ผมเชื่อและสนับสนุนการใช้ถุงยางอนามัยเต็มที่ครับ เมื่อไรที่ผมมีโอกาสคุยกับคนไข้ที่มีคู่นอนหลายคน ไม่ว่าจะหญิงหรือชาย ผมจะถามเรื่องถุงยางอนามัยเสมอ “คุณมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยบ่อยแค่ไหน ? น้อยครั้ง บางครั้ง หรือเกือบทุกครั้ง” วัยรุ่นมักจะตอบคําถาม แบบนี้ตามความเป็นจริง แต่น้อยมากที่ผมจะได้คําตอบว่า “ผมใช้ทุกครั้ง เลยครับ” พวกวัยรุ่นรู้ดีว่า ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเซ็กส์ แต่น่าผิดหวังที่พวกเขากลับไม่ค่อยยอมใช้ ถุงยางอนามัยไม่เพียงป้องกันการ ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการแพร่เชื้อเอชไอวี/เอดส์ แต่ยังป้องกันโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual Transmited Diseases : STD)ได้อีกมาก
ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมป้องกันโรค มีผู้ติดเชื้อ STD รายใหม่ ปีละ 19 ล้านราย โดยมีสัดส่วนสูงสุดในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 25 ปี ไม่ใช่ เฉพาะหนุ่มสาวและวัยรุ่นเท่านั้น แม้แต่ในผู้ใหญ่ก็มีอัตราติดเชื้อที่สูงขึ้น ตามสถิติพบว่า 15% ของผู้ป่วย เอชไอวี / เอดส์รายใหม่ คือคนในกลุ่มอายุ เกิน 50 ปี แม้ว่าผู้ใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไปจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่ำสุด กระนั้นใน 10 ปีมานี้ อัตราเป็นโรคก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เหตุผล หนึ่งอาจเป็นเพราะการสํารวจเป็นไปอย่างกว้างขวางครอบคลุม ประกอบกัน ประชากรกลุ่มนี้ก็มากขึ้น แต่เห็นชัดว่า ไม่ว่าจะเพศและวัยใดจําเป็นระวังใส่ใจการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
แม้ว่าผมจะพยายามพูดให้คนไข้ของผมเห็นความสําคัญของการใช้ถุงยางอนามัย ว่าสําคัญต่อสุขภาพของตนเองและคู่นอนเพียงไร แต่กลับรู้สึกเหมือนกําลังเข็นครกขึ้นภูเขา ขอย้ำนะครับ ถุงยางอนามัยจะมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อคุณสวมใส่เท่านั้น
ถุงยางอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อ STD ได้หลายชนิด ด้วยการทําหน้าที่เป็นปราการกั้นเลือด อสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด ซึ่งล้วนแล้วแต่มีโอกาสเป็นแหล่งเชื้อโรค ไม่ให้ส่งต่อไปยังคู่นอนในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เป็นเครื่องป้องกันที่มีประสิทธิภาพของโรคเอชไอวี/เอดส์ หนองในเทียม โกโนเรีย คลามายเดีย ตลอดจนโรคไวรัสตับอักเสบ แต่โรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์บางอย่าง ก็แพร่ผ่านการสัมผัสผิวหนังที่มีเชื้อได้ อย่างเช่น เริ่มที่อวัยวะเพศ ซิฟิลิส และหูดหงอนไก่ซึ่งเกิดจากไวรัส HPV
ถุงยางอนามัยช่วยปกป้องคุณจากโรคไม่พึงประสงค์ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะเชื้อ hiv ซึ่งก่อให้เกิดโลกเอดส์ตามมา แม้จะป้องกันได้ไม่หมดทุกโรคก็ตาม เพราะเหตุใดถุงยางอนามัยจึงไม่ได้ผลเต็มร้อย ? ถ้าจะพูดเรื่องประสิทธิภาพของถุงยางอนามัย มีปัจจัยที่ต้องคํานึงถึงดังต่อไปนี้ครับ
- เชื้อโรคสามารถผ่านถุงยางอนามัยได้หรือเปล่า
- การแพร่เชื้อมักจะมากับสารคัดหลังจากช่องคลอดหรือองคชาติ ใช่หรือไม่
- การใช้ถุงยางอนามัยถูกต้องหรือเปล่า ถุงยางปริ แตก รั่ว หรือ เลื่อนหลุดหรือไม่
ถุงยางอนามัยจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ ตราบเท่าที่ ของเหลวหรือบริเวณที่ปนเปื้อนเชื้อ ถูกคั่นแบ่งด้วยถุงยางอนามัย ไม่เช่นนั้น ถุงยางอนามัยก็ช่วยอะไรไม่ได้ ดังเช่นกรณีออรัลเซ็กส์ และ เยื่อบุช่องปากที่สัมผัสบริเวณอวัยวะเพศหรือสารคัดหลัง ผิวหนังที่มีเชื้อ ก็อาจติดโรค STD บางชนิดได้
ประการสุดท้าย ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยใด ถุงยางอนามัย หากไม่ใช้อย่างถูกต้องทุกครั้ง ก็จะส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าไม่สมกับหน้าที่ของมัน
คําแนะนําที่น่าจะเป็นประโยชน์
- ถุงยางอนามัยที่ทําจากลาเท็กซ์ หรือโพลียูริเทน มีคุณสมบัติ ปกป้องได้เหนือกว่าถุงยางอนามัยธรรมชาติที่ทําจากหนังแกะ ซึ่งจะมีรูขนาดใหญ่กว่า เชื้อโรคบางชนิดผ่านได้
- เมื่อสวมถุงยางอนามัย ต้องคลุมองคชาติทั้งลํา และสวมตั้งแต่ก่อนร่วมเพศ ไปจนสิ้นสุดกระบวนการ จากนั้นค่อยๆ ถอดออกอย่างระมัด ระวัง อย่าให้รั่วหรือแตก หากใช้เป็นประจํา โอกาสผิดพลาดจะน้อย
- สวมถุงยางอนามัยใหม่ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หลังจากหลังแล้ว ต้องถอดออกด้วยความระมัดระวังทันที
- ใช้สารหล่อลื่นสูตรน้ำ เพื่อช่วยไม่ให้ถุงยางอนามัยแตก แต่อย่า ใช้น้ำมันหรือวาสลีน เพราะจะทําให้ถุงยางอนามัยอ่อนตัวลงและแตกง่าย
- เก็บรักษาถุงยางอนามัยใหม่ในที่เย็นและแห้ง นั่นหมายความว่า ถุงยางอนามัยเก่าเก็บที่พกในกระเป๋าสตางค์ของคุณเป็นปีนั้น อาจเสื่อม สภาพไปแล้ว
ถ้าคุณอยากฟังเหตุผลอื่น ๆ ที่สนับสนุนการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย นี่เป็นความรู้ที่คุณอาจไม่ทราบมาก่อน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด รักษายากหรือเป็นแล้วไม่มีวันหายขาด เป็นที่ทราบกัน ขณะนี้ เรายังไม่มีวิธีรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์ ให้หายขาดได้ แต่คุณจะแปลกใจ ถ้าได้รู้ว่า ปัจจุบันวงการแพทย์มีความกังวลต่อเชื้อหนองในเทียมสายพันธุ์ที่ดื้อยาปฏิชีวนะแทบทุกอย่าง ขณะเดียวกัน เริ่มเป็นโรคที่เราควบคุมอาการได้ แต่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาด โรคหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV และสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง มีผู้ป่วยบางรายแม้รักษาเป็นปี ๆ ก็ไม่หาย
ผมเชื่อว่า ประเด็นที่เราพูดกันนี้ ไม่ได้มีเป้าหมายจะทําลายความ หฤหรรษ์ของการมีเพศสัมพันธ์ เพศสัมพันธ์เป็นส่วนที่สําคัญของสัมพันธภาพอันลึกซึ้ง แต่เราทุกคนต้องระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีใครเด็กเกินไปหรือ แก่เกินไป ที่จะระมัดระวังปกป้องตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
บทสรุป
หากคุณยังมีกิจกรรมทางเพศ ถุงยางอนามัยคืออุปกรณ์ที่ดีที่สุดในการป้องกัน คุณจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวี แต่ไม่ใช่จะปลอดภัยเต็มร้อย เพราะถึงจะใช้อย่างถูกต้อง ก็ไม่สามารถป้องกันเริ่ม หูดหงอนไก่ และซิฟิลิสได้ และหากถุงยางอนามัยแตก ผลก็เท่ากับไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย และควรไปตรวจโรคต่างๆ รวมถึง hiv test อยู่ดี คนที่มีคู่นอนหลายคน แม้คุณจะใช้ถุงยางอนามัยเสมอแต่คําแนะนําสําหรับคุณก็คือ ต้องตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นประจํา
หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์ ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”