โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร
โรคเอดส์ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งในความคิดของหลาย ๆ คน เชื่อว่าโรคนี้ สามารถติดต่อกันได้ง่าย จนทำให้หลายคนรู้สึกเป็นกังวล เมื่อต้องเข้าไปอยู่ใกล้ชิด หรือ แม้แต่การใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ทว่าโรคเอดส์นั้นสามารคติดต่อกันทางใดได้บ้าง เรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ และศึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เตรียมรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
โรคเอดส์เกิดจาก เชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งอาศัยอยู่ในสารคัดหลั่งต่าง ๆ ของร่างกายผู้ป่วย ได้แก่ เลือด อสุจิ นำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศชาย หรือ ของเหลวที่อยู่ในช่องคลอด และทวารหนัก ทั้งนี้ยังรวมไปถึงน้ำนมที่ให้ทารกดูดกิน โดยทั่วไปแล้ว คนที่จะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้นั้น ก็ต่อเมื่อไปสัมผัส กับสารคัดหลั่งโดยตรงทั้งๆ ที่มีบาดแผล หรือเยื่อเมือกบุผิวภายในช่องปาก ช่องคลอด หรือทวารหนัก
สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
-การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือ ทางทวารหนักกับผู้ที่ติดเชื้อมาแล้ว โดยที่ไม่ได้มีการป้องกันใด ๆ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก กับผู้ที่ติดเชื้อ โดยผู้ที่เป็นฝ่ายรับจะมีความเสี่ยงมากที่สุด แต่หากเป็นฝ่ายรุกก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางช่องคลอดนั้น ก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน กับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจะมีความสี่ยงมากกว่า การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด
– สัมผัสกับสารคัดหลั่ง และเลือดของผู้ป่วยโดยตรง ทั้งๆ ที่มีบาดแผล หรือเยื่อเมือกบุผิวภายในช่องปาก
-การใช้เข็มฉีดยา และเครื่องมือเตรียมฉีดยาร่วมกับ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะเนื่องจากว่าเชื้อเอชไอวีนั้นจะอยู่ในเข็มฉีดยาได้นานถึง 42 วัน หากว่ามีอุณหภูมิและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสม
-การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ลูก จะติดต่อได้ในขณะ ที่กำลังตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด หรือช่วงที่มารดาให้นมลูก ทั้งนี้ล้วนมีความเสี่ยงสูงที่สุด ถ้าหากว่ามารดาไม่ได้ ทานยาต้านไวรัสเอชไอวี และไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อเอดส์อยู่ด้านนอกได้หรือไม่ อยู่ได้นานแค่ไหน
ถึงแม้ว่าเชื้อไวรัสเอดส์นี้ จะรุนแรงเมื่ออยู่ในร่างกาย แต่หากอยู่ด้านนอกนั้นก็เหมือนกับว่า เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่มีอายุสั้น ไม่สามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ ซึ่งจะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ถ้าหากสิ่งเเวดล้อมนั้น มีความร้อน มีความเป็นกรด เป็นด่าง ก็จะตายไปทันที แต่ถ้าได้ที่เหมาะสมๆ มีความชื้นดีๆ หรือห้องที่มีอุณหภูมิราวๆ 20 องศาเซลเซียส ก็จะอยู่ได้ หลายวันแต่ไม่ถึงสัปดาห์
ความจริงเกี่ยวกับโรคเอดส์และเอชไอวี
1. ยุงกัดกลัวติดเชื้อเอชไอวี เรื่องนี้ ไม่จริงค่ะ
2. สุขภาพแข็งแรงขนาดนี้ไม่ติดเอชไอวีหรอก เรื่องนี้ ไม่จริงค่ะ อาการในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้น ในระยะเริ่มต้นประมาณ 10 ปี จะไม่แสดงอาการอะไรออกมาเลย การที่จะรู้หรือไม่ ต้องไปตรวจหาเชื้อเอชไอวีเท่านั้น
3. การมีคู่นอนเพียงคนเดียว ช่วยป้องกันตนเองจากความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้ เรื่องนี้ จริงค่ะ
4. ถุงยางอนามัย สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ได้ ต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และใช้อย่างถูกวิธี
5. รับประทานอาหารร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ จะติดเชื้อเอชไอวี เรื่องนี้ ไม่จริงค่ะ เพราะน้ำลายมีปริมาณเชื้อน้อยมากจนไม่ทำให้ติดโรค และในกระเพาะอาหารจะมีกรดที่ทำลายเชื้อเอชไอวีได้
เอดส์ ป้องกันได้หากระมัดระวัง
โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอย่างที่คิด โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร เนื่องจากโรคเอดส์สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง ดังนั้นควรที่จะรู้จักวิธีการป้องกัน โดยใส่ใจในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ของตนเองให้ปลอดภัย เช่น การมีเพศสัมพันธ์ โดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง หรือไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ทั้งนี้แล้ว ควรรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี โดยหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ควรระมัดระวังในการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ควรสวมถุงมือยางทุกครั้ง และล้างมือด้วยสบู่ รวมถึงการแยกทิ้งขยะ ที่มีสารคัดหลั่งปนเปื้อนออกเป็นชนิด ๆ หรือหากผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็สามารถตรวจหาเชื้อได้เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น รู้ผลทันที สะดวก ใช้งานง่าย และการเลือกซื้อ ชุดตรวจเอชไอวี (HIV) กับร้านที่ผ่านการรับรอง และได้มาตรฐาน มีการให้คำแนะนำที่ชัดเจนและเชื่อถือได้ จึงทำให้ท่านมั่นใจได้ในทุกครั้งที่ตรวจ มีความปลอดภัย แม่นยำสูง เชื่อถือได้ ส่วนผู้ที่ได้รับเชื้อไปแล้ว ก็ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสแล้ว ยังช่วยยับยั้งอาการ ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างปกติสุข
แท้จริงแล้วชุดตรวจเอชไอวี ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งช่องทางการหาซื้อ ก็แบ่งเป็นร้านขายยา และทางอินเตอร์เน็ต สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ เลขอย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ของไทย ผู้ซื้อควรพิจารณาถึงตรงนี้ได้ เพราะหากไม่มีเลขอย. ก็ถือว่าชุดตรวจนั้นอาจไม่ได้มาตรฐานจริงๆ นอกจากนี้ควรถามถึงวิธีการใช้งาน และความแม่นยำของชุดตรวจ ซึ่งควรแม่นยำมากกว่า 90% ถึงจะมั่นใจได้ว่าสามารถตรวจเอชไอวีได้จริง การตรวจเอชไอวีในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบทั้งที่สามารถตรวจได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือ 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดชุดตรวจ และช่วงเวลาในการตรวจ หากพ้นระยะฟักตัวของเชื้อแล้วก็สามารถสบายใจได้ โดยระยะฟักตัวของเชื้อจะอยู่ในช่วง 21- 30 วัน หลังจากได้รับความเสี่ยงมา