เป็นแผลแบบไหน ถึงติดเอดส์ได้

เป็นแผลแบบไหน ถึงติดเอดส์ได้
เป็นแผลแบบไหน ถึงติดเอดส์ได้ ปัจจุบันเอชไอวี หรือ เอดส์ เป็น การติดเชื้อไวรัส ในร่างกาย ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายบกพร่อง จนนำไปสู่ ภาวะการเป็นเอดส์ โดยปกติแล้ว เชื้อเอชไอวี มักจะอาศัยอยู่ตามร่างกาย ของสิ่งมีชีวิต เพื่อที่จะได้มีชีวิตรอด เพราะถ้าหาก เชื้อได้ออกมา สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมกับธรรมชาติ ก็มักจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน หลักการ ของการติดเชื้อผ่านทางเลือด ได้นั้น มีหลากหลายช่องทาง จากการให้เลือด จากแม่สู่ลูก จากการสัมผัส และอื่นๆ

เอชไอวี มาจากภาษาอังกฤษคำว่า HIV Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายโดยมุ่งทำลายเม็ดเลือดขาว ที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ร่างกายของเราเกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เมื่อเป็นเช่นนี้ ภูมิคุ้มกันของเราจะต่ำลงเรื่อยๆ มีอาการเจ็บป่วยได้ง่ายจากเชื้อฉวยโอกาส และป่วยเป็นเอดส์

เอดส์ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า AIDS มาจากคำว่า Acquired Immuno Deficiency Syndrome อาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง

หรือเรียกได้ว่าโรคเอดส์ คือ ระยะสุดท้ายแล้ว ของการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อร่างกาย ไม่สามารถต่อสู้ กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ อีกต่อไปแล้ว โรคต่าง ๆ ก็จะมาเยือน ไม่ว่าจะเป็น วัณโรค ท้องร่วง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มะเร็งต่าง ๆ ฯลฯ

เชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ สามารถติดต่อกันได้ใน 3 ทางหลัก ๆ คือ
1.สามารถติดต่อกัน ได้ผ่านทางเลือด เช่น การถ่ายเลือดของผู้ป่วย การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และส่วนน้อยที่จะติดเชื้อ ก็คือการที่มีส่วนใด ส่วนหนึ่ง ในร่างกายมีบาดแผลแล้ว ไปสัมผัสกับเลือด ของผู้ติดเชื้อโดยตรง
2.สามารถ ติดต่อกัน ผ่านทางร่วมรักทางเพศ หรือการมีเพศสัมพันธ์ทั้ง ชายหญิง ชายกับชาย โดยเฉพาะ การมีเซ็กส์ผ่าน ทางทวารหนัก ทั้งนี้ อาจรวมไปถึงการทำ Oral sex ให้กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี หรือ เอดส์อยู่
3.สามารถติดต่อ ผ่านทางแม่สู่ลูก ส่วนใหญ่แล้ว แม่ที่มีการติดเชื้อเอชไอวี ลูกจะสามารถติดได้ ในระหว่างทำการคลอด ส่วนน้อย ที่จะติดต่อได้ ในระหว่างที่เด็ก อยู่ในครรภ์มารดา และระหว่างที่เด็กดูดนมแม่

ทุกวันนี้อาจมีหลาย ๆ คนที่ติดเชื้อเอชไอวีจากแม่ หรือจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และอาจจะติดได้ผ่านทางคนรักของตนเอง แต่ทว่าเชื้อเอชไอวีไม่ได้ติดกันง่าย ๆ อย่างที่ใครหลาย ๆ คนคิด เพราะไม่ใช่ว่าการที่เข้าไปยุ่งหรือไปใกล้ชิด กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีแล้ว จะสามารถติดต่อได้เลย ขึ้นอยู่กับว่า คุณมีความเสี่ยงได้รับ สิ่งเหล่านี้มาหรือเปล่า อย่างเช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำจากช่องคลอด บาดแผล และสารคัดหลั่ง

โดยจะต้องพิจารณาว่าคุณได้รับเชื้อจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาโดยตรงกับผู้ติดเชื้อเลย หรือไม่ เช่น จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน Oral sex ขณะที่คุณเองมีแผลอยู่ในปาก สิ่งที่กล่าวมาของเขาสัมผัสกับบาดแผลคุณโดยตรง นอกจากนี้การส่งต่อจากเลือดสู่เลือดจะมีความเสี่ยงมากที่สุด ขณะที่การรับจากบาดแผลก็มีความเสี่ยงแต่น้อย

เพราะบางครั้งร่างกายก็จะสามารถกำจัดเชื้อได้ แต่อย่างไรเราแนะนำว่าหากคุณไม่มั่นใจขอให้ตรวจเลือดจะดีกว่า หรือรับยาต้านก็จะช่วยให้อุ่นใจมากขึ้น

สรุปแล้ว เป็นแผลแบบไหน ถึงติดเอดส์ได้ แผลที่สามารถติดเชื้อได้ นั้นส่วนใหญ่จะเป็น แผลที่เกิดจาก เยื่อบุอ่อนของร่างกาย เช่น แผลในปาก แผลตรงอวัยวะเพศ และแผลเกิดขึ้นตรงทวารหนัก หรือถ้าหากใครคนใดที่มีแผลอยู่ตรงนิ้วมือและนำนิ้วไปสอดใส่ในช่องคลอดของฝ่ายหญิง ก็มีโอกาสน้อยมาก ๆ ต่อการเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้

แต่ถ้าหากเป็นแผลที่นิ้วแล้ว ไปสัมผัสกับเลือดของผู้มีเชื้อเอชไอวี ก็มีโอกาสเสี่ยง ต่อการติดเชื้อได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ถ้าหากยังไม่แน่ใจหรือยัง เป็นกังวลอยู่ว่าแผลลักษณะนี้ มีความเสี่ยงหรือไม่ แนะนำให้ไปปรึกษากับแพทย์ใกล้บ้าน ประเมินความเสี่ยง หรือตรวจเลือด หากเขินอายก็ซื้ อชุดตรวจเอดส์ มาตรวจเองได้ที่บ้าน อย่างไรก็ตาม เชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ มันอาจไม่ได้น่ากลัว หรือน่ารังเกียจ อย่างที่คุณคิด จึงอยากให้หลาย ๆ คน มองผู้ป่วย ที่ติดเชื้อไปในทางที่ดี และให้กำลังใจเขามากกว่า

ชุดตรวจเอดส์ ซื้อที่ไหน ?

ชุดตรวจเอดส์ ซื้อที่ไหน

ชุดตรวจเอดส์ ซื้อที่ไหน

การตรวจเอดส์ ในผู้ที่มีความเสี่ยง กลายเป็นประเด็นที่ในไทยนั้นยังมีความกลัวไม่กล้าที่จะตรวจ เพราะว่ากลัวผล หรืออายที่จะไปตรวจตามสถานพยาบาล ไม่ทราบว่า ชุดตรวจเอดส์ ซื้อที่ไหน ทำให้ปัญหาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในไทยเพิ่มสูงขึ้น และผู้ป่วยที่มีอาการทรุดเข้าสู่สภาวะเอดส์ก็มีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกว่าจะทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการที่ค่อนข้างหนักมากแล้ว การรักษาอาการให้คงตัวและสามารถใช้ชีวิตปกติได้จึงเป็นไปได้ยาก ซึ่งปัญหานี้แท้จริงแล้วสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ เพียงแค่ผู้มีความเสี่ยงนั้นกล้าที่จะตรวจ หากผลเลือดออกมาแล้วเป็นลบ ผู้ตรวจเองก็จะได้มีความสบายใจมากขึ้น และรู้จักป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่หากผลเลือดออกมาเป็นบวก ก็รีบเข้ารักษากับทางสถานพยาบาลต่อไปได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้ อย. หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงทำการปลดล็อก การตรวจ HIV ด้วยตัวเอง

ภายหลังจากที่ อย.  ได้ปลดล็อคให้คนไทยทุกคน สามารถเข้าถึง ชุดตรวจ HIV ด้วยตัวเอง ได้แล้ว ซึ่งสามารถตรวจได้เองและทราบผลได้ในทันที ใช้เวลาไม่นาน ตรวจได้เองที่บ้านรวมทั้งได้ผลแม่นยำสูงไม่มีความแตกต่างกับการไปตรวจที่สถานพยาบาลต่างๆ โดยวัตถุประสงค์ของ อย. นั้น ก็เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี และให้ผู้มีความเสี่ยงทราบผลเร็วขึ้นเพื่อนำไปสู่การดูแลและรักษาป้องกันการแพร่เชื้อในทันที

สิ่งที่ ชุดตรวจคัดกรองเอชไอวี เบื้องต้น หรือ ชุดตรวจเอดส์ ด้วยตัวเอง ที่ดี ควรมี ได้แก่

1. การแสดงฉลาก ข้อมูล ที่เป็นส่วนสำคัญ ให้แก่ ผู้ซื้อได้รับทราบ

2. วิธีการใช้งาน ชุดตรวจเอชไอวี

3. วิธีการเก็บรักษา ข้อจำกัดของชุดตรวจ

4. คำเตือนต่าง ๆ รวมไปถึงข้อควรระวัง

5. การให้ คำปรึกษา แนะนำความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับระยะการตรวจหา การติดเชื้อเอชไอวี

6. ช่องทาง การให้ข้อมูล สนับสนุน และ เว็บไซต์ ที่ให้ข้อมูล เกี่ยวกับ การตรวจหาเชื้อ

7. การสาธิต วิธีการตรวจ และ การแปลผล ซึ่งต้องแสดงให้เห็น เป็นภาพอธิบาย รายละเอียด ชัดเจนที่สุด

ชุดตรวจเอดส์ ซื้อที่ไหน ชุดตรวจเอดส์ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา หรือในอินเทอร์เน็ต โดยพิจารณาจากร้านที่เชื่อถือและไว้ใจได้ ผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพ มีความแม่นยำสูง ได้รับอนุญาตจาก อย. มีรายละเอียดการใช้งานอย่างชัดเจน โดยที่สามารถหาซื้อมาตรวจได้นั้น จะเป็นเพียง การตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตัวเอง เท่านั้น หากตรวจพบว่าติดเชื้อต้องเข้ารับการตรวจจากสถานพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง หรือหากผลปรากฏว่าไม่มีเชื้อต้องพิจารณาว่าอยู่ในระยะ Window period รึเปล่า การตรวจคัดกรองเชื้อควรตรวจที่ระยะเวลา 30 วันหลังจากได้รับความเสี่ยง ผลที่ได้จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

 

ทั้งนี้ ผู้ที่จะได้รับ ใบอนุญาต ที่จะทำ การผลิต หรือ นำเข้า ชุดตรวจเอดส์นั้น จะต้องมีการ จัดทำเอกสาร ที่ผู้ถูกตรวจควรรู้ การตรวจ หรือ ภายหลังทราบผล การตรวจ เพื่อให้กระบวนการ ให้คำปรึกษา มีความชัดเจน มากที่สุด ตลอดจน ถึงการเชื่อมเข้าสู่ ระบบบริการ การตรวจวินิจฉัย ยืนยัน รักษาและป้องกัน  ในการจัดทำ ข้อมูลดังกล่าว ต้องผ่าน การตรวจสอบจาก อย. โดยอาจจะ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่ได้ประกาศ ไว้ตามที่กำหนด การที่ให้ ประชาชน ได้เข้าถึง การตรวจ การติดเชื้อเอชไอวี ด้วยตัวเองได้นั้น เป็นการเพิ่มทางเลือก ในการตรวจคัดกรอง ให้ผู้มีความเสี่ยง สามารถตรวจ ด้วยตัวเองได้เลย แทนที่จะต้อง เสียเวลา ไปตรวจที่ สถานพยาบาล ซึ่งผลอาจจะ บวก หรือ ลบ ก็ได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ ประชาชน ทราบถึง สถานะการติดเชื้อเอชไอวี ตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก เพื่อทำให้ มีโอกาสป้องกัน การถ่ายทอด เชื้อเอชไอวี ไปยังบุคคลอื่นได้ หรือ แม้กระทั่ง คน หรือ บุคคล ที่ใช้ชีวิต อยู่ร่วมกัน กับผู้ป่วย ที่ติดเชื้อ นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญ คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี จะได้ตรวจ เพื่อรับรู้ ถึงสถานการณ์ การติดเชื้อได้เร็ว และสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา ซึ่งอาจจะ เป็นประโยชน์ แก่บุคคล ที่มีความเสี่ยง และบุคคลอื่น ๆ ทั่วไป

ติดเชื้อ HIVหายได้ไหม

 

คำถามที่ว่า  ติดเชื้อ HIVหายได้ไหม  การรักษา ที่ทำให้ หายขาดได้นั้น ยังคงอยู่ ในระหว่างการศึกษา พัฒนา และ วิจัย ภายใต้หน่วยงานแพทย์ ถึงแม้ว่า จะยังไม่มีผลการศึกษา ออกมาอย่างแน่ชัด แต่ข่าวดี คือ ในปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่หายขาดแล้ว 1 คน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ที่ติดเชื้อเอชไอวี มานาน การรักษา

ผู้ป่วย ติดเชื้อเอชไอวี ในปัจจุบันการรักษา ยังคงยึดหลักการเดิม คือ การให้ทานยา เพื่อจะยับยั้งการแบ่งตัว ของเชื้อเอชไอวี ซึ่งเมื่อรับประทานยา เข้าไปแล้ว จะช่วยให้ ผู้ป่วยสามารถ ใช้ชีวิตร่วมกับผู้คน ในสังคมได้เหมือนกับ คนปกติทั่วไป

และ สามารถ มีชีวิต อยู่ต่อได้ เหมือนกับ อายุขัย ของคนปกติ  การศึกษาวิจัย การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ในปัจจุบันนั้น กำลัง มีการศึกษาอยู่ 3 วิธี คือ

– การ ปลูกถ่ายไขกระดูก

– การเริ่ม กินยา ต้านเชื้อเอชไอวี อย่างเร็วภายใน 2 สัปดาห์แรก ก่อนที่ ผลการตรวจ anti – HIV จะเป็นบวก

– การรักษา ด้วยวิธีอื่น ๆ แต่การศึกษาวิธีอื่น ๆ นี้ ยังได้ผลไม่ดี เท่าที่ควร

ทั้งนี้ การป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี ก็ยังคงเป็น สิ่งที่ดีที่สุด ที่จะทำให้คุณ ห่างไกลจากโรคนี้ได้ และ นอกจากนี้ หากคุณ เป็นผู้ที่มี พฤติกรรมสุ่มเสี่ยง ติดเชื้อ หรือ สงสัยว่า ตนเองได้รับเชื้อ เอชไอวีมา

การที่จะสามารถ รู้ได้ชัดเจน ว่าสรุปแล้ว เราติดเชื้อ หรือไม่

ก็คงมีทางเดียว คือ ควรไป ตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งถ้าหาก ไปตรวจแล้วพบว่ามี การติดเชื้อเอชไอวี จริงก็จะได้สามารถ เข้ารับการรักษาทันที ที่กล่าวมา ทั้งหมดนี้

เนื่องจากปัญหาในปัจจุบันที่พบอยู่บ่อย ๆ ก็คือ ติดเชื้อแล้วไม่รู้ตัว และ ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ มักจะมีอาการหนักมากแล้ว หรือ อาจจะมี ภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตราย และ ยากต่อการรักษา

ในการรับประทาน ยาต้านไวรัส นั้น จำเป็นต้องมีวินัยที่ดี ในการกินยา ต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอ และ ตรงต่อเวลา ถ้าหากว่าลืม หรือ เวลาคลาดเคลื่อนไป นึกขึ้นได้ต้องกินยาในทันที และ เริ่มนับเวลาใหม่ หลังจากกินยา  ดังนั้น หากมีวินัย ในการกินยาต้านไวรัส อย่างสม่ำเสมอ และ ตรงเวลาแล้ว ก็อาจลดโอกาส ในการเสี่ยง ที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้

ติดเชื้อ HIVหายได้ไหม

จาก ที่กล่าวมา สามารถ สรุป ได้ว่า การรักษา การติดเชื้อเอชไอวี ให้หายขาดได้นั้น ในปัจจุบันยัง ไม่มีผลการยืนยัน ว่ามีวิธี ที่สามารรักษา ให้หายขาดได้ ยังคง เป็นสิ่งที่ ทางการแพทย์ ทั่วโลก กำลังศึกษา และ คิดค้นกันอยู่ อย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น ตอนนี้สิ่งที่สำคัญ และควรทำ มากที่สุด คือ หลีกเลี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ป้องกันทุกครั้ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ดูแลตนเอง สำรวจตนเอง สม่ำเสมอ ถ้าไม่มั่นใจก็ตรวจ เพราะจะได้ รู้เท่าทันตนเอง รู้เท่าทันโรค และเพื่อที่จะ เข้ารับ การรักษาได้ โดยเร็ว ก่อนเข้าสู่ภาวะเอดส์

 

 

-ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก-

คณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

สรุปแล้ว

น้ำลายคนเป็นเอดส์โดนแผล เสี่ยงไหม?

น้ำลายคนเป็นเอดส์โดนแผล เสี่ยงไหม

การมี โอกาสในการติดเชื้อเอชไอวี จากน้ำลายนั้น ถือว่า มีโอกาสน้อยมาก ๆ หรือ อาจจะ ไม่มีเลย ก็ว่าได้ ดังนั้น อย่ากังวลไปเลย แต่ ถ้าหากว่ามีแผล  ในปากเกิดขึ้น หรือ มีเลือดออก อาจจะส่งผล ให้เกิด ความเสี่ยง มากขึ้น ก็เป็นได้ โดยทั่วไปแล้วนั้น เราจะสามารถ ใช้ชีวิต อยู่ร่วม กับผู้ป่วยเอชไอวี ได้ตามปกติ โดยที่ไม่ต้อง วิตกกังวล เช่น การกอด การจับมือ หรือ แม้กระทั่ง การจูบ แบบปิดปาก กับผู้ ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น เราไปดูกัน สิว่าแท้จริงแล้ว น้ำลายคนเป็นเอดส์โดนแผล อยู่ในปัจจัย ที่ทำให้ เราสามารถ ติดเชื้อเอชไอวี ได้หรือเปล่า

ปัจจัยสำคัญที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่
1. การมีเพศสัมพันธ์ หากการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักโดยที่ไม่ได้ป้องกัน และหากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจมีความเสี่ยงสูงที่คู่นอนจะได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายได้ จากของเหลวในช่องคลอด น้ำอสุจิ หรือ อาจเกิดบาดแผลและมีเลือดออกจากการร่วมเพศ รวมไปถึงการมีกิจกรรมทางเพศด้วยการใช้ปาก โดยความเสี่ยงที่อาจจะได้รับเชื้อเอชไอวีอาจขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่อยู่ในสารด้วย โดยปกติแล้วการมีกิจกรรมทางเพศด้วยการใช้ปากนั้นจะมีความเสี่ยงต่ำที่จะติดเชื้อผ่านทางน้ำลายของอีกฝ่ายได้
2. การใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีอาจจะทำให้ได้รับเชื้อจากเลือดที่อยู่ในอุปกรณ์นั้น ๆ โดยที่ไม่ได้ทำความสะอาดก่อน
3. การรับเลือด

โดยหลัก ๆ มี 3 ทาง ที่สามารถติดเชื้อเอชไอวีได้
– เลือดและการถ่ายเลือดรวมไปถึงการใช้เข็มร่วมกันกับผู้ป่วย หรือเครื่องมือที่ไม่ได้ ทำความสะอาดมีคราบเลือดปนเปื้อนอยู่ มีบาดแผลแล้วไปสัมผัสกับเลือด หรือน้ำเหลืองของผู้มีเชื้อ
– ทางการร่วมเพศ การร่วมเพศระหว่างชายหญิง, ชายกับชาย, โดยร่วมเพศทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก รวมทั้ง Oral sex โดยเฉพาะการใช้ปากกับอวัยวะเพศชายที่มีเชื้อเอชไอวี
– จากแม่สู่ลูก ส่วนใหญ่แล้วอาจติดเชื้อระหว่างการทำคลอด และส่วนน้อยที่ติดเชื้ออยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์และระหว่างที่แม่ให้นมลูก เป็นต้น

จากที่ กล่าวมานั้น กรณี ที่เราจะสัมผัส น้ำลาย ของผู้เป็นเอดส์ หรือ มีเชื้อเอชไอวี โดยปกติแล้ว คงมีเพียง 3 กรณี คือ จูบ การออรัลเซ็กส์ และการเล้าโลม โดยลิ้นนั่นเอง ดังนั้น คำถามที่ว่า น้ำลายคนเป็นเอดส์ โดนแผลเสี่ยงไหม ก็คง ต้องพิจารณาด้วย เรามีแผล ที่ส่วนใด ส่วนหนึ่ง ตามตำแหน่ง ที่จะมี โอกาสสัมผัส ก็มีความเป็นไปได้ ที่เราจะเสี่ยง แต่นับว่าน้อย

ทาง ที่ดีที่สุด คือ สำรวจร่างกาย ตนเอง สักนิด ว่า เป็นแผลอะไร หรือไม่ และพยายาม หลีกเลี่ยง บริเวณนั้น ที่สำคัญ หากมีเพศสัมพันธ์ ควรป้องกัน อย่างเคร่งครัด แต่ถ้าหาก ว่าเผลอทำพฤติกรรม เสี่ยงไปแล้ว ล่ะก็ แอดแนะนำว่า ตรวจให้รู้ผล ไปเลยจะดีกว่า เดี๋ยวนี้ การตรวจเอชไอวีนั้น สามารถทำได้ สะดวกมากขึ้น ทั้งไปตรวจ ที่สถานพยาบาล หรือ หากคุณ เสี่ยงมามากกว่า 21 วันแล้ว ก็สามารถ สั่งซื้อ ชุดตรวจเอชไอวีจากอินเตอร์เน็ต มาตรวจได้ค่ะ เพราะในปัจจุบัน ชุดตรวจเหล่านี้ มีมาตรฐาน มากขึ้น สามารถตรวจได้ แม่นยำ และรู้ผลเร็ว  ถ้าผลเป็นบวก คือ มีโอกาสติดเชื้อ ก็ให้ไป ตรวจยืนยันผล อีกครั้ง ที่สถานพยาบาล แต่ถ้าหาก เป็นลบ ก็สบายใจได้เลย สุดท้ายนี้ แอดขอฝาก ข้อความไว้ เพื่อเตือนใจ ทุกคนที่กำลัง อ่านอยู่ว่า “เลี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง ป้องกันเสมอ ไม่มั่นใจก็ตรวจ” แค่นี้ คุณก็รู้เท่าทัน เอชไอวีแล้วค่ะ

 

 

-ขอบคุณข้อมูลจาก กองบรรณาธิการ HONESTDOCS-

ใครเคยสั่งชุดตรวจเอดส์ในอินเตอร์เน็ตบ้าง?

 

ใครเคยสั่งชุดตรวจเอดส์ในอินเตอร์เน็ตบ้าง?

จากการที่ สำนักงาน คณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ได้อนุญาตให้ สามารถใช้ ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ได้ โดยที่ต้อง ได้รับใบอนุญาต ขาย ผลิต หรือ นำเข้าจากอย.ก่อนนั้น ทำให้ ปัจจุบันมี ชุดตรวจเอชไอวี ถูกนำมาขาย ตามอินเตอร์เน็ต มากขึ้น และพูดได้เลยว่า ส่วนใหญ่ร้านค้า เหล่านั้น ยังไม่มี ใบอนุญาตขาย ผลิต หรือนำเข้าเลย ดังนั้น หากผู้ที่มีความเสี่ยงและสนใจที่จะตรวจควรพิจารณาเลือกร้านค้าที่ดีของมีคุณภาพ โดยควรที่จะขอดูเลขอย.ของชุดตรวจก่อนเสมอ

จากที่ ชุดตรวจเอชไอวี ด้วยตนเองในปัจจุบัน มีความแม่นยำสูง ถึงแม้ จะสั่งตามอินเตอร์เน็ต ก็จะควรคำนึงถึง ความปลอดภัย และคุณภาพของชุดตรวจ ในการเลือกซื้อ สินค้า อีกด้วย จากผู้ที่เคยสั่ซื้อชุดตรวจเอชไอวีในอินเตอร์เน็ต ได้พูดถึง เกี่ยวกับ ชุดตรวจเอชไว้

โดยมีใจความ ดังต่อไปนี้ คือ อย่าไปกังวล ว่าการซื้อผลิตภัณฑ์ ชุดตรวจคัดกรอง การติดเชื้อเอชไอวี ด้วยตัวเอง นั้น เป็นสิ่งที่ น่าอาย ชุดตรวจเอดส์ ที่ปลอดภัย หรือมีความแม่นยำสูง จะต้องแสดง ฉลากข้อมูล ส่วนสำคัญ ให้ผู้บริโภครับทราบ

เช่น ข้อบ่งใช้ วิธีการใช้ วิธีการเก็บรักษา คำเตือน ข้อควรระวัง เป็นต้น ทั้งนี้ชุดตรวจเอชไอวี ที่ได้มาตรฐาน จะต้องมีเลขอย.

ทั้งนี้ ผู้จะใช้ ชุดตรวจเอชไอวี ควรจะมีความรู้ เกี่ยวกับระยะ การตรวจหา การติดเชื้อ ของชุดตรวจนั้น ๆ ประเมินว่า ตัวเอง มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี หรือไม่ นานเท่าไหร่แล้ว สามารถตรวจได้ หรือยัง

ซึ่งผู้ขาย จะมีคู่มือ แนะนำ การใช้งาน และรายละเอียด ที่ชัดเจนอยู่แล้ว และมี ข้อความว่า ใช้ตรวจ คัดกรองเบื้องต้น ด้วยตนเอง เท่านั้น หากตรวจพบ มีปฏิกิริยา (reactive) ต้องได้รับ การตรวจยืนยัน การวินิจฉัย การติดเชื้อเอชไอวีจาก หน่วยบริการที่ สามารถตรวจยืนยัน วินิจฉัย ได้  ทั้งนี้ ผู้ขาย ที่ดีมักจะ แนะนำเรื่อง ระยะเวลาหลังจาก มีความเสี่ยงแล้ว ที่สามารถตรวจได้ การแปลผล ให้ผู้ตรวจรู้เสมอ ซึ่งสำคัญที่สุด หากคุณซื้อ ชุดตรวจเอชไอวี มาจากอินเตอร์เน็ตและ พบว่าเป็นผลบวก คือ มีโอกาสพบเชื้อ คุณควร ที่จะรีบไปตรวจ ยืนยันอีกครั้งที่ หน่วยบริการ เพื่อยืนยัน ว่าคุณติดเชื้อ หรือไม่ อย่าลังเล เพราะว่า เชื้อเอชไอวีใน ระยะแรกนั้น หาก ผู้ป่วยเข้ารับ การรักษาสามารถ ใช้ชีวิตได้ อย่างคุณปกติ

ชุดตรวจ เดี๋ยวนี้มีความ แม่นยำสูงมาก ในระดับหนึ่ง หากคุณ วิตกกังวล จนเกินไป พอมี อะไรเกิดขึ้น นิดหน่อย คุณก็กลัว ว่ามันเป็นผลจาก เชื้อหรือเปล่า ซึ่งเป็น เรื่องที่คนที่เสี่ยง มาหลายคนเป็น ชุดตรวจ ที่ได้มาตรฐาน และ เป็นที่ยอมรับ หรือ อนุญาตให้ขาย ในประเทศ ก็มีอยู่มาก แต่ด้วย ที่สมัยนี้มี ชุดตรวจเถื่อน ออกมาเยอะมาก

ขาย ในออนไลน์เป็น ส่วนใหญ่จึง ควรเลือกซื้อ ชุดตรวจที่ได้ มาตรฐาน และ ควรจะเลือกซื้อ กับผู้ที่ ให้คำปรึกษาได้ ทั้งนี้ ความน่าเชื่อถือ เกี่ยวกับ ชุดตรวจที่ ซื้อมาตรวจเอง

ควรจะมีค่า ความแม่นยำ ความไวสูง ๆ และเป็น ชุดตรวจ ที่ได้มาตรฐาน

 

หากใครไม่ทราบว่าจะซื้อ ชุดตรวจHIV ที่ไหน แนะนำ ยี่ห้อ อินสติ หรือ Insti เป็นชุดตรวจยี่ห้อแรก ในขณะนี้ที่ผ่านมาตรฐานอย.ไทย ซึ่งผลิตได้มาตรฐานจากประเทศแคนาดา มีมาตรฐานทั้ง Health Canada, WHO และ CE สามารถหาซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้ง Shopee, Lazada, JD Central,  Line My Shop หรือ แอดไลน์โดยตรงที่ @insti หรืออีกช่องทางคือสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ได้โดยตรงที่ www.thailandhivtest.com

อินสติชุดตรวHIV ด้วยตัวเอง ผ่านอย.ไทย นำเข้าถูกต้องตามกฎหมาย มีจำหน่ายที่ร้านขายยาทั่วประเทศ

 

วิธี อยู่ ร่วม กับ คน ติด เชื้อ เอดส์ ควรปฏิบัติตนอย่างไร

วิธีอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

วิธี อยู่ ร่วม กับ คน ติด เชื้อ เอดส์ ควรปฏิบัติตนอย่างไร

หากเรา มีความจำเป็น ต้องอยู่ร่วมกับ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV โดยเรา ไม่ต้องกังวล ว่า เราจะติดเชื้อไวรัส HIV รึเปล่า แต่ถ้า หากเราทราบถึง วิธี หรือแนวทาง การป้องกัน หรือการปฏิบัติ ต่อผู้ป่วยโรคเอดส์ ได้อย่างถูกต้อง โดยเริ่มศึกษา ข้อมูลที่เกี่ยวกับ โรคเอดส์ ทั้งสาเหตุ อาการ การติดต่อ และ การรักษา อย่างถูกวิธี

เพื่อช่วยให้ ดูแลผู้ป่วย อย่างเหมาะสม และมีคุณภาพ ชีวิตจิตใจที่ดีขึ้น หากผู้ที่จำเป็น ต้องอาศัย อยู่กับผู้ป่วยเอดส์ หรือผู้ติดเชื้อ เอชไอวีจริง ๆ โดยเฉพาะ คนในครอบครัว นั้น จึงเป็นบุคคล สำคัญที่ช่วย ให้ผู้ป่วย มีคุณภาพ ชีวิตจิตใจ ที่ดีขึ้น เพราะนอกจาก คอยให้กำลังใจ แล้ว ยังต้องคนดูแลผู้ป่วย ให้มีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ และช่วยสร้าง สภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ให้สามารถ อำนวยความสะดวก และเหมาะสมแก่ ผู้ป่วยด้วย โดยทั่วไป เราจะสามารถ ติดเชื้อเอชไอวี ได้จาก 3 ช่องทางหลัก ๆ คือ ติดต่อผ่านทางเลือด หรือการมีเพศสัมพันธ์ และ จากแม่สู่ลูกในครรภ์ แต่ผู้ที่ ต้องอยู่ร่วมกับ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ก็ต้อง ดูแลตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ ด้วยเหมือนกัน วิธี อยู่ ร่วม กับ คน ติด เชื้อ เอดส์  เช่น

1. การปฏิบัติ ต่อผู้ป่วย เหมือนคนปกติ คอยรับฟัง ปัญหา พร้อมกับให้คำปรึกษา ที่ดี และถูกต้องแก่ ผู้ป่วย เพื่อทำให้ เขารู้สึกสบายใจ

2. การทำ ที่อยู่อาศัย ให้เหมาะสม โดยเฉพาะ ผู้ป่วย ที่มีอาการรุนแรง ควรจัดบริเวณที่ อยู่อาศัยให้เหมาะแก่ การผ่อนคลาย เพื่อไม่ใช้ ผู้ป่วยเครียด

3. การดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วย ควรให้ผู้ป่วย หมั่นพลิกตัว และทำกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันปัญหาทาง สุขภาพ ที่ตามมา ในภายหลัง อย่างเช่น แผลกดทับ หรือข้อติดแข็ง เป็นต้น

4. การดูแลด้านอาหาร สำหรับผู้ป่วย อาหาร ก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน ควรมี ความสะอาด เป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ อุปกรณ์เครื่องใช้ ในครัว และผู้ประกอบอาหาร ก็ควรดูแล ความสะอาด ด้วยเช่นกัน

5. การให้ผู้ป่วย รับประทาน ยาอย่างสม่ำเสมอ ควรสร้างวินัย ให้กับผู้ป่วย ในการรับประทาน ยาครบ ทุกมื้อ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกัน ประสิทธิภาพ ของยาลดลง

การใช้ชีวิต ร่วมกัน กับ ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี นอกจาก จะต้อง ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ก็ควรระมัดระวัง ในการสัมผัส สารคัดหลั่ง ของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน โดยสวมถุงมือยาง ทุกครั้ง และล้างมือ ด้วยสบู่เหลว รวมถึง แยกทิ้งขยะ ที่มีสารคัดหลั่งปะปน ออกจากขยะชนิดอื่น ๆ อีกด้วย และควรใช้ความระวังให้มากขึ้น เมื่อถือเข็มฉีดยา หรือของมีคมต่าง ๆ ที่มีเลือด ของผู้ป่วย ติดอยู่ รวมถึง การใช้ห้องน้ำ ร่วมกับ ผู้ติดเชื้อ ก็ควรมีความระมัดระวังด้วยเช่นกัน

 

                         -ขอขอบคุณ ที่มาของข้อมูลโดย กองบรรณาธิการ HONESTDOCS –

ระยะเวลาผลตรวจ NAT เร็วหรือช้ากว่าการตรวจปกติอย่างไร?

ระยะเวลาผลตรวจ NAT

ระยะเวลา ผลตรวจ NAT เร็ว หรือช้ากว่า การตรวจปกติอย่างไร?

การ ตรวจ NAT คืออะไร ระยะเวลาผลตรวจ NAT นั้น ช้า หรือเร็วแค่ไหน ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ การตรวจ NAT กัน ก่อนดีกว่า การตรวจ NAT (Nucleic Acid Amplification Testing) เป็น การตรวจหาเชื้อเอชไอวี โดยตรงของเชื้อ โดยใช้ การตรวจหาเชื้อ และหาผล ที่น่าเชื่อถือได้ หลังสัมผัสเชื้อราว ๆ 1 สัปดาห์ โดย “แนท” เป็นการตรวจ วินิจฉัย หาเชื้อเอชไอวี ในรูปแบบใหม่ ที่คลินิก นิรนามต่าง ๆ และนำมา ใช้เป็นแนวทาง ใน การตรวจแบบแนท

การตรวจ NAT อาจเรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรม ใหม่ล่าสุด

สำหรับผู้ที่ มีความเสี่ยง ต่อการรับเชื้อเอชไอวี หรือ อาจมีความวิตกกังวล หลังจากที่ ได้รับความเสี่ยงมา  โดยนวัตกรรมนี้ จะมีความรวดเร็ว ปลอดภัย และแม่นยำสูงมาก หากท่านไม่จำเป็น ต้องรอ เป็นระยะเวลานาน ถึงหนึ่งเดือน อย่างที่ผ่านมา

ส่วนใหญ่ ผู้ที่มีความสุ่มเสี่ยง ติดเชื้อเอชไอวี จะสามารถตรวจพบเชื้อ โดยวิธีการตรวจแนท ได้ที่ประมาณหนึ่งสัปดาห์ หลังได้รับความเสี่ยงมา แต่วิธีการนี้ ยังไม่ใช้โดยทั่วไป ในการตรวจคัดกรอง เพราะอาจเกิดผลบวกปลอม (false positive) ดังนั้น การติดตาม คนเหล่านี้ หลังจากได้รับยาต้าน ไปประมาณ 10-12 เดือน จึงนัดตรวจ เลือดอีกครั้ง เพื่อตรวจว่า ในเลือด และในน้ำคัดหลั่ง ไม่มีเชื้อยัง มีเชื้ออยู่ หรือไม่

หากนำเม็ดเลือดขาว ของคนไข้ ไปตรวจ และพบว่าแทบจะไม่มีเชื้อ แฝงอยู่ใน เม็ดเลือดเลยเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะโดยธรรมชาติ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี จะมีตัวเชื้อ ไปแฝงตัวอยู่ ในเม็ดเลือดขาว ทำให้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาด

โดยโอกาส ที่ผู้ป่วยจะหายเองได้นั้น มีมากขึ้น ถ้าผู้ป่วย กินยาต้าน ไปแล้ว 5 ปี ก็สามารถ หยุดยา ได้โดยที่เชื้อ ไม่กลับมาอีก อาจไม่ต้องกินยา ไปตลอดชีวิตทั้ง ที่อาจจะมีเชื้อ อยู่แต่เชื้อจะไม่โผล่ออกมา

แต่อย่างไรก็ตาม ต้องคิดเสมอว่า ทุกคน อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และควรที่จะไปตรวจเลือด ในทุก ๆ 1 ปี หรือ มากกว่านั้น ก็ได้ถ้าอยู่ ในกลุ่มเสี่ยงมาก ถ้าตรวจเจอเร็ว รักษาเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และเพื่อมีสุขภาพที่ดีขึ้น เทียบเท่า ผู้ที่ไม่ติดเชื้อ

สรุปแล้ว ระยะเวลาผลตรวจ NAT ใช้เวลาเท่าใด

สามารถ ทราบผลได้ภายใน 1 วัน และสามารถตรวจ ในผู้ที่มีความเสี่ยงมาแล้ว 3 – 7  การตรวจแนท จึงเป็นวิธีการตรวจ ที่รวดเร็วที่สุด ในบรรดา การตรวจเอชไอวี โดยถ้าตรวจกับ ชุดตรวจธรรมดาทั่วไป จะสามารถตรวจเจอ หลังได้รับเชื้อแล้ว 3 – 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นชุดตรวจสมัยใหม่บางชนิด ด้วยเหตุนี้ การตรวจเชื้อผ่าน “แนท” จึงเป็นการช่วยย่นระยะเวลาการฟักตัว ของเชื้อเอชไอวี และจะทำให้เรารู้เร็วผลที่เร็วยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องรอผลนานเกินไป หมดกังวล และเมื่อรู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เราก็สามารถป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยได้เร็ว และยังสามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ด้วย โดยประโยชน์ของการตรวจ “แนท” คือ จะมีความแม่นยำ และรวดเร็วกว่าการตรวจแบบธรรมดาทั่วไป ที่ตรวจหาแอนติบอดีที่ต้องอาจจะใช้ระยะเวลารอหลังเสี่ยงประมาณ 2 – 12 สัปดาห์

-ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ-

การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HIV ควรเริ่มต้นอย่างไร ?

การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HIV

 

การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HIV หากรู้ว่าตัวเอง ติดเชื้อ HIV เราควรคำนึง ถึง การดูแลตัวเอง เป็นหลัก ๆ ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของอาหาร การใช้ห้องน้ำหรือ การใช้ชีวิตร่วม กับผู้อื่นโดยที่ไม่ต้องกังวล ว่าเราจะนำเชื้อ ไปแพร่ หรือเปล่า ท่านจะต้อง รู้จักป้องกันตัวเอง เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ได้ ง่าย

สามารถบอก คนรอบข้าง ได้ว่า ตนเอง นั้นเป็น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ถึงแม้ว่า การเปิดเผยตนเองนั้น อาจจะทำให้ ผู้ป่วยรู้สึกไม่ดี หรืออึดอัดใจได้ แต่การบอกคน ที่เรารัก หรือครอบครัว เพื่อน บุคคลใกล้ชิด

แม้กระทั่ง คู่นอนทราบว่า ตนเองเป็น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เพราะทั้งตนเอง และคนรอบข้างนั้น จะได้ เตรียมรับมือและปฏิบัติตัว ตามข้อควรระวัง หรือขั้นตอนต่าง ๆ ในการดูแล ได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย

การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HIV ควรดูแลยังไงบ้าง?

1.การรับประทานยา ตามที่แพทย์ สั่งอย่างเคร่งครัด ตรงเวลา การดูแลตัวเอง เมื่อติดเชื้อ HIV หนึ่งในสิ่งที่ควรทำ คือ ควรรับประทาน ยาอย่างเคร่งครัด ตรงเวลา

2.การรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ แก่ร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี และแหล่งโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เพราะ การรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ อาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายที่แข็งแรง

3.การ ออกกำลังกาย อย่างเหมาะสม นอกจากการออกกำลังกาย จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพ ให้แข็งแรงแล้วนั้น ยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิต และบุคลิกภาพที่ดียิ่งขึ้น อีกด้วย

4.การ ดูแลสุขภาพจิต เป็นเรื่องปกติ ที่ผู้ป่วยจะรู้สึก เครียดจากโรค ที่ตนเองเป็นอยู่ หรือซึมเศร้า และวิตกกังวล เป็นอย่างมาก หลังจากทราบว่า ตนเองติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งผู้ป่วย สามารถ สอบถามข้อมูล ด้านนี้เพิ่มเติมได้ จากสถานพยาบาล ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั่วไปได้

5.การสูบบุหรี่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี อาจจะมีแนวโน้ม ที่จะได้รับผลข้างเคียงต่าง ๆ จากการสูบบุหรี่ มากกว่าคนทั่วไป และบุหรี่ ยังเพิ่มความเสี่ยง และก่อให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาด้วย

6.เลิกใช้ยาเสพติด การใช้ยาเสพติด เช่น โคเคน เฮโรอีน หรือยาบ้า อาจทำให้อาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยแย่ลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสพยาด้วยการใช้เข็มฉีดยา ร่วมกับผู้อื่น อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้เชื้อเอชไอวี ในร่างกายเจริญเติบโต ได้รวดเร็ว

7.ลดความเสี่ยง การแพร่เชื้อเอชไอวี สู่ผู้อื่น เชื้อเอชไอวีสามารถ แพร่กระจายผ่านทางของเหลวต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่น และน้ำนม ดังนั้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ควรใช้ถุงยางอนามัย ทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดความเสี่ยง ในการแพร่เชื้อ แก่คนที่เรารัก

8.การป้องกัน ตนเองจากการติดเชื้ออื่น ๆ หมั่นรักษาสุขภาพปาก และฟัน หลังรับประทานอาหาร ทุกครั้ง ด้วยการแปรงฟัน ทุกครั้ง หลังรับประทานอาหาร หรือ หมั่นตรวจสุขภาพช่องปาก กับทันตแพทย์ปีละครั้ง ผู้ป่วย ไม่ควรใช้เข็มฉีดยา ร่วมกับผู้อื่น เพราะ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีภูมิต้านทานโรคต่ำ กว่าคนปกติ จึงอาจทำให้ ติดโรคได้ง่าย

 

-ขอขอบ คุณข้อมูลจาก POBPAD-

 

อย่างไรก็ตาม เราขอเป็นกำลังใจ ให้กับผู้ป่วย ติดเชื้อเอชไอวี ทุกท่าน และขอรณรงค์ ให้ทุกท่าน สวมใส่ถุงยางอนามัย ทุกครั้ง ที่จะมีเพศสัมพันธ์ เพราะมันคงไม่สนุกแน่ ๆ หาก คุณได้รับความเสี่ยงมา

 

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทํางาน ตรวจอะไรบ้าง เจอ HIV หรือเอดส์ ไหม

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง? เจอ HIV ไหม

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทํางาน ตรวจอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง ของแต่ละบริษัทหรือ โรงงานต่าง ๆ นั้น จะแตกต่างกันออกไป แล้วเราจะเจอการตรวจอะไรบ้าง มีการ ตรวจHIV ไหม จะตรวจเจอเอดส์ หรือ ตรวจอะไรมากกว่าปกติ หรือเปล่า การตรวจสุขภาพ อาจขึ้นอยู่กับลักษณะงาน และหน้าที่ที่รับผิดชอบ ของแต่ละบริษัท หรือ หน่วยงาน เพราะแต่ละตำแหน่งงาน มีความเสี่ยง และความจำเป็น ในการตรวจสุขภาพ ไม่เหมือนกัน

ดังนั้น แต่ละบริษัท หรือโรงงาน จะมีการตรวจร่างกาย ที่ไม่เหมือนกัน ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ของบางบริษัท หรือบางโรงงาน ก็ให้ตรวจ ร่างกายทั่วไป โดยแพทย์ X-ray ปอด เจาะเลือด แต่อาจจะมีบางบริษัท หรือบางโรงงาน ที่ไม่ต้องเจาะเลือด หรือบางบริษัท อาจให้ไปตรวจ กับโรงพยาบาลที่เจาะจง หรือบางที่ ก็อาจจะให้ไปตรวจด้วยตนเอง ตามรายการที่ระบุไว้

โดยทีมแพทย์ จะสอบถามประวัติ เพื่อหาความ เสี่ยงของโรค โดยเฉพาะกลุ่มคน ที่ครอบครัว ที่มีประวัติทางด้านการป่วย ด้วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น

การตรวจสุขภาพ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยง การเกิดโรคต่าง ๆ สามารถรับการ ตรวจได้ฟรี ปีละ 1 ครั้ง เช่น การตรวจมะเร็ง ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจการทำงานของไต และตรวจไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทํางาน ตรวจอะไรบ้าง โดยทั่วไปแล้ว การตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ที่บริษัท หรือ โรงงานต่าง ๆ มีพื้นฐาน ในการตรวจ ดังต่อไปนี้
• การ ตรวจสุขภาพพื้นฐาน เช่น การถามประวัติ และตรวจร่างกาย ทั่วไปโดยทีมแพทย์ ตรวจชีพจร ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน เป็นต้น
• การตรวจ สายตา หรือตรวจหู เพื่อวัดความสามารถ ในการมองเห็น และการได้ยินเสียง สำหรับงาน ที่จำเป็นต้องใช้สายตา หรือการได้ยินเสียง
• การตรวจ X-ray ปอด ตรวจ โรคระบบทางเดินหายใจ
• การ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หรืออุจจาระ
• การตรวจความ สมบูรณ์ของเม็ดเลือด และเกล็ดเลือด
• การตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
• การตรวจ โรคติดต่อต่าง ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ วัณโรค และโรคติดเชื้อ เอชไอวี (ตรวจหาเชื้อ hiv)
• การตรวจสุขภาพ ของฟัน
• การตรวจการตั้งครรภ์
• การตรวจอื่น ๆ เช่น ตรวจหาสารเสพติด ตรวจหาเชื้อ HIV ตรวจโรคเอดส์ หรือ ที่เฉพาะอาชีพ หรือตามลักษณะงาน ตามข้อกำหนดของบริษัท หรือองค์กรนั้น ๆ

 

-ขอขอบคุณ ที่มาของข้อมูลโดย กองบรรณาธิการ HONESTDOCS-

 

แต่ ทั้งนี้ทังนั้น ตาม กฎหมายแรงงาน ไม่ได้ มีการบังคับ ให้การรับเข้าทำงาน ต้องตรวจสุขภาพ เป็นนโยบาย ของสถานที่ทำงาน ที่กำหนดขึ้นมาเอง ซึ่ง ไม่ได้ผิดกฎหมายใด หากจะผิดกฎหมาย ก็ต่อเมื่อ มีการบังคับให้ตรวจ โรคเอชไอวี และบังคับ ให้เผยแพร่ ข้อมูลผลการตรวจ ซึ่งเป็นการ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยที่ผู้อื่น ไม่สามารถ บังคับให้เรา เปิดเผยผลการตรวจได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทางบริษัท ก็อาจจะชู เป็นข้อกำหนด ในการรับเข้าทำงาน ทำให้ทางผู้สมัคร อาจจะต้อง ตัดสินใจเองว่า จะสมัครงานที่นี่ หรือไม่ หรือควรสอบถามข้อมูลการสมัครงานกับแผนกบุคคลก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการพบเจอปัญหาเหล่านี้

ข้อควรทราบ เมื่อใช้ ชุดตรวจ HIV ด้วยตัวเอง

 

“ชุดตรวจ HIV ด้วยตัวเอง” นับเป็นเรื่องที่ดี ในการป้องกัน และลด การแพร่กระจาย เชื้อเอชไอวี จากการที่ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศเรื่อง ชุดตรวจ ที่เกี่ยวข้อง กับ การตรวจคัดกรอง การติดเชื้อเอชไอวี ด้วยตนเอง พ.ศ. 2562 ซึ่งนับเป็นเรื่อง ที่ประชาชน ในสังคมให้ความสนใจ เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มีการตั้งคำถาม เกี่ยวกับการตรวจ การติดเชื้อเอชไอวี ด้วยวิธีดังกล่าว อย่างมากมาย ถึงความแม่นยำ ความปลอดภัย และข้อควรระวัง หรือควรรู้อะไรบ้าง ที่เราจำเป็นต้องรู้ หรือทำความเข้าใจ หากมีชุดตรวจคัดกรอง การติดเชื้อเอชไอวี ด้วยตนเอง หรือ HIV Self Testing (HIVST) ที่ผ่านการรับรอง จากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อ.ย.) วางขายในท้องตลาด เพื่อเพิ่ม ทางเลือก ในการคัดกรองการติดเชื้อ แทนที่จะต้องไปตรวจที่ รพ เท่านั้น

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า การอนุญาต ให้ประชาชนเข้าถึง การตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี ด้วยตนเอง

ในครั้งนี้ เป็นมาตรการหนึ่ง ที่ช่วยเรื่อง การยุติปัญหาเอดส์โดย อย.ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชุดตรวจ ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชุดตรวจที่เกี่ยวข้อง กับการตรวจคัดกรอง การติดเชื้อเอชไอวี ด้วยตนเอง พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศ ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2562 และมีผลบังคับทันที

 

 

การที่ปัจจุบัน มีชุดตรวจที่สามารถตรวจ ได้ด้วยตัวเองนั้น ทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยง สามารถตรวจหาเชื้อ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก การวินิจฉัยแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความกังวลใจ ไม่ปล่อยให้ตัวเอง มีอาการ หรือพบการติดเชื้อ ในระยะที่ทำการ รักษาลำบาก ยิ่งตรวจพบได้รวดเร็ว ยิ่งรักษา และดูแลร่างกายได้ง่าย อยู่ร่วมกับ คนในสังคม ได้ตามปกติได้ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการรับเชื้อเอชไอวี ยังสามารถหาซื้อ ชุดตรวจ HIV  ได้ตามร้านขายยาทั่วไป สร้างพฤติกรรมการตรวจ ให้เข้าถึงง่าย และไม่อาย ที่จะตรวจหาเชื้อ นอกจากนี้ ถ้าผู้รับการตรวจ ติดเชื้อเอชไอวี จะทำให้ ได้รับการรักษา ที่ถูกต้อง รวดเร็ว ได้รับทราบข้อมูล ในการดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรง รวมถึงเทคนิค ในการเสริมสร้าง ภูมิคุ้มกัน โรคเพื่อลดความเสี่ยง ที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกัน ถูกทำลาย จากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี และนำไปสู่ผู้ป่วย โรคเอดส์เต็มขั้น

 

ข้อควรทราบ เมื่อใช้ ชุดตรวจ HIV ด้วยตัวเอง

การตรวจหาเชื้อ HIV ด้วยตัวเอ นอกจากจะมีข้อดี ในหลาย ๆ ด้าน แต่ผู้ที่ต้องการตรวจ จำเป็นต้องทำความเข้าใจ วิธีการใช้ วิธีอ่านค่า อย่างละเอียด เพื่อให้ได้ผล ที่ใกล้เคียง กับความจริง ให้ได้มากที่สุด ทำความเข้าใจว่า ระยะ window period คืออะไรและ มีความสำคัญอย่างไร ในกรณี ที่ใช้เครื่องตรวจ ไม่ถูกต้อง เช่น อ่านค่าจากชุดตรวจผิด ใช้ตรวจผิดเวลา หรือแม้กระทั่ง การตรวจเพียงครั้งเดียว อาจไม่สามารถยืนยันผล การตรวจได้แน่ชัด 100% นอกจากนี้การตรวจเอง โดยไม่ได้รับ คำแนะนำจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ยังอาจทำให้ เกิดผลกระทบทางจิตใจ มากขึ้นไปด้วย หากใช้ชุดตรวจดังกล่าว แล้วพบว่ามีปฏิกิริยา (reactive) ต้องได้รับ การตรวจยืนยัน การวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี จากหน่วยบริการ ที่สามารถตรวจยืนยัน วินิจฉัยได้อีกครั้ง หนึ่งเสมอ ไม่ควรตรวจเอง เพียงครั้งเดียวแล้วเข้าใจว่าตัวเองติด/ไม่ติดเชื้อไปเอง เพราะชุดตรวจเป็นการตรวจสอบเพียงเบื้องต้นเท่านั้น