การรักษาโรคเอดส์ให้หายขาด สามารถทำได้หรือไม่

การรักษาโรคเอดส์ให้หายขาด

การรักษาโรคเอดส์ให้หายขาด โรคเอดส์ (AIDS) เกิดจากการ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเชื้อเอชไอวี ที่ไปสู่ร่างกาย จะเข้าไปทำลาย เซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งจะเป็นเซลล์ ที่ทำหน้าที่ คอยกำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย หากเซลล์เม็ดเลือดขาว ได้ถูกทำลายลงมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผู้ที่ติดเชื้อ มีภูมิต้านที่ลดน้อยลง จนในที่สุดร่างกาย ก็ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ จึงทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ สามารถเกิดโรคแทรกซ้อน ได้ง่ายขึ้น และจะส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น วัณโรค ปอดอักเสบ เชื้อรา เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยโรคเอดส์ มักจะมีโอกาส ในการเสียชีวิตลง ด้วยโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ

ในอดีตผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเอดส์ จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงมาก หรือแทบจะไม่มีความหวัง ในการใช้ชีวิต เหมือนกับคนปกติทั่วไป จึงทำให้แพทย์มุ่งเน้น ในเรื่องของการรักษาโรคเอดส์ อย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปี จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ได้มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นมากมาย เกี่ยวกับ การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ให้มีความหวังต่อไป

สำหรับการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี ปัจจุบันยังคงเป็นการใช้ยา เพื่อยับยั้งการแบ่งตัว ของเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วย สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เหมือนกับคนทั่วไป และยังมีอายุไข ที่ใกล้เคียงกับคนปกติ แต่การที่จะรักษาการติดเชื้อ ให้หายขาดได้ ก็ยังคงอยู่ในระหว่างการพัฒนา ของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ที่สามารถรักษา ให้หายขาด เพียงรายเดียวเท่านั้น ที่ผ่านการยืนยัน ว่าได้หายจากการติดเชื้อเอชไอวีจริง ๆ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ที่ติดเชื้อมานาน และได้มีการป่วย เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวร่วมด้วย โดยผู้ป่วยติดเชื้อดังกกล่าว ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก เพื่อรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเซลล์ที่ปลูกถ่าย จะเป็นเซลล์ชนิดพิเศษ โดยจะมีคุณสมบัติ ที่สามารถต้านการติดเชื้อเอชไอวีได้ และทำให้เชื้อเอชไอวีไม่กลับมาอีก หลังจากที่ได้มีการติดตามผลการรักษา มาเป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี ก็ได้พบว่า ผู้ป่วยรายนี้ ไม่ต้องกินยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีต่อไปอีกแล้ว และสามารถใช้ชีวิตได้ เหมือนกับคนปกติทั่วไป

การรักษาโรคเอดส์ให้หายขาด สำหรับการวิจัย เกี่ยวกับ การรักษาการติดเชื้อเอชไอวี ให้หายขาดได้ จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
1. การปลูกถ่าย ไขกระดูสันหลัง ดังเช่นผู้ป่วย ที่กล่าวมาในข้างต้น
2. การเริ่มยาต้านเอชไอวี อย่างเร็วภายใน 2 สัปดาห์แรก ก่อนที่ผลตรวจเลือด จะออกมาเป็นบวก
3. การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การใช้ยาบางชนิดเพื่อกระตุ้นเชื้อเอชไอวี ให้ออกมาจากเซลล์

ทั้งนี้ การรักษาการติดเชื้อเอชไอวี ให้หายขาดได้ ปัจจุบันทางการแพทย์ ยังอยู่ในระหว่าง การวิจัย และคิดค้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่ทราบว่าตนเอง นั้นมีความเสี่ยง และเข้ารับ การตรวจเลือด เพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี เพื่อให้ได้รู้ผลที่แน่ชัด และได้รับการรักษา ที่ถูกวิธีโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม หากคุณมีความกังวล ว่าได้รับความเสี่ยง ในการติดเชื้อเอชไอวีมาแล้ว ควรเข้ารับการตรวจเลือด เพื่อยืนยันผลที่แน่ชัด หรือสำหรับใคร ที่ไม่กล้า ที่จะไปตรวจตามโรงพยาบาล ก็แนะนำ ให้เลือกหาชุดตรวจ ที่คัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง ลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน มาตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อเอชไอวี เพราะหากตรวจพบเชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะได้เตรียมเข้ารับการรักษา และรับยาต้านเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้ก็หมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

เมื่อไหร่ที่คุณควรไปตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี

ผู้ที่ควรไป ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี เนื่องจากได้รับความเสี่ยงมาโดยสามารถแจกแจงได้ดังนี้

  • ไปมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้มีการป้องกัน กับผู้ที่เราไม่ทราบผลเลือด
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ตนเองมีบาดแผล และพลาดสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่งจากผู้ที่ไม่ทราบผลเลือด บาดแผลที่กล่าวถึง หมายถึงบาดแผลที่มีลักษณะ เป็นแผลในช่องปากขนาดเล็กแล้วทำการ Oral Sex และได้มีการหลั่งภายใน
  • มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ที่ถูกล่วงละเมิอทางเพศไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่นำไปสู่การติดเชื้อ HIV ได้
  • หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ เป็นการตรวจเพื่อวางแผนการมีบุตร ซึ่งถ้าหากตรวจพบว่า ติดเชื้อเอชไอวี จะสามารถเข้าสู่กระบวนการดูแลคุณแม่ในการตั้งครรภ์ อย่างปลอดภัย และดูแลทารกในครรภ์ไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีจากคุณแม่ได้
  • ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากหากพบโรคใดโรคหนึ่งของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจโรคอื่นๆ เพิ่ม
  • ป่วยด้วยวัณโรค เนื่องจากเอชไอวี ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
  • ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อ HIV

เลือดคนเป็นเอดส์เข้าปาก เสี่ยงไหม?

เลือดคนเป็นเอดส์เข้าปาก เสี่ยงไหม
เลือดคนเป็นเอดส์เข้าปาก เสี่ยงไหม ปัจจุบัน ยังมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โรคเอดส์ หลายประการ ซึ่งโรคเอดส์นั้น จะเป็นโรคที่ ไม่สามารถติดต่อได้ จากการสัมผัส ไม่สามารถติดต่อได้ ผ่านการกอด และการสัมผัสภายนอกร่วมกัน เช่น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ห้องน้ำร่วมกัน หรือรับประทานอาหารร่วมกัน นอกจากนี้ เชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ ยังไม่สามารถติดต่อได้ ผ่านทางลมหายใจ เช่น ไข้หวัด และยังไม่สามารถติดต่อได้ ผ่านทางพาหะนำโรค เช่น ยุง

โดยทั่วไปสาเหตุหลัก ๆ ใน การติดเชื้อเอดส์ ได้นั้น คือ การมีเพศสัมพันธ์ โดยที่ไม่มีการป้องกัน และยังมีข้อมูล ที่ยืนยันความชัดเจนว่า 80% ของผู้ป่วย จะติดเชื้อเอดส์ จากการมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ได้มีการป้องกันใด ๆ
โรคเอดส์ (AIDS) เป็นโรค ที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี ที่ได้ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายให้มีการเสื่อมสภาพลง คุณจะเป็นโรคเอดส์ได้ ก็ต่อเมื่อได้ติดเชื้อ และละเลยที่จะเข้ารับการรักษา จนอยู่ในระยะที่อันตรายที่สุด  หรือขณะที่ ปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำ ฉะนั้น โรคเอดส์ คือ ระยะที่ร้ายแรง ที่สุดของการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) จนอาจทำให้เสียชีวิตลงได้

โรคเอดส์ สามารถติดต่อได้ ผ่านทางไหนได้บ้าง
1. ติดต่อได้ ผ่านทางเลือด การใช้เข็มร่วมกัน เครื่องมือที่ไม่สะอาด อาจมีคราบเลือดปนเปื้อน หรือหากมีบาดแผล แล้วดันไปสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่ง ของผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์
2. ติดต่อได้ ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ คือ การมีเพศสัมพันธ์ ระหว่างชายหญิง, ชายกับชาย, มีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด หรือทวารหนัก ซึ่งรวมไปถึงการทำ Oral sex โดยเฉพาะการใช้ปากกับอวัยวะเพศชายที่มีเชื้อเอดส์
3. ติดต่อได้ จากแม่สู่ลูก ส่วนใหญ่แล้วจะติดต่อ ได้ในระหว่างการทำคลอด ส่วนน้อยจะติดได้ระหว่างที่เด็ก อยู่ในครรภ์ และระหว่างที่แม่ให้นมลูก

เลือดคนเป็นเอดส์เข้าปาก เสี่ยงไหม จากข้างต้นที่กล่าวมา หาก เลือดได้มีการกระเด็นเข้าปาก ถ้ามีเชื้อเอชไอวี และถ้าเชื้อ พึ่งออกจากร่างกาย ผู้ที่ติดเชื้อได้ไม่นาน โดยที่เราเองก็มี แผลในปาก ก็มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อได้ เพราะเนื่องจากว่า เลือดจะมีการสัมผัส กับเยื่อบุภายในช่องปาก แต่ถ้าหากว่าเลือด ได้ออกจากร่างกายผู้ที่ติดเชื้อ นานหลายชั่วโมงแล้ว หรือหากเลือดโดนความร้อน โดนแสงแดด เชื้ออาจจะตายหมด ถ้าหากกระเด็นเข้าปาก ก็ไม่อาจจะทำให้ มีการติดเชื้อได้

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลไหน หากคุณมีความกังวลเล็กน้อย ว่าอาจติดเชื้อเอชไอวี หรือไม่ แนะนำว่าสิ่งที่คุณควรทำ ก็คืิ การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี เพื่อคลายความกังวลใจ เพราะการตรวจเลือด จะเป็นวิธีเดียวที่จะรู้ว่า คุณติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ การไปตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อเอชไอวี ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความกังวล และจะทำให้คุณ เข้ารับการรักษา ที่ถูกต้อง และเหมาะสม

หากคุณ ติดเชื้อเอชไอวี การได้รับการวินิจฉัย ตั้งแต่เริ่มแรก จะช่วยให้คุณ ดูแลสุขภาพของตนเอง อีกทั้งยังรวมไปถึง คนที่คุณห่วงใย เพราะถึงแม้ว่า ผลเลือดของคุณ จะบ่งบอกว่าคุณ คือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อก็ตาม อย่างน้อยผลดีของมันก็มีมากกว่าผลเสีย

โดยคุณ เข้ารับการรักษา ในระยะแรกๆ หรือระยะที่สามารถรักษาได้ ไม่ใช่ระยะเอดส์ คุณจะสามารถมีชีวิตได้ อย่างคนปกติ มีอายุขัยที่ยาวนาน หากรับประทาน ยาต้านไวรัสทุกวัน และเข้าพบคุณหมอ เพื่อเฝ้าระวังอาการสม่ำเสมอ อีกทั้งคุณยังจะสามารถ บอกกับครอบครัว หรือผู้ใกล้ชิดของคุณให้รู้ตัวได้ ซึ่งเป็นการ ป้องกันการแพร่เชื้อ คนที่คุณรักจะได้ ไม่ติดเชื้อเอชไอวี

และหากว่า ใครที่ไม่กล้าไปตรวจเลือด ตามโรงพยาบาลหรือคลินิก ก็แนะนำให้หา ชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง ปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน มาตรวจคัดกรองเบื้องต้นก่อน เพื่อให้มีความสบายใจ คลายกังวลลงบ้าง ซึ่งการตรวจคัดกรองในปัจจุบันนี้ สามารถเชื่อถือผลได้มากกว่า 99%  ขอสนับสนุนให้ซื้อชุดตรวจ ที่มีเลขอย.ไทย

ทั้งนี้ไม่ว่าคุณจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ แอดมินก็ขอแนะนำให้ทุกคนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายของเรา ทำงานได้อย่างสมดุล

วิธีสังเกตคนเป็นเอดส์

วิธีสังเกตคนเป็นเอดส์
วิธีสังเกตคนเป็นเอดส์ โรคเอดส์ เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ย่อมาจากคำว่า (Human Immunodeficiency Virus) เป็นเชื้อไวรัส ซึ่งในขณะที่โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome) จะเป็น กลุ่มอาการของโรค ที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ เมื่อระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายได้ถูกเชื้อไวรัส ทำลายไปแล้ว จนทำให้ร่างกายของ ผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้ กับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ ด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้ร่างกายของผู้ป่วย อาจมีภาวการณ์ติดเชื้อ แทรกซ้อนได้ง่าย

โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร

โรคเอดส์ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งในความคิดของหลาย ๆ คน เชื่อว่าโรคนี้ สามารถติดต่อกันได้ง่าย จนทำให้หลายคนรู้สึกเป็นกังวล เมื่อต้องเข้าไปอยู่ใกล้ชิด หรือ แม้แต่การใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

ทว่าโรคเอดส์นั้นสามารถ ติดต่อกันทางใดได้บ้าง เรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ และศึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เตรียมรับมือกับความเสี่ยง ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมโรคเอดส์เกิดจาก เชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งอาศัยอยู่ในสารคัดหลั่งต่าง ๆ ของร่างกายผู้ป่วย ได้แก่ เลือด อสุจิ นำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศชาย หรือ ของเหลวที่อยู่ในช่องคลอด และทวารหนัก

ทั้งนี้ยังรวมไปถึงน้ำนมที่ให้ทารกดูดกิน โดยทั่วไปแล้ว คนที่จะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้นั้น ก็ต่อเมื่อไปสัมผัส กับสารคัดหลั่งโดยตรงทั้งๆ ที่มีบาดแผล หรือเยื่อเมือกบุผิวภายในช่องปาก ช่องคลอด หรือทวารหนัก

ลักษณะอาการของคนเป็นเอดส์

1. สังเกตว่าตัวเอง มีความเหนื่อยมาก โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งอาการเหนื่อยล้า อาจจะเป็นสัญญาณ ของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แต่นั่นก็อาจจะเป็น อาการของคนที่ติดเชื้อเอชไอวีหลาย ๆ คนประสบ

หากว่าคุณรู้สึกถึงอาการนี้เพียงอย่างเดียวก็ไม่ต้องตกใจอะไร แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่คุณควรที่จะหาสาเหตุเช่นกัน ซึ่งอาการเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงจะแตกต่างกับความรู้สึกง่วงนอนเฉย ๆ

หากว่าคุณรู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลาแม้พึ่งจะนอนมาเต็มอิ่มหรือเปล่า ถ้าอาการเหล่านี้ยังคงอยู่หลายสัปดาห์หรือหลายเดือน คุณควรไป ตรวจเพื่อหาความแน่ใจว่าไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี

2. สังเกตว่ามีไข้ หรือมีเหงื่อออกมาก ในตอนกลางคืนหรือไม่ เพราะอาการเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้น ของการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะเป็นระยะของการติดเชื้อเริ่มแรก หรือระยะเฉียบพลัน หลาย ๆ คนอาจจะไม่มีอาการเหล่านี้ แต่บางคน ก็จะมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น หลังจากติดเชื้อเอชไอวีแล้ว 2-4 สัปดาห์

3. สังเกตว่าต่อมที่คอ รักแร้ หรือขาหนีบนั้นบวมหรือไม่ หากต่อมน้ำเหลือง มีการบวมจะเป็นการตอบสนอง ต่อการติดเชื้อของร่างกาย ซึ่งคนที่ติดเชื้อเอชไอวี ในช่วงแรกนั้น จะไม่ได้มีอาการนี้ทุกคน แต่ในกลุ่มคนที่มีอาการเหล่านี้ มักจะมีอาการต่อมน้ำเหลือง บวมรวมอยู่ด้วย

4. สังเกตว่ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียหรือไม่ อาการเหล่านี้ถึงแม้ว่า จะเป็นอาการร่วมของไข้หวัดใหญ่ แต่ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือน ของการติดเชื้อเอชไอวีในระยะเริ่มแรกได้เช่นกัน เพราะถ้าอาการเหล่านี้คงอยู่เป็นเวลานาน ควรที่จะรีบเข้ารับการตรวจโดยเร็ว

5. สังเกตว่ามีแผลเปื่อย ตามบริเวณปาก หรืออวัยวะเพศหรือไม่ เพราะถ้าคุณมีแผลเปื่อย ตามบริเวณปากควบคู่ไปกับอาการอื่น ๆ ข้างต้น โดยเฉพาะถ้าปกติแล้ว หากคุณไม่ค่อยได้เป็นแผลเปื่อยๆ ที่บริเวณปากสักเท่าไหร่ นี่ก็อาจจะเป็นสัญญาณ ของการติดเชื้อเอชไอวีขั้นต้นได้ การเป็นแผลเปื่อยที่อวัยวะเพศ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า คุณอาจติดเชื้อเอชไอวีได้เช่นกัน

วิธีสังเกตคนเป็นเอดส์ หากใช้สังเกตผู้อื่น ก็อาจจะทำได้ยาก เพราะบางครั้งก็เป็นอาการที่ต้องได้ยินจากผู้ป่วยเอง แต่หากใช้สังเกตตนเองก็พอที่จะสามารถทำได้ และที่สำคัญอย่าลืมสังเกตว่าตนเองนั้นเสี่ยงหรือไม่เสี่ยงจากเชื้อเอชไอวี จะฟักตัวกลายเป็นโรคเอดส์แบบเต็มขั้นซึ่งจะใช้เวลานานกว่า 10 ปี ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นได้ถูกทำลายไปแล้ว และจะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย

นั่นก็คือโรคการติดเชื้อฉวยโอกาส อาจจะมีอยู่หลากหลายชนิด เช่น อาการไข้เรื้อรังไอเป็นเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ วัณโรค และอาการปวดหัวอย่างรุนแรง เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณคิดว่าตนเองนั้น อาจจะมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ ควรเข้ารับการตรวจเลือด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการเข้ารับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะเป็นผลดีกับคุณ

เพราะอาจช่วยคลายความกังวลใจ และทำให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และปลอดภัย ซึ่งหากว่าได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อแล้ว ก็ควรที่จะไปตรวจซ้ำอีกครั้งที่ครบ 3 เดือน เพื่อเป็นผลดีต่อสุขภาพ และตัวคุณเอง หรือหากใครที่ไม่สะดวกไปตรวจกับแพทย์ แนะนำให้ซื้อ ชุดตรวจคัดกรองด้วยตนเอง แม่นยำ ปลอดภัย มาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาล มาตรวจคัดกรองเบื้องต้นก่อน เพื่อความสบายใจของคุณ

“ท่านใดที่มีความกังวลใจ และต้องการที่จะลองตรวจสักครั้ง เรายินดีให้บริการ คลิ๊กเลย ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย การรักษาความลับของลูกค้า คือ สิ่งที่เรายึดถือมากที่สุด มั่นใจ ปลอดภัย มีมาตรฐาน ให้บริการมากว่า 7 ปี”

 

 

โรคเอดส์ระยะสุดท้ายจะอยู่ได้นานกี่วัน

โรคเอดส์ระยะสุดท้ายจะอยู่ได้นานกี่วัน

โรคเอดส์ระยะสุดท้ายจะอยู่ได้นานกี่วัน โรคเอดส์ (AIDS) เกิดจากการ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในขั้นสุดท้าย ซึ่งเชื้อได้เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้มีความบกพร่อง และเสื่อมสภาพลง เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม ที่เข้าสู่ร่างกาย

หากเซลล์เม็ดเลือดขาว ได้ถูกทำลายมากขึ้น จะทำให้ผู้ป่วย มีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง จนร่างกาย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ หลังจากนั้น ร่างกายของผู้ป่วย จะสามารถติดเชื้อฉวยโอกาส ได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เชื้อรา โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคเอดส์ มักจะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ โรคเอดส์ระยะสุดท้าย อยู่ได้กี่วัน

การติดเชื้อเอชไอวี จะแบ่งเป็น 3 ระยะหลัก ๆ คือ

– ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious) เป็นระยะแรก ของการติดเชื้อเอชไอวี ที่เกิดขึ้นระหว่าง 2-4 สัปดาห์ หลังจากการติดเชื้อ ซึ่งในระยะนี้ผู้ที่ติดเชื้อในจำนวนมาก จะเริ่มมีอาการ เหมือนกับเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่น และปวดหัว จะเรียกอาการเหล่านี้ว่า acute retroviral syndrome หรือ ARS ซึ่งเกิดขึ้น จากร่างกายที่ ตอบสนองต่อการติดเชื้อเอชไอวี ในระยะนี้เชื้อไวรัส อาจจะเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมากในร่างกาย จนทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว และเป็นระยะที่ มีความเสี่ยงสูงมาก ที่ผู้ป่วยติดเชื้อ จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปสู้ผู้อื่น

– ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage) เป็นระยะที่ เชื้อไวรัสจะอยู่ในร่างกาย โดยที่ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ อย่างมาก ก็มีอาการเพียงเล็กน้อย บางครั้งจะเรียกระยะนี้ว่า ระยะติดเชื้อเรื้อรัง (chronic HIV infection) หรือ ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ (asymptomatic HIV infection) ซึ่งในระยะนี้ เชื้อไวรัสจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ในระดับต่ำ จะใช้เวลานานถึง 10 ปี แต่สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ บางคนอาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น

– ระยะโรคเอดส์ (AIDS) เป็นระยะที่การติดเชื้อเอชไอวี ได้พัฒนามาเป็นโรคเอดส์  ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ระหว่าง 500 -1,600 ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเอดส์ มีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ต่ำกว่า 200 เมื่อถึงจุดนี้ ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายไป อย่างรุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคที่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรค ในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แต่จะทำให้เกิดโรคขึ้นกับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ไม่ว่าผู้ติดเชื้อจะมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวเท่าใดก็ตาม หากเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจมากกว่านั้น ก็ถือว่าผู้ติดเชื้อนั้นเป็นโรคเอดส์

โรคเอดส์ระยะสุดท้ายจะอยู่ได้นานกี่วัน จากที่กล่าวมา ผู้ติดเชื้อเอดส์ ที่ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ จะสามารถ มีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี หรือบางรายจะอยู่ได้ถึง 10 ปีโดยที่ไม่มีอาการ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่ กับการดูแลรักษาสุขภาพทั้งร่างกาย และจิตใจ รวมถึงต้องไม่ไปรับเชื้อมาเพิ่มอีก นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีกำลังใจที่แข็งแรง จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นปกติ นานกว่าผู้ที่หมดกำลังใจ

การดูแลตัวเองในผู้ป่วยนั้นก็สำคัญมากๆ พอกับการรักษา ผู้ป่วยคนทานยาสม่ำเสมอในทุกวัน รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ที่ทำให้ร่างกายต้องทำงานหนัก

ดังนั้นสิ่งที่ผู้ป่วยติดเชื้อ ต้องการมากที่สุดก็คือ ความเห็นใจ การยอมรับจากครอบครัว และสังคมคนรอบข้าง สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแล้ว จะพบว่าส่วนใหญ่จะเสียชีวิตลงภายใน 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม จะมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์หลายคน สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปีขึ้นไป และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม หากมีความกังวลเล็กน้อยว่าอาจติดเชื้อ การได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะเป็นผลดี กับสุขภาพของคุณ

ฉะนั้น จึงควรไปตรวจการติดเชื้อได้ ตามโรงพยาบาล หรือหาซื้อ ชุดตรวจคัดกรองด้วยตนเอง ที่มีความปลอดภัย แม่นยำ ได้มาตรฐาน มาทำการตรวจเบื้องต้น เพื่อความสบายใจ และจะได้เตรียมรับมือ กับปัญหาที่เกิดขึ้น  และเข้ารับการรักษาได้ทัน

ภายหลังจากที่ อย.  ได้ปลดล็อค ให้คนไทยทุกคน สามารถเข้าถึง ชุดตรวจ HIV ด้วยตัวเอง ได้แล้ว ซึ่งสามารถตรวจได้เอง และทราบผลได้ในทันที ใช้เวลาไม่นาน ตรวจได้เองที่บ้าน รวมทั้งได้ผลแม่นยำสูง ไม่มีความแตกต่างกับการไปตรวจที่สถานพยาบาลต่างๆ โดยวัตถุประสงค์ของ อย. นั้น ก็เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี และให้ผู้มีความเสี่ยงทราบผลเร็วขึ้นเพื่อนำไปสู่การดูแลและรักษาป้องกันการแพร่เชื้อในทันที

 

ปากเป็นแผลกินข้าวร่วมกับคนเป็นเอดส์ เสี่ยงไหม

ปากเป็นแผลกินข้าวร่วมกับคนเป็นเอดส์ เสี่ยงไหม

ปากเป็นแผลกินข้าวร่วมกับคนเป็นเอดส์ เสี่ยงไหม โรคเอดส์ (AIDS) จะเป็นภาวะการป่วย ในขั้นสุดท้าย ของการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่เชื้อได้ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายให้มีความบกพร่อง จนไม่สามารถต่อสู้ กับเชื้อ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ จนทำให้ร่างกาย เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย จนนำไปสู่กรเสียชีวิต ซึ่งในปัจจุบัน ก็ยังไม่มีวิธีที่จะรักษาโรคเอดส์ ให้หายขาดได้ มีเพียงยาที่ช่วยชะลอการพัฒนาของโรค และลดอัตราการเสียชีวิตลงด้วยโรคนี้ หากว่าผู้ป่วยรู้ตัว และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจจะช่วยลดความเสี่ยง ไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวี สามารถลุกลาม ไปสู่ภาวะของโรคเอดส์ได้

อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในชีวิตประจำของมนุษย์ เพราะอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการ และยังเป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี เพราะอาหารจะมีบทบาท ในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้แข็งแรงเพื่อไปต่อสู้กับเชื้อโรค ที่อยู่ภายในร่างกาย ซึ่งในสังคมสมัยนี้ จะมีหลายคนที่เข้าใจผิด ๆ ว่าการใช้ชีวิต ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะส่งผลให้ตนเอง มีการติดเชื้อไปด้วย อย่างไรก็ตาม เชื้อเอชไอวี นั้นไม่ได้ติดกันง่าย ๆ เพราะการดูและ และรักษาในปัจจุบันนี้ มีความก้าวหน้า จึงทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และใช้ชีวิตได้ตามปกติ เหมือนกับคนทั่วไปได้

เชื้อเอดส์อยู่ด้านนอกได้หรือไม่ อยู่ได้นานแค่ไหน

ถึงแม้ว่า เชื้อไวรัสเอดส์นี้ จะรุนแรงเมื่ออยู่ในร่างกาย แต่หากอยู่ด้านนอกนั้นก็เหมือนกับว่า เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่มีอายุสั้น ไม่สามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ ซึ่งจะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ถ้าหากสิ่งเเวดล้อมนั้น มีความร้อน มีความเป็นกรด เป็นด่าง ก็จะตายไปทันที แต่ถ้าได้ที่เหมาะสมๆ มีความชื้นดีๆ หรือห้องที่มีอุณหภูมิราวๆ 20 องศาเซลเซียส ก็จะอยู่ได้ หลายวันแต่ไม่ถึงสัปดาห์

3 สาเหตุหลัก ๆ ของการติดเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ คือ
1. การมีเพศสัมพันธ์ โดยที่ไม่ได้ป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางช่องคลอด หรือทวารหนัก โดยที่ไม่ได้มีการป้องกันใด ๆ ล้วนแต่มีความเสี่ยง ในการติดเชื้อได้ ทั้งนี้รวมถึง การมีเพศสัมพันธ์โดยการใช้ปาก (Oral sex) หากผู้ที่เป็นฝ่ายกระทำ แล้วเกิดมีบาดแผลภายในช่องปาก โอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อนั้นสูงมาก ๆ
2. การรับเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือเครื่องมือ ที่ไม่ได้ทำความสะอาด มีคราบเลือดปนเปื้อน และหากว่ามีบาดแผลที่มือ แล้วไปสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ก็มีโอกาสติดเชื้อได้
3. จากแม่สู่ลูก ส่วนใหญ่ จะติดระหว่างการตั้งครรภ์ ส่วนน้อยจะได้ในระหว่างการทำคลอด และระหว่างให้นมลูก

นอกจาก 3 สาเหตุนี้แล้ว ก็ยังสามารถ ใช้ชีวิตร่วมกันได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำร่วมกัน แต่ก็ควรทำความสะอาดทุกครั้ง ก่อนใช้งานเสมอ อย่างไรก็ตาม การที่รับประทานอาหา ร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อ จะไม่ได้ทำให้ติดเชื้อได้ เพราะถึงแม้ว่า ในน้ำลายจะปริมาณของเชื้ออยู่ แต่ก็มีน้อยมาก ๆ โอกาสที่จะติด คือ ต้องได้รับน้ำลายในปริมาณเป็นลิตร ๆ แต่ถ้าหากว่ามีบาดแผลภายในปาก โอกาสที่จะติดเชื้ออาจมีได้ แต่น้อยมาก

ปากเป็นแผลกินข้าวร่วมกับคนเป็นเอดส์ เสี่ยงไหม ทั้งนี้ต้องพิจารณา ถึงปัจจัย และวิธีในการทานด้วย เช่น ทานช้อนเดียวกัน ทานจานเดียวกัน ทานอาหารแบบมีกับอยู่ส่วนกลาง จานข้าว และช้อนส้อมของใครของมัน เป็นต้น การรับประทานช้อนเดียวกัน หากคุณมีบาดแผลในปาก โอกาสที่จะสิ่งมีบ้าง แต่ยังคงเป็นความเสี่ยงที่น้อย

จากข้างต้นที่กล่าวมา เชื้อไวรัสเอชไอวี หรือเอดส์นั้นไม่ได้ติดกันง่าย ๆ ดังนั้นหากผู้ที่กังวล ว่าตนเองนั้นอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ แนะนำให้หา ชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้น ที่มีความแม่นยำ ปลอดภัย มีมาตรฐาน มาลองตรวจดูก่อนเพื่อความสบายใจ และคลายความกังวล เพราะหากว่ารู้ผลก่อนจะได้รับมือ และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก ทั้งนี้ก็ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินร้อน ช้อนกลาง เพื่อสุขอนามัยที่ดีต่อสุขภาพ

ทำไมจึงจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชไอวี
ในปัจจุบันมีสถิติผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวมีจำนวนหากคุณกังวลเพียงเล็กน้อยว่าคุณอาจติดเชื้อเอชไอวี คุณควรทำการตรวจเลือด เป็นวิธีการที่รวดเร็วและง่ายดายและบริการฟรีในหลายๆ แห่ง

วิธีการเดียวที่จะรู้ว่าคุณติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่คือการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี การตรวจเลือดแต่เนิ่นๆ ช่วยลดความกังวลใจและทำให้คุณได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

หากคุณติดเชื้อเอชไอวี การได้รับการวินิจฉัยแต่เริ่มแรกทำให้คุณสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองและคู่ครองรวมถึงคนอื่นที่คุณห่วงใย ถึงแม้ผลเลือดจะบ่งชี้ว่าคุณมีการติดเชื้อ การได้รู้ว่าตัวเองมีการติดเชื้อจะทำให้คุณสามารถดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองและใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม

นอกเหนือจาก การติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ควรได้รับการตรวจหาเชื้อ เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นร่วมด้วย เช่น หนองในแท้/เทียม ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบ บี ซี เป็นต้น

ตรวจเอดส์ ราคา ? ไปตรวจได้ที่ไหนบ้าง การตรวจ HIV แต่ละแบบในปัจจุบัน

ตรวจเอดส์ ราคา

ตรวจเอดส์ ราคา เท่าไหร่? การตรวจหาเชื้อเอชไอวีในแต่ละแบบ ในปัจจุบันนั้นจะแตกต่างกันออกไป เมื่อคุณติดเชื้อเอชไอวี ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา เพื่อพยายามต่อสู้กับเชื้อที่อยู่ภายในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เรารู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลียไม่มีแรง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายกำลังทำงานหนัก หลักการตรวจเอชไอวี โดยทั่วไปที่แพทย์ตรวจนั้น จะใช้หลักในการตรวจหาภูมคุ้มกันในเลือด โดยปกติแล้วจะทำการตรวจที่ระยะ 1-3 เดือนหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อไปแล้ว

เพื่อให้พ้นระยะฟักตัว หรือที่เรียกว่า “window period” ซึ่งหมายถึง ระยะเวลาที่คุณอาจมีการติดเชื้อเอชไอวีแล้ว แต่ผลตรวจเลือดนั้น กลับตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี ทำให้เข้าใจผิดว่าคุณไม่ได้ติดเชื้อ ฉะนั้นหากว่าคุณได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ในช่วงระยะการฟักตัว ผลที่ได้อาจเป็นลบ ทั้งที่จริง ๆ แล้วคุณอาจติดเชื้อแล้วก็ได้

โดยทั่วไปแล้วหากตรวจที่ 1 เดือน แล้วไม่พบเชื้อก็จะแนะนำให้มาตรวจซ้ำอีกที่ 3 เดือน ทั้งนี้ ระยะ “window period” ของการตรวจในแต่ละวิธีอาจไม่เท่ากัน

ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อเอชไอวี จะมี 3 วิธีหลัก ๆ และตรวจเอดส์ ราคา ก็จะแตกต่างกันไป ดังนี้

1. การตรวจแบบ Anti-HIV

จะเป็นบริการที่สามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรี โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายได้ถึงปีละ 2 ครั้งที่โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ โดยต้องแจ้งความประสงค์ และยื่นบัตรประชาชนเท่านั้น โดยหากมาตรวจที่โรงพยาบาล จะสามารถทราบผลตรวจได้ใน 1-2 ชั่วโมงหลังการตรวจ ซึ่งผลที่ได้นั้นจะเป็นผลย้อนหลังไปประมาณ 1 เดือน หรือหากว่าคุณไปมีความเสี่ยง ในการติดเชื้อมาเมื่อคืน แล้วไปตรวจแบบ Anti-HIV ผลตรวจที่ได้นั้น จะไม่ได้ยืนยันว่าการมีเพศสัมพันธ์ โดยที่ไม่ได้มีการป้องกันของคุณนั้นปลอดภัย ถึงแม้ว่าผลตรวจจะออกมาเป็นลบ (Negative = ไม่พบเชื้อ)

นอกจากนี้โรงพยาบาลเอกชน ก็มีบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีแบบ Anti-HIV แต่จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 500-1,000 บาทต่อครั้ง สำหรับการเจาะเลือด และยังไม่รวมค่าแพทย์ ทั้งนี้หากผู้ที่สนใจ สามารถโทรปรึกษาและสอบถามราคาก่อนเข้ารับการตรวจได้ การตรวจแบบนี้จะตรวจได้แม่นยำ เมื่อคุณมีความเสี่ยงมา 21-30 วัน หรือมากกว่า 1 เดือน

2. การตรวจแบบ NAT (Nucleic Acid Testing)

การตรวจแบบ NAT จะมีความแตกต่างจากการตรวจแบบ Anti-HIV ก็คือ จะสามารถชี้วัดผลจากร่างกายย้อนหลังไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากที่ได้รับความเสี่ยงมา เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้มีการป้องกันมาแล้ว 7 วันก่อน แล้วมีความวิตกกังวลว่าจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีจึงมาตรวจ ซึ่งการตรวจหาเชื้อแบบ NAT จะแสดงให้คุณทราบว่า ผลเลือดนั้นเป็นบวกหรือลบ ได้แน่ชัดกว่าการตรวจแบบ Anti-HIV การตรวจแบบ NAT อาจสามารถตรวจได้ตามโรงพยาบาล

3. การตรวจแบบ Rapid HIV Test

ปัจจุบันการตรวจด้วยวิธีนี้ จะใช้เวลาในการรอผลเพียงแค่ 20 นาทีเท่านั้น การตรวจแบบนี้จะนิยมใช้หลักการตรวจแบบหา ANTI-HIV แต่เป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งการตรวจในรูปแบบนี้จะสามารถทำการตรวจได้เองที่บ้าน หากว่าคุณค้นหาข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง อาจจะเจอกับร้านค้าออนไลน์มากมายที่ขายชุดตรวจ หากว่าการตรวจแบบ Rapid HIV Test ให้ผลเป็นบวก ผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันว่า

ติดเชื้อจริง ๆ ด้วยขั้นตอนในการตรวจแบบ Anti-HIV หรือ NAT แล้วแต่ระยะเวลาที่ได้รับเชื้อมา เพิ่มเติม คือ การตรวจแบบ Rapid HIV Test สามารถตรวจได้ที่ 21-30 หรือมากกว่า 1 เดือน เป็นวิธีการตรวจที่เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกจะไปโรงพยาบาล ไม่อยากเสียเวลาไปนั่งรอ แต่อย่างไรก็ต้องคำนึงว่าหากผลตรวจออกมาเป็นบวก คุณก็จำเป็นจะต้องเข้ารับการตรวจเพื่อยืนยันผลด้วย

สรุป ตรวจเอดส์ ราคา เท่าไหร่ 

โดยทั่วไปคนไทยสามารถไปตรวจเอดส์ได้ฟรีที่โรงพยาบาลรัฐปีละ  2 ครั้ง และหากพบว่ามีการติดเชื้อ ผู้ป่วยก็สามารถรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ฟรีตามสิทธิ ที่โรงพยาบาลทุกแห่งภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ หาเป็นคลินิกนิรนามจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 200 บาท แต่หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงประมาณ 600-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล

จากที่กล่าวมานั้น การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการตรวจร่างกายประจำปี หากต้องการเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี จะต้องแจ้งให้ทางแพทย์ทราบก่อนเสมอ เพราะแพทย์จะได้เลือกวิธีในการตรวจที่เหมาะสมกับคุณ และที่สำคัญไม่ต้องเขินอาย ในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะมันจะเป็นผลดีกับตัวคุณเอง หากรู้ผลก่อน จะได้เตรียมรับมือ และวางแผนในการรักษาที่เหมาะสม

ผลเลือด non reactive แปลว่าอะไร

ผลเลือด non reactive แปลว่าอะไร

ผลเลือด non reactive แปลว่าอะไร
เชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ยังเป็นสาเหตุหลัก ของการเกิดโรคเอดส์ โดยที่เชื้อเอชไอวีนั้น จะกระจายไปทั่วร่างกายผ่านทางกระแสเลือด และยังไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายอีกด้วย ซึ่งเชื้อเอชไอวีจะค่อย ๆ ไปทำให้ร่างกายอ่อนแอลง เพื่อให้ร่างกายติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น วิธีที่จะทำให้รู้ว่า หากติดเชื้อเอชไอวี จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยเฉพาะ เพราะผู้ติดเชื้ออาจจะไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้อ เนื่องจากสัญญาณของเชื้อโรคนั้น จะไม่ปรากฏออกมาให้เห็นความผิดปกติ เพราะเชื้อเอชไอวีค่อย ๆ พัฒนาให้กลายเป็นโรคเอดส์ ถึงตอนนั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ก็จะลดลงเป็นอย่างมาก จึงทำให้ร่างกาย เกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง หรืออาจจะไม่สามารถรักษาได้อีก ทั้งนี้แล้วผู้ป่วยอาจจะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยที่ไม่รู้ตัว

การตรวจเลือด เพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ถ้าจะให้ผลตรวจที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดนั้น ก็ต่อเมื่อมีการตรวจห่างจากการ ได้รับความเสี่ยงมานานกว่า 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งหากว่าไปตรวจช่วงเวลา ดังกล่าวผลตรวจก็จะมี ความแม่นยำมากถึง 99.9% แต่หากว่าการตรวจเลือด ครั้งที่ผ่านมายังตรวจห่างจากการ ไปรับความเสี่ยงมาไม่ถึง 3 เดือน ควรไปตรวจเลือดซ้ำ อีกครั้งเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ในการตรวจเลือดหาการติดเชื้อ คือ มีโอกาสที่จะตรวจไม่พบแอนติบอดี ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาแล้ว เพราะเนื่องจากอยู่ในระยะฟักตัวของเชื้อ โดยจะเรียกระยะนี้ว่า “window period” จะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ 1-3 เดือน ซึ่งถ้าหากว่ามีการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ ในระยะเวลาดังกล่าวอาจจะให้ ผลตรวจเป็น “non-reactive”

การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี สามารถตรวจได้ 3 วิธี คือ
1.การตรวจหาภูมิคุ้มกันแอนติบอดี (Antibody) หรือ (Anti-HIV) ซึ่งจะมีหลากหลายวิธีแตกต่างกันไป โดยปกติแล้วร่างกายเราเมื่อได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว จะต้องอาศัยเวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ ดังนั้นจะเริ่มตรวจพบเชื้อได้ ภายในประมาณ 3 สัปดาห์ และจะตรวจพบเชื้อได้เกือบ 100% ประมาณ 12 สัปดาห์ ฉะนั้น หากเริ่มมีการติดเชื้อ ผลตรวจ Anti-HIV ที่ได้อาจจะออกมาเป็น (Negative) หรือ (Non-reaction) ได้ ด้วยเหตุผลนี้ จึงต้องรออีกประมาณ 12 สัปดาห์ แล้วไปตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อความมั่นใจ และหากผลออกมาเป็น Negative อีกครั้ง นั่นก็แปลว่าไม่มีการติดเชื้อ

2.การตรวจหาส่วนประกอบของเชื้อเอชไอวี (HIV)
– การตรวจสาร พันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี nucleic acid test หรือที่รู้จักกันว่า การตรวจ NAT ซึ่งจะสามารถตรวจพบเชื้อเอชไอวีได้ ภายในเวลาประมาณ 7-28 วัน หลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อมาแล้ว
– การตรวจหาโปรตีนของเชื้อเอชไอวี (p24 antigen testing) จะสามารถตรวจพบเชื้อได้ภายใน 5 วัน หลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อมาแล้ว แต่ก็อาจจะมีความไว ในการตรวจเจอต่ำกว่าวิธีการตรวจแบบ NAT

3.การตรวจหาภูมิคุ้มกันและตรวจหาส่วนประกอบของเชื้อร่วมกัน
การตรวจแบบนี้สามารถตรวจได้ภายใน 14 วัน ของการรับความเสี่ยงมา เป็นการตรวจหาทั้ง Anti-HIV และ p24 Antigen ของเอชไอวี หากตรวจแล้วพบเพียงแอนติเจน ต้องตรวจซ้ำอีกครั้งหลัง 14 วันมาแล้วหนึ่งสัปดาห์

ผลเลือด non reactive แปลว่าอะไร

การวินิจฉัย ผลเลือดจะมีทั้งหมด 2 ผล หลักๆ ด้วยกัน คือ Reactive และ Non-reactive

  • Reactive, Positive หมายความว่า ผลการตรวจเลือดเป็นบวก คือ มีโอกาสที่จะติดเชื้อเอชไอวี
  • Non-reactive, Negative หมายความว่า ผลการตรวจเลือดเป็นลบ คือ ไม่พบการติดเชื้อเอชไอวี

ปัจจุบันนี้ ยังมียาต้านไวรัสอีกหลายกลุ่ม ให้เลือกทานตาม ระยะเวลาของการติดเชื้อ ฉะนั้น ถ้าคุณตรวจพบ การติดเชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ และ เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาจจะช่วยลด ภาวะความเสี่ยงนี้ได้ นอกจากนั้นคุณควรที่จะ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรงและมีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

นอกเหนือจาก การติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ควรได้รับการตรวจหาเชื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นร่วมด้วย เช่น หนองในแท้/เทียม ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบ บี ซี เป็นต้น

โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร

โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร

โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร
โรคเอดส์ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งในความคิดของหลาย ๆ คน เชื่อว่าโรคนี้ สามารถติดต่อกันได้ง่าย จนทำให้หลายคนรู้สึกเป็นกังวล เมื่อต้องเข้าไปอยู่ใกล้ชิด หรือ แม้แต่การใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ทว่าโรคเอดส์นั้นสามารคติดต่อกันทางใดได้บ้าง เรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ และศึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เตรียมรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
โรคเอดส์เกิดจาก เชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งอาศัยอยู่ในสารคัดหลั่งต่าง ๆ ของร่างกายผู้ป่วย ได้แก่ เลือด อสุจิ นำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศชาย หรือ ของเหลวที่อยู่ในช่องคลอด และทวารหนัก ทั้งนี้ยังรวมไปถึงน้ำนมที่ให้ทารกดูดกิน โดยทั่วไปแล้ว คนที่จะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้นั้น ก็ต่อเมื่อไปสัมผัส กับสารคัดหลั่งโดยตรงทั้งๆ ที่มีบาดแผล หรือเยื่อเมือกบุผิวภายในช่องปาก ช่องคลอด หรือทวารหนัก

สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
-การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือ ทางทวารหนักกับผู้ที่ติดเชื้อมาแล้ว โดยที่ไม่ได้มีการป้องกันใด ๆ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก กับผู้ที่ติดเชื้อ โดยผู้ที่เป็นฝ่ายรับจะมีความเสี่ยงมากที่สุด แต่หากเป็นฝ่ายรุกก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางช่องคลอดนั้น ก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน กับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจะมีความสี่ยงมากกว่า การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด
– สัมผัสกับสารคัดหลั่ง และเลือดของผู้ป่วยโดยตรง ทั้งๆ ที่มีบาดแผล หรือเยื่อเมือกบุผิวภายในช่องปาก
-การใช้เข็มฉีดยา และเครื่องมือเตรียมฉีดยาร่วมกับ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะเนื่องจากว่าเชื้อเอชไอวีนั้นจะอยู่ในเข็มฉีดยาได้นานถึง 42 วัน หากว่ามีอุณหภูมิและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสม
-การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ลูก จะติดต่อได้ในขณะ ที่กำลังตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด หรือช่วงที่มารดาให้นมลูก ทั้งนี้ล้วนมีความเสี่ยงสูงที่สุด ถ้าหากว่ามารดาไม่ได้ ทานยาต้านไวรัสเอชไอวี และไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เชื้อเอดส์อยู่ด้านนอกได้หรือไม่ อยู่ได้นานแค่ไหน

ถึงแม้ว่าเชื้อไวรัสเอดส์นี้ จะรุนแรงเมื่ออยู่ในร่างกาย แต่หากอยู่ด้านนอกนั้นก็เหมือนกับว่า เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่มีอายุสั้น ไม่สามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ ซึ่งจะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ถ้าหากสิ่งเเวดล้อมนั้น มีความร้อน มีความเป็นกรด เป็นด่าง ก็จะตายไปทันที แต่ถ้าได้ที่เหมาะสมๆ มีความชื้นดีๆ หรือห้องที่มีอุณหภูมิราวๆ 20 องศาเซลเซียส ก็จะอยู่ได้ หลายวันแต่ไม่ถึงสัปดาห์

ความจริงเกี่ยวกับโรคเอดส์และเอชไอวี

1. ยุงกัดกลัวติดเชื้อเอชไอวี เรื่องนี้ ไม่จริงค่ะ

2. สุขภาพแข็งแรงขนาดนี้ไม่ติดเอชไอวีหรอก เรื่องนี้ ไม่จริงค่ะ อาการในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้น ในระยะเริ่มต้นประมาณ 10 ปี จะไม่แสดงอาการอะไรออกมาเลย การที่จะรู้หรือไม่ ต้องไปตรวจหาเชื้อเอชไอวีเท่านั้น

3. การมีคู่นอนเพียงคนเดียว ช่วยป้องกันตนเองจากความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้ เรื่องนี้ จริงค่ะ

4. ถุงยางอนามัย สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ได้ ต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และใช้อย่างถูกวิธี

5. รับประทานอาหารร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ จะติดเชื้อเอชไอวี เรื่องนี้ ไม่จริงค่ะ เพราะน้ำลายมีปริมาณเชื้อน้อยมากจนไม่ทำให้ติดโรค และในกระเพาะอาหารจะมีกรดที่ทำลายเชื้อเอชไอวีได้

เอดส์ ป้องกันได้หากระมัดระวัง
โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอย่างที่คิด โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร เนื่องจากโรคเอดส์สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง ดังนั้นควรที่จะรู้จักวิธีการป้องกัน โดยใส่ใจในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ของตนเองให้ปลอดภัย เช่น การมีเพศสัมพันธ์ โดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง หรือไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ทั้งนี้แล้ว ควรรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี โดยหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ควรระมัดระวังในการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ควรสวมถุงมือยางทุกครั้ง และล้างมือด้วยสบู่ รวมถึงการแยกทิ้งขยะ ที่มีสารคัดหลั่งปนเปื้อนออกเป็นชนิด ๆ หรือหากผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็สามารถตรวจหาเชื้อได้เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น รู้ผลทันที สะดวก ใช้งานง่าย และการเลือกซื้อ ชุดตรวจเอชไอวี (HIV) กับร้านที่ผ่านการรับรอง และได้มาตรฐาน มีการให้คำแนะนำที่ชัดเจนและเชื่อถือได้ จึงทำให้ท่านมั่นใจได้ในทุกครั้งที่ตรวจ มีความปลอดภัย แม่นยำสูง เชื่อถือได้ ส่วนผู้ที่ได้รับเชื้อไปแล้ว ก็ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสแล้ว ยังช่วยยับยั้งอาการ ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างปกติสุข

แท้จริงแล้วชุดตรวจเอชไอวี ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งช่องทางการหาซื้อ ก็แบ่งเป็นร้านขายยา และทางอินเตอร์เน็ต สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ เลขอย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ของไทย ผู้ซื้อควรพิจารณาถึงตรงนี้ได้ เพราะหากไม่มีเลขอย. ก็ถือว่าชุดตรวจนั้นอาจไม่ได้มาตรฐานจริงๆ นอกจากนี้ควรถามถึงวิธีการใช้งาน และความแม่นยำของชุดตรวจ ซึ่งควรแม่นยำมากกว่า 90% ถึงจะมั่นใจได้ว่าสามารถตรวจเอชไอวีได้จริง การตรวจเอชไอวีในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบทั้งที่สามารถตรวจได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือ 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดชุดตรวจ และช่วงเวลาในการตรวจ หากพ้นระยะฟักตัวของเชื้อแล้วก็สามารถสบายใจได้ โดยระยะฟักตัวของเชื้อจะอยู่ในช่วง 21- 30 วัน หลังจากได้รับความเสี่ยงมา

 

 

HIV อาการ ระยะเริ่มต้นเป็นอย่างไร

HIV อาการ

HIV อาการ …..เอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัส ที่จะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ซึ่งเป็นระบบที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค ที่อยู่ภายในของร่างกาย ระยะเริ่มต้นเป็นอย่างไร เชื้อไวรัสตัวนี้ จะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน แล้วร่างกายจะเกิดการติดเชื้อ และมีอาการเจ็บป่วยได้ง่าย หรือ อาจจะเสียชีวิตลงได้ด้วยโรคนี้

การติดเชื้อเอชไอวี เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่สามารถแพร่เชื้อ ติดต่อได้ หากมีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก โดยที่ไม่ได้มีการป้องกัน และเชื้อไวรัสชนิดนี้ ยังสามารถแพร่เชื้อติดต่อได้อีก ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก หรือที่เรียกว่า Oral sex แบบที่ไม่ได้ป้องกันเช่นกัน โดยเฉพาะการหลั่งอสุจิภายในปาก เมื่อในปากนั้นมีบาดแผล เชื้อจะเข้าผ่านทางเยื่อเมือก ของบาดแผล เชื้อเอชไอวียังสามารถติดต่อได้ ผ่านทางเลือด ไม่ว่าจะเป็น การไปใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ที่อาจมีเชื้อเอชไอวี หรือการที่บาดแผล สัมผัสกับเลือดของผู้มีเชื้อเอชไอวี

อาการHIV

HIV อาการ …. อาการของ โรคเอชไอวี จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะเฉียบพลัน เป็น ระยะแรกของการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) จะเกิดขึ้นในระหว่าง 2-3 สัปดาห์ หลังจากการติดเชื้อ ซึ่งในระยะนี้ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมาแล้วส่วนมาก จะเริ่มมีอาการเหมือนกับเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้ขึ้น ปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บคอ มีผื่นขึ้นตามร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งอาการดังกล่าว เกิดจากการที่ร่างกาย ได้ตอบสนอง ตอบโต้กับเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกาย เพราะเนื่องจากในระยะนี้ เชื้อไวรัสเอชไอวี จะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ในร่างกาย ทำให้เซลล์ CD4 (เม็ดเลือดขาว) ในร่างกาย มีการลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นระยะที่มีความเสี่ยงสูงมาก ที่ผู้ป่วยติดเชื้อจะแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่น

อย่างไรก็ตาม หลังจากระยะเฉียบพลันแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะค่อย ๆ ทำให้ปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวี อยู่ในระดับที่คงที่ เรียกว่า Viral Set Point หมายความว่าเชื้อไวรัสจะมีปริมาณคงที่ในร่างกายและปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่จะยังมีสูงเท่ากับก่อนติดเชื้อ จากระยะแรกนี้เปลี่ยนเข้าสู่ระยะต่อไป ใช้เวลา 7 – 8 ปี แต่ในบางคนไม่มีอาการนานถึง 10 ปี

อาการในระยเฉียบพลันที่อาจพบได้ ได้แก่ ปวดหัว มีไข้ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ มีผื่น ปวดที่กล้ามเนื้อและข้อ มีแผลในปาก มีแผลที่อวัยวะเพศ เหงื่อออกตอนกลางคืน ท้องเสีย

  • ระยะสงบ เป็นระยะที่เชื้อไวรัสเอชไอวีจะอยู่ในร่างกายโดยที่จะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ หรืออาจมีการแสดงอาการเพียงเล็กน้อย บางครั้งอาจจะเรียกระยะนี้ว่า “ระยะติดเชื้อเรื้อรัง” ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ซึ่งในระยะนี้เชื้อไวรัสเอชไอวีจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับต่ำ และจะใช้เวลานานถึง 10 ปี หรือสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อบางรายอาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น
  • ระยะโรคเอดส์ เป็นระยะสุดท้ายของ การติดเชื้อเอชไอวี และได้พัฒนาเป็นโรคเอดส์ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แข็งแรงนั้นมีปริมาณเซลล์ CD4 (เม็ดเลือดขาว) อยู่ระหว่าง 500 – 1,600 หากในขณะนั้นผู้ป่วยโรคเอดส์มีเซลล์ CD4 ต่ำกว่า 200 ถึงจุดนี้ระบบภูมิคุ้มกันได้ถูกทำลายไปอย่างรุนแรงซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อฉวยโอกาสได้ โดยเกิดจากเชื้อโรคที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แข็งแรง แต่จะเกิดโรคกับ อาการที่จะเกิดขึ้นในระยะเอดส์ ได้แก่ มีไข้สูง หนาวสั่นและเหงื่อออกในตอนกลางคืน มีผื่นขึ้น มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ และไอเรื้อรัง น้ำหนักลดอย่างรุนแรง มีปื้นขาวในปาก มีแผลที่อวัยวะเพศ อ่อนเพลียเป็นประจำ เป็นโรคปอดอักเสบ มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ

ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ ไม่ว่าผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีจะมีปริมาณของเซลล์ CD4 เท่าใด ติดเชื้อฉวยหนึ่งโรค สองโรค หรือมากกว่านั้น ก็ถือว่าผู้ป่วยนั้นเป็น โรคเอดส์

จริงๆ แล้ว ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีหากรู้ตัวเร็ว ว่าตนเองติดเชื้อจะสามาถรักษาได้ทัน โดยที่อาจไม่ได้รักษาให้หายขาด เพราะในปัจจุบันนี้ ยังไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มียา ที่สามารถช่วยให้อาการ ของโรคเอชไอวีไม่แสดงอาการออกมาได้ ยาตัวนี้ เป็นยาที่เรารู้จักกันในชื่อ ยาต้านไวรัส ผู้ป่วยทานแล้ว ยาจะช่วยยับยั้ง การแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวีให้ไม่เพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างปกติแล้ว ผู้ป่วยยังมีอายุขัยที่ยืนยาวใกล้เคียงกับคนปกติด้วย

ดังนั้นแล้วหากต้อง การตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพื่อความสบายใจ ปัจจุบันก็มีชุดตรวจเอชไอวีที่สามารถตรวจด้วยตัวเองได้ แนะนำให้เลือกซื้อชุดตรวจที่มีความปลอดภัย และแม่นยำ โดยผ่านมาตรฐานสูงสุดในระดับสากล หรือสามารถไปตรวจได้ตามคลินิกนิรนามต่าง ๆ และโรงพยาบาลรัฐทั่วไปที่มีบริการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีฟรี

 

ผลเลือด Positive คืออะไร แปลว่าอะไร

ผลเลือด Positive คืออะไร

ผลเลือด Positive คืออะไร
โรคติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดต่อได้ ทางเพศสัมพันธ์ ที่ไม่มีการป้องกัน สามารถส่งต่อได้จากแม่สู่ลูก และจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เราไม่สามารถทราบได้เลยว่า ใครบ้างที่ติดเชื้อเอชไอวี หากคนๆ นั้น ไม่ได้บอกเราโดยตรง เพราะผลตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีนั้น ถือเป็นความลับส่วนบุคคล เปิดเผยไม่ได้ หากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลเลือด ในขณะที่ บางคนก็ไม่ทราบด้วยซ้ำว่า ตนเองนั้นติดเชื้อเอชไอวีไปแล้ว และยังมีเพศสัมพันธ์กับคนรัก หรือคนอื่นๆ ต่อไป ซึ่งหากไม่ได้ป้องกัน หรือมีกิจกรรมอื่นที่สุ่มเสี่ยง อย่างเช่น Oral sex ก็อาจทำให้ มีการแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนได้

ในกรณี ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีการดูแลรักษา อย่างถูกต้องจากแพทย์ และมีวินัย ในการรับประทานยา ดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ในกรณีนี้ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงออกมา ให้เราทราบว่าเขาเป็นผู้ติดเชื้อ อีกทั้งผู้ป่วยนั้นจะสามารถดำรงชีวิตได้ อย่างปกติสุข มีอายขัยเทียบเท่ากับคนปกติ

ดังนั้น หากคุณมีความเสี่ยง ที่จะติดเชื้อเอชไอวี ให้คุณรีบทำการตรวจเลือดโดยเร็ว เพื่อที่จะ วางแผนการรักษาได้ถูกทาง และไม่เข้าสู่สภาวะเอดส์ ซึ่งถ้าหากผลตรวจออกมาแล้ว พบว่าคุณไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี ก็จะทำให้คุณ มีความสบายใจมากขึ้น

การตรวจเอชไอวีในปัจจุบันมีอยู่ 4 แบบ คือ
1. ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV)
2. ตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี (p24 antigen)
3. ตรวจแบบ NAT
4. ตรวจหา Anti-HIV และตรวจหา p24 antigen ในคราวเดียว
ซึ่งความแตกต่างของแต่ละแบบ ก็คือ เงื่อนไขของระยะเวลา ที่สามารถตรวจได้ โดยช่วงระยะเวลา ที่สามารถตรวจได้ จะอยู่ที่ประมาณ 7-21 วัน ขึ้นไปนั่นเอง ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ทุกคนสามารถซื้อ ชุดตรวจเอชไอวีมาตรวจด้วยตัวเองได้แล้ว ซึ่งชุดตรวจนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจแบบ Anti-HIV โดยเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น รู้ผลภายใน 10-20 นาที หากผลออกมาพบว่าติดเชื้อเอชไอวี ให้ผู้ตรวจไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อยืนยันผลอีกครั้ง

การแสดงผลเลือดจากการตรวจหาเชื้อเอชไอวี
ผลเลือด Positive คืออะไร ? จากที่กล่าวมาก่อนหน้านี้จะพบว่าการตรวจเอชไอวีมีอยู่ 4 แบบ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ตรวจด้วยตนเองหรือตรวจที่สถานพยาบาล ผลการตรวจจะแสดงในรูปแบบดังต่อไปนี้เสมอ
1. Negative (ผลเลือดลบ) หมายถึงไม่ได้ติดเชื้อ HIV ในบางครั้งอาจมีการแสดงผลว่า Non-Reactive ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน คือ ไม่ได้ติดเชื้อ ไม่พบการติดเชื้อ อาจเรียกผลเลือดว่า HIV-Negative
2. Positive (ผลเลือดบวก) หมายถึงพบการติดเชื้อ HIV ในบางครั้งอาจมีการแสดงผลว่า Reactive ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน คือ ติดเชื้อ พบการติดเชื้อ อาจเรียกผลเลือดว่า HIV-Positive

การวินิจฉัย การตรวจหาเชื้อเอชไอวี จะเป็นการตรวจเลือดว่า มีเชื้อเอชไอวีอยู่หรือไม่ จะเรียกว่าเลือดบวก ต่อเมื่อตรวจพบไวรัสเอชไอวี “HIV POSITIVE” เท่ากับว่า ติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการประเมิน หรือคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อเตรียมการวางแผนในการรักษา และความเสี่ยง ในการติดเชื้อฉวยโอกาสอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยผลเลือด เป็น Positive หรือ Negative ไม่ได้ใช้แค่ สำหรับการตรวจเอชไอวี มีการใช้การวินิจฉัยนี้ กับการตรวจเลือดหาโรคอื่นๆ อีกด้วย (ไม่ได้หมายความว่า ตรวจหาเอชไอวีจะสามารถบอกโรคอื่นได้) ดังนั้น หากคุณตรวจโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่เอชไอวี แล้วคุณหมอบอกว่า เลือดของคนเป็น Positive ก็อย่าพึ่งตกใจ คุณไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี แต่คุณป่วยเป็นโรคที่คุณไปทำการตรวจนั้น

การตรวจเลือดหา เชื้อเอชไอวี ในปัจจุบันอาจจะ มีสถานการณ์ที่ดีขึ้น กว่าเมื่อก่อนมาก มีผู้คนจำนวนไม่น้อย ที่กล้าไปตรวจที่ สถานพยาบาล และเข้ารับการรักษา แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนมาก ที่ไม่กล้าไปตรวจ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ทาง อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา) ได้ปลดล็อก ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง ให้ประชาชนสามารถหาซื้อมาตรวจด้วยตัวเองได้แล้ว ในเมื่อมันหาตรวจได้ง่ายขึ้น โดยที่คุณไปไม่ต้องเสี่ยงไปตรวจที่โรงพยาบาลเลย ให้ทราบผลเลือดเบื้องต้นก่อนว่าบวกหรือลบ หากเป็นบวก จึงค่อยไปตรวจที่โรงพยาบาลอีกครั้ง

 

หากอยากมั่นใจในทุกครั้งที่ตรวจ โปรดซื้อชุดตรวจเอชไอวีกับร้านที่น่าเชื่อถือและมีมาตรฐานรับรอง

สนใจซื้อชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง Click เพื่อ Add LINE สอบถามได้เลยค่ะ