โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

By | พฤศจิกายน 23, 2018
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

โรคเอดส์การติดต่อและการป้องกัน เป็นโรคที่เกิดจาก การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเสียส่วนใหญ่ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีทางรักษา ให้หายขาดได้ ทำได้เพียงแค่ ควบคุมอาการ และรักษาแบบประคองอาการเท่านั้น และเนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงมากก่อให้เกิด ปัญหาทางสุขภาพ หลายอย่างตามมา  แถมตัวผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ยังเป็นที่รังเกียจของสังคมก่อให้เกิดความทุกข์ใจ แก่ผู้ป่วยไม่น้อย วันนี้เราจึงหยิบเอาความรู้ เกี่ยวกับโรคเอดส์มาฝาก เพื่อที่เราจะได้ ทำความรู้จักโรคนี้อย่างลึกซึ้งเข้าใจ และรับมือป้องกันโรคได้อย่างถูกต้องพร้อมกัน

โรคเอดส์ คืออะไร?

โรคเอดส์ คือ อาการของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) โดยเกิดจาก เชื้อไวรัส ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus : HIV) หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า เชื้อเอชไอวี (HIV) เชื้อเอชไอวีเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วมันจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเม็ดเลือดขาวในร่างกายทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย แล้วนำไปทำลายเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลายจึงทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเอชไอวี มีภูมิคุ้มกันต่ำลงจนในที่สุดร่างกาย ไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอ ในการป้องกันร่างกาย จากเชื้อโรคภายนอก จึงทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้น สามารถติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติส่งผลให้เป็นโรคอื่น ๆ ตามมา อาทิ วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในกระแสโลหิต เชื้อราและอีกมากมายหลายโรค ที่เป็นเช่นนี้ เพราะระบบภูมิคุ้มกัน ถูกทำลาย จึงไม่สามารถกำจัดเชื้อโรค ออกจากร่างกายได้นั้นเอง

โรคเอดส์มีกี่สายพันธุ์

เชื้อไวรัสเอดส์นั้น มีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ดั้งเดิมคือ เอชไอวี 1 (HIV-1) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม ที่แพร่ระบาดอยู่ใน ยุโรป แอฟริกากลาง และสหรัฐอเมริกา ส่วนเอชไอวี 2 (HIV-2) แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก

เนื่องจากเชื้อเอชไอวีนั้น มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ ในปัจจุบันได้ค้นพบ ว่ามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก โดยแหล่ง ที่พบมากที่สุด คือ แอฟริกา ซึ่งมีมากกว่า 10 สายพันธุ์ เพราะถือว่า เป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อเอชไอวี เป็นระยะเวลานานกว่า 70 ปี สายพันธุ์ ที่พบมากที่สุดในโลกคือ สายพันธุ์ซี โดยมีมากถึง 40% สำหรับพื้นที่ที่พบคือ ทวีปแอฟริกา อินเดีย จีน และพม่า ส่วนในประเทศไทยนั้นพบบ่อยคือ เชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์ เออี (A/E) หรือ (E) พบได้มากถึง 95% โดยการแพร่ระบาดนั้นเกิดจากการ มีความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่เกิดการ แพร่ระบาดในกลุ่มรักร่วมเพศ หรือการใช้เข็มฉีดยา ร่วมกัน เพื่อใช้เสพยาเสพติด

สำหรับสายพันธุ์ ที่ไม่เคยพบเลย ในประเทศไทยเลย คือ สายพันธุ์ซี แต่มีการพบสายพันธุ์ระหว่าง อี-ซี ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์อี ในประเทศไทยกับสายพันธุ์ซี ซึ่งมีถิ่นกำเนิด ในทวีปแอฟริกา และเมื่อไม่นานมานี้ ได้ค้นพบเชื้อเอชไอวี สายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่เคยตรวจพบที่ใดในโลกมาก่อน เป็นการผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ คือ เอ อี และจี เรียกว่า เอ อี จี (AE/G)

การติดต่อของโรคเอดส์มี 3 ทางดังนี้

1. การร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย

ซึ่งรวมไปถึง การร่วมเพศระหว่างชาย กับชาย หญิงกับหญิง หรือแม้จะเป็นชาย กับหญิง ซึ่งเป็นช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการติดต่อโรคเอดส์ได้ ทั้งนี้ จากข้อมูลของทางกองระบาดวิทยา ระบุว่า 83% ของผู้ติดเชื้อเอดส์นั้น ล้วนได้รับเชื้อ มาจากการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งสิ้น

2. การรับเชื้อทางเลือด

การติดเชื้อเอดส์ พบได้ใน 2 กรณี คือ

2.1 ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือแม้แต่ การใช้กระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มของผู้ที่เสพสารเสพติด หรือฉีดยาเข้าเส้น

2.2 รับเลือดมาจากการผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยว่าเลือด ที่รับบริจาคมามาจากแหล่งไหน แต่ในปัจจุบันนั้น ได้มีการตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัย โดยจะนำเลือดที่รับบริจาคมาไปหาตรวจ หาเชื้อเอดส์ ก่อนเสมอ ดังนั้น จึงมีความปลอดภัย 100%

3. การติดต่อผ่านแม่สู่ลูก

ซึ่งเกิดจากแม่ ที่มีเชื้อเอดส์อยู่แล้ว แล้วเกิดการตั้งครรภ์ ทำให้มีการถ่ายทอดเชื้อเอดส์ ไปสู่ลูก แต่ในปัจจุบันได้ค้นพบ วิธีการป้องกัน การแพร่เชื้อเอดส์ จากแม่ไปสู่ลูก ได้สำเร็จแล้ว โดยวิธีการทานยาต้านไวรัสในช่วงตั้งครรภ์ จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อเอดส์ ของทารกลดลงเหลือ ร้อยละ 8 แต่ก็ ยังมีความเสี่ยงอยู่ ไม่ได้ปลอดภัย 100% นัก ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจเลือด ก่อนแต่งงาน จะดีที่สุด

การติดต่อโรคเอดส์

นอกจากนี้ เชื้อเอดส์ยัง สามารถติดต่อได้อีกหลายวิธีแต่ก็มีโอกาสน้อยมาก เช่น ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่มีการทำความสะอาด การเจาะหูโดยการใช้เข็มร่วมกันกับผู้ติดเชื้อเอดส์ หรือแม้แต่การสัก ไม่ว่าจะเป็นการสักผิวหนัง สักคิ้ว เพราะเชื้อเอชไอวีอยู่ในกระแสเลือดของผู้ติดเชื้อเอดส์อยู่แล้ว ดังนั้น จึงทำให้เชื้อเอชไอวี เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายนอกจากเลือดแล้ว เชื้อเอสไอวียังสามารถติดต่อกัน ผ่านทางน้ำเหลืองได้ แต่โอกาส ที่จะติดเชื้อต้องเป็นแผลเปิด และมีเลือดหรือ น้ำเหลือง ที่มีเชื้อเข้าไปเป็นจำนวนมากเท่านั้น

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์มีหลายประการ คือ

  1. ปริมาณเชื้อเอดส์ที่ได้รับ หากได้รับเชื้อเอดส์ในปริมาณมากก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สูงตามไปด้วย เชื้อเอดส์จะพบมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือในน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด
  2. การมีบาดแผล หากมีบาดแผลบริเวณผิวหนังหรือในปากก็ย่อมทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอดส์สูง เพราะเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าสู่บาดแผลได้ง่าย
  3. ความบ่อยในการสัมผัสเชื้อ หากมีการสัมผัสเชื้อไวรัสบ่อย โอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็มีสูงขึ้น เช่น นักวิจัยที่ต้องทำการทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อไวรัส เอชไอวี เป็นต้น
  4. การติดเชื้อแบบอื่น ๆ เช่น แผลเริม ซึ่งแผลชนิดนี้จะมีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่บริเวณแผลเป็นจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ได้ง่าย และเชื้อเอดส์ก็ยังเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายขึ้นด้วย
  5. สุขภาพของผู้รับเชื้อ หากคุณเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็เป็นไปได้ยาก แต่หากสุขภาพอ่อนแอ ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเช่นกัน

ระยะของโรคเอดส์

โดยทั่วไป เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายแล้ว การแสดงอาการของโรคที่ปรากฎจะแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

1. ระยะไม่ปรากฏอาการ

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระยะติดเชื้อไม่ปรากฏอาการ ในระยะนี้ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้นจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติใด ๆ ให้เห็น จึงดูเหมือนคนมีสุขภาพแข็งแรงปกติ แต่อาจจะมีอาการป่วยเล็กน้อย โดยเฉลี่ยนั้น จากระยะแรกเข้าสู่ระยะที่ 2 จะใช้เวลาประมาณ 7 – 8 ปี แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการอยู่ได้นานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อให้บุคคลอื่นได้ เพราะว่าผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ส่วนใหญ่ในระยะแรก ก็ยังไม่ทราบว่าตัวเองนั้นติดเชื้อแล้ว

2. ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์

เราเรียกระยะนี้ว่า ระยะปรากฏอาการ ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติปรากฏให้เห็นได้ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตติดต่อกันนานหลายเดือน มีเชื้อราบริเวณในปาก โดยเฉพาะกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุเกิน 1 เดือน เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด และอื่น ๆ ในระยะนี้ อาจมีอาการอยู่เป็นปี ก่อนพัฒนา ลุกลาม กลายเป็นเอดส์เต็ม ขึ้นในระยะต่อไป

3. ระยะเอดส์เต็มขั้นหรือระยะโรคเอดส์

ในระยะนี้ ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย จะถูกทำลายลงไปเยอะมาก ซึ่งทำให้ เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เพราะเชื้อโรค สามารถเข้าสู่ร่างกาย ได้ง่ายขึ้น และร่างกาย ก็ไม่สามารถขจัด เชื้อโรคเหล่านี้ ออกไปจากร่างกายได้  ซึ่งมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อชนิดใด และเกิดกับ อวัยวะส่วนใดในร่างกายหากติด เชื้อวัณโรคที่ปอด อาการ ที่พบจะมีไข้เรื้อรังไอเป็นเลือด แต่ถ้าเป็นเยื้อหุ้มสมอง อักเสบจากเชื้อ จะมีอาการ ปวดศีรษะ อย่างรวดแรง อาเจียน คอแข็ง คลื่นไส้ และถ้าเป็นอาการ ที่เกี่ยวกับระบบประสาทก็จะมีอาการซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรงความจำเสื่อม ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ ในระยะสุดท้ายนี้ จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 – 2 ปีเท่านั้น

ควรตรวจหาเชื้อเอดส์เมื่อไหร่

  • ผู้ที่มี พฤติกรรมเสี่ยง หรือแม้แต่ ผู้ที่ต้องการ ทราบว่า ตัวเองติดเชื้อเอดส์ หรือไม่
  • ผู้ที่ตัดสินใจ จะมีคู่ หรือแต่งงาน
  • ผู้ที่สงสัยว่า คู่นอน ของตนมีพฤติกรรมเสี่ยง
  • ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัย ของแม่ และตัวเด็ก
  • ผู้ที่จะเดินทางไป ทำงานต่างประเทศ เพราะต้องการข้อมูล ที่สนับสนุน เรื่องความปลอดภัย และสุขภาพร่างกาย

การป้องกันโรคเอดส์

โรคเอดส์เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ เพียงแต่ทำความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธุ์
  • มีคู่นอนเพียงคนเดียว
  • ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรมีการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะการใช้เข็ดฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเอดส์ (โรคเอดส์การติดต่อและการป้องกัน)

ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์นั้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติทั่วไป ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ไม่ควรวิตกกังวลมากไป ซึ่งหากไม่พบโรคแทรกซ้อนจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อีกหลายปี โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารได้อย่างครบถ้วน
  2. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากต้องมีเพศสัมพันธ์ ให้ป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัยเสมอ เพราะวิธีนี้จะเป็นการป้องกันการรับเชื้อ และการแพร่เชื้อเอดส์ไปสู่ผู้อื่นได้
  4. ทำจิตใจให้สงบผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ  ไม่เครียด
  5. หากเป็นหญิงไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะเชื้อเอดส์สามารถแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์

โรคเอดส์การติดต่อและการป้องกัน ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคเอดส์

ในปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับโรคเอดส์หลายประการ โรคเอดส์นั้นเป็นโรคที่ไม่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส ไม่สามารถติดต่อกันผ่านการกอด หรือการสัมผัสภายนอกร่วมกัน เช่น การใช้ห้องน้ำร่วมกัน หรือใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารร่วมกัน นอกจากนี้ เชื้อเอชไอวียังไม่สามารถติดต่อผ่านลมหายใจ หรือผ่านอากาศ ดังเช่นไข้หวัด และไม่ได้ติดต่อผ่านพาหะนำโรค เช่น ยุง โดยทั่วไปแล้วสาเหตุหลัก ๆ ของการติดเชื้อเอดส์นั้น เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และมีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า กว่า 80% ผู้ป่วยจะติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้รับการป้องกัน

โรคเอดส์ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายตามมาอย่างมาก ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือ การป้องกันการติดเชื้อ โดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่นอนเพียงคนเดียว และการงดใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เพียงแค่นี้คุณก็ปลอดภัยจากการติดเชื้อเอดส์ได้มากขึ้นแล้ว