Oral Sex ติดเอดส์ไหม การทำออรัลเซ็กซ์ หรือการทำรักด้วยปาก เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทางเพศยอดนิยม ทั้งควรให้ผู้โดนกระทำสวมใส่ถุงยางอนามัย เพื่อความปลอดภัยของอีกฝ่ายที่เป็นผู้กระทำ เพราะอะไรนั้นเรามีคำตอบ
Oral Sex เสี่ยงอะไรไหม?
เคยได้ยินบ้างหรือไม่ว่าการสวมใส่ถุงยางอนามัยจะช่วยให้เราปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น HIV หนองใน ซิฟิลิส เริม รวมถึงโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็งในช่องปาก มะเร็งต่อมทอนซิล เป็นต้น
Oral Sex ติดเอดส์ไหม ดังนั้น หากคู่นอนไม่สวมใส่ถุงยางอนามัย ก็อาจจะให้ฝ่ายที่เป็นผู้ทำ Oral Sex มีโอกาสที่จะติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นเหตุนำไปสู่การเป็นเอดส์ รวมถึงโรคอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าในแผลมีปากหรือมีเลือดออกยิ่งทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น
Oral Sex อย่างไรให้ปลอดภัย
สวมใส่ถุงยางอนามัย และงดการทาลิปมันเด็ดขาด เพื่อไม่ให้ถุงยางอนามัยขาด อีกทั้งควรสำรวจตนเองก่อนว่าไม่มีแผลในช่องปาก สำหรับผู้ที่จัดฟันก็ควรจะต้องระมัดระวังไม่ให้บาดหรือทำลายถุงยางอนามัย นอกจากนี้ควรโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โดยการไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
ไม่มีใครทราบหรอกว่าคู่นอนของเรา เดิมทีแล้วมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือไม่ หรือป่วยเป็นโรคอะไรอยู่หรือเปล่า จนกว่าจะมีการตรวจโรค หรือมีอาการบางอย่างเกิดขึ้นแล้วตรวจพบทีหลัง ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ส่วนมากมักจะไม่ทราบว่าได้รับเชื้อมาจากใคร หรือติดมาตอนไหน
ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อบางอย่างได้ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม
มาถึงตรงนี้การป้องกัน และการตรวจหาเชื้อเอชไอวีจึงกลายเป็นเรื่องที่สำคัญจริง ๆ สำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงอยู่บ่อย ๆ เรามาดูกันว่าปัจจุบันนี้มีวิธีการตรวจเอชไอวีแบบใดบ้าง
- NAT สามารถตรวจได้หลังได้รับความเสี่ยงมากว่า 7 วันขึ้นไป
- forth generation สามารถตรวจได้หลังได้รับความเสี่ยงมากว่า 14 วัน
- Anti-HIV สามารถตรวจได้หลังได้รับความเสี่ยงมากว่า 21 วัน
- PCR สามารถตรวจได้หลังได้รับความเสี่ยงมากว่า 14 วัน
- ชุดตรวจHIV ด้วยตนเอง สามารถตรวจได้หลังได้รับความเสี่ยงเท่าใด ขึ้นอยู่กับแต่ละแบรนด์ ตัวอย่างเช่น อินสติ ชุดตรวจHIV ด้วยตนเอง ตรวจจากตัวอย่างเลือดปลายนิ้ว สามารถใช้ตรวจได้หลังได้รับความเสี่ยงมา 21 วัน
ชุดตรวจHIV ด้วยตนเอง เหมาะกับผู้ที่ไม่สะดวกใจที่จะไปตรวจที่สถานพยาบาล เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้เราสามารถตรวจเช็คได้ตามใจต้องการ ที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ แต่การตรวจด้วยตนเองก็เป็นเพียงการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากผลเป็น Reactive หรือผลบวก ควรตรวจอีกครั้งโดยสถานพยาบาลที่สามารถตรวจยืนยันได้ หรือหากเป็นผลลบ หรือ Non-Reactive ควรตรวจอีกครั้งที่ระยะเวลาเสี่ยง 3 เดือน