดการตั้งครรภ์ ทำให้มีการถ่ายทอดเชื้อเอดส์ ไปสู่ลูก แต่ในปัจจุบันได้ค้นพบ วิธีการป้องกัน การแพร่เชื้อเอดส์ จากแม่ไปสู่ลูก ได้สำเร็จแล้ว โดยวิธีการทานยาต้านไวรัสในช่วงตั้งครรภ์ จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อเอดส์ ของทารกลดลงเหลือ ร้อยละ 8 แต่ก็ ยังมีความเสี่ยงอยู่ ไม่ได้ปลอดภัย 100% นัก ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจเลือด ก่อนแต่งงาน จะดีที่สุด

การติดต่อโรคเอดส์

นอกจากนี้ เชื้อเอดส์ยัง สามารถติดต่อได้อีกหลายวิธีแต่ก็มีโอกาสน้อยมาก เช่น ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่มีการทำความสะอาด การเจาะหูโดยการใช้เข็มร่วมกันกับผู้ติดเชื้อเอดส์ หรือแม้แต่การสัก ไม่ว่าจะเป็นการสักผิวหนัง สักคิ้ว เพราะเชื้อเอชไอวีอยู่ในกระแสเลือดของผู้ติดเชื้อเอดส์อยู่แล้ว ดังนั้น จึงทำให้เชื้อเอชไอวี เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายนอกจากเลือดแล้ว เชื้อเอสไอวียังสามารถติดต่อกัน ผ่านทางน้ำเหลืองได้ แต่โอกาส ที่จะติดเชื้อต้องเป็นแผลเปิด และมีเลือดหรือ น้ำเหลือง ที่มีเชื้อเข้าไปเป็นจำนวนมากเท่านั้น

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์มีหลายประการ คือ

  1. ปริมาณเชื้อเอดส์ที่ได้รับ หากได้รับเชื้อเอดส์ในปริมาณมากก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สูงตามไปด้วย เชื้อเอดส์จะพบมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือในน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด
  2. การมีบาดแผล หากมีบาดแผลบริเวณผิวหนังหรือในปากก็ย่อมทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอดส์สูง เพราะเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าสู่บาดแผลได้ง่าย
  3. ความบ่อยในการสัมผัสเชื้อ หากมีการสัมผัสเชื้อไวรัสบ่อย โอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็มีสูงขึ้น เช่น นักวิจัยที่ต้องทำการทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อไวรัส เอชไอวี เป็นต้น
  4. การติดเชื้อแบบอื่น ๆ เช่น แผลเริม ซึ่งแผลชนิดนี้จะมีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่บริเวณแผลเป็นจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ได้ง่าย และเชื้อเอดส์ก็ยังเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายขึ้นด้วย
  5. สุขภาพของผู้รับเชื้อ หากคุณเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็เป็นไปได้ยาก แต่หากสุขภาพอ่อนแอ ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเช่นกัน

ระยะของโรคเอดส์

โดยทั่วไป เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายแล้ว การแสดงอาการของโรคที่ปรากฎจะแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

1. ระยะไม่ปรากฏอาการ

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระยะติดเชื้อไม่ปรากฏอาการ ในระยะนี้ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้นจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติใด ๆ ให้เห็น จึงดูเหมือนคนมีสุขภาพแข็งแรงปกติ แต่อาจจะมีอาการป่วยเล็กน้อย โดยเฉลี่ยนั้น จากระยะแรกเข้าสู่ระยะที่ 2 จะใช้เวลาประมาณ 7 – 8 ปี แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการอยู่ได้นานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อให้บุคคลอื่นได้ เพราะว่าผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ส่วนใหญ่ในระยะแรก ก็ยังไม่ทราบว่าตัวเองนั้นติดเชื้อแล้ว

2. ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์

เราเรียกระยะนี้ว่า ระยะปรากฏอาการ ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติปรากฏให้เห็นได้ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตติดต่อกันนานหลายเดือน มีเชื้อราบริเวณในปาก โดยเฉพาะกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุเกิน 1 เดือน เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด และอื่น ๆ ในระยะนี้ อาจมีอาการอยู่เป็นปี ก่อนพัฒนา ลุกลาม กลายเป็นเอดส์เต็ม ขึ้นในระยะต่อไป

3. ระยะเอดส์เต็มขั้นหรือระยะโรคเอดส์

ในระยะนี้ ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย จะถูกทำลายลงไปเยอะมาก ซึ่งทำให้ เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เพราะเชื้อโรค สามารถเข้าสู่ร่างกาย ได้ง่ายขึ้น และร่างกาย ก็ไม่สามารถขจัด เชื้อโรคเหล่านี้ ออกไปจากร่างกายได้  ซึ่งมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อชนิดใด และเกิดกับ อวัยวะส่วนใดในร่างกายหากติด เชื้อวัณโรคที่ปอด อาการ ที่พบจะมีไข้เรื้อรังไอเป็นเลือด แต่ถ้าเป็นเยื้อหุ้มสมอง อักเสบจากเชื้อ จะมีอาการ ปวดศีรษะ อย่างรวดแรง อาเจียน คอแข็ง คลื่นไส้ และถ้าเป็นอาการ ที่เกี่ยวกับระบบประสาทก็จะมีอาการซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรงความจำเสื่อม ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ ในระยะสุดท้ายนี้ จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 – 2 ปีเท่านั้น

ควรตรวจหาเชื้อเอดส์เมื่อไหร่

  • ผู้ที่มี พฤติกรรมเสี่ยง หรือแม้แต่ ผู้ที่ต้องการ ทราบว่า ตัวเองติดเชื้อเอดส์ หรือไม่
  • ผู้ที่ตัดสินใจ จะมีคู่ หรือแต่งงาน
  • ผู้ที่สงสัยว่า คู่นอน ของตนมีพฤติกรรมเสี่ยง
  • ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัย ของแม่ และตัวเด็ก
  • ผู้ที่จะเดินทางไป ทำงานต่างประเทศ เพราะต้องการข้อมูล ที่สนับสนุน เรื่องความปลอดภัย และสุขภาพร่างกาย

การป้องกันโรคเอดส์

โรคเอดส์เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ เพียงแต่ทำความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธุ์
  • มีคู่นอนเพียงคนเดียว
  • ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรมีการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะการใช้เข็ดฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเอดส์ (โรคเอดส์การติดต่อและการป้องกัน)

ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์นั้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติทั่วไป ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ไม่ควรวิตกกังวลมากไป ซึ่งหากไม่พบโรคแทรกซ้อนจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อีกหลายปี โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารได้อย่างครบถ้วน
  2. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากต้องมีเพศสัมพันธ์ ให้ป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัยเสมอ เพราะวิธีนี้จะเป็นการป้องกันการรับเชื้อ และการแพร่เชื้อเอดส์ไปสู่ผู้อื่นได้
  4. ทำจิตใจให้สงบผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ  ไม่เครียด
  5. หากเป็นหญิงไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะเชื้อเอดส์สามารถแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์

โรคเอดส์การติดต่อและการป้องกัน ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคเอดส์

ในปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับโรคเอดส์หลายประการ โรคเอดส์นั้นเป็นโรคที่ไม่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส ไม่สามารถติดต่อกันผ่านการกอด หรือการสัมผัสภายนอกร่วมกัน เช่น การใช้ห้องน้ำร่วมกัน หรือใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารร่วมกัน นอกจากนี้ เชื้อเอชไอวียังไม่สามารถติดต่อผ่านลมหายใจ หรือผ่านอากาศ ดังเช่นไข้หวัด และไม่ได้ติดต่อผ่านพาหะนำโรค เช่น ยุง โดยทั่วไปแล้วสาเหตุหลัก ๆ ของการติดเชื้อเอดส์นั้น เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และมีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า กว่า 80% ผู้ป่วยจะติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้รับการป้องกัน

โรคเอดส์ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายตามมาอย่างมาก ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือ การป้องกันการติดเชื้อ โดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่นอนเพียงคนเดียว และการงดใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เพียงแค่นี้คุณก็ปลอดภัยจากการติดเชื้อเอดส์ได้มากขึ้นแล้ว

เอดส์ รู้เร็ว กินยาเร็วและนาน โอกาสหายขาดได้

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ถ้าพูดถึงโรคเอดส์ คงไม่มีใครคาดคิดว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีจะมีโอกาสรอดชีวิต แม้จะมีการคิดค้นยาต้านไวรัสเอชไอวีตัวแรกได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ก็ตาม

ปัจจุบัน ความรู้เรื่องโรคเอดส์ก้าวหน้ามากขึ้น มียาต้านไวรัสเอชไอวีมากกว่า 30 ชนิด มีการคิดค้นวัคซีน ยาหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อเอชไอวี ฯลฯ ราคายาต้านไวรัสเอชไอวีที่เคยแพงลิบลิ่วก็ค่อย ๆ ถูกลง ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น

นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ ที่ปรึกษาสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ในอดีต ไม่มียาต้านไวรัสเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ได้แต่รอวันตายเพียงอย่างเดียว ไม่มีทางรักษา ปัจจุบัน ถ้าผู้ป่วยมีวินัย กินยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างเคร่งครัด ภายใต้การดูแลของแพทย์ ก็มีโอกาสที่จะมีชีวิตที่ยืนยาว ใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่ในอนาคตผู้ป่วยอาจไม่ต้องกินยาไปตลอดชีวิต ถ้าตรวจพบเร็ว รักษาทันที 9 สัปดาห์หลังรับเชื้อเอชไอวี และกินยาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอ”

นับเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของผู้ป่วยโรคเอดส์ เมื่อหลายประเทศได้ทยอยเผยแพร่งานวิจัยการรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ ซึ่งตอนนี้ทั่วโลกมีรายงานว่ามีผู้ป่วยที่หายจากโรคเอดส์แล้ว 20 กว่าคน

ที่โด่งดังสุด คือกรณีของ ทิโมธี บราวน์ ที่นอกจากจะเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ ยังเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอิลอยด์ชนิดเฉียบพลันด้วย บราวน์ได้รับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยการใช้เคมีบำบัด เพื่อทำลายระบบภูมิคุ้มกันเดิมและสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นใหม่ด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกผู้อื่น ผลจากการปลูกถ่ายไขกระดูก ทำให้บราวน์หายจากโรคเอดส์ แต่การปลูกถ่ายไขกระดูก ไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยเอชไอวีอย่างกว้างขวางได้ เพราะการจะหาผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกที่เข้ากันได้และเป็นผู้ที่มียีนต้านทานเชื้อเอชไอวีด้วย เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก

ในประเทศไทยเอง ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรกให้มีโอกาสหายขาดได้ โดยผู้ป่วยจะต้องตรวจพบเร็ว จะให้กินยาทันที ก็จะมีโอกาสรักษาหายได้ โดยคำว่ารักษาในที่นี้หมายถึงร่างกายควบคุมไม่ให้เชื้อเอชไอวีทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เอง โดยไม่ต้องกินยาทุกวันทั้งชีวิตเหมือนผู้ป่วยเอดส์ทั่วไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมดสิ้น 100 เปอร์เซ็นต์

“ขณะที่งานวิจัยของศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กำลังอยู่ในขั้นทดลอง ได้พบกรณีศึกษาผู้ป่วยคนหนึ่งที่ตัดสินใจหยุดยาเองเมื่อ 7 ปีก่อน หลังจากกินยาต่อเนื่องมานาน 11 ปี ด้วยเหตุผลส่วนตัวบางประการ ผลจากการตรวจเลือดไม่พบเชื้อเอชไอวี ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความหวังใหม่ของผู้ป่วยโรคเอดส์” นายแพทย์มนูญ กล่าวเพิ่มเติม

ผู้ป่วยดังกล่าวเข้ารับการรักษาเมื่อปี พ.ศ. 2539 หลังจากตรวจพบเชื้อเอชไอวี ได้รับการรักษาทันที โดยได้กินยาต่อเนื่องนาน 11 ปี ก่อนตัดสินใจหยุดกินยาด้วยตัวเอง เพราะปัญหาส่วนตัวบางประการ

ผ่านไป 7 ปี ผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ใหม่ เพราะต้องการรักษาโรคเบาหวาน ผลการตรวจเลือดพบว่าไม่พบเชื้อเอชไอวี แม้ผลเลือดจะยังเป็นบวกอยู่ แสดงให้เห็นว่าร่างกายมีภูมิคุ้มกัน สามารถควบคุมเชื้อเอชไอวีได้ ไม่ต้องกินยาไปตลอดชีวิต

ผู้ป่วยรายนี้ได้พูดถึงความรู้สึกเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นผู้ป่วยไทยรายแรกที่หายจากโรคเอดส์ ว่า “ดีใจเมื่อรู้ว่าเรื่องของผมได้กลายเป็นกรณีศึกษา และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยคนอื่น ๆ ได้ สำหรับผู้ป่วยคนอื่น ขอให้อย่าท้อแท้ เรายังทำอะไรได้อีกเยอะ ถ้าอยากมีชีวิตอยู่ ก็ต้องรักษา ภายใต้การดูแลของแพทย์ ต้องกินยาอย่างเคร่งครัด เปลี่ยนวิถีชีวิตตัวเองใหม่ โรคเอดส์สามารถรักษาให้หายได้”

แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่มีบทสรุปว่าผู้ป่วยต้องกินยานานแค่ไหน และอะไรเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคเอดส์ สามารถหยุดทานยาได้แล้ว แต่การพบผู้ป่วยที่หยุดกินยานานถึงเจ็ดปี โดยไม่กลับมาเป็นซ้ำ และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ โดยไม่ต้องกินยา ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นความหวังให้กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ว่าในอนาคตอาจรักษาให้หายขาดได้เหมือนกัน

แต่ที่สำคัญคือ จะต้องรู้เร็ว กินยาเร็วและนานพอ ถึงจะรักษาให้หายขาดได้.

WHO รับรองยาต้านไวรัสเอดส์ไทย ราคาถูกกว่าของต่างประเทศมาก

นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ดอภ.) แถลงความสำเร็จอย่างสูงในการผลิต ยาต้านไวรัสเอดส์ เป็นรายการแรกของประเทศไทย หลังจากที่ใช้เวลาในการพัฒนาถึง 16 ปี  ล่าสุด วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 เว็บไซต์องค์การเภสัชกรรม รายงานว่า ผลิตภัณฑ์ยาต้านไวรัสเอดส์ ที่ได้รับการรับรอง เป็นยา Efavirenz Tablets 600 mg  (ยาเอฟฟาไวเรนส์) ขององค์การเภสัชกรรม ได้รับรองมาตรฐานสากล WHO Prequalification Program (WHO PQ) จากองค์การอนามัยโลก (WHO) กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นยารายการแรกของประเทศไทย และเป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่ได้รับการรับรอง

การรับรองนี้ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาเป็นสากลที่ทั่วโลกยอมรับ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพประสิทธิผล ความปลอดภัย เพื่อให้องค์กรสาธารณสุขนานาชาติจัดซื้อยาจากผู้ผลิต ซึ่งกองทุนโลกยูนิเซฟ ทำหน้าที่จัดซื้อยาให้กับประเทศสมาชิกหรือประเทศด้อยโอกาส โดยมี 20 ประเทศทั่วโลกสามารถซื้อได้

ขอบคุณที่มาของภาพ : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_1772152

   ยาต้านไวรัสเอดส์ Efavirenz Tablets 600 mg เป็นยาที่ผู้ป่วยเอดส์มีความจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากเป็นยาต้านไวรัสที่แนะนำให้เป็นสูตรแรก (first line regimen) ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของไทย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อที่ใช้ยานี้ประมาณ 80,000 ราย โดย ยาต้านไวรัสเอดส์ Efavirenz จะช่วยลดปริมาณเชื้อ HIV ในร่างกาย และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ HIV เช่น การติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสซึ่งเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรค การติดเชื้อที่นำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ให้ดีขึ้น

“ยาตัวนี้เป็นตัวแรกที่ให้กับผู้ติดเชื้อ เอชไอวี ทุกรายตั้งแต่ตรวจพบเชื้อในร่างกาย ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อประมาณ 8 หมื่นราย และขณะนี้เตรียมพัฒนาโรงงานผลิตยารังสิตเฟส 2 มูลค่า 5.6 พันล้านบาท อยู่ระหว่างเปิดซองผู้รับเหมาคาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ในมกราคม 2562” นพ.โสภณ กล่าว

ด้าน ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ รองผอ.อภ. กล่าวว่า อภ.พยายามมานานกว่า 16 ปี ก็สามารถพัฒนาและนำยาตัวนี้จนผ่านมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก คุณภาพเทียบเท่ายาต้นแบบ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาดี มีคุณภาพจากเมื่อก่อนที่ยังไม่สามารถผลิตได้เองทำให้ราคาสูงกระปุกละกว่า 1 พันบาท แต่ ณ วันนี้ ผลิตได้เองทำให้ราคาลดลงเหลือเพียง 180 บาทต่อกระปุก

   ภญ.มุกดาวรรณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังยาของอภ.สามารถขึ้นทะเบียนได้รวดเร็วขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการ อย.ปกติของแต่ละประเทศ เพราะใช้ข้อมูลการรับรองขององค์กาอนามัยโลกได้เลย และตอนนี้ได้ส่งยาต้านไวรัสจีพีโอเวียร์ (VIR T) ซึ่งเป็นสูตรรวม กินแค่เม็ดเดียว ไปขอการรับรองจากองค์การอนามัยโลกเช่นเดียวกัน คาดว่าอีก 2 ปีจะทราบผล แต่มั่นใจว่าน่าจะสามารถผ่านได้ นอกจากนี้อนาคตยังเตรียมส่งยาต้านวัณโรค และยารักษาโรคมาลาเรียเข้าสู่การรับรองด้วย

ในอนาคตองค์การเภสัชกรรมเตรียมส่งยาต้านวัณโรคและยารักษาโรคมาลาเรีย เข้าสู่การรับรองด้วยจากองค์การอนามัยโลก ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างการพัฒนาโรงงานผลิตยารังสิตเฟส 2 มูลค่า 5,600 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือน ม.ค.ปีหน้า เพื่อเพิ่มศักยภาพในผลิตยาสู่การแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ

โรคเอดส์มีกี่สายพันธุ์

เชื้อไวรัสเอดส์มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักดั้งเดิมคือ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกากลาง, เอชไอวี-2 (HIV-2) พบแพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์อื่น ๆ ที่กลายพันธุ์มาอีกมากมาย

ในปัจจุบันทั่วโลกพบสายพันธุ์เชื้อเอชไอวี มากกว่า 10 สายพันธุ์  กระจายอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยพบมากที่สุดที่ทวีปแอฟริกามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ เนื่องจากเป็นแหล่งแรกที่พบเชื้อเอชไอวี และกระจายอยู่เป็นเวลานานกว่า 70 ปี สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในโลก คือสายพันธุ์ซี มากถึง 40% พบในทวีปแอฟริกา อินเดีย จีน รวมทั้งพม่า ส่วนในประเทศไทยพบเชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์เอ-อี (A/E) หรืออี (E) พบมากกว่า 95% แพร่ระบาดระหว่างคนที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่แพร่ระบาดกันในกลุ่มรักร่วมเพศ และผ่านการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น

วันเอดส์โลก

ขณะที่สายพันธุ์ซีเดี่ยว ๆ ยังไม่พบในประเทศไทย พบเพียงแต่สายพันธุ์อี-ซี ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์อีในประเทศไทย และสายพันธุ์ซีจากทวีปแอฟริกา และยังได้พบหญิงไทยติดเชื้อเอชไอวีสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยตรวจเอดส์พบมาก่อนในโลก คือ เชื้อเอชไอวีผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ คือ เอ จี และดี เรียกว่า เอจี-ดี (AG/D) และยังพบเชื้อเอชไอวีผสม 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ อี และจี เรียกว่า เออี-จี (AE/G)

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ตั้งแต่พบการระบาดของโรคเอดส์ครั้งแรกจนถึงปี 2015 มีผู้ติดเชื้อไปแล้วกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก และเสียชีวิตไปแล้วกว่า 35 ล้านคน

ขณะที่รายงานของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ ในปี 2559 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกสะสม 36.7 ล้านคน เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1.8 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อเอชไอวี 1 ล้านคน

ตรวจเลือด – ตรวจปัสสาวะ มีประโยชน์ยังไง???

>> การตรวจเลือด

     สำหรับการตรวจเลือดนั้นผู้ที่ต้องการตรวจเลือดจะต้องเตรียมสุขภาพร่างกายให้พร้อม ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหมจนเกินไป งดดื่มสุรา งดยาบางชนิด (ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง) สำหรับเรื่องของอาหารนั้นสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ยกเว้นในการตรวจหาปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือด ควรงดอาหารนาน 8 – 12 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด (แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้) โดยใช้เลือดประมาณ 8 – 10 ซีซี ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณเลือดในร่างกายที่มีทั้งหมดประมาณ 5,000 ซีซี

     โดยเลือดที่เจาะไปนั้นจะสามารถใช้ตรวจโรค 

     – ตรวจนับเม็ดเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคเลือด เช่น ทาลัสซีเมีย ลิวคีเมีย

     – ตรวจสมรรถภาพของตับ ช่วยในการหาสาเหตุของภาวะดีซ่าน ช่วยวินิจฉัยโรคตับ เช่น โรคตับอักเสบ

     – ตรวจสมรรถภาพของไต ช่วยในการวินิจฉัยโรคของไต เช่น ภาวะไตวาย

     – ตรวจระดับไขมันในเลือด ช่วยในการวินิจฉัยภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

     – ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยในการวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

     – ตรวจหาปริมาณฮอร์โมน ช่วยวินิจฉัยโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ

     – ตรวจหาโรคติดเชื้อทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส

      – ตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคออโตอิมมูน เช่น โรคเอสแอลอี โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์

     >>> การตรวจปัสสาวะ

     :: การตรวจปัสสาวะมีประโยชน์หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการบอกถึงความผิดปกติของไต และระบบทางเดินปัสสาวะ โดยบอกได้ทั้งความผิดปกติของหน้าที่การทำงาน เช่น ไตวาย และความผิดปกติทางกายวิภาค เช่น การอักเสบติดเชื้อ นิ่ว เป็นต้น

     สำหรับน้องๆ ที่ต้องการตรวจปัสสาวะนั้นจะต้องมีการเตรียมตัวที่ถูกต้อง ผู้ตรวจปัสสาวะต้องเก็บปัสสาวะที่ถ่ายหลังตื่นนอนตอนเช้า เพราะจะมีความเข้มข้น สามารถพบตะกอนของสารต่างๆ ได้ดี แต่มีเคล็ดลับเล็กๆ คือ ควรถ่ายปัสสาวะทิ้งไปเล็กน้อยก่อนแล้วค่อยถ่ายใส่ภาชนะ เพื่อลดการปนเปื้อนของเซลล์ต่างๆ บริเวณส่วนต้นของท่อปัสสาวะ สำหรับสตรีที่มีประจำเดือน ไม่ควรตรวจปัสสาวะ เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเม็ดเลือดแดงขณะเก็บปัสสาวะ ทำให้แปรผลผิดพลาดได้

 

ผู้ติดเชื้อ HIV อะไรควรกิน อะไรต้องระวัง

ผู้ติดเชื้อ HIV อะไรควรกิน อะไรต้องระวัง

เป็นสิ่งสำคัญมากที่อาหารซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพของทุกคน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากโภชนาการมีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน และความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ยังช่วยให้คุณรักษาน้ำหนักร่างกายในระดับที่เหมาะสม และสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง และกระดูกพรุน

ความเชื่อมโยงระหว่างโภชนาการและเชื้อเอชไอวีคืออะไร

โภชนาการที่ดีในอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีประโยชน์หลายประการ สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวมได้ โดยการให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น เพื่อให้ร่างกายของคุณสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมอาการภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี และช่วยควบคุมอาการข้างเคียงจากการให้ยาได้

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรรับประทานอะไร

อาหารที่ดีประกอบด้วยอาหารประเภทต่างๆ ที่สมดุล ดังต่อไปนี้

อาหารประเภทแป้ง

คุณควรรับประทานขนมปัง มันสำปะหลัง ธัญพืช กล้วยสีเขียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด มันฝรั่ง พาสต้า ข้าว และมันเทศ ให้มากขึ้น แป้งควรเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของอาหารของคุณ ประมาณหนึ่งในสามของอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน อาหารที่มีส่วนประกอบของแป้ง จะให้คาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน รวมทั้งแร่ธาตุ วิตามิน และใยอาหาร อาหารบางประเภทที่อุดมไปด้วยแป้ง ใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี จำพวกข้าว พาสต้า และขนมปัง

ผักและผลไม้

คุณสามารถพบวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารจำนวนมากอย่างน่าอัศจรรย์ได้ในอาหารจำพวกนี้ พยายามรับประทานผลไม้และผักให้ได้ห้าส่วนหรือมากกว่าในแต่ละวัน นอกจากนี้ ผลไม้และผักยังสามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันมะเร็งและโรคหัวใจ ข่าวดีสำหรับผู้ที่กำลังพยายามลดน้ำหนัก คือ ผลไม้และผักมีไขมันต่ำและมีน้ำตาลที่เป็นประโยชน์ โดยคุณสามารถควบคุมน้ำหนัก และได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ได้ในเวลาเดียวกัน

ไขมัน

ไขมันพบได้ในน้ำมันสำหรับปรุงอาหาร เนย และมาร์การีน เนื้อสัตว์ และอาหารอื่นๆ ที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นโปรตีน เป็นแหล่งพลังงาน กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย และวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน (วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินดี และวิตามินเค) ให้พยายามรับประทานไขมัน ‘ไม่อิ่มตัว’ เช่น ไขมันที่พบได้ในน้ำมันตับปลา ถั่ว และเมล็ดพืช ผลอะโวคาโด น้ำมันมะกอก และน้ำมันพืช ไขมัน ‘อิ่มตัว’ ที่พบได้ในเนื้อสัตว์ เนยแข็ง เนย และอาหารแปรรูปต่างๆ จะเพิ่มคลอเรสเตอรอลในร่างกาย จึงควรรับประทานในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

อาหารจำพวกนี้ ได้แก่ นม เนยแข็ง และโยเกิร์ต และเป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุ และโดยเฉพาะแคลเซียม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมบางชนิดมีไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง ดังนั้น ควรรับประทานในปริมาณเล็กน้อย หรือคุณควรรับประทานนม เนยแข็ง และโยเกิร์ตที่มีไขมันต่ำ หากคุณไม่สามารถรับประทานนมได้ ถั่วเหลือง น้ำนมข้าวหรือน้ำนมข้าวโอ๊ต ผักใบเขียวเข้ม ลูกพรุนแห้ง ผลแอปพลิคอต และถั่ว ล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี

ระวัง! อาหารที่มีไขมันและเกลือในปริมาณสูง

ไม่เพียงแต่อาหารที่มีไขมันสูงเท่านั้น แต่น้ำตาลก็ควรเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยในมื้ออาหารของคุณเช่นกัน ไขมันและน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้น้ำหนักร่างกายเพิ่มขึ้น อันส่งผลเสียต่อสุขภาพ เกลือ และอาหารรสเค็มอาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง หากรับประทานในปริมาณมาก และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดโรคหัวใจ ผู้ใหญ่และเด็กที่อายุสิบเอ็ดปีขึ้นไป ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 6 กรัมต่อวัน และเด็กที่อายุต่ำกว่านี้ ควรบริโภคเกลือในปริมาณที่น้อยลง

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยให้คุณรับมือกับเชื้อเอชไอวี และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น อย่าลืมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาช้านาน กล่าวถึงชื่อโรคนี้ใครๆ ก็รู้จัก แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่ายังมีคนไทยหลายคนที่ยังมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ป่วย HIV อย่างไม่ถูกต้องเท่าที่ควร เราเลยรวบรวมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV มาให้ทุกคนได้ปรับความเข้าใจกันใหม่ค่ะ

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

 

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV
1. โรคเอดส์ กับเชื้อ HIV ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

– HIV เป็นเชื้อไวรัส

– เอดส์ เป็นภาวะที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นหลังจากที่ร่างกายถูกทำร้ายจากไวรัส HIV อีกทีหนึ่ง

 

2. เป็นเอดส์ ยังมีโอกาสรอด

ถึงแม้จะยังไม่มีวิธี และยารักษาโรคเอดส์โดยตรง แต่หากพบในระยะที่ยังเป็นผู้ติดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยสามารถทานยาต้านไวรัส ไม่ให้เชื้อไวรัสทำร้ายภูมิคุ้มกันในร่างกาย จนแสดงอาการผิดปกติออกมาได้ เพราะฉะนั้นยิ่งพบเชื้อเร็ว ยิ่งควบคุมเชื้อไวรัสได้ง่าย โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งมีสูง นอกจากนี้เมืองไทยยังมีสวัสดิการมอบยาต้านไวรัสให้กับผู้ติดเชื้อฟรีอีกด้วย เพียงลงทะเบียนเข้าโครงการรับยาต้านไวรัสกับโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ และคอยติดตามผลกับแพทย์อยู่เสมอ
3. เป็นเอดส์ ติดเชื้อ HIV ต้องตายด้วยอาการมีแผล ตุ้ม หนอง ขึ้นเต็มตัว

นั่นเป็นอาการของโรคฉวยโอกาส อาจจะเป็นโรควัณโรค ซึ่งเข้ามาทำร้ายร่างกายหลังจากที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ไม่ดี ปล่อยให้เชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายจนแสดงอาการได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นโรคที่แสดงอาการทางผิวหนังก็ได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

 

4. ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV ไม่ได้หมายความว่าเป็นคนสำส่อน มักมากในกาม

มีหลายคนที่ติดเชื้อ HIV จากแม่ จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ป่วย และอาจติดจากคู่ครองของตนเอง นั่นหมายความว่า หากมีเพศสัมพันธ์กับแค่คนๆ เดียว แต่หากเป็นผู้ติดเชื้อ ก็มีโอกาสติดเชื้อต่อจากคนนั้นได้เช่นกัน

 

5. เชื้อ HIV ไม่ได้ติดต่อกันง่ายเหมือนไข้หวัด

เชื้อ HIV ไม่สามารถติดกันได้ ผ่านทาง

– กอด จูบ (ยกเว้น จะมีแผลในปาก และเป็นการจูบแลกลิ้น แลกน้ำลายกัน)

– ทานข้าวร่วมกัน จานเดียวกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือแม้แต่ใช้ช้อน ส้อมคันเดียวกัน

– มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย

– ลมหายใจ

– ใช้สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพู ยาสีฟัน ร่วมกัน

เชื้อ HIV ติดต่อกันได้ผ่านทาง

– สารคัดหลั่ง เลือด ผ่านการใช้อุปกรณ์อย่างเข็มฉีดยา

– เลือด และการให้นมบุตรของแม่

– รับสารคัดหลั่ง และเลือด เข้าสู่ร่างกายผ่านแผล (ต้องเป็นแผลสดๆ เท่านั้น)

– โอกาสที่จะติดเชื้อ ไม่ใช่ 100% เสมอไป

6. ผู้ติดเชื้อ HIV อาจไม่ต้องทานยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต

หากทานยาต้านไวรัสตรงเวลา ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ มีโอกาสที่เชื้อไวรัส HIV อาจจะลดลงเรื่อยๆ จะอาจสามารถหยุดการทานยาได้ แต่แพทย์จะยังคงตรวจสุขภาพต่อเป็นระยะๆ

 

7. ผู้ติดเชื้อ HIV อาจมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวเหมือนคนปกติทั่วไป

หากทานยาต้านไวรัสตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ และรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเป็นประจำ ผู้ติดเชื้อสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว อยู่ต่อไปได้อีกหลายสิบปี มีอายุขัยเท่ากับคนปกติเลยทีเดียว ดีไม่ดีอาจอายุยืนกว่าคนปกติที่เป็นโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน หัวใจ อีกด้วย มะเร็ง อีกด้วย

 

8. ผู้ติดเชื้อ HIV สามารถมีครอบครัวได้

ถึงแม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางอนามัย จะทำให้มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้ แต่หากอยากมีครอบครัว ผู้ป่วยสามารถจูงมือคู่รัก เพื่อปรึกษาแพทย์ หาทางออกในการมีครอบครัว มีบุตรโดยที่บุตรไม่ติดเชื้อ HIV ได้

 

โรคเอดส์ และเชื่อไวรัส HIV ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เรา หรือใครหลายๆ คนคิดนะคะ ขอให้เปิดใจ และมองเขาเหมือนเป็นคนปกติธรรมดาทั่วไป อย่าแสดงทีท่ารังเกียจ หรือกลัวอะไรพวกเขา เท่านี้พวกเขาก็มีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปแล้วล่ะค่ะ

ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้จริงหรือ?

Istock 175689062 %281%29

ผมเชื่อและสนับสนุนการใช้ถุงยางอนามัยเต็มที่ครับ เมื่อไรที่ผมมีโอกาสคุยกับคนไข้ที่มีคู่นอนหลายคน ไม่ว่าจะหญิงหรือชาย ผมจะถามเรื่องถุงยางอนามัยเสมอ “คุณมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยบ่อยแค่ไหน ? น้อยครั้ง บางครั้ง หรือเกือบทุกครั้ง” วัยรุ่นมักจะตอบคําถาม แบบนี้ตามความเป็นจริง แต่น้อยมากที่ผมจะได้คําตอบว่า “ผมใช้ทุกครั้ง เลยครับ” พวกวัยรุ่นรู้ดีว่า ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเซ็กส์ แต่น่าผิดหวังที่พวกเขากลับไม่ค่อยยอมใช้ ถุงยางอนามัยไม่เพียงป้องกันการ ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการแพร่เชื้อเอชไอวี/เอดส์ แต่ยังป้องกันโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual Transmited Diseases : STD)ได้อีกมาก

ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมป้องกันโรค มีผู้ติดเชื้อ STD รายใหม่ ปีละ 19 ล้านราย โดยมีสัดส่วนสูงสุดในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 25 ปี ไม่ใช่ เฉพาะหนุ่มสาวและวัยรุ่นเท่านั้น แม้แต่ในผู้ใหญ่ก็มีอัตราติดเชื้อที่สูงขึ้น ตามสถิติพบว่า 15% ของผู้ป่วย เอชไอวี / เอดส์รายใหม่ คือคนในกลุ่มอายุ เกิน 50 ปี แม้ว่าผู้ใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไปจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่ำสุด กระนั้นใน 10 ปีมานี้ อัตราเป็นโรคก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เหตุผล หนึ่งอาจเป็นเพราะการสํารวจเป็นไปอย่างกว้างขวางครอบคลุม ประกอบกัน ประชากรกลุ่มนี้ก็มากขึ้น แต่เห็นชัดว่า ไม่ว่าจะเพศและวัยใดจําเป็นระวังใส่ใจการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

แม้ว่าผมจะพยายามพูดให้คนไข้ของผมเห็นความสําคัญของการใช้ถุงยางอนามัย ว่าสําคัญต่อสุขภาพของตนเองและคู่นอนเพียงไร แต่กลับรู้สึกเหมือนกําลังเข็นครกขึ้นภูเขา ขอย้ำนะครับ ถุงยางอนามัยจะมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อคุณสวมใส่เท่านั้น

ถุงยางอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อ STD ได้หลายชนิด ด้วยการทําหน้าที่เป็นปราการกั้นเลือด อสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด ซึ่งล้วนแล้วแต่มีโอกาสเป็นแหล่งเชื้อโรค ไม่ให้ส่งต่อไปยังคู่นอนในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เป็นเครื่องป้องกันที่มีประสิทธิภาพของโรคเอชไอวี/เอดส์ หนองในเทียม โกโนเรีย คลามายเดีย ตลอดจนโรคไวรัสตับอักเสบ แต่โรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์บางอย่าง ก็แพร่ผ่านการสัมผัสผิวหนังที่มีเชื้อได้ อย่างเช่น เริ่มที่อวัยวะเพศ ซิฟิลิส และหูดหงอนไก่ซึ่งเกิดจากไวรัส HPV

ถุงยางอนามัยช่วยปกป้องคุณจากโรคไม่พึงประสงค์ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะเชื้อ hiv ซึ่งก่อให้เกิดโลกเอดส์ตามมา แม้จะป้องกันได้ไม่หมดทุกโรคก็ตาม เพราะเหตุใดถุงยางอนามัยจึงไม่ได้ผลเต็มร้อย ? ถ้าจะพูดเรื่องประสิทธิภาพของถุงยางอนามัย มีปัจจัยที่ต้องคํานึงถึงดังต่อไปนี้ครับ

  • เชื้อโรคสามารถผ่านถุงยางอนามัยได้หรือเปล่า
  • การแพร่เชื้อมักจะมากับสารคัดหลังจากช่องคลอดหรือองคชาติ ใช่หรือไม่
  • การใช้ถุงยางอนามัยถูกต้องหรือเปล่า ถุงยางปริ แตก รั่ว หรือ เลื่อนหลุดหรือไม่

ถุงยางอนามัยจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ ตราบเท่าที่ ของเหลวหรือบริเวณที่ปนเปื้อนเชื้อ ถูกคั่นแบ่งด้วยถุงยางอนามัย ไม่เช่นนั้น ถุงยางอนามัยก็ช่วยอะไรไม่ได้ ดังเช่นกรณีออรัลเซ็กส์ และ เยื่อบุช่องปากที่สัมผัสบริเวณอวัยวะเพศหรือสารคัดหลัง ผิวหนังที่มีเชื้อ ก็อาจติดโรค STD บางชนิดได้

ประการสุดท้าย ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยใด ถุงยางอนามัย หากไม่ใช้อย่างถูกต้องทุกครั้ง ก็จะส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าไม่สมกับหน้าที่ของมัน

คําแนะนําที่น่าจะเป็นประโยชน์

  • ถุงยางอนามัยที่ทําจากลาเท็กซ์ หรือโพลียูริเทน มีคุณสมบัติ ปกป้องได้เหนือกว่าถุงยางอนามัยธรรมชาติที่ทําจากหนังแกะ ซึ่งจะมีรูขนาดใหญ่กว่า เชื้อโรคบางชนิดผ่านได้
  • เมื่อสวมถุงยางอนามัย ต้องคลุมองคชาติทั้งลํา และสวมตั้งแต่ก่อนร่วมเพศ ไปจนสิ้นสุดกระบวนการ จากนั้นค่อยๆ ถอดออกอย่างระมัด ระวัง อย่าให้รั่วหรือแตก หากใช้เป็นประจํา โอกาสผิดพลาดจะน้อย
  • สวมถุงยางอนามัยใหม่ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หลังจากหลังแล้ว ต้องถอดออกด้วยความระมัดระวังทันที
  • ใช้สารหล่อลื่นสูตรน้ำ เพื่อช่วยไม่ให้ถุงยางอนามัยแตก แต่อย่า ใช้น้ำมันหรือวาสลีน เพราะจะทําให้ถุงยางอนามัยอ่อนตัวลงและแตกง่าย
  • เก็บรักษาถุงยางอนามัยใหม่ในที่เย็นและแห้ง นั่นหมายความว่า ถุงยางอนามัยเก่าเก็บที่พกในกระเป๋าสตางค์ของคุณเป็นปีนั้น อาจเสื่อม สภาพไปแล้ว

ถ้าคุณอยากฟังเหตุผลอื่น ๆ ที่สนับสนุนการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย นี่เป็นความรู้ที่คุณอาจไม่ทราบมาก่อน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด รักษายากหรือเป็นแล้วไม่มีวันหายขาด เป็นที่ทราบกัน ขณะนี้ เรายังไม่มีวิธีรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์ ให้หายขาดได้ แต่คุณจะแปลกใจ ถ้าได้รู้ว่า ปัจจุบันวงการแพทย์มีความกังวลต่อเชื้อหนองในเทียมสายพันธุ์ที่ดื้อยาปฏิชีวนะแทบทุกอย่าง ขณะเดียวกัน เริ่มเป็นโรคที่เราควบคุมอาการได้ แต่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาด โรคหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV และสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง มีผู้ป่วยบางรายแม้รักษาเป็นปี ๆ ก็ไม่หาย

ผมเชื่อว่า ประเด็นที่เราพูดกันนี้ ไม่ได้มีเป้าหมายจะทําลายความ หฤหรรษ์ของการมีเพศสัมพันธ์ เพศสัมพันธ์เป็นส่วนที่สําคัญของสัมพันธภาพอันลึกซึ้ง แต่เราทุกคนต้องระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีใครเด็กเกินไปหรือ แก่เกินไป ที่จะระมัดระวังปกป้องตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

บทสรุป

หากคุณยังมีกิจกรรมทางเพศ ถุงยางอนามัยคืออุปกรณ์ที่ดีที่สุดในการป้องกัน คุณจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวี แต่ไม่ใช่จะปลอดภัยเต็มร้อย เพราะถึงจะใช้อย่างถูกต้อง ก็ไม่สามารถป้องกันเริ่ม หูดหงอนไก่ และซิฟิลิสได้ และหากถุงยางอนามัยแตก ผลก็เท่ากับไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย และควรไปตรวจโรคต่างๆ รวมถึง hiv test อยู่ดี คนที่มีคู่นอนหลายคน แม้คุณจะใช้ถุงยางอนามัยเสมอแต่คําแนะนําสําหรับคุณก็คือ ต้องตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นประจํา

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์  ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ