อาการซิฟิลิส เบื้องต้นที่สังเกตได้จะมีลักษณะอย่างไรบ้าง

By | มีนาคม 8, 2021

อาการซิฟิลิส

อาการซิฟิลิส เบื้องต้นที่สังเกตได้จะมีลักษณะอย่างไรบ้าง

อาการซิฟิลิส มีลักษณะการดำเนินของโรคไปเป็นระยะ เริ่มตั้งแต่ระยะที่หนึ่ง ระยะที่สอง ระยะแฝง และระยะสุดท้าย ความรุนแรงของโรคก็จะรุนแรงขึ้นตามระยะด้วย

แต่ทั้งนี้ระยะของโรคก็อาจจะเกิดขึ้นสลับกันได้ หรือเกิดขึ้นพร้อมกัน ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่ทราบว่าตนติดเชื้อตั้งแต่เมื่อไหร่ คือ ไม่รู้ตัวเลยว่าติดเชื้อก็มีโอกาสเป็นได้ ก่อนจะไปดูอาการของซิฟิลิสกันแบบละเอียดขึ้น เราไปทำความรู้จักโรคซิฟิลิสกันก่อนดีกว่า

ซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

แบคทีเรียอันเป็นสาเหตุขอโรคซิฟิลิส มีชื่อว่า ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponeme pallidum) โดยทั่วไปจะติดต่อในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากสัมผัสเชื้อโดยตรงจากแผลของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังคงติดต่อผ่านทางเลือด (การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การรับเลือดจากผู้อื่นในโอกาสต่าง ๆ) และยังติดต่อจาก แม่ตั้งครรภ์ผู้มีชื้อซิฟิลิส สู่ลูกน้อยในครรภ์ได้ด้วย

อาการของโรคซิฟิลิส ในแต่ละระยะ

ระยะที่ 1 (Early/Primary Syphilis) จะเริ่มมีอาการประมาณสัปดาห์ที่ 3 หลังรับเชื้อ

  • จะพบ “แผลริมแข็ง” (Chancre) ขึ้นบริเวณที่ลับ เช่น อวัยวะเพศ ทวาร ช่องคลอด หรือแม้กระทั่งในช่องปาก และแผลริมแข็งนี้จะไม่มีอาการปวด และแผลสามารถหายไปเองได้แม้ว่าจะไม่มีการรักษา ทำให้ผู้ป่วยไม่ทันสังเกตว่าเป็นแผลซิฟิลิสหรือไม่

  ระยะที่ 2 (Secondary Syphilis) เริ่มเกิดขึ้นหลังแผลหาย

  • ผื่นขึ้นตามร่างกาย ตามฝ่ามือฝ่าเท้า เป็นผื่นที่ไม่คัน อาจมีแผลร่วมด้วย
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ไข้
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • เจ็บคอ

อาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เอง แม้ไม่ได้รับการรักษา และสามารถกลับมามีอาการเหล่านี้ได้อีก

อย่างไรก็ตาม อาการผื่น หรืออาการที่กล่าวมา ในระยะที่สองนี้ ถือเป็น อาการเบื้องต้นของโรคต่าง ๆ ดังนั้น อาจจะเกิดจากโรคอื่นก็เป็นได้ การตรวจนั้นเป็นสิ่งที่ชี้ชัดที่สุด

ระยะแฝง (Latent Syphilis) จะไม่พบอาการใด ๆ เป็นเวลานานหลายปี

ระยะที่ 3 (Tertiary Syphilis) จะมีความผิดปกติ เกิดขึ้น เกี่ยวกับ สมอง ระบบประสาท ระบบหัวใจ ส่งผลให้อาจเป็น โรคหัวใจ อัมพาต สมองเสื่อม หูหนวก ตาบอด เสียสติ  เสี่ยงต่อการเสียชีวิต

ช่องทางการติดต่อที่พบได้บ่อย ๆ

ลักษณะเด่น ของอาการซิฟิลิส คือ การมีแผลริมแข็ง ซึ่งมักพบ บริเวณอวัยวะเพศ ปาก บริเวณทวาร ดังนั้น การสัมผัสแผล จะทำให้ มีโอกาสเสี่ยง ช่องทาง การติดต่อที่พบบ่อย ๆ เช่น

  • ติดต่อผ่านทางบาดแผลเล็ก ๆ
  • ติดต่อผ่านทางเยื่อบุต่าง ๆ
  • การมีเพศสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังติดต่อผ่านทาง

  • รับเลือด
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • จากแม่สู่ลูก ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ หรือระหว่างคลอด

การตรวจหาเชื้อซิฟิลิส

ในการ ตรวจจะสามารถ ตรวจได้จาก 2 วิธี  คือ

  1. ตรวจจากเลือด เพราะเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิสนี้จะอยู่ในกระแสเลือด เริ่มจากการตรวจคัดกรอง และหากผลออกมาพบว่ามีการติดเชื้อ ก็จะดำเนินการตรวจซ้ำอีก เพื่อช่วยยืนยัน
  2. ตรวจจากตัวอย่างเชื้อ โดยเก็บตัวอย่างเชื้อบนผิวหนัง น้ำเหลืองจากแผล ไปตรวจหาเชื้อ ทรีโพนีมา แพลลิดัม ที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิส

อย่างไรก็ตาม อาการที่ เกิดขึ้น อาจจะ ไม่ได้ บ่งบอก ว่าป่วย เป็นโรคอะไร ได้ชัดเจน การตรวจ เพื่อวินิจฉัยโรค เป็นสิ่งที่ ตัดสิน ได้ชัดเจน ที่สุด ผู้ที่ ได้รับ ความเสี่ยง มีโอกาสที่ จะติดเชื้อ แบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุ ของการ เกิดโรคซิฟิลิส สามารถ ตรวจคัดกรอง ได้ด้วยตัวเอง โดย ชุดตรวจซิฟิลิส ซึ่งสามารถ ตรวจจาก เลือดปลายนิ้ว 1-2 หยด และรู้ผล ได้ภายในไม่กี่นาที ใช้งานไม่ยาก แบรนด์มาตรฐาน แม่นยำสูง  สามารถ เริ่มตรวจ ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 ของการ ได้รับความสี่ยงมา

“ผู้ป่วยซิฟิลิสนั้นมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวีได้ง่ายๆ จากการที่ผู้ป่วยซิฟิลิสมีแผล เชื้อจึงสามารถเข้าสู่ทางแผลได้ง่ายกว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นซิฟิลิส”