การตรวจคัดกรองเอชไอวี คือ อะไร?
ชุดตรวจ HIV Gen4 หรือ Gen3 การตรวจคัดกรองโรคเอชไอวี คือ การตรวจเพื่อคัดกรองบุคคลทั่วไป หรือบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น หากผลเป็นลบ (เลือดลบ) จะพิจารณาได้ว่า ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี และหากผลออกมาเป็นบวก (เลือดบวก) จะพิจารณาได้ว่า มีโอกาสได้รับการติดเชื้อเอชไอวี การตรวจเอชไอวีนี้ถึงแม้จะเป็นการตรวจคัดกรอง แต่มีความแม่นยำสูงมาก
การตรวจคัดกรองนี้จะนิยมนำมาใช้ในการตรวจครั้งแรก หรือการตรวจที่ต้องการทราบผลรวดเร็ว เช่น ตรวจคัดกรองผู้มาบริจาคเลือด การตรวจเพื่อเฝ้าระวังโรคในชุมชน เป็นต้น เพราะวิธีที่ใช้ในการตรวจคัดกรองจะใช้ระยะเวลาในการตรวจไม่นาน และสามารถทราบผลได้ภายในไม่กี่นาที ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเข้าสู่ระบบการรักษาที่ไวขึ้น เพราะเมื่อเข้ารักษาได้ไว ก็จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีอายุที่ยืนยาวขึ้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองเอชไอวีนั้น ไม่สามารถยืนยันหรือสรุปได้ว่าคุณติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้นหากผลเลือดเป็นบวก จากการตรวจคัดกรอง ท่านจะต้องเข้ารับการตรวจเพื่อยืนยันผลอีกครั้งหนึ่งกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ในปัจจุบันนิยมนำเทคนิคชุดตรวจ Rapid Test เข้ามาใช้ในการตรวจคัดกรอง เพราะใช้งานง่าย และทราบผลได้ภายในไม่กี่นาที ดังนั้นการตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเอง จึงใช้เทคนิคนี้เช่นกัน
ตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเอง
หลายๆ ท่านคงได้ทราบกันมาบ้างแล้วว่า เราสามารถตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเองก่อนได้ สำหรับผู้ที่ไม่มั่นใจว่าตนเองได้รับความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือไม่ และไม่ต้องการที่จะเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาล หรือคลินิกในทันที แต่ต้องการที่จะตรวจสอบด้วยตนเองก่อนว่า มีโอกาสได้รับเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ซึ่งการตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเองนั้น ถูกนำมาใช้กันทั่วโลก เพราะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจเอชไอวีได้มากขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดการดูแลผู้ป่วยเอชไอวีของประเทศ
เทคนิคและวิธีที่ใช้ตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเองขณะนี้ จะเป็นแบบ Rapid test โดยตรวจจากเลือดเพื่อหาแอนติบอดีที่มีต่อเชื้อเอชไอวี (Antibody) โดยสามารถตรวจได้เร็วสุดที่ 21 วันหลังได้รับความเสี่ยง และผลที่ได้จะน่าเชื่อถือมากขึ้นหากตรวจที่ 30 วัน วิธีนี้ทุกคนอาจจะรู้จักกันในชื่อ การตรวจ Gen3
อีกหนึ่งวิธีที่พึ่งถูกนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองเอชไอวี คือ การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี (p24 antigen) และแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (Antibody) ในคราวเดียวกัน หรือที่เราเรียกกันว่า การตรวจ Gen4
ชุดตรวจ HIV ด้วยตนเอง Gen 3 หรือ Gen4 เลือกอย่างไร
จากการศึกษากราฟแสดงปริมาณเชื้อเอชไอวีที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการติดเชื้อต่อสัปดาห์ ดังที่ปรากฏข้างล่างนี้ โดย
เส้นสีน้ำตาล = กลไกการเพิ่มและลดลงของโปรตีน p24 Antigen ของเชื้อเอชไอวี
เส้นสีเขียว = กลไกการเพิ่มและลดลงของภูมิคุ้มกัน (Antibody) ต่อเชื้อเอชไอวี
เปรียบเทียบความแตกต่างของการตรวจ HIV ด้วย Gen3 และ Gen4 จากกราฟด้านบน ได้ดังนี้
- หลักการตรวจ ชุดตรวจ HIV Gen4 หรือ Gen3
- ระยะเวลาที่สามารถตรวจได้ไวที่สุด
- ระยะเวลากับปริมาณ p24 Antigen และ Antibody
ชุดตรวจ Gen4
การตรวจคัดกรองเอชไอวีจะต้องพิจารณาขีดแสดงผล 3 ขีด คือ
– ขีดที่ช่อง Control
– ขีดที่ช่อง Antigen
– ขีดที่ช่อง Antibody
โดยทุกการตรวจนั้น ขีดที่ช่อง Control จะต้องขึ้นเสมอ เพื่อบ่งบอกว่าชุดตรวจนั้นทำงานปกติ หากไม่ปรากฏขึ้น แสดงว่าผลตรวจนั้นผิดพลาด จากนั้นจึงพิจารณาขีดที่เหลือ คือ
– หากพบเพียงขีด Antigen ควรตรวจอีกครั้งที่ระยะห่างจากการตรวจครั้งแรก เพื่อติดตามผล Antibody และหากตรวจครั้งนี้พบว่า ขึ้นขีดทั้ง 2 ช่อง หมายความว่า มีโอกาสได้รับการติดเชื้อเอชไอวี ให้ท่านเดินทางไปตรวจยืนยันผลที่โรงพยาบาล
– หากพบเพียงขีด Antibody หมายความว่า มีโอกาสได้รับการติดเชื้อเอชไอวี ให้ท่านเดินทางไปตรวจยืนยันผลที่โรงพยาบาล (พบเพียงขีด Antibody สามารถเกิดขึ้นได้หากตรวจที่ระยะเวลาที่ได้รับความเสี่ยงมานานแล้ว ซึ่ง Antigen นั้น อาจหมดลง)
– หากพบขีดทั้งที่ช่อง Antigen และ Antibody ให้ท่านเดินทางไปตรวจยืนยันผลที่โรงพยาบาล
– หากตรวจไม่พบขีดที่ช่อง Antigen และ Antibody หมายความว่า ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี
**ย้ำว่าทุกการตรวจขีดที่ช่อง Control จะต้องขึ้นเสมอ การตรวจนั้นจึงจะถูกต้องสามารถเชื่อถือได้
จะเห็นได้ว่าชุดตรวจ Gen4 จะเน้นการแสดงผลของ Antibody เป็นตัวชี้ว่า มีโอกาสหรือไม่ในการได้รับเชื้อเอชไอวี
ชุดตรวจ Gen3
การตรวจคัดกรองเอชไอวีจะต้องพิจารณาขีดแสดงผล 2 ขีด คือ
– ขีดที่ช่อง Control แสดงแบบย่อ คือ C
– ขีดที่ช่อง Test แสดงแบบย่อ คือ T (ขีดที่ช่องนี้จะแสดงถึง Antibody ต่อเชื้อเอชไอวี)
โดยทุกการตรวจนั้น ขีดที่ช่อง Control จะต้องขึ้นเสมอ เพื่อบ่งบอกว่าชุดตรวจนั้นทำงานปกติ หากไม่ปรากฏขึ้น แสดงว่าผลตรวจนั้นผิดพลาด จากนั้นจึงพิจารณาขีดที่เหลือ คือ
– หากพบขีดที่ช่อง Test (T) หมายความว่า มีโอกาสได้รับการติดเชื้อเอชไอวี ให้ท่านเดินทางไปตรวจยืนยันผลที่โรงพยาบาล
– หากตรวจไม่พบขีดที่ช่อง Test (T) หมายความว่า ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี
**ย้ำว่าทุกการตรวจขีดที่ช่อง Control จะต้องขึ้นเสมอ การตรวจนั้นจึงจะถูกต้องสามารถเชื่อถือได้
ตรวจกี่ครั้งจึงจะมั่นใจได้ว่าปลอดภัย
ตรวจกี่ครั้งจึงจะมั่นใจได้ว่าปลอดภัย ในกรณีที่ผลออกมาว่า เป็นลบ หรือไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี หากพิจารณาและแนะนำโดย ชุดตรวจเอชไอวี.com ขออนุญาตแนะนำไว้ ดังนี้
1. ตรวจเพียง 1 ครั้ง
- ควรตรวจที่ 30 วัน หลังเสี่ยง
การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วกว่า 99%
2. ตรวจ 2 ครั้ง
- ตรวจที่ 14-30 วัน หรือ 21-30 วัน หลังเสี่ยง
การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วกว่า 99% - ตรวจที่หลัง 90 วัน หลังเสี่ยง
การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วเกือบ 100% ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อรีเช็ค
3. ตรวจ 3 ครั้ง สำหรับผู้ที่กังวลมาก
- ตรวจที่ 21-30 วัน หลังเสี่ยง
การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วกว่า 99% - ตรวจที่ 30-90 วัน หลังเสี่ยง
การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วกว่า 99% บางท่านอาจมีความมั่นใจและกังวลมาก บางครั้งมีอาการบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ตุ่ม ไม่สบายบ่อย เป็นต้น ทำให้ไม่สบายใจ ก็สามารถตรวจอีกครั้งได้ เพื่อความสบายใจ - ตรวจที่หลัง 90 วัน หลังเสี่ยง
การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วเกือบ 100% ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อรีเช็ค
ที่จริงแล้วการตรวจเพียงหนึ่งครั้งที่ระยะเวลาเสี่ยงที่เหมาะสม ก็สามารถมั่นใจได้แล้ว
เพราะมาตรฐานของชุดตรวจแบบ Rapid test ที่ใช้ในกาตรวจคัดกรองนี้ ไทยได้กำหนดมาตรฐานให้มีความแม่นยำสูงกว่า 99.5% ซึ่งเป็นความแม่นยำที่สูงมาก
ดังนั้น หากต้องการตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเอง ควรเลือกซื้อกับร้านที่จำหน่ายชุดตรวจเอชไอวีที่มีเลข อย.ไทย เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่สามารถยืนยันได้ว่าชุดตรวจเอชไอวีนั้นสามารถเชื่อถือได้